Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > เรียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๑๒. AAR

เรียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๑๒. AAR

พิมพ์ PDF

ในเวลา ๕ วัน ระหว่างวันที่ ๒๑ ถึง ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ คณะดูงาน ที่จัดโดยสถาบันคลังสมอง ของชาติ ไปเรียนรู้เรื่อง “พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม” (University Social Engagement) จาก ๒ กิจกรรม คือการร่วมประชุม 2014 Engagement Australia Conference ที่มหาวิทยาลัย Charles Sturt University เมือง Wagga Wagga ระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๓ และดูงานที่มหาวิทยาลัย ซิดนีย์ ในวันที่ ๒๔ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ วันที่ ๒๕

เป็นความสามารถของสถาบันคลังสมองฯ นำโดย ศ. ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง และ ดร. นงเยาว์ เปรมกมลเนตร ในการออกแบบและติดต่อประสานงานการเดินทางไปเรียนรู้หลักการและประสบการณ์ ในต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้สร้างการเปลี่ยนแปลงของระบบอุดมศึกษาไทย โดยที่ผู้ไปเรียนรู้ดูงาน กลับมาเป็น “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” (Change Agent) สร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งแก่สถาบันของตน และเป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่ายสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่ประเทศไทย

ทีมไทยที่ไปร่วมประชุม ได้สร้างความประทับใจแก่ผู้เข้าร่วมมากทีเดียว จากการนำเสนอผลงานของ ดร. จเร สุวรรณชาติแห่ง มทร. ศรีวิชัย ที่ดำเนินการต่อเนื่องเกิดผลดีเป็นรูปธรรมต่อชุมชนบ้านคลองแดน และเลื่องลือไป ยังพื้นที่อื่นที่ติดต่อ ดร. จเร ให้ไปเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ แต่ผมมีความเห็นว่า ผลงานของ ดร. จเร เป็น “เพลงที่ยังไม่จบ” เพราะที่ทำมายังเป็นเพียงครึ่งเดียว คืองานพัฒนา ยังไม่ได้ดำเนินการส่วนที่เป็น “งานวิชาการ” หรืองานวิจัย ที่เป็นการสร้างทฤษฎี หรือพิสูจน์สมมติฐาน สำหรับนำไปใช้เป็นกรอบความคิด ดำเนินการเรื่องคล้ายๆ กันให้เกิดผลดีโดยง่ายและรวดเร็วขึ้น

ที่จริงจะว่างานของ ดร. จเร ไม่มีส่วนที่เป็นงานวิจัยก็ไม่ถูกต้องนัก เพราะในการทำงานต้องมีการ เก็บข้อมูลของชุมชน นำมาวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อการตัดสินใจเลือกแนวทางพัฒนา เพียงแต่ว่า การนำเสนอเชิงวิชาการยังไม่ชัด ว่าทำไมจึงตัดสินใจเลือกแนวทางเช่นนั้น ทำไมไม่เลือกแนวทางอื่น ซึ่งหากนำเสนอด้วยคำถาม Why และนำเอาทฤษฎีที่มีผู้เสนอไว้แล้วมาถกเถียง ก็จะสามารถเสนอรายงาน วิจัยได้มากมายหลายหัวข้อ

นอกจากนั้น ที่นังไม่เสร็จคือ ยังไม่มีกระบวนการ ให้ผลงานที่ก่อผลกระทบต่อสังคมสูงเช่นนี้ นำไปสู่การได้ตำแหน่งวิชาการของนักวิชาการผู้ดำเนินการ คือ ดร. จเร ผมเชื่อว่า กรณีผลงานของ ดร. จเร นี้ จะเป็นกรณีตัวอย่าง ให้สถาบันคลังสมอง และ Engagement Thailand ร่วมกันดำเนินการ ผลักดันให้เกิด ตำแหน่งวิชาการสายรับใช้สังคม ขึ้นในสังคมไทย และมีรูปแบบการดำเนินการพัฒนาวิชาการสาย รับใช้สังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรม

ผมคิดว่า ที่ไปเห็นตัวอย่างเรื่อง University Social Engagement ยังแคบไป ซึ่งก็พอเข้าใจได้ ว่าการประชุมปีนี้จัดโดยมหาวิทยาลัยในกลุ่ม Regional University Network งานด้าน Social Engagement จึงเน้นที่ชุมชนหรือประชากรด้อยโอกาสเป็นสำคัญ

จึงเดาว่า มหาวิทยาลัยในกลุ่ม Go8 (Group of Eight) ที่เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของออสเตรเลีย คงจะตีความเรื่อง Social Engagement ของมหาวิทยาลัยไม่เหมือนกันเสียทีเดียว โดยผมตีความว่า Research Excellence เป็นการทำหน้าที่ให้แก่สังคม ถือเป็น Social Engagement ในรูปแบบหนึ่งด้วย

เมื่อเน้นการให้คุณค่าของงานวิจัยเช่นนี้ ก็ต้องกล่าวไว้ด้วยว่า งานวิจัยชนิดที่ไร้คุณภาพ สักแต่ให้ได้ชื่อว่าทำวิจัย เป็นเรื่องเสื่อมเสียของวงการวิชาการ และของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ เป็นหน้าที่ของสถาบันและ “วิทยสหาย” (Peer Group) ที่จะต้องป้องกัน ไม่ให้มีการทำวิจัยชนิดไร้คุณภาพ เพื่อดำรงศักดิ์ศรีความน่าเชื่อถือของวงการวิชาการ ว่าไม่ใช้ทรัพยากรของสังคมอย่างไร้ประโยชน์

นั่นคือ Engagement ด้านการวิจัย

มาที่ Engagement ด้านการเรียนการสอน Professor Geoff Scott ได้กล่าวไว้อย่างดียิ่ง และเมื่อเราไปดูงานที่สถาบันส่งเสริมการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ซิดนีย์ ก็เห็นได้ชัดว่า เขามีกลไกพัฒนาเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม มีหน่วยงานรับผิดชอบ และมีกติกานับการทำงาน ด้านการเรียนการสอนอย่างมีหลักการ ไว้ในเงื่อนไขพิจารณาความดีความชอบด้วย ถือเป็นส่วนหนึ่งของ Scholarship of Teaching and Learning เป็นตัวอย่างของวิธีให้ความสำคัญ ให้คุณค่า และให้การตอบแทน แก่อาจารย์ที่เอาใจใส่พัฒนาการสอนของตน

จะเห็นว่า มหาวิทยาลัยจะต้องมีกรอบหลักการ และวิธีดำเนินการ เพื่อส่งเสริม Social Engagement ในทุกด้าน ด้านที่รูปแบบของการจัดการเชิงสถาบันยังไม่แข็งแรง คือด้าน Community Engagement และด้าน Teaching and Learning Engagement

มาค้นที่บ้าน จึงพบคำ Civic Engagement ดังเล่าแล้วในตอนที่ ๘ ผมมีความเห็นว่า มหาวิทยาลัยไทย เอาใจใส่ดูแลให้นักศึกษาได้เรียนรู้สั่งสมความรู้ทักษะและคุณค่าด้าน Civic Engagement น้อยไป ที่จริง การประชุม2014 Engagement Australia Conference เน้นเนื้อหาด้าน Civic Engagement แต่เขาไม่ได้ใช้คำนี้

ผมได้เสนอในที่ต่างๆ ว่าวิธีจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้าง Engagement หลากหลายด้านนี้ ทั้งในระดับสถาบัน และระดับประเทศ ควรเน้นยุทธศาสตร์ Positive Change หรือยุทธศาสตร์เชิงบวก เน้น SSS – Success Story Sharing แล้วจัดการยกระดับความสำเร็จนั้นขึ้นไปเป็นผลงานวิชาการ

โดยที่ Engagement Activity ดีๆ เหล่านั้น ผมเข้าใจว่ามีส่วนของผลงานพัฒนา (Development Part) ชัดเจนอยู่แล้ว ยังขาดการ “ปรุงและนำเสนอ” ในรูปแบบของผลงานวิชาการ (Academic Part) ผมเชื่อว่า Engagement Thailand ภายใต้ภาวะผู้นำของ ศ. ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน และสถาบันคลังสมอง ภายใต้ภาวะผู้นำของ ศ. ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง จะดำเนินการพัฒนา Engagement Activity ให้เป็น Academic Activity ในสังคมไทย และต่อไปในอนาคต นักวิชาการไทยจะมีวิธีทำงาน Engagement ให้เกิดผล “สองในหนึ่ง” คือหนึ่งกิจกรรมเกิดผลสองด้านไปพร้อมๆ กัน ทั้งผลด้านพัฒนา (ชุมชน การเรียนการสอน และอื่นๆ) และด้านการยกระดับความรู้หรือวิชาการ (วิชาการสายรับใช้สังคม)

ผมขอขอบคุณสถาบันคลังสมองฯ ที่จัดการเดินทางไปประชุมศึกษาดูงานในครั้งนี้ ได้อย่างดีเลิศ และขอบคุณ ผู้ร่วมเดินทางทุกท่าน ที่ได้ร่วมกันเรียนรู้ การทำ BAR และ AAR ร่วมกัน ทำให้ผมได้เข้าใจแง่มุมต่างๆ มากมาย ที่ตัวผมเองนึกไม่ถึง

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ก.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 09 กันยายน 2014 เวลา 14:22 น.  
Home > Articles > การศึกษา > เรียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๑๒. AAR

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8628708

facebook

Twitter


บทความเก่า