Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > บทความของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท > สัมมนารับฟังความเห็นสาธารณะ "การค้าเสรี ไทย-ตุรกี

สัมมนารับฟังความเห็นสาธารณะ "การค้าเสรี ไทย-ตุรกี

พิมพ์ PDF

วันนี้ (๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗) เข้าร่วมงานรับฟังความเห็นสาธารณะ"การค้าเสรีไทย-ตุรกี :ผลกระทบและนัยสำคัญต่อไทย ตามจดหมายเชิญจากผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง นางไพรินทร์ ศรีศุภวินิจ

สืบเนื่องจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (มูลนิธิ สวค) จัดทำโครงการศึกษาเรื่องการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับตุรกีซึ่งส่วนหนึ่งของโครงการฯคือ การจัดสัมมนารับฟังความเห็นสาธารณะ เพื่อให้ผู้แทนภาครัฐ รวมถึงภาควิชาการ และประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสรับทราบรวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ เสนอแนะข้อคิดเห็นในด้านการลงทุนและการประกอบธุรกิจในตลาดตุรกี

กล่าวเปิดงานโดยตัวแทนของกรมเจรจาการค้า 
นำเสนอผลการศึกษา "การจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับตุรกี : ศักยภาพ โอกาส และความท้าทาย โดย ดร.อนันตโชค โอแสงธรรมนนท์ ผู้เชี่ยวชาญ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง เอกสารนำเสนอ ๓๙ slides บทสรุป
๑.FTA ไทย-ตุรกี เป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งจากมูลค่าการค้าที่เพิ่มขึ้นและการเข้าถึงตลาดใหม่ผ่านประเทศคู่เจรจา
๒.ผลกระทบในระดับมหภาคเป็นเชิงบวกสำหรับไทยมากกว่า แม้ไม่มาก
๓.บทบาทของสหภาพยุโรปไม่ได้ส่งผลต่อ FTA ไทย-ตุรกีโดยตรง แต่ FTA ไทย-EU มีผลกระทบต่อไทยมากกว่า
๔.ผลกระทบรายสาขาต้องดูประกอบกันหลายด้าน สินค้าที่มีศักยภาพของไทยคือ ยานยนต์และชิ้นส่วน ยางและผลิตภัณฑ์ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ ในขณะที่สินค้าอ่อนไหวของไทยคือ พรม สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย เฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แต่ข้อมูลการค้าอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอเนื่องจากบางสาขาเป็นการตั้งฐานผลิต
๕.ผลกระทบจากการศึกษาความเชื่อมโยงของอุตสาหกรรมแสดงให้เห็นว่า การแข่งขันเพิ่มขึ้นในทุกกิจกรรมของการผลิต ถ้าหากความสามารถเท่ากันก็จะเป็นการแข่งขันโดยตรง ถ้าความสามารถต่างกันอย่างชัดเจน ก็จะเกิดการส่งเสริมกัน แต่เป็นการส่งเสริมในกิจกรรมอื่นๆในการผลิต ไม่ใช่กิจกรรมเดียวกัน
๖.ดังนั้นมาตรการช่วยเหลือสาขาที่มีความสามารถในการแข่งขันน้อยมีความจำเป็น แต่ละสาขามีทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับธุรกิจไทย
วิจารณืการนำเสนอโดย อ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลังจากพักทานของว่างดื่มชากาแฟ เป็นการนำเสนอผลการศึกษา "การจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทย-ตุรกี : ประสบการณ์และนัยสำคัญต่อประเทศไทย" โดย นายวรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ นักวิจัย สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง วิจารณ์โดย ดร.รัชดา เจียสกุล หุ้นส่วนและผู้อำนวยการ กลุ่มที่ปรึกษาเศรษฐกิจและธุรกิจ บริษัท โบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย)

ช่วงบ่ายเป็นการอภิปรายในหัวข้อ "ผลกระทบ และนัยสำคัญต่อไทยจากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับตุรกี"โดยผู้แทนจาก ภาคธุรกิจทั้งคนไทยและคนตุรกี ดำเนินรายการโดย ดร.พิชญ์ นิตย์เสมอ

ขอชื่นชมผู้จัดงานทำได้ดีมาก เป็นวิจัยที่ดี ได้รับการชมจากผู้วิจารณ์ทั้งสองท่าน สำหรับผมประทับใจผู้วิจารณ์ทั้ง ๒ ท่าน ได้แก่ อ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม และ ดร.รัชดา เจียสกุล เสียดายที่ลืมเอากล้องถ่ายรูปไป ใช้มือถือถ่ายภาพ แต่ภาพออกมาไม่ดีแม้นแต่ภาพเดียว
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
๑๘ พ.ย.๒๕๕๗

 
Home > Articles > บทความของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท > สัมมนารับฟังความเห็นสาธารณะ "การค้าเสรี ไทย-ตุรกี

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8601752

facebook

Twitter


บทความเก่า