Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร

วันจักรี

พิมพ์ PDF

๒๓๓ ปี แห่งราชวงศ์จักรี
พระมหากษัตริย์ทั้ง ๙ พระองค์
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และพระบรมราชจักรีวงศ์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
( ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒ )
องค์ปฐมบรมมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี ทรงเป็นสุดยอดนักรบผู้กรำศึกเหนือ เสือใต้มาตลอดพระชนม์ชีพ ทรงเป็นนักปกครองและนักการเมืองผู้ทรงพระอัจฉริยะภาพ ทรงเป็นองค์จอมทัพซึงเป็นที่รักของทหารทุกนาย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 
( ครองราชย์ ๒๓๕๒ - ๒๓๖๗ )
ทรงเป็นมหากษัตริย์ศิลปิน ผู้ทรงพลิกฟื้นศิลปวัฒนธรรมไทยให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
( ครองราชย์ พ.ศ.๒๓๖๗ - ๒๓๙๔ )
ทรงเป็นผู้นำพากรุงรัตนโกสินทร์สู่ความมั่งคั่งรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ทรงรอบรู้ในกิจการบ้านเมือง
ทรงใฝ่ธรรมะ ด้วยการปฎิสังขรวัดวาอารามมากมาย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
( ครองครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑ )
ทรงผนวชมายาวนาน ทรงตั้งธรรมยุติกนิกาย
ทรงเริ่มเปิดประเทศรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา ทรงรู้ถึงภัยอันน่ากลัวของลัทธิจักรวรรดิ์นิยม ซึ่งแผ่เข้ามาในทวีปเอเชีย และทรงมีพระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีรภาพ ในการรับมือกับภัยดังกล่าวจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทุกทิศานุทิศ
ทรงเป็นนักดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ พระองค์แรกองประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช
( ครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓ )
ทรงปฎิรูปพระราชอาณษจักรครั้งใหญ่ที่สุด ทรงนำพาความเจริญทุกๆด้านเข้ามาสู่กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกาศเลิกทาส 
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงรับมือกับลัทธิล่าอาณานิคมอย่างทรงพระอัจฉริืยะภาพ ทำให้กรุงสยามเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในทวีปเอเชียที่ไม่ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งตาน้ำข้าว ทรงเป็นปิยมหาราชซึ่งเป็นที่รักยิ่งของมหาชนชาวสยามไปชั่วกลานิรันดร์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาธีรราชเจ้า
( ครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๔๖๘ )
ทรงดำเนินการปฎิรูปแผ่นดินต่อจากพระราชบิดา ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุล ทรงตราพระราชบัญญัติการศึกษา ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงนำกองทัพสยาม มีชัยในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทรงมีบทพระราชนิพนธ์ปลุกใจให้คนไทยเกิดความรักชาติมา่กมาย

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 
( ครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๗ )
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักประชาธิปไตย
ทรงยอมสละพระราชอำนาจในระบอบสมบูรณญาสิทธิราชย์แก่ปวงชนชาวไทยเพื่อจะได้เกิดประชาธิปไตยในแผ่นดิน โปรดเกล้าฯพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกแก่ราษฎรทั้งมวล

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
( ครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๒๔๘๙ )
ทรงเป็นยุวกษัตริย์ผู้มีพระมหากรุณาธิคุณแก่ประชาชนชาวไทยเป็นล้นพ้น เสด็จสำเพ็งเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคนไทยกับคนจีน การที่พระองค์ท่านสวรรคตเพราะแสงปืน ทำให้ความเศร้าโศกเกิดขึ้นทั้งแผ่นดิน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
ครองราชย์ 9 มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ถึงปัจจุบัน
ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของไทยทั้งชาติ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรไปทุกภูมิภาค ทรงสู้รบกับคอมมิวนิสต์ด้วยการแก้ปัยหาความยากจน ทรงแก้ปัญหาน้ำท่วม ทรงแก้ปัญหารถติด ทรงระงับเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมืองต่างๆ ด้วยพระอัจฉริยะภาพ ทรงครองราชย์ยาวนาน และทรงเป็นที่รัก เคารพ บูชายิ่งของพสกนิกรทั้งแผ่นดิน

บทความนี้คัดลอกจากเฟสบุ๊ค ของ คุณพิชาญ พงษ์พิทักษ์

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 05 เมษายน 2015 เวลา 23:41 น.  

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8602022

facebook

Twitter


บทความเก่า