Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร

ฉันคือใคร

พิมพ์ PDF

ฉันคือใคร ?

การคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย และการกล่าวว่า "ฉันเป็นชาวอังกฤษ" "ฉันเป็นครู" หรือ "ฉันเป็นวัยรุ่น" "ฉันเป็นคนดำ"  สร้างภาพลวงตาที่น่าอันตราย กลายเป็นศัตรูกันมากขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้ปิดบังความจริงที่ว่า ทุกดวงวิญญาณคือพี่น้อง

ฉันมีร่างกาย แต่ไม่ได้เป็นร่างการยนี้ ฉันคือดวงวิญญาณที่สามารถรับความรู้สึก และปฏิบัติการผ่านร่างกายที่เป็นวัตถุนี้ ด้วยการใช้อวัยวะ ประสาทสัมผัส สมองและระบบประสาท เป็นเครื่องมือ

ดวงวิญญาณไม่ใช่วัตถุ แต่คือพลังงานอันละเอียดอ่อน พลังชีวิต จุดแห่งแสง ที่คงอยู่เป็นนิรันดร์ ฉัน ดวงวิญญาณไม่เคย ถูกสร้าง ไม่สามารถทำลาย และไม่มีวันตาย ฉันคือจุดที่สุดแสนเล็ก ปราศจากมิติ ไม่มีขนาด กว้าง ยาว สูง

เราสามารถมองเห็นดวงวิญญาณได้ด้วยดวงตาแห่งปัญญา ในรูปของดวงดาวที่สุดแสนเล็ก ส่องประกาย กระจายแสงอยู่ที่กึ่งกลางหน้าผากระหว่างคิ้ว

ฉันคือดวงวิญญาณ ฉันเป็นอมตะ ฉันนำร่างกายนี้มาใช้เหมือนที่นักแสดงสวมใส่เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เพื่อเล่นบทบาทบนเวที และเมื่อบทบาทนี้เสร็จสิ้น ฉันก็จากร่างกายนี้และไปเพื่อเล่นบทบาทอื่น

เมื่อฉันตระหนักถึงธรรมชาติที่แท้จริงของฉัน ฉันก็สามารถเคลื่อนไปสู่จิตสำนึกในระดับที่สูงขึ้น ฉันกลับมาตระหนักถึงคุณสมบัติดั่งเดิมของความสงบ ความรัก ความเข้มแข็ง ความสุขของฉัน และพลังที่แท้จริงของความอดทน ความยืดหยุ่น การจดจ่อ และการสื่อสารก็ปรากฎขึ้นมา

ดวงวิญญาณ (Soul) เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน ไม่มีตัวตน แต่มีชีวิต เราไม่สามารถจับต้องหรือมองเห็นดวงวิญญาณได้ด้วยดวงตาทั้งสองของร่างกาย ซึ่งมองเห็นแต่เฉพาะวัตถุที่หยาบเท่านั้น ทั้งไม่สามารถ ชั่ง ตวง วัด ด้วยเครื่องมือ แต่เราสามารถสัมผัสกับดวงวิญญาณ ซึ่งก็คือ ตัวฉัน โดยอาศัยดวงตาที่สาม หรือดวงตาแห่งปัญญาในการมองเห็นความละเอียด ลึกซึ้งที่อยู่เหนือวัตถุ

คำว่ามนุษย์ หรือ Human Being ,มาจากคำว่า HUMAN กับ BEING

Human คือส่วนที่เป็นร่างกาย มีตัวตน เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของวัตถุธาตุ ซึ่งคงอยู่ชั่วคราวและแยกสลายคืนกลับเป็นวัตถุธาตุเช่นเดิม แต่

ฺBEING คือส่วนที่มีชีวิต ไม่มีตัวตน แต่มี ประสบการณ์จากการใช้ร่างกายเรียกว่าจิตสำนึก หรือดวงวิญญาณซึ่งคงอยู่ตลอดไป ไม่สามารถแยกสลายได้ เพราะเป็นจุดของพลังงานที่เล็กที่สุด ดวงวิญญาณมีองค์ประกอบ 3 ส่วน จิตใจ สติปัญญา และสันสการ์หรือจิตใต้สำนึก

จิตใจ (Mind) คือส่วนที่คิด มีอารมณ์ มีความปรารถนา ความคิดไปได้ไกล ทั้งคิดคาดหวังถึงอนาคต หรือดึงประสบการณ์และอารมณ์ในอดีตกลับมาได้ จิตใจจึงไม่ใช่อวัยวะ ไม่ใช่หัวใจหรือสมอง

สติปัญญา (Intellect) คือส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่จดจำ แยกแยะตัดสิน ประเมินความคิดต่างๆ สติปัญญาที่ลึกล้ำกว้างไกล จะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตนเองได้อย่างกระจ่างชัดตามธรรมชาติ

สันสการ์ (Sanskar) รอยกรรมหรือรอยประทับ คือจิตใต้สำนึก ที่บันทึกประสบการณ์และการกระทำต่างๆในอดีตไว้ในรูปของอุปนิสัย อารมณ์ ความสามารถเฉพาะ บุคลืกภาพ ความเชื่อ สัญชาตญาณ และค่านิยม การกระทำหนึ่งๆที่เป็นประสบการณ์ จะสร้างสันสกาวร์ใหม่ๆขึ้น หรือย้ำสันสการ์เดิมจนกลายเป็นนิสัย รอยประทับที่เกิดขึ้นในดวงวิญณาน

คัดลอกจากเอกสารเผยแพร่ของ มูลนิธิ บารห์มา กุมารี มหาวิทยาลัยทางจิตของโลก

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

28 กรกฎาคม 2558

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 28 กรกฏาคม 2015 เวลา 16:16 น.  

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8601780

facebook

Twitter


บทความเก่า