Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ยุคโลกไร้พรมแดน ประเทศไทยและคนไทยต้องพัฒนาอีกมาก กรณีศึกษา UNESCO, APEC และ ASEAN 2015

ยุคโลกไร้พรมแดน ประเทศไทยและคนไทยต้องพัฒนาอีกมาก กรณีศึกษา UNESCO, APEC และ ASEAN 2015

พิมพ์ PDF

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรื่อง ASEAN 2015 ผมว่า ประเทศไทยมีปัญหา 3 เรื่อง

-ยังไม่เป็นมืออาชีพ

-ยังไม่ปรับทัศนคติสู่การอยู่ร่วมกับชาติอื่นๆ

-สุดท้ายคือยังไม่เป็นสังคมนานาชาติ หรือยังปรับตัวเข้ากับสากลไม่ได้ดีและยังหาประโยชน์จากโลกไร้พรมแดนไม่พอเพียง

เรื่องนี้ผมคิดว่า มาจากเหตุผลหนึ่งคือ

-ความภูมิใจที่คนไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นใคร จึงทำให้เกิดนิสัยและค่านิยมดังกล่าว

-ประเทศไทยไม่เคยลำบาก มีทุกอย่างเกินพอ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

-อยู่อย่างไรก็รอดโดยไม่มีความเจ็บปวด

แต่สิ่งที่คนไทยคาดไม่ถึงคือ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วหรือ Change ซึ่งมาถึงประเทศเราอย่างรวดเร็วและเราปรับตัวไม่ทันเพื่อให้ได้ประโยชน์จากโลกไร้พรมแดน ในระดับประเทศ ยังขาดผู้นำที่จะชี้แนวทางที่ควรจะไป บางครั้งเรายังอยู่กับที่ ยังเรียกร้องการเลือกตั้งและประชานิยมแบบเดิมๆ ยังพอใจกับสิ่งเก่าๆ หรืออาจเรียกว่าชอบสบาย “Comfort Zone”

ยกตัวอย่างประเทศเกาหลี การเข้าสังคมนานาชาติ หรือจัดการกับโลกไร้พรมแดน ทำเป็นระบบที่เกิดขึ้นคล้ายๆ Team Korea

ยกตัวอย่างเรื่องธุรกิจระหว่างประเทศ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ หรือภาควิชาการหากมีการทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือกัน ไม่ขัดขา ไม่แข่งขันกันเอง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เอกชนและวิชาการ จะสามารถสร้างรายได้จากโลกไร้พรมแดนได้ดีมาก น่าศึกษาอย่างยิ่ง

ทีมเกาหลีจึงประสบความสำเร็จอย่างมากในการทำงานระหว่างประเทศ แม้กระทั่งในการฝึกพูดภาษาอังกฤษ ทีมเกาหลีก็ทำได้ดีกว่าคนไทยมากเพราะเขามีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล

กรณีประเทศไทย เรื่องโลกไร้พรมแดน ยกตัวอย่างให้เป็นรูปธรรม 3 เรื่อง

เรื่องแรกคือ เรื่อง UNESCO เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีการสัมมนาระดับชาติซึ่งเชิญผมไปร่วมงานด้วยเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในบทบาทของไทยในเวทียูเนสโก “อนาคตไทยในเวทียูเนสโก” ซึ่งเป็นองค์การสหประชาชาติมีอิทธิพลต่อโลกมาก และน่าเสียดายที่ประเทศไทยยังใช้ประโยชน์จาก UNESCO ต่อคนไทยได้น้อยเกินไป เรียกว่าเป็นนโยบายตั้งรับ ไม่มีนโยบายเชิงรุก

เพราะ UNESCO คือสมบัติของโลก มีคุณค่า มีความรู้และภูมิปัญญามากมาย ประเทศไทยต้องเสียค่าสมาชิกทุกปี ปีละ 60 ล้านบาท

ต้องยอมรับว่า UNESCO เป็นองค์กรที่มีความรู้ในหลายๆ ศาสตร์ เช่น

-วิทยาศาสตร์

-วัฒนธรรม

-การศึกษา

รวมทั้งบทบาทของสื่อ UNESCO เป็นองค์กรที่มีความหลากหลาย ผมเรียกว่าเป็นองค์กรที่มีทุนทางปัญญา และมี Value Diversity มาก ควรทำแนวทางเหล่านี้ให้ประชาชนคนไทยได้ประโยชน์ แต่ประเทศไทยใช้ประโยชน์จาก UNESCO น้อยเกินไป เพราะโครงสร้างแข็งตัวคือให้ภาครัฐรับผิดชอบแต่ผู้เดียว ไม่มีกลไกที่จะสื่อสารถ่ายทอดแนวคิดและปัญญาเหล่านั้นไปสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ต้องการความรู้ของ UNESCO เพื่อประโยชน์ต่อคนไทย จึงเกิดเป็นสาเหตุของการปรับ Mindset เรื่องสังคมไร้พรมแดนและการร่วมมือกับต่างประเทศ น่าจะเป็นหัวใจที่สำคัญใน 20 ปี ข้างหน้าของคนในประเทศไทย

ปัญหาไม่ใช่มีแค่อ่อนภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ขาดความต่อเนื่องในการทำงาน คนรุ่นเก่าก็เกษียณไป โดยไม่ได้ฝึกคนรุ่นใหม่ให้มาทดแทนคนรุ่นเก่า และการทำงานโดยใช้รัฐ แบบราชการเป็นหลัก ควรต้องเสริมระบบ Network แบบไม่เป็นทางการ โดยเอานักวิชาการ NGOs นักธุรกิจ สำนักงาน UNESCO ในกรุงเทพฯ แม้กระทั่งชุมชนมาเป็นแนวร่วมสร้างเครือข่ายและขยายความรู้ไปยังภูมิภาค (Clusters) ต่างๆ โดยเน้นความต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง เพื่อใช้ความรู้ของ UNESCO ให้ขยายไปสู่กลุ่มเป้าหมายของคนไทยเพิ่มขึ้น

ส่วน ASEAN 2015 ก็สะท้อนภาพความอ่อนแอของประเทศไทย ในการเข้าสู่สังคมนานาชาติ ถึงแม้ว่าจะอยู่ใกล้ๆ มีพรมแดนติดกัน แต่คนไทยก็ยังไม่รู้เขา ไม่ศึกษาประเทศเหล่านี้ว่า เมื่อเข้าอาเซียนจะได้อะไรจึงต้องปรับ Mindset กันอีกมาก

ส่วน APEC ผมมีตัวอย่างที่ดีเพราะยุคหนึ่ง กระทรวงแรงงานเสนอชื่อผมเป็นประธาน APEC HRD (พัฒนาทรัพยากรมนุษย์) ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีบทบาทนำ ยังมีคณะกรรมการอีกหลายชุดเช่น กรรมการ SMEs ทางด้านเศรษฐกิจ ด้านพลังงาน ที่คนไทยเป็นแค่พระอันดับ ขาดการไปเป็นผู้นำในคณะกรรมการเหล่านั้น แค่ไปเมืองนอกแต่ไม่ได้อะไรกลับมาเลย ในอนาคต น่าจะสนับสนุนให้คนไทยมีบทบาทนำในเวที APEC มากขึ้น

จึงขอฝากแนวคิดเหล่านี้ให้ผู้อ่านนำไปพิจารณาว่า ประเทศไทยและคนไทยจะปรับตัวอย่างไร เมื่อการเข้าสู่โลกไร้พรมแดนในทุกๆ ด้านให้มีประโยชน์ต่อประเทศได้มากกว่านี้

จีระ หงส์ลดารมภ์
dr.chira@hotmail.c

คัดลอกจาก บทเรียนจากความจริง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2559
แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2016 เวลา 14:41 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > ยุคโลกไร้พรมแดน ประเทศไทยและคนไทยต้องพัฒนาอีกมาก กรณีศึกษา UNESCO, APEC และ ASEAN 2015

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8602164

facebook

Twitter


บทความเก่า