Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > คำถามจาก ศ.กิตติคุณ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ถึง 14 นศ.และนักเคลื่อนไหวที่อ้างประชาธิปไตย

คำถามจาก ศ.กิตติคุณ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ถึง 14 นศ.และนักเคลื่อนไหวที่อ้างประชาธิปไตย

พิมพ์ PDF

หลังเหตุการณ์การเคลื่อนไหวต้านคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. โดยนักเคลื่อนไหวรวมถึงนักศึกษาส่วนหนึ่ง กระทั่งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมในข้อหาขัดขืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ล่าสุด  โลกออนไลน์มีการเผยงานเขียนชื่อบทความ”อย่ายอมให้ไทยตกเป็นทาสของประชาธิปไตยจอมปลอมอีกเลย” โดย ดร.เขียน ธีระวิทย์  ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ วิพากษ์วิจารณ์ นักเคลื่อนไหวตามแนวทางประชาธิปไตย รวมถึงตั้งคำถามเชิงวิพากษ์ต่อการเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ของนักศึกษากลุ่มดังกล่าว มติชนออนไลน์เห็นว่าเป็นบทความที่นำเสนอความเห็นที่เเตกต่าง จึงขออนุญาตนำมาเสนอ มีรายละเอียดดังนี้

ระบอบประชาธิปไตยจอมปลอมของไทย ได้ผลิตครูบาอาจารย์-นิสิตนักศึกษาที่ไร้คุณธรรม – ไม่รู้อะไรผิดอะไรถูกออกมามากมาย พวกนี้รู้ปัญหาและชอบมองปัญหาแคบๆ ด้านเดียว ขาดจิตสำนึกที่จะพิจารณาว่าการทำงานการเมืองของพวกเขาจะมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ส่วนรวมอย่างไร หรือไม่ สื่อมวลชนก็มีคุณภาพตกต่ำเช่นเดียวกัน พวกนิสิตนักศึกษา-อาจารย์ และสื่อมวลชนที่ออกมาเคลื่อนไหวส่งเสริมประชาธิปไตยจอมปลอมนั้นอาจจะมีจำนวนน้อย แต่พวกเขาสามารถทำให้บ้านเมืองปั่นป่วนได้

ปัญหาการเมืองเรื่องร้อนของไทยตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม จนถึงปัจจุบันคือ การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา นำโดย “กลุ่มดาวดิน” ผู้สนับสนุน และพันธมิตร พวกเขาได้ทำกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลในเชิงสัญลักษณ์อย่างต่อเนื่อง เลือกเอาวันครบรอบหนึ่งปีของการรัฐประหารและวันครบรอบ 83 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย แกนนำได้ถือโอกาสนี้ยกระดับ “กลุ่มดาวดิน” ให้เป็น “ขบวนการประชาธิปไตยใหม่” โดยการจุดชนวนการต่อต้านรัฐบาลทหารมาเป็นประกาย ประกาศตัวไม่ยอมรับอำนาจของรัฐบาลทหาร และไม่ยอมทำตามกฎหมายของประเทศ พวกเขาพากันออกไปแสดงสัญลักษณ์ต่อต้านรัฐบาลประยุทธ์ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และที่หอศิลป์ สยามสแควร์ และเดินแห่ป้ายต่อต้านรัฐบาลให้สื่อมวลชนทำข่าวหลายวันอย่างต่อเนื่อง

เมื่อแกนนำ 14 คนของขบวนการถูกหมายเรียก (ไม่ใช่หมายจับ) จากตำรวจให้ไปรายงานตัวที่สถานีตำรวจ พวกเขาก็พากันไปห้อมล้อมสถานีตำรวจนครบาลปทุมวันเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ใช้เครื่องโทรโข่งประกาศให้ตำรวจรับรู้ว่า พวกเขาไม่ได้มาตามหมายเรียก เพราะพวกเขาไม่ยอมรับอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร แต่มาแจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีกับตำรวจที่ทำร้ายร่างกายของพวกเขาในการเข้าจับกุมพวกเขาที่หอศิลป์ 2 วันก่อนหน้านั้น

ความจริงพวกเขาต้องการพาตัวไปยัดเยียดให้ตำรวจจับ จะได้เป็นฮีโร่ในข่าวเหมือนผู้ก่อชนวน “14 ตุลา” (พ.ศ. 2516) แต่รัฐบาลก็รู้ทัน ไม่จับทันทีให้มีคนคอยผสมโรงเข้าร่วมจนเกิดความวุ่นวาย รอให้ผ่านไป 2 วันจึงได้หมายจับจับไปขัง เป็นอันว่าผู้ก่อการทั้ง 14 ได้ตามที่พวกเขาต้องการ เพื่อแสดงว่าตนเป็น วีรชนของชาติพวกเขาประกาศอย่างโจ่งแจ้งว่าจะไม่ขอประกันตัวออกมาสู้คดี

สื่อมวลชนหลายคนและหลายแหล่งก็เสนอข่าวตามที่พวกเขาต้องการบางรายขยายข่าวให้ครึกโครมยกเอา“นักวิชาการ” หรือ “นักวิชาเกิน” มาอ้างว่าได้พูดอย่างนั้นอย่างนี้ โดยบิดเบือนคำพูดบ้างจริงบ้าง และแถมเอาสิ่งที่ตนต้องการพูดเข้าข้างขบวนการเข้าไปบ้าง เพื่อกระพือข่าวหาพวกสนับสนุนจากภายในและภายนอกประเทศให้มากขึ้น ข้าพเจ้าอยากถาม “ฮีโร่” ทั้ง 14 – ผู้สมคบ และผู้สนับสนุนใน 8 ประเด็นต่อไปนี้

1. พวกท่านต้องการอะไร ต้องการประชาธิปไตยจอมปลอมที่มีมาก่อนถูกรัฐประหารใช่หรือไม่? ต้องการทำประเทศให้ปั่นป่วนถึงจุดที่จะมีสงครามกลางเมืองอีกใช่หรือไม่ ?

2. พวกท่านต้องการเป็น “ฮีโร่” โดยการเลียนแบบกรณี “ 14 ตุลา” ใช่หรือไม่? รัฐบาลประยุทธ์ มีอะไรที่เหมือนกับรัฐบาลถนอม-ประภาสบ้าง? มีเรื่องฉาวโฉ่ เช่นเดียวกับเรื่อง“ทุ่งใหญ่นเรศวร” หรือเปล่า?

3. การโค่นล้มรัฐบาลถนอม-ประภาส เปรียบเทียบกับการโค่นล้มรัฐบาลประยุทธ์ ถ้าทำสำเร็จ ผลจะแตกต่างกันอย่างไร? อำนาจจะเปลี่ยนมือไปให้ใคร? หลายคนที่เข้าร่วม “ขบวนการประชาธิปไตยใหม่” รู้อยู่แก่ใจแล้วว่าใครจะกลับมาแพร่พันธุ์ลัทธิประชาธิปไตยจอมปลอมใช่หรือไม่?

4. พลเอกประยุทธ์ ผู้นำรัฐประหารคนปัจจุบัน ได้สัญญากับพวกท่านแล้วว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาประเทศชาติ (หลังจากยับยั้งสงครามกลางเมืองได้แล้ว) เขาได้ทำผิดสัญญาอะไรบ้างหรือเปล่า? เขาไม่เคยบอกพวกท่านใช่ไหมว่ารัฐบาลชั่วคราวของพวกเขาเป็นประชาธิปไตย? สิ่งที่พวกท่าน รวมทั้งสื่อมวลชนออกมากล่าวโทษรัฐบาลทหารได้อย่างเกือบเสรีอย่างทุกวันนี้ ต้องถือว่าเป็นลาภมิควรได้แล้วใช่หรือไม่? ยังจะมาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเหมือนประเทศประชาธิปไตยตะวันตก กระนั้นเชียวหรือ?

5. พวกท่านต้องการเอาต่างชาติมาเป็นพันธมิตรต่อต้านรัฐบาลของคนไทยใช่หรือไม่? พวกเขาไม่รู้ปัญหาจริงๆ ของไทยหรอก ถ้าประเทศไทยจะตกต่ำจนเป็นทาสของพวกเขา ท่านก็จะมีความสุขอยู่ภายใต้แอกของพวกเขาใช่หรือไม่?

6. สำหรับพวกที่คิดว่าจะสร้างขบวนการ “14 ตุลา” ยุคใหม่ขึ้นมา ท่านได้คิดถึงประเด็นเหล่านี้หรือเปล่า? จริงอยู่ พวกท่านอาจจะได้เปรียบผู้นำเคลื่อนไหว “14 ตุลา” เพราะอาศัยโทรศัพท์มือถือรวมพลังได้รวดเร็วกว่า แต่ข้อได้เปรียบของท่านก็คงถูกหักล้างโดยฝ่ายรัฐบาล ซึ่งคอยจับตาตรวจตราการเคลื่อนไหวของพวกท่านด้วยเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่เช่นกัน ใช่หรือไม่? นอกจากนั้นผู้นำการจัดตั้งของพวกท่านยังด้อยปัญญากว่าคนสมัย “14 ตุลา” มาก ท่านยอมรับหรือไม่? และที่สำคัญคือ ประชาชนคนไทยที่มีอารมณ์ร่วมต่อต้านรัฐบาลประยุทธ์ของท่านมีน้อยกว่าของ 40 ปีที่แล้ว เทียบกันไม่ได้ ทั้งจำนวนและคุณภาพใช่หรือไม่?

7. ท่านหวังจะให้รัฐบาลประยุทธ์ปล่อยตัวท่านโดยไม่ต้องขึ้นศาล หรือขึ้นศาลพลเรือนใช่หรือไม่? มูลเหตุที่บ้านเมืองเราปั่นป่วนวุ่นวายกันมาก่อนรัฐประหารนั้น เป็นเพราะรัฐบาลไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดใช่หรือไม่? ท่านคิดว่าพลเอกประยุทธ์จะใช้อำนาจพิเศษตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาตรา 44 มาระงับการทำหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าพนักงานกระนั้นหรือ? การนิรโทษกรรมหลังศาลตัดสินจำคุกแล้วนั่นอาจเป็นไปได้ตามหลักสากล

8. นักเคลื่อนไหวทั้งหลาย รวมทั้งสื่อมวลชนที่เป็นแนวร่วมด้วย อย่าสร้างปัญหาให้รัฐบาลชั่วคราวนี้ต้องตามแก้อีกได้ไหม? ท่านไม่กลัวหรือว่า ถ้ารัฐบาลล้มเหลวในการสร้างรากฐานประชาธิปไตยให้ประเทศ พวกเขาจะโยนความผิดมาให้พวกท่าน ทุกวันนี้ แม้จะอยู่ภายใต้รัฐบาลทหาร ท่านสามารถใช้สิทธิเสรีภาพตามครรลองระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงได้อยู่แล้ว ใช่หรือไม่ ถ้าท่านไม่ทำผิดกฎหมาย หรือก่อวินาศกรรมการปฏิรูปประเทศ ?

คนไทยทุกคน ไม่ว่าจะมีฐานะและอาชีพใด มีชะตากรรมร่วมกัน แต่เรามีความต้องการและทัศนคติทางการเมืองต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง ไม่มีรัฐบาลใดสามารถทำให้คนทุกคนพอใจในทุกสิ่งทุกอย่างได้ หลักที่รัฐบาลต้องยึดถือให้มั่นคงคือ จะต้องบังคับใช้กฎหมายที่ใช้อยู่อย่างเคร่งครัด ถ้าแก้ปัญหาโดยวิธีอะลุ่มอล่วย หรือ “ปรองดอง”ทางการเมืองเพื่อเอาใจบุคคลกลุ่มหนึ่ง บุคคลกลุ่มอื่นก็จะเกาะกลุ่มขึ้นมาประท้วงบ้าง ชะตากรรมของคนไทยทุกคนก็จะจมปรักอยู่กับ “เสรีภาพในการชุมนุม”นี่เอง พอกันทีดีไหม? ถามตัวเองว่าจะช่วยชาติช่วยแผ่นดินอย่างไรดีกว่า  อย่ายอมให้ไทยตกเป็นทาสของประชาธิปไตยจอมปลอมอีกเลย”

คัดลอกจาก http://chaoprayanews.com/blog/socialtalk/2015/07/10/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B8%A8-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A8/

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 13 กรกฏาคม 2016 เวลา 12:26 น.  
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > คำถามจาก ศ.กิตติคุณ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ถึง 14 นศ.และนักเคลื่อนไหวที่อ้างประชาธิปไตย

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8603969

facebook

Twitter


บทความเก่า