Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง 2973. อาหารกับความยั่งยืนของโลก

ชีวิตที่พอเพียง 2973. อาหารกับความยั่งยืนของโลก

พิมพ์ PDF

การประชุมประจำปีของ บวท. เรื่อง “มุมมองการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยด้านการสูญเสีย ตลอดห่วงโซ่การผลิตและบริโภคอาหาร” เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐   ช่วยเปิดกระโหลกของผม ในเรื่องที่ผมไม่เคยคิดเลย    ว่าอาหารที่เราผลิตได้ สูญเสียไปถึงหนึ่งในสาม   คิดเป็นน้ำหนัก ๑,๓๐๐ ล้านตัน/ปี    หรือ ๓,๓๐๐ ล้านตันของก๊าซเรือนกระจก (ร้อยละ ๗ ของการเกิดก๊าซเรือนกระจกทั้งโลก)     และการสูญเสียอาหารดังกล่าวมาจากการใช้น้ำ ๑๗๓,๐๐๐ ล้าน ลบ.ม.  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๒๔ ของน้ำที่ใช้ในการเกษตร   


เรื่องนี้เพิ่งได้รับความใส่ใจ  รวบรวมข้อมูล  และหาทางลดความสูญเสีย โดย UNEP และ FAO   เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ SDG   และเพื่อลดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก    


การสูญเสียอาหารมี ๒ แบบ คือ food loss (สูญเสียโดยไม่ตั้งใจ)  กับ food waste (ทิ้งไปอย่างจงใจ)     และการสูญเสียนั้นเกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่ตั้งแต่การผลิต การขนส่ง การปรุง การจำหน่าย  ไปจนถึงการบริโภค


รศ. ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร บอกว่า นิยามของ  FW และ FL มีแตกต่างกันมากมาย นับร้อยนิยาม    มีเอกสาร Food Loss and Waste Accounting and Report Standard    แต่ ดร. นิพนธ์ก็บอกว่ามีคนถกเถียง ต่อเกณฑ์ในเอกสารนี้มากมาย


  ดร. นิพนธ์บอกว่า ประเทศไทยเรามีความมั่นคงทางอาหารสูงมาก    และดีขึ้นเรื่อยๆ    ฟัง ดร. นิพนธ์แล้ว เกิดความภาคภูมิใจต่อพัฒนาการด้านการเกษตรของไทย    และผมชอบที่ท่านสรุปว่า การดำเนินการด้าน FWFL ของไทยควรทำภายใต้บริบทของเราเอง   เพื่อ food security ของเรา  


เรื่องอาหารเป็นเรื่องซับซ้อน    ในโลกมีคนหิวโหย กินอาหารไม่พอ ๘๗๐ ล้านคน    แต่ในขณะเดียวกัน มีคนที่อ้วน๖๗๑ ล้านคน  


FWFL เชื่อมโยงกับการบริโภคที่ไม่สมเหตุสมผล    นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ พูดเรื่อง “การจัดการด้านสาธารณสุขกับการสูญเสียด้านการบริโภค”     มีความซับซ้อนมากมาย   มีการนิยามการสูญเสียทางกายภาพ  กับการสูญเสียทางชีวภาพ (เช่น บริโภคมากเกินพอดี)     ประเด็นสำคัญที่สุดคือการจัดการพฤติกรรมการบริโภค ที่ทำทั้งการสื่อสารเพื่อ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่วนบุคคล  กับการจัดการสภาพแวดล้อม (เช่นออกกฏหมายห้ามโฆษณาเหล้าและบุหรี่)   การจัดการสภาพแวดล้อมจะได้ผลมากกว่า 

ผมนึกเถียงคุณหมอสมศักดิ์ในใจ ว่าการบริโภคที่ไม่สมเหตุสมผลในบางกรณีเป็นเพราะถูกหลอก  ดัง บันทึกนี้ 


ผมได้ความรู้จากเชฟในห้องอาหารของโรงแรมหรู ว่าวัตถุดิบที่เป็น waste (เหลือทิ้ง) จากที่หนึ่ง   อาจเป็นวัตถุดิบที่ดีในอีกที่หนึ่งก็ได้  


ฟังการประชุมตลอดวัน ผมนึกถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง     




วิจารณ์ พานิช

๓๐ มิ.ย. ๖๐ 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2017 เวลา 14:02 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง 2973. อาหารกับความยั่งยืนของโลก

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8602356

facebook

Twitter


บทความเก่า