Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ครึ่งศตวรรษที่สองของ มอ. : เชียร์ให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ครึ่งศตวรรษที่สองของ มอ. : เชียร์ให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

พิมพ์ PDF

ครึ่งศตวรรษที่สองของ มอ. : เชียร์ให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

วิจารณ์ พานิช

กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

………….

 

 

หนังสือเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จในวาระที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก่อตั้งมาครบ ๕๐ ปี คือครึ่งศตวรรษ    ผมเดาว่าคงจะมีผู้เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จำนวนมากเขียนเรื่องราว เกี่ยวกับความสำเร็จที่น่าชื่นชมนี้   รวมทั้งจดหมายข่าว สาร ม.อ. ฉบับประจำเดือนมกราคม - มีนาคม ๒๕๖๐   ก็ได้ขึ้นปกความสำเร็จว่า U.S. News and World Report จัดอันดับมหาวิทยาลัยดีที่สุดของไทย อันดับที่ ๕  จากการจัดอันดับปี ๒๕๖๐  (https://issuu.com/psupr/docs/6...)    สรุปได้ว่า มั่นใจได้ว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับต้นๆ ของประเทศ 


ผมจึงขอเขียนร่วมแสดงความชื่นชมในโอกาสเฉลิมฉลองมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีอายุครบครึ่ง ศตวรรษ โดยการเชียร์ให้ประชาคม ม.อ. ร่วมกันทำให้ ม.อ. มีคุณค่ายิ่งขึ้นไปอีก    คือเข้าทำหน้าที่ผู้นำ การเปลี่ยนแปลง (change agent) เพื่อเปลี่ยนประเทศไทยจากประเทศรายได้ปานหลาง สู่ประเทศที่มีรายได้สูง  ที่เรียกว่า ประเทศไทย ๔.๐    ซึ่งหมายความว่า ม.อ. เข้าร่วมขบวนการเปลี่ยนสังคมไทยจากสังคมที่ทำมาหากิน เน้นการใช้แรงงาน เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ  เน้นการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ    ไปสู่การทำมาหากินโดย การสร้างนวัตกรรม  ในทุกภาคส่วนของสังคม

ผมขอเชียร์ให้ประชาคม ม.อ. สามัคคีกันทำสิ่งที่เรียกว่า การผูกพันกับสังคม (social engagement) เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมนวัตกรรม บูรณาการอยู่ในทุกภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย    


นั่นหมายความว่า กิจกรรมวิชาการทุกด้าน จะเน้นที่ความผูกพันกับสังคม    จะไม่เป็นวิชาการลอย ที่เป็นวิชาการเพื่อวิชาการเท่านั้น    ต้องเป็นวิชาการคุณภาพสูงที่ตอบโจทย์ของสังคม หรือเปลี่ยนแปลง (transform) สังคมไทย    สู่สังคมนวัตกรรม


หากรับคำท้าทายนี้ ประชาคม ม.อ. ต้องร่วมกันเปลี่ยนแปลง (transform) ม.อ. เอง ทั้งด้านภารกิจ (function), โครงสร้าง (form / structure), และกฎเกณฑ์กติกา (regulation) ให้เอื้อต่อการทำงานวิชาการ เพื่อการสร้างสรรค์สังคม  หรือวิชาการที่ผูกพันกับสังคมไทย


ที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างวัฒนธรรมองค์กร (corporate culture) ให้เป็นองค์กรที่ผูกพันกับสังคม (ไทย)

……………………


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย  ใน สภามหาวิทยาลัย

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2017 เวลา 14:07 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ครึ่งศตวรรษที่สองของ มอ. : เชียร์ให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8603133

facebook

Twitter


บทความเก่า