Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การบริหารการจัดการ > สรุปการบรรยายหัวข้อ การสัมมนาโครงการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่สื่อมวลชน โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปการบรรยายหัวข้อ การสัมมนาโครงการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่สื่อมวลชน โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พิมพ์ PDF

สรุปการบรรยายหัวข้อ การสัมมนาโครงการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่สื่อมวลชน

ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม 2556

สำนักงาน กสทช.

บทบาทขององค์กรกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ

โทรคมนาคมของประเทศไทย

โดย  พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี  ประธาน กสทช.


ทำไมต้องมีการกำกับดูแล

1.  สร้างระบบการจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส

2.  การส่งเสริมการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่

3.  คุ้มครองผู้บริโภคและสร้างมูลค่าสาธารณะ

4.  กำหนดทิศทางอุตสาหกรรมกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาค

-  การประมูล 3 จี ได้เงิน 4 หมื่นล้าน เข้ากระทรวงการคลัง

-  ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้น เนื่องจาก 3จี ทำให้คุณภาพดีขึ้น

-  คุ้มครองผู้บริโภค ราคา 3 จี ลดลง 15 %

กสทช. ในปัจจุบัน มาจากการสรรหาโดยตั้งคณะกรรมการสรรหา 15 ท่าน จากหน่วยภาครัฐเอกชน 2 ชุด ทั้งหมด 44 คน แล้วคัดเลือกเหลือ 11 คน

การบริหารคลื่นความถี่

1.  จัดทำแผนแม่บท

2.  จัดสรรคลื่นความถี่

3.  ออกใบอนุญาต

การกำกับดูแลประกอบกิจการ

1.  ด้านกำกับดูแล

2.  ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

3.  ด้านการให้บริการโดยทั่วถึง

การบริหารกองทุนวิจัย

ให้ประชาชนไดรับประโยชน์อย่างทั่วถึง

ผลงาน

-  Digital TV

-  Digital Radio

-  3g

-  4g

ปีแห่งการคุ้มครองผู้บริโภค

-  คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพผู้ใช้บริการ

-  มีศูนย์การเรียนรู้

เป้าหมายที่ท้าทายกสทช.

การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ  และเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สรุปการบรรยาย หวัข้อ “ถึงเวลา 4G ประเทศไทย

โดย  พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธาน กทค.

คุณเจษฎา ศิวรักษ์

อาจารย์ลิขิต หงส์ลดารมภ์ ที่ปรึกษากรรมการ กสทช.

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปราย โดย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

 

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

-  วันนี้เป็นช่วงที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ขอยินดีกับนักข่าวที่จะไปด้วยกันในครั้งนี้

ดร.เจษฎา ศิวรักษ์

-   ก่อนจะพูดถึง 4 G เราเริ่มทำ 1 G คือสมัยการทำโทรศัพท์ยุคที่ 1 ให้บริการ NMP หรือระบบ Amp มีผู้ใช้ไม่กี่คนประมาณ 100,00 คน

-  2G เป็นระบบเอามาใช้แทนที่โทรศัพท์ประจำที่ เป็นระบบดิจิตอล แทน Analog

-  จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่า 6,500ราย โทรศัพท์เคลื่อนที่ทดแทนโทรศัพท์ประจำที่ เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีและช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี

-  3G เป็นการเกิดขึ้นของการให้บริการโทรศัพท์แบบ Data มีการใช้ VDO call  และ Voice Call

-  4G มาพร้อมสิ่งใหม่เรียกว่า M2M (Machine to Machine) เป็นการตีตามจำนวนสิ่งของที่สามารถคุยกันได้  มีความถี่ใหม่ ๆ ที่เข้ามา เทคโนโลยี LTE (Longterm Evaluation) ญี่ปุ่นเช่น Docomo นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดี เปิดให้บริการภายใต้ชื่อของ CXI 2.1 กิกกะเฮิร์ต คาดว่าในปี 2515 น่าจะเพิ่มผู้ใช้เป็น 41 ล้านราย ญี่ปุ่นเริ่มพัฒนาเข้าสู่ 4 G มากขึ้น

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

-  ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก ๆ ที่ ใช้ 3 G เป็นการเปลี่ยนเทคโนโลยีในปี 2000 ตัวอย่าง Docomo  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล

-  ในอนาคตอันใกล้ อาจจะมีความนิยมใช้งานกันเช่นในระบบ Cloud เช่นถ้าเราจะไปพารากอน ขับรถไปชิดลม เอารถไปจอดไว้ เอาบัตร ID ไปแตะ เพื่อสามารถเช่ารถอีกคันหนึ่งได้ นี่คือระบบการใช้เทคโนโลยีแบบ M2M

-  ในอนาคตอาจมีข้อถกเถียงว่าใครจะเป็นคนดูแลกันแน่ อย่างตัวอย่างในเมืองนอกมีเพียงองค์กรเดียว แต่ไทยยังต้องดูก่อน มีการประมูลสัญญาสัมปทาน  ในอนาคตอาจทำให้มีการแข่งขันมากขึ้น และเข้า AEC  ดังนั้นในอนาคต ต้องมีการเปลี่ยนแปลง มีการเข้ามาลงทุนมากขึ้น เกิดโอเปอเรเตอร์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น สิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนคือการทำแบบ Licensing รัฐกับเอกชน ในทั่วโลกมีการตั้งองค์กรเป็น Regulator และมีกระทรวง ICT ขึ้นอยู่กับใครจะ  Authorize

-  เราเป็น Regulator  ในการให้คำปรึกษาและดำเนินการเทคนิค

-  สิ่งที่สำคัญคือย่างก้าวต่อไป ยังมีข้อโต้แย้งกัน เป็นเรื่องธรรมดาเหมือนทุกประเทศ เช่นว่าทำไม กสทช.ยังเอาคลื่นมาประมูลหลังจากหมดสัญญา กสทช.ถือว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ การเปลี่ยนระบบสัญญาสัมปทานมาสู่ใบอนุญาตเพื่อให้โอเปอเรเตอร์มีจุดกำเนิดที่เท่าเทียมกันสามารถแข่งขันกันได้

-  1800 เมกะเฮิร์ต ซึ่งเข้ามาใช้งานในระบบ Longterm Evaluation  ในขณะนี้ ITU ได้รับรองการเห็นพ้องกันในระดับชุมชน พบว่าเป็นคลื่นทีรับรองในหลายประเทศ  2 รายที่จะหมดสัญญาสัมปทาน 2.5 เมกะเฮิร์ตยังแย่งกันอยู่ คือ1,800 เป็นไปได้ทั้งระบบเก่าและระบบใหม่

-  การบริหาจัดการทางกฎหมายค่อนข้างเยอะ  ในอนาคตจะมีเทคโนโลยีที่สามารถทำอะไรก็ได้ ระบบเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียว เทคโนโลยีในอนาคตจะหาช่องที่ว่างแล้วไปใช้เทคโนโลยีตรงนั้น ระบบการบริการการเปลี่ยนแปลงใช้การจัดการที่มาก  ส่วนใหญ่ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นอิสระด้านเทคโนโลยีมาก เพราะเขาทำเทคโนโลยีเอง  เพราะฉะนั้นทุกอย่างเปลี่ยนไปมากแล้วในปัจจุบัน การบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงไป การคิดมูลค่าคลื่นเปลี่ยนไปมาก อย่างในญี่ปุ่นไม่มีการประมูลคลื่นอย่างเรา แต่เขาจะ Assign ไปให้ทำ ไม่ยึดติดกับการประมูลคลื่นเท่าไหร่ ไม่เหมือนในยุโรป และอเมริกา ที่ยึดการทำออกชั่นในการประมูล

 

 

ดร.เจษฎาศิวรักษ์

ที่ญี่ปุ่น มีการ Assign ให้บริษัททำ Docomo 1 ปีหลังจากการ Assign เปิดบริการได้ เขาทำมา 10 กว่าปีคิดว่าคลื่น 2,100 เมกะเฮิร์ต เหมาะกับการทำ 4 G ได้ จึงได้ลงมือทำ ทั่วโลกตอนนี้ 4 G อยู่ที่ 1800 เมกะเฮิร์ต  พบว่าคนที่กำหนดเทคโนโลยีโลกในวันนี้คือคนที่ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือมือถือ ที่ใช้กันอยู่ ไม่ใช่ Regulator

 

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

-  ญี่ปุ่นเป็น Case พิเศษมาก ๆ เพราะเขามีเทคโนโลยีของเขา เพียงแต่ไม่ได้ไป Fill out ITU เท่านั้น

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

-  ฝากให้สื่อมวลชนมองในอนาคตว่าประโยชน์สูงสุดของ 4 G ในประเทศไทยคืออะไร  ต้องมองเรื่องเทคโนโลยี ราคา การใช้สอย ประโยชน์ต่าง ๆ เรื่องการเมือง เรื่องกฎหมาย Complexity  การฟังแล้วต้องข้ามศาสตร์ ไม่ใช่เทคโนโลยีอย่างเดียวเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางราคา

ดร.ลิขิต  หงส์ลดารมภ์

-  ถึงเวลา 4 G ประเทศไทย คือเทคนิค เราต้องทำความเข้าใจว่าใครใช้อะไร ต้องใช้

1.  เวลาศึกษาว่า 4 G ประเทศไทยคืออะไร  ใครเป็นคนกำหนด  เทคโนโลยีที่เป็นกลาง ที่เราจะใช้คืออะไร  ประโยชน์ของ 4 G  ใครเป็นคนกำหนด

2.  ใครเป็นผู้กำหนดทิศทางอุตสาหกรรม คือ กสทช. ใครเป็นผู้กำหนดนโยบายการดำเนินงานของประเทศไทย  เรามีนโยบาย ICT 2010 ,2020  ไปญี่ปุ่น นโยบายที่เขาดำเนินการระบบโทรคมนาคมของญี่ปุ่น กำหนดทิศทางของอุตสาหกรรม ไม่ใช่กำหนดว่ามีหรือไม่

3  .ประโยชน์ของ 4 G  การกำหนดของ 4 G ต้องดูว่า GDP เพิ่มเท่าไหร่ เช่น ในอังกฤษบอกว่าจะมีกาเพิ่มการลงทุนประมาณ 500 ล้านปอนด์ใน 5 ปี สหรัฐบอกว่า 2 G ไป 3 G เพิ่มงาน 1.6 ล้านคน จาก 3G  ไป 4G เพิ่มงาน 2 ล้านคน  เจ้าภาพด้านนโยบายเทคโนโลยีของประเทศไทยไม่มีใครเป็นเจ้าภาพ สิ่งที่ได้ประโยชน์กับผู้บริโภคจะให้ประโยชน์มหาศาลหรือไม่ 4 G เร็วกว่า 3 G ประมาณ 6- 10 เท่า

ปัญหาใครได้ประโยชน์ ประเทศได้ประโยชน์แน่นอน ผู้บริโภคได้ประโยชน์ ประเทศไทยได้ประโยชน์หรือเสียเปรียบ ไทยผลิตไม่ได้เลยซื้ออย่างเดียวแต่ข้อดีคือ เงินบาทแข็งค่า เราสั่งได้เยอะมาก ไทยมีศักยภาพในการสรรหา แต่เสียเปรียบคือ Net Benefit ได้หรือไม่ ใครเป็นคนกำหนดเรื่องนี้ ประเทศไทยยังไม่มีเจ้าภาพ

ประโยชน์สรุปคือ เทคโนโลยีหาได้ ประเทศมีกำลังซื้อ เรามีความพร้อมที่จะมี 4 G หรือไม่ ตัวอย่างของประเทศจีน ผู้ผลิตยังไม่ได้รับประโยชน์สูงสุด ผู้ผลิตยังไม่สามารถพัฒนาได้ นี่เป็นตัวอย่างของการมองตัวเอง แต่ไทยไม่ค่อยมองตัวเองเท่าไหร่ สิ่งสำคัญคือ  กสทช.ไม่มีหน้าที่

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

-  กสทช.มีหน้าที่คือทำให้การใช้เทคโนโลยีได้เต็มประสิทธิภาพ

-  ประเทศไทยเคลี่อนตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในโลก

-  ส่วนใหญ่ประเทศที่มีอำนาจเทคโนโลยีมาก ๆ จะกำหนดทางเดินได้

-  เทคโนโลยีก้าวไปเร็ว กสทช.มีหน้าที่ดูว่าคลื่น 1,800 เมกะเฮิร์ต ITU กำหนดอย่างไร เช่นเป็นบรอดแบรนด์เป็นต้น  กสทช.ไม่สามาถกำหนดได้ว่าลึก ๆ จะเป็นอย่างไร

ดร.เจษฎา ศิวรักษ์

-  เราทำหน้าที่บริหารคลื่นความถี่ให้ได้ดีสุดตามกลไกที่ให้ไว้  การบริหารคลื่นความถี่ ยิ่งใช้มาก ยิ่งดี

-  ผู้ให้บริการ OTT Player ถ้าค่าใช้โทรศัพท์แพงอาจไปใช้ Line  หรือ Skype แทนได้ ดังนั้นธุรกิจ OTT ส่วนใหญ่เป็นการให้บริการฟรี และสปอนเซอร์ แต่ปัญหาเกิดการสั่นคลอนในวงการมือถือพอสมควร

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

-  พฤติกรรมผู้บริโภคเริ่มไปกำหนดการใช้งานเช่นการใช้ Line ทำให้การ Investment ผิดพลาดหมด

แสดงความคิดเห็น

-  อยากให้วิจารณ์เปรียบเทียบระบบใบอนุญาต 3 G กับที่ญี่ปุ่นที่ Assign ให้โอเปอเรเตอร์ไปเลยแต่ละระบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ดร.เศรษฐพงศ์ตอบ กสทช. ต้องทำตาม พ.ร.บ. แต่ทางเทคนิคอาจไม่ถูกต้องมากนัก ข้อดีข้อเสียมีต่างกัน บางประเทศให้บริการคลื่นความถี่เป็นหลัก บางประเทศมีประสบการณ์บอบช้ำเช่นญี่ปุน จะมองทั้งระบบ เขาต้องมองไปในอนาคต 10ปี จึงมองว่าการประมูลเป็นเรื่องเล็กมาก อย่าง Docomo เหมือน TOT ในไทยที่แยกไปเป็นบริษัทเอกชน ข้อดี ข้อเสีย เช่น อังกฤษ ประมูลทีหนึ่งได้เงินมาเยอะมากแต่เจ๊งระหว่างทาง รัฐต้องเข้าไปช่วย

ดร.เจษฎา ตอบ กสทช.เป็นองค์กรบริหารคลื่นความถี่แล้วมาสู่เครื่องมือจัดสรรคลื่นความถี่ มีหลายแบบ  คลื่นไม่ต้องไปกำกับดูแล เช่นคลื่น 2.4 การ Assign คือการไม่เข้าไปกำกับดูแล  มีกลไกย่อย 2 อันคือ  Comparative Selection Procedure (Beauty Contest) และ  Competitive Selection Precedure (Auction)  อย่าง EU ใช้วิธีทั้ง Beauty contest และ Auction

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

-  อยากให้สื่อมวลชนที่อยู่ในห้องนี้ Educate คนข้างนอกด้วย

-  Asean 2015 จะมีการตกลงเรื่องการลงทุน  เกี่ยวข้องกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในต่างประเทศ  กสทช.อาจมีงานวิจัยสักเรื่องในการเข้าสู่อาเซียน 2015

-  พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

-  ถ้าไปจำกัดคลื่นประมูลทั้งหมดอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องประสิทธิภาพ แต่ติดที่ข้อจำกัดทางกฎหมาย ดังนั้นควรหันมามองเรื่องกฎหมายเพื่อการแก้ไขในบางเรื่องเพราะว่าในระบบโทรคมนาคมควรดูทางด้านเทคนิคด้วย

แสดงความคิดเห็น

ในอนาคตคลี่นจะเป็นอย่างไร ?

ตอบ

-  คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ต GSM ยังอยู่ในประเทศไทย  คลื่นจาก 2 G เป็น 4 G  ส่วนคลื่น 900 เป็นหลักรับ GSM  เพราะว่าคนที่จะอยู่ได้ต้องใช้คลื่น 900 และ 1800

-  GSM 2.5 G จะอยู่กับโลกไปเกือบ 10 ปี งานวิจัยจะใช้ทั้ง 2 G  และ 4 G แตะกันอยู่

-  คลื่น 700 มีแนวโน้มไปทางคลื่น 4 G  ในยุโรปใช้คลื่น 700 มาทำบรอดแบรนด์

-  มีบริษัททำวิจัยคลื่น 700 จะเป็นอย่างไร

แสดงความคิดเห็น

กสทช.มองว่าตัวเองเป็นผู้บริหารคลื่นความถี่ หน้าที่คือแจกคลื่นเท่านั้นหรือ มีผลกระทบที่เกิดขึ้นมากมาย  กสทช.เคยมองเรื่องโทรศัพท์ที่ถูกโละทิ้งตรงนี้บางหรือไม่ กฎหมายเรื่องความปลอดภัย

ข้อเสนอแนะที่อยากจะเสนอในอนาคต 4 G มีทั้ง Assign และประมูล กสทช.ทำไมไม่เอา 2 ข้างมามิกซ์ เช่นคลื่น 1800 เอามาใช้ใน 4 G ทำไมไม่แบ่งกัน  ทำให้ในอนาคตโอเปอเรเตอร์สามารถแชร์ข้อมูลได้ดี  ใช้ทำให้ Win Win 3 ฝ่ายคือ User Operator และ กสทช.

ตอบ สิ่งที่หนักอกคือ Quality  ปัญหาที่เกิดคือจะอยู่ในชุมชนที่ค่อนข้างหนาแน่น เราจะทำอย่างไรเพราะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ เขาจะทำอย่างไรให้บริหารได้ดีขึ้น เรื่องขยะ อิเล็กทรอนิกส์เป็นหลายส่วนไม่ใช่กสทช.อย่างเดียว แต่กสทช.ก็ควรทำ Green Telecom  มีแนวโน้มในอนาคตเริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้น  ก.ไอซีที กสทช. ก.อุตสาหกรรมต้องหันหน้ามาคุยกันในเรื่องนี้

กสทช.ได้จัดสรรคลื่นแค่อย่างเดียวคือ 2.1 กิกกะเฮิร์ต  และการให้บริการที่ดีก็เป็นเรื่องที่กสทช.ควรทำ

แสดงความคิดเห็น

ถ้าคลื่น 900 หมดสัมปทานเราจะมาใช้คลื่นอะไร

ตอบ ในปี 2 ปี โทรคมนาคมจะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือเริ่มมีการใช้ระบบ Cloud Computing  ยังไม่สามารถตัดสินใจได้เรื่องระบบคลื่น 900

ดร.จีระ

-  กสทช. ควรมีการทำประเมินวัดผลหลังจากที่ให้การประมูล 3 G ไปอนาคตจะเป็นอย่างไร

-  นักข่าว สื่อมวลชนควรทำหน้าที่ในการกระจายข้อมูล

-  กสทช.ควรดูถึงผลกระทบต่อประชาชน และสิ่งแวดล้อมในอนาคตด้วย

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/522427

 
Home > Articles > การบริหารการจัดการ > สรุปการบรรยายหัวข้อ การสัมมนาโครงการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่สื่อมวลชน โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5606
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8603353

facebook

Twitter


บทความเก่า