Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > บทเรียนจากความจริง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บทเรียนจากความจริง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พิมพ์ PDF

ASEAN+1..ประเทศญี่ปุ่นอาจเป็นไปได้

ผมเขียนบทความอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช.) ให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสื่อมวลชน

กิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย

1) การจัดกิจกรรมสัมมนาให้แก่คณะสื่อมวลชนที่กรุงเทพฯ เพื่อให้ความรู้ 4 เรื่องที่สำคัญสำหรับสังคมไทยในอนาคต คือ เรื่อง

-      บทเรียนจากการประมูลคลื่นความถี่ กรณีศึกษา การวิเคราะห์มูลค่าคลื่นความถี่ 3G

-      ถึงเวลา 4G ประเทศไทย

-      การเปลี่ยนผ่านระบบ Analog TV สู่ Digital TV

-      นโยบายกับความจริงเรื่องการครองสิทธิ์ข้ามสื่อของประเทศไทย

งานครั้งนี้เป็นประโยชน์มาก ผมได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงของ กสทช. หลายท่าน อาทิ พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี  ประธาน กสทช. พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธาน กทค. พันเอก ดร. นที  ศุกลรัตน์  รองประธาน กสทช. และประธาน กสท. รองศาสตราจารย์ ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการ กสทช. คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.  คุณประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการ กสทช. รวมทั้งนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในด้านกิจการโทรคมนาคม อาจารย์ลิขิต หงส์ลดารมภ์ และนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในด้านกิจการโทรทัศน์ ผศ.ดร. พิรงรอง  รามสูต รณะนันทน์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์วีรวรรณ วรรุตม์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด อดีตผู้บริหารของ อ.ส.ม.ท. มาร่วมให้ความรู้ในครั้งนี้

กิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ เราเน้นการพัฒนาความรู้ให้แก่สื่อมวลชนในเรื่องที่สำคัญสำหรับอนาคตของกิจการโทรคมนาคมและกิจการโทรทัศน์ในสังคมไทย โดยเฉพาะเรื่อง..

การพัฒนาของกิจการโทรทัศน์จากระบบ TV Analog ไปเป็น Digital TV สำหรับสังคมไทยเร็ว ๆ นี้

การพัฒนาของกิจการโทรคมนาคมจากเทคโนโลยี 3 G ไปสู่เทคโนโลยี 4 G

นโยบายเกี่ยวกับการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ

ไม่ใช่แค่เทคโนโลยี 4G มีประโยชน์อย่างไร? แต่อาจจะหมายถึงการมองบทเรียนจากการประมูล 3 G คราวที่แล้ว

 

2) การจัดกิจกรรมทัศนศึกษาดูงานด้านกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม กรณีศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 17-23 มีนาคม 2556 คณะของเราได้รับเกียรติให้เข้าเยี่ยมจาก 4 หน่วยงานชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย

1.NTT Docomo - เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ สำหรับโทรทัศน์มือถือ

2.mmbi (NOTTV) - เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ ๆ สำหรับการโทรทัศน์ โดยเฉพาะการพัฒนาสู่ TV Digital และการนำมาใช้ รวมทั้งนโยบายการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ

3.NHK Science & Technology Research Laboratories– เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ ๆ สำหรับการโทรทัศน์ โดยเฉพาะการพัฒนาสู่ TV Digital และการนำมาใช้รวมทั้งนโยบายการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ

4.NEC Corporation - เรียนรู้กรณีศึกษาระบบ 4G (4G LTE solution) และกรณีศึกษาระบบโทรทัศน์ดิจิตอล (Digital TV solution)

จากการทัศนศึกษาดูงาน สรุปได้ว่า..

ญี่ปุ่นเก่ง 4 G และได้ดำเนินการแล้ว สำหรับประเทศไทยก็คงจะต้องพิจารณาดูว่าจะทำอย่างไร และเมื่อไหร่ เนื่องจากเราเพิ่งมีการประมูล 3 G ไปเมื่อไม่นานมานี้ จะมองอนาคตของ 4G อย่างไร?

4 G คือ เทคโนโลยีที่จะทำให้ระบบมือถือมีความเร็วและทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งญี่ปุ่นเรียกว่า “Every time, everywhere”อาจจะเพิ่มอีกคำว่า “every languages” ซึ่งแปลว่าในโลกอนาคตต้องทำให้การสื่อสารมีความสะดวกรวดเร็ว และสามารถสื่อสารกันได้ทุกภาษาสิ่งที่สำคัญก็คือราคาในช่วงแรก ๆ จะแพงแค่ไหน? และความพร้อมของคนไทยในการปรับตัวสำหรับการใช้เทคโนโลยี4Gจะเป็นอย่างไร?

ส่วนเรื่อง Digital TV นั้น ถือว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ดำเนินการอยู่แล้ว และ NEC Corporation ก็พัฒนาเทคโนโลยีเรื่อง Digital TV ได้ดี โดยเฉพาะเรื่อง..

การพัฒนาจะระบบ HD (Hi -Definition) มาเป็น Super Vision ซึ่งหมายความว่าญี่ปุ่นลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) มีการวิจัยเรื่องความชัดเจนของการดูโทรทัศน์ของระบบ HD และ Super Vision

นอกจากนั้นยังมีการแสดงให้เห็นว่าในประเทศไทย ถ้ามี Digital TV แล้วก็คงจะมี Mobile TV ผ่านมือถืออย่างเต็มรูปแบบด้วย เพราะในยุโรปกับในญี่ปุ่นก็มีแล้ว แต่มีปัญหาเพราะยังไม่แพร่หลาย

คำถามเกี่ยวกับ Mobile TV คือ จะเก็บเงินแพงแค่ไหน?

ในความเห็นของผม.. สำหรับในประเทศไทยควรจะเก็บเงินน้อย ๆ เพราะประโยชน์ของ Mobile TV คือ จะสามารถช่วยคนยากจนในชนบทได้มาก

แนวโน้มในอนาคต คือ การใช้ Smart Phone ช่วยในการแก้ปัญหาหลัก ๆ ของประเทศ เช่น

การศึกษา

E-learning

สุขภาพอนามัย

การเตือนภัย

เรื่องบัตรประชาชนแบบครบวงจร

ฯลฯ

ในปีนี้ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ จะร่วมมือกับกระทรวง ICT กระทรวงการต่างประเทศ และอีกหลาย ๆ หน่วยงานสำคัญของประเทศจัด International Workshop ปีแรก เรื่อง “ICT Enabling for GMS Agriculture, Education, Tourism, Logistics, Health Care Service Sectors and Interior”  เพื่อการสร้างความร่วมมือกันของประเทศลุ่มแม่น้ำโขงในการพัฒนาทุนมนุษย์ให้สามารถนำ ICT มาใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ 6 ภาคส่วน ได้แก่ ภาคการเกษตร การศึกษา  การท่องเที่ยว โลจิสติกส์ บริการด้านสุขภาพ  และบริการข้อมูลทะเบียนราษฎร์

ในความเห็นของผม กสทช. มีบทบาทในอนาคตมากกว่าแค่การเปิดประมูลหรือการบริหารคลื่นความถี่ แต่ควรจะ

-      ให้ความสำคัญกับผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นสำคัญ โดยเฉพาะผู้บริโภคในต่างจังหวัดและยากจน

-      ให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุ

-      จับมือกับ กศน. ช่วยให้สังคมไทยเป็นสังคมการเรียนรู้ (Live Long Learning)

-      เตรียมตัวเข้าสู่อาเซียน โดยเฉพาะการพัฒนาความรู้ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน

ผมคิดว่าทีมงานของเรามาครั้งนี้ คือ การหาประสบการณ์ ได้พบกับสื่อหลายกลุ่ม เช่นหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ เป็นกลุ่มที่ต้องพัฒนาความรู้ เรียนรู้ และเข้าใจบทบาทของ กสทช. ที่ไม่ใช่มองแค่เรื่องการประมูล แต่ต้องมองไปลึกๆ ถึงผลที่จะได้รับทั้งในด้านบวกและด้านลบของประเทศไทยซึ่งกำลังเข้าสู่ “Information Society” จะช่วยให้คนไทยพัฒนาทุนมนุษย์และเตรียมตัวรองรับการสร้างมาตรฐาน (Benchmark) หรือจะเพิ่มคุณภาพ (Quality) ได้อย่างไร?

“สื่อ” ต้องค้นหาตัวเองว่า บทบาทหน้าที่ที่มีประโยชน์ต่อประเทศคืออะไร? ไม่ใช่แค่เสนอข่าวที่คนไทยสนใจระยะสั้นหรือผลประโยชน์ และอาจจะไม่ได้กระตุ้นให้คนไทยมองระยะยาว ซึ่งก็เป็นการบ้านที่หนักสำหรับสังคมไทย

“สื่อ”ที่มีประสบการจะช่วยได้มาก แต่ “สื่อ” ที่จบมาใหม่ๆ ก็ต้องค้นหาตัวเองให้เจอ เพราะอาจจะตกเป็นเครื่องมือของธุรกิจหรือการเมืองได้

ญี่ปุ่นก็ยังเป็นประเทศที่น่าศึกษาและสามารถนำมาเป็นแบบอย่างที่ดี แม้ว่ากระแสของจีน อินเดีย เกาหลีใต้ จะทำให้คนมองประเทศญี่ปุ่นด้อยไปมาก คือ อาจมองว่าญี่ปุ่นเกิดปัญหาเศรษฐกิจที่แก้ไม่ตก  มองเรื่องปัญหาภัยธรรมชาติ เช่น สึนามิ

แต่มาคราวนี้ผมมองญี่ปุ่นดีขึ้นมาก เพราะถึงประเทศจะด้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของจีน แต่ญี่ปุ่นก็มีทุนแห่งความยั่งยืนและทุนทางจริยธรรม มีระเบียบวินัย มีการศึกษาที่มีคุณภาพ และสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนไทยควรจะเรียนรู้ให้มาก อาทิ

เรื่อง Creative Economy

เรื่อง OTOP

เรื่องคุณภาพของสินค้า

เรื่องวิจัยและพัฒนา (R&D)

เรื่องระเบียบวินัยและการตรงต่อเวลา

บทเรียนเหล่านี้มีความสำคัญสำหรับคนไทย

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

แฟกซ์0-2273-0181

 
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > บทเรียนจากความจริง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8610107

facebook

Twitter


บทความเก่า