Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๑๔๐๓ก. เรียนรู้ 21st Century Learning ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๔๐๓ก. เรียนรู้ 21st Century Learning ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

พิมพ์ PDF

ผมติดตาม ดร. เจือจันทร์ จงสถิตย์อยู่ ผู้ประสานงานโครงการ LLEN ของ สกว. ไปเยี่ยมชื่นชมโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เมื่อเย็นวันที่ ๒๕ - เที่ยงวันที่๒๖ ก.ย. ๕๔   ไปแล้วจึงรู้ว่าโรงเรียนนี้ได้คิดค้นวิธีการเรียนรู้แห่งศตวรรษใหม่ (21st Century Learning) ขึ้นในบริบทไทย โดยไม่ได้ลอกเลียนของใครมา    น่าทึ่งจริงๆ   เราไปเห็นทั้ง PBL และ PLC ในบริบทไทยและบริบทของโรงเรียนที่ไม่เลือกนักเรียนเก่งใช้วิธีคัดเลือกโดยจับฉลากเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ตามความเป็นจริงในสังคมเราไปเห็นโรงเรียนที่ไม่บ้าอวดความ “เก่งวิชา” ของนักเรียนทั้งๆที่จริงๆแล้วเขาเก่ง

หัวใจสำคัญคือ เน้น “สอนคน” ไม่ใช่ “สอนวิชา”และในการ “สอนคน” นั้นเน้น “สอนแบบไม่สอน”    คือเน้นที่การเรียนรู้ของผู้เรียนเองจึงจัดบรรยากาศสถานที่และความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนด้วยกันเองให้กระตุ้นการเรียนรู้โดยที่การเรียนรู้นั้นเลยจากเรียนรู้วิชาการเพื่อสติปัญญาไปสู่การเรียนรู้ทักษะด้านจิตใจด้านสุนทรียภาพและด้านการคิดและจินตนาการ

นักเรียนทุกชั้นจะใช้เวลา ๒๐ นาทีของทุกเช้าระหว่างเวลา ๘.๒๐ - ๘.๔๐ น. เรียน “จิตศึกษา”ถือเป็นการเตรียมพร้อมจิตใจหรือสมองต่อการเรียนในวันนั้นเป็นการฝึกเพื่อเพิ่มEQ (Emotional Quotient) & SQ (Spiritual Quotient) และผมตีความว่าเป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนา EF (Executive Functions) ของสมอง และผมตีความว่า การกล่าวคำขอบคุณพ่อแม่ ชาวนา ฯลฯ ก่อนรับประทานอาหารเที่ยงที่นักเรียนกล่าวดังๆ พร้อมกัน    และพิธีชักธงชาติ และสวดมนตร์ที่หน้าเสาธง ก็เป็นการฝึกฝนด้าน “จิตศึกษา” ด้วย

วิธีเรียน “จิตศึกษา”ของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนามีความหลากหลายที่ผมไปเห็นมีการเดินจงกรมการนั่งสมาธิการใช้จินตนาการต่อ Lego    ชั้น ป. ๑ เอาคลิปหนีบกระดาษ ๔ อันมาต่อเลข 7    ในเอกสารบอกว่าอาจใช้เวลาทำประโยชน์แก่สังคม    ตามในบทความเรื่อง การเรียนรู้ในวัยเยาว์  : 3. พัฒนาการสมองด้าน Executive Functionที่ลงใน บล็อก council วันนี้ บอกว่าวิธีเพิ่ม EF ของสมองมี ๖ วิธี

เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากตนเอง จากการคิด ไม่ใช่จากการเชื่อ   โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจึงไม่มีการสอบอย่างที่ใช้กันในกระทรวงศึกษา    คือไม่จัด Summative Evaluation เลย   แต่ผมกลับเห็นว่า นักเรียนถูก “สอบ” แบบไม่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลาแต่เป็นการสอบแบบ Formative Evaluation   คือสอบเพื่อทำความเข้าใจความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนแต่ละคน   ผมคิดว่า นี่คือจุดแตกต่างที่สำคัญและกล้าหาญยิ่ง

ครูของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จึงมีทักษะด้านการทดสอบนักเรียนที่ล้ำลึกมาก    และในการตีความของผม แทนที่ครูจะเน้น “สอน” แบบบอกข้อความรู้แก่เด็กครูกลับเน้นชักชวนให้เด็กคิดและแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการต่างๆนานาและคอยสังเกตเด็กว่ามีการเรียนรู้ก้าวหน้าไปอย่างไรสำหรับนำมาใช้ปรับบทบาทของครูเองและสำหรับนำมาใช้จัดกระบวนการเพื่อช่วยเด็กที่เรียนบางด้านได้ช้าข้อความในย่อหน้านี้ผมตีความเอาเองจากการไปเห็นเพียงครึ่งวันจึงต้องย้ำว่าไม่ทราบว่าตีความถูกต้องหรือไม่

แทนที่ครูจะเน้น “บอก” เด็กครูกลับเน้น “ถาม”ตั้งคำถามง่ายๆเพื่อชวนเด็กคิดเองแล้วตามมาด้วยคำถามที่ยากขึ้นหรือค่อยๆนำไปสู่กระบวนการคิดหาคำตอบหรือข้อความรู้ด้วยตนเอง

คำตอบของนักเรียนเท่ากับเป็น “ผลการสอบ” ทางอ้อมที่ครูใช้ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายคนนอกจากนั้นนักเรียนแต่ละคนต้องเขียนรายงานว่าตนเรียนรู้อะไรโดยเน้นเขียนเป็นผังความคิด (mind mapping)   เขียนด้วยลายมือของตนเองต่อเติมศิลปะเข้าไปตามจินตนาการของตนดังนั้น ที่หน้าห้องและในห้องเรียนจึงมีรายงานของนักเรียนสำหรับแต่ละบทเรียนติดอยู่อย่างเป็นระเบียบ เต็มไปหมดนักเรียนจะได้เรียนรู้ว่าในเรื่องนั้นๆเพื่อนคนอื่นๆเข้าใจว่าอย่างไรและครูก็ได้ตรวจสอบว่านักเรียนแต่ละคนมีความเข้าใจหัวข้อนั้นและมีความก้าวหน้าของการเรียนรู้อย่างไรนี่คืออีกกิจกรรมหนึ่งของ formative evaluation หรือการ “สอบแบบไม่สอบ” หรือ “สอบเพื่อพัฒนา”

จึงเท่ากับนักเรียนเรียนรู้แบบทำโครงงาน(project) ที่เป็นการทำงานเป็นทีม (team learning) แล้วเขียนรายงานเป็นรายคน    เพื่อสรุปว่าตนเรียนรู้อะไร   ตอน เรียน/ทำงาน เป็นทีม ก็ได้ฝึกทักษะด้านความร่วมมือ (collaboration skills) หลากหลายด้าน   รวมทั้งทักษะด้านความแตกต่างหลากหลาย  และทักษะอื่นๆ ใน 21st Century Skills    แล้วได้สะท้อนการเรียนรู้ของตนออกมาเป็นรายงาน โดยการเขียนด้วยลายมือ ตกแต่งด้วยศิลปะตามจินตนาการของตน   ย้ำว่ารายงานต้องเขียนด้วยลายมือ ห้ามพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์   เพื่อป้องกันการคัดลอกกัน   นักเรียนจะได้รับการอบรมให้ซื่อสัตย์ ทำงานด้วยตนเอง ไม่คัดลอกกัน   และเนื่องจากไม่มีคะแนน ไม่มีดาว เด็กจึงไม่ลอกกัน

การ“สอบแบบไม่สอบ” ครั้งใหญ่มีขึ้นในสัปดาห์สุดท้ายของ quarter โดยนักเรียนจะจัด การรายงานผลการเรียนรู้ในภาคเรียนนั้นของตนต่อทั้งโรงเรียน   และผู้ปกครองก็ได้รับเชิญ มาฟังด้วยการรายงานนี้อาจจัดเป็นละครหรือเป็นหนังสั้นจึงเท่ากับทั้งโรงเรียน (และผู้ปกครอง) ได้มีส่วนประเมินการเรียนรู้ในภาคเรียนนั้นของนักเรียนแต่ละชั้นด้วยวิธีการ  “สอบแบบไม่สอบ”

การเรียนแบบนี้ นักเรียนจะค่อยๆ บ่มเพาะตัวตนของตน เกิดความมั่นใจตนเองไปพร้อมๆ กันกับความเคารพผู้อื่น   และเห็นข้อจำกัดของตนเอง   ครูจะแสดงตัวอย่างการเคารพตัวตนของนักเรียน โดยไม่มีการดุด่าว่ากล่าว    ไม่มีการขึ้นเสียง   ไม่มีการลงโทษ   เมื่อเด็กทำผิดวินัยครูก็จะถามว่าทำไมจึงทำเช่นนั้น   คำถามที่ถามต่อๆ กันจะทำให้เด็กได้เรียนรู้ และหาทางแก้ไขตนเอง   ดังนั้น การทำผิดวินัยจึงเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

การเรียนรู้ที่นี่มีผู้ปกครองมาร่วมด้วย    มีโครงการผู้ปกครองอาสา    ในวันที่ผมไปชม ในชั้นอนุบาล ๑ มีคุณตา และคุณแม่ของเด็กเข้าไปนั่งสังเกตการณ์ในห้องด้วย    รวมทั้งจะมีคนหรือองค์กรในชุมชนเข้ามาร่วมบางโครงการ    ตรงกับหลักการที่ระบุใน พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ระบุให้ใช้ทรัพยากรการเรียนรู้จากหลากหลายแหล่งในสังคม

นักเรียนได้รับการฝึกให้เป็นคนตรงต่อเวลา (ซึ่งเป็นทักษะสำคัญของชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑) ผ่านกติกาต่างๆ    คนที่มาโรงเรียนสาย ไม่ทันเวลาเคารพธงชาติและสวดมนตร์ จะต้องมาทำกระบวนการดังกล่าวเอง ตามกติกาว่าทุกคนต้องเคารพธงชาติและสวดมนตร์ก่อนเข้าห้องเรียนทุกวัน

ผมสรุปว่าโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจัดการเรียนรู้แบบเน้น “เรียนความรู้มือหนึ่ง” ไม่ใช่เน้นเรียนแบบคัดลอกหรือแบบจดจำ “ความรู้มือสอง” จากครูหรือตำรา

จะเขียนต่ออีก ๑ ตอน  หลังจากค่อยๆ เคี้ยวเอื้องความประทับใจ

 

วิจารณ์ พานิช
๓๐ ก.ย.๕๔

คัดลอกจาก            http://www.gotoknow.org/posts/463231

 
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๑๔๐๓ก. เรียนรู้ 21st Century Learning ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8629226

facebook

Twitter


บทความเก่า