Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > กิจกรรมรักกาย – รักษ์ใจ & ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่

กิจกรรมรักกาย – รักษ์ใจ & ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่

พิมพ์ PDF

สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ EADP รุ่น 9 ทุกท่าน

กลับมาพบกันอีกครั้งสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ ระยะที่ 4 กิจกรรมรักกาย – รักษ์ใจ & ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่
ถือเป็นกิจกรรมช่วงสุดท้ายในหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 9 (ปี 2556) หรือ EGAT ASSISTANT DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM : EADP 2013  ระยะเวลา 5 วัน ระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม  – 18 พฤษภาคม 2556 โดยวันแรกพบกับกิจกรรมดูแลสุขภาพ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี  (สามเสน) กรุงเทพฯ และวันต่อไปเดินทางไปที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ศูนย์ฝึกอบรมบางปะกง ครับ หวังว่าลูกศิษย์ของผมจะได้รับความรู้ มุมมอง และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์เพื่อต่อยอดผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ สามารถนำมาพัฒนาตนเอง องค์กร กฟผ. และประเทศชาติต่อไปครับ ผมขอชื่นชมที่ทุกท่านสนใจ และได้นำเสนอแนวคิดดี ๆ จากการส่งการบ้านมาที่ Blog ซึ่งจะเป็นคลังความรู้ของพวกเรา มีประโยชน์มาก และผมดีใจที่ความรู้ดี ๆ ในห้องเรียนของเราจะได้แบ่งปันสู่สังคมในวงที่กว้างขึ้น

และเพื่อให้การส่ง Blog ของพวกเราง่ายขึ้น ผมจึงขอเปิด Blog ใหม่สำหรับกิจกรรม ระยะที่ 4 กิจกรรมรักกาย – รักษ์ใจ & ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ ครับ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง

นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

14 พฤษภาคม 2556

ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี กรุงเทพฯ

วิธีคำนวณดัชนีมวลร่างกาย

BMI= นน.(กก.)/ส่วนสูง (ม.)2

-  เกิน 30 โรคอ้วน

-  มากกว่า 25 อ้วน

เลปติน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เรากินแล้วรู้สึกอิ่ม ทำให้ไม่อ้วน แต่คนที่อ้วนเพราะไขมันเยอะขึ้น ฮอร์โมนเลปตินเลยไม่สร้าง และมีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าคนผอม

หากไขมันในพุงมาก ฮอร์โมนไม่มี มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรค

-  หัวใจ

-  เบาหวาน

-  อาการวัยหมดประจำเดือนมาก

-  การกินฮอร์โมนเสริมมีอันตรายมาก ไม่ควรกินฮอร์โมน แต่ควรรักษารูปร่างให้ดี

คนอ้วน ทำให้ไขมันพอกตับ ข้อเข่าเสื่อม ทำให้เสียบุคลิก เหนื่อยง่าย เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

ลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ

1.  กินให้น้อย

2.  ออกกำลังกายเยอะ

ควรกินเนื้อ กินผัก

กิน เนื้อสัตว์ กินผักเส้นบุก

ไม่กิน ข้าว หรือ คาร์โบไฮเดต ไม่กินผลไม้ ไม่กินถั่ว/นม

อาหารห้ามกิน/อาหารให้กิน

ห้าม

-  ข้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี วุ้นเส้น

-  ผลไม้ทุกชนิด น้ำผลไม้

-  นม นมเปรี้ยว โยเกิรต์

-  นมถั่วเหลือง ถั่ว ข้าวโพด

-  ไก่ชุบแป้งทอด น้ำจิ้มไก่

กิน

-  หมู ไก่ ปลา ไข่ เต้าหู้

-  ผัก

-  อาหารว่าง ชิ้นไก่ หมู จิ้มซีอิ้ว

การอดเพื่อสุขภาพ

การอดเพื่อสุขภาพเป็นวิธีหนึ่งในการขจัดของเสีย หรือล้างพิษ สามารถปฏิบัติได้ง่ายและสะดวกสบาย สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองที่บ้าน ในปัจจุบันทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพได้ค้นพบอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุหลักของความเจ็บป่วยมากมาย การอดเพื่อสุขภาพนับเป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการขจัดอนุมูลอิสระเหล่านี้

อดด้วยผลไม้อย่างเดียวทั้งวัน : มะละกอ ฝรั่ง แอปเปิ้ล แคนตาลูป ส้มโอ

กินชาฮูเอ่อ ทำให้ไม่อยากอาหาร

การล้างพิษ 1 วันทุก 2 สัปดาห์

ระดับ 1 การกินผลไม้ชนิดเดียวตลอดวันเพราะต้องการให้ระบบการย่อยได้พัก เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวเอง

วันเลิกอด ในวันต่อมา ดื่มน้ำผสมน้ำมะนาว ในตอนเช้าวิธีผสมน้ำมะนาวมีสูตรดังนี้ คือ ใช้น้ำ 2 ขวด ขวดละ 800 cc. บีบมะนาวขวดละ 2 ลูก ใส่เกลือทะเล ขวดละ 1 ช้อนชาครึ่ง ผสมแล้วดื่มให้หมดในตอนเช้า วันนั้น จะทำให้เกิดการถ่ายอุจจาระ

กิจกรรมระหว่างลดน้ำหนัก

1.  ออกกำลังกาย

2.  อบสมุนไพร

3.  นวดประคบ

4.  บริหารร่างกาย

ไขมันเลือดเหมาะสม

Chol/HDL <4.6

การสวนล้างลำไส้

ตับที่แข็งแรงและลำไส้ที่สะอาดเป็นสิ่งจำเป็นต่อการล้างพิษ ดังนั้นเราจึงควรที่จะทำความสะอาดลำไส้ วิธีการทำความสะอาดลำไส้มี 2 วิธี คือ

- การสวนลำไส้ใหญ่ระดับบนเน้นการสวนด้วยน้ำอุ่น

- การสวนล้างลำไส้ใหญ่ระดับกลางด้วยสารบางอย่าง เช่น กาแฟ หรือสมุนไพร

การสวนลำไส้จะต้องกระทำควบคู่ไปกับการกินอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพในแต่ละระยะการอด การออกกำลังกายที่ฝึกปราณอย่างเช่นชี่กงหรือโยคะ การทำสมาธิ เพื่อให้กระบวนการฟื้นฟูสุขภาพเป็นไปอย่างครบถ้วน

การรักษาโรค

-  หวัด

อาหาร อดล้างพิษ 1 วันด้วยผลไม้

การปฎิบัติ  นอนพักผ่อนมากๆ

วิตามิน  ซี

ฟ้าทะลายโจร 5 เม็ดลูกกลอน  ขมิ้นชัน

-  ภูมิแพ้

งด นมวัว งานวิจัยพบว่า นมวัวจะทำให้เป็นปัจจัยในการเกิดมะเร็ง หลีกเลี่ยงนมวัว ด้วยการกินอาหารไทย ปลาร้า กุ้งแห้ง

-  ตู้วิตามินสมุนไพรประจำบ้าน

C100

ฟ้าทะลายโจร

ขมิ้นชัน

รายงานโดย ทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

วารีบำบัดอานุภาพแห่งน้ำ

พญ.ลลิตา ธีระสิริ

วารีบำบัด

14 พฤษภาคม 2556

ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี กรุงเทพฯ

วารีบำบัด เป็นศาสตร์ที่สืบทอดมาจากยุคกรีกและโรมัน ได้แพร่ไปสู่ยุโรปภาคตะวันออก กลายเป็นการอบไอน้ำแบบรัสเซีย (Russian bath) และการอบซาวน่าแบบฟินแลนด์ (Finnish bath) มาภายหลังได้รับการพัฒนาเพื่อการบำบัดรักษาโรคโดย วินเซนต์ เพรียนสนิตช และ เซบัสเตียน คไนป์ ชาวเยอรมันเขียนตำราเกี่ยวกับวารีบำบัด ที่นิยมทำตามคือ การว่ายน้ำในน้ำเย็น

วารีบำบัดสร้างสมดุลของร่างกายโดยอาศัยความร้อนความเย็นของน้ำที่มากระทบผิวกาย คนเรามีพื้นที่ไฮโปทาลามัสคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็น 37 องศาเซลเซียสอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดที่เราถูกความหนาวเย็น ร่างกายจะปกป้องตนเองโดยหดเส้นผิวกายเพื่อรักษาความร้อนไว้ และเพิ่มการทำงานของอวัยวะภายในเพื่อสร้างความร้อนเพิ่มขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อสั่นกระตุก ทำให้หัวใจ ปอด ต่อมฮอร์โมนต่างๆ ทำงานเพิ่มขึ้นเพื่อผลิตความร้อนออกมา ในทางตรงกันข้ามถ้าเราเข้าไปอยู่ในที่ร้อน ไฮโปทาลามัสจะสั่งให้เส้นเลือดขยายตัว เพื่อระบายความร้อนออก สั่งให้หัวใจ ปอด ตับ กล้ามเนื้อ และต่อมฮอร์โมนทำงานน้อยลง เพื่อลดความร้อน เหตุนี้เองเราสามารถใช้ความร้อนเย็นของน้ำที่มากระทบผิวกาย ออกคำสั่งไปยังอวัยวะต่างๆ ให้ปรับการทำงานสู่สมดุล

เมื่อเราถูกความเย็นระยะแรก เส้นเลือดผิวกายหดตัว ผิวหนังซีด ขนลุก รู้สึกหนาว เจ็บสะท้าน ชีพจรเต้นเร็ว แต่เมื่อออกจากความเย็นระยะหนึ่ง จะเกิดปฎิกริยาตรงกันข้ามคือ เส้นเลือดขยายตัว ผิวหนังแดง หยุดขนลุก รู้สึกอุ่น และผ่อนคลายสบาย

เมื่อถูกความร้อนระยะแรก เส้นเลือดขยายตัว ผิวแดง ชีพจรเต้นช้า เหงื่อออก ประสาทตื่นตัว กล้ามเนื้อกระฉับกระเฉง แต่เมื่อถูกความร้อนนานๆ ระยะหนึ่ง จะเกิดผลคือ เส้นเลือดที่ขยายตัว จะขยายต่อไปจนเกิดอาการคั่งเลือด ชีพจรเต้นเร็ว เหงื่อไม่ออก เกิดกระวนกระวาย ประสาทอ่อนล้า ง่วงนอน ซึมเศร้า กล้ามเนื้อปวกเปียก อ่อนล้า และเงื่องหงอย

เราสามารถประยุกต์วารีบำบัดในชีวิตประจำวันได้คือ ถ้าจะอาบน้ำเพื่อความสดชื่น ให้ความเย็นแทนที่จะอาบน้ำร้อน เพราะถ้าอาบน้ำร้อนหรือแช่น้ำร้อนนานๆ จะมีผลทำให้เลือดคั่ง ประสาทอ่อนล้า กระวนกระวาย และง่วงเหงาซึมเซา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องของการถูกความร้อนนานๆ แต่อาบน้ำเย็นจะมีผลสืบเนื่องทำให้อบอุ่น สดชื่น และสบายตัว การอาบน้ำร้อนควรทำกรณีเดียวคือ เมื่ออาบน้ำแล้วเข้านอน เพราะผลของความร้อนจะทำให้นอนหลับ

ขณะเดียวกันการอบสมุนไพร หรืออบซาวน่า ซึ่งปัจจุบันเป็นสิ่งที่หาปฏิบัติได้ไม่ยากนัก ที่ถูกหลักจะต้องใช้การอบร้อนสลับเย็น เช่น อบซาวน่าให้อบร้อน 3 นาที แล้วลงบ่อในน้ำเย็น หรือรดน้ำฝักบัวน้ำเย็นสัก 2 นาที สลับกัน 3 รอบ ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นการปรับสมดุลของอวัยวะภายในใหม่ ช่วยให้หัวใจ ปอด ตับ ไต ต่อมฮอร์โมน และภูมิต้านทานทำงานเป็นปกติ การอบร้อนสลับเย็นยังมีผลช่วยลดความอ้วนในทางอ้อม เพราะสาเหตุของความอ้วนมีปัจจัยหนึ่งคือ ระบบฮอร์โมนชนิดเสริมสร้าง ( Anabolic hormone) และฮอร์โมนชนิดสลาย ( Catabolic hormone) ทำงานไม่ได้สมดุลกัน เมื่ออบซาวน่าจะช่วยให้ฮอร์โมนทั้ง 2 กลุ่มนี้ปรับตัวทำงานเสียใหม่

การอบซาวน่าและสมุนไพรที่ถูกวิธีต้องอบร้อนสลับเย็นเสมอ โดยอบร้อน 3 นาที สลับเย็น 2 นาที จำนวน 3 รอบ ส่วนอบสมุนไพร 10 นาที อาบน้ำเย็นแล้วอบใหม่ 3 รอบเช่นเดียวกัน การอบร้อนอย่างเดียวเป็นเวลานาน ๆ เป็นอันตรายต่อร่างกายทำให้หน้ามืด เป็นลม หัวใจขาดเลือดหากอยู่นานเกินไปหมดสติ เป็นอันตรายต่อชีวิต

ผลของซาวน่า

1.  ในที่ร้อนเลือดจะออกไปที่ผิวหนัง ที่เย็นเลือดจะกลับเข้าสู่อวัยวะส่วนกลาง ทำให้อวัยวะภายในได้รับเลือดใหม่ไปเลี้ยงเป็นระยะๆ เป็นการลดการอักเสบ หรือโรคภายใน

2.  เป็นการบริหารอวัยวะภายในให้แข็งแรง

3.  ไขมันพอกตับ พอกไตจะหายไป

4.  ความร้อนเพิ่มประสิทธิภาพเม็ดเลือดขาว

5.  ให้ความรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย

-  คนที่เป็นโรคหัวใจ เป็นโรคความดันสูง หรือต่ำมาก ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลียมากไม่ควรเข้าห้องอบซาวน่า

ประสบการณ์ในการรักษา

ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวีในการทำวารีบำบัด มีประโยชน์มากในการเสริมภูมิต้านทานและปรับภูมิต้านทาน เช่นภูมิแพ้ หอบหืด ภูมิต้านทานไวเกิน เช่น SLE รูมาตอยด์ และมีประโยชน์อย่างยิ่งในการเสริมรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

นอกจากนี้ประโยชน์ของการออกกำลังกายในน้ำหรือ ไฮโดรแอโรบิค จะเหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ปวดข้อ ปวดเข่า เพราะเมื่ออยู่ในน้ำจะมีแรงพยุงตัวทำให้น้ำหนักตัวลดลงประมาณ 30% ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ ผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต จะใช้การฝังเข็มประกอบการเดินในน้ำ สตรีมีครรภ์ก็จะคลอดได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้ควรปฏิบัติร่วมกับวิธีการอื่น ๆ เช่น การฝังเข็ม การอดเพื่อสุขภาพ การฝึกจิตลดความเครียด การฝึกโยคะ ชี่กง แล้วแต่กรณี

อาบแสงตะวัน

อาบแสงตะวันเป็นศิลป์และศาสตร์ที่ตกทอดมากว่า 5000 ปี ของอายุรเวท เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เสริมสร้างความอ่อนเยาว์แก่ร่างกายได้ เรารู้ว่าในแสงตะวันมีทั้งหมด 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง นั่นคือคลื่นแสงส่วนที่เรามองเห็นได้ด้วยตา ยังมีรังสีอื่น ๆ ที่ตาเรามองไม่เห็น แต่เกิดผลแก่ร่างกายได้ เช่น รังสีอัลตร้าไวโอเลต ซึ่งมีคลื่นความถี่สูงมาก มีอำนาจทะลุทะลวง ทำให้เกิดอันตรายกับเซลล์ของเรา ส่วนอีกรังสีหนึ่งคือ อินฟราเรด มีคลื่นความถี่ต่ำให้ความร้อนแรง ซึ่งก็ไม่เป็นประโยชน์แก่สุขภาพ เรารู้อีกว่า คลื่นแสงสีเขียว ซึ่งเป็นคลื่นตรงกลางเป็นคลื่นที่อำนวยความมีชีวากับเซลล์ร่างกายได้

ในระหว่างที่อาบแสงตะวัน แสงทั้ง 7 สีจะถูกใบตองสีเขียวกรองไว้ เหลือเพียงสีเขียวเท่านั้นที่ใบตองจะปล่อยให้ลอดลงกระทบผิวกายของเรา สีดังกล่าวเป็นสีที่จรรโลงชีวิต จะเกิดผลให้เซลล์ร่างกายทั้งหมดเกิดความกระปรี้กระเปร่า สดชื่น มีชีวิตชีวาเหงื่ออกทำให้รู้สึกสบายตัว

ประโยชน์ของการประคบร้อน เย็น

-  ปวดที่ไหน บวมที่ไหน ให้เริ่มประคบด้วยน้ำร้อน 3 นาที  และประคบด้วยน้ำเย็น 3 นาทีทำทั้งหมด 3 รอบ ยกเว้นการปวดศีรษะ ต้องใช้การนวด

การออกกำลังกายในน้ำ

-  แรงลอยตัวของน้ำทำให้ยกตัวเราขึ้นและช่วยลดน้ำหนักตัวได้ถึง 70%

-  เหมาะกับคนน้ำหนักตัวมาก

-  ผู้สูงอายุ

-  มีปัญหาทางสมอง

ประโยชน์ของการอาบน้ำแร่

-  ระบบกระดูกและข้อ : ข้อเสื่อม ข้อติด

-  ระบบกล้ามเนื้อ:ปวดกล้ามเนื้อ

-  ระบบผิวหนัง: ผื่นคัน เรื้อนกวาง สิว

-  ระบบไหลเวียน: มือเท้าเย็น เวียนศีรษะ ความดันเลือดต่ำ โรคหัวใจ

-  ระบบฮอร์โมน : ปวดประจำเดือน

 

รายงานโดยทีมงานวิชาการ chira academy

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ.

(วัฒนธรรมองค์กร/การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรและลูกค้าและ Steak holder)

โดย   ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

15 พฤษภาคม 2556

ศูนย์ฝึกอบรมบางปะกง

ศ.ดร.จีระ: การจัดการกับความไม่แน่นอน องค์กรเป็นsilo และเป็นวิศวกรเป็นส่วนใหญ่จึงต้องปรับไปตามสถานการณ์

ผศ.ดร.พงษ์ชัย: ขอมองกฟผ.ทั้ง 3 กลุ่ม คือ ผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้เสียภาษี และ ผู้ลงทุน

เมื่อดูการผลิตไฟฟ้า ผลิต 46% มีการนำเข้ายังน้อยอยู่ ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในงาของการผลิต ต้องตั้งคำถามว่าใครโตมากกว่ากัน คำถามต่อไปคือ สัดส่วนในอนาคตเป็นอย่างไร

ในระยะยาว การผลิตของกฟผ.น่าจะลดลง กำลังการผลิต ปี 2555 10,000เมกกะวัตต์

เงินที่ลงไปใน egco มีเพียง 25%

การผลิตและซื้อพลังงานไฟฟ้า

กำลังการผลิต 46% การใช้ไฟ 44%

การใช้เชื้อเพลิงกฟผ.

-  น้ำ 4%

-  ก๊าซธรรมชาติ 67.56%

-  ลม 1.6%

การจำหน่ายไฟ

ส่วนใหญ่ขายให้ในประเทศ ส่วนมากคือ กฟน. รองลงมา คือ กฟภ  แต่ขายไฟให้ประเทศเพื่อนบ้านยังน้อยอยู่

กฟผ. มีบริษัทลูกคือ EGCO 25.4% โรงไฟฟ้าราชบุรี 45%

กฟผ.ต้องมีสัดส่วนการถือโรงไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน

ศ.ดร.จีระ: ดร.พงษ์ชัยได้นำเอา ตัว Vทั้ง 2 ตัวมาใช้คือ Value added และเกิดvalue creation

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์: วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ. กฟผ.มีวัฒนธรรมดั้งเดิมเป็นวิศวกรไฟฟ้า แต่ก็ได้มีการพัฒนาการ  การสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียมาโดยลำดับจากการเน้นสร้างเขื่อน และโรงงานผลิตไฟฟ้ามาเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจร ตั้งแต่พลังงานต้นน้ำ การผลิตไฟฟ้าทางเลือกต่าง ๆ ตลอดจนถึงการวางสายส่งระดับต่าง ๆ จนถึงการบริการร่วมกับการไฟฟ้าอื่น ๆ รวมทั้งผู้ผลิตภาคเอกชนมาโดยลำดับ

1. ประเด็นแรก Supply side ต้องให้ค่าไฟถูกที่สุด  คือมี cost advantage

2. มีสัญญาต่อลูกค้าปลายน้ำของกฟผ. ต้องผูกมัดให้นานที่สุด

กฟผ.ในอนาคตควรมีแผงโซล่าร์เซลล์

3. สายส่งสำคัญมาก ซึ่งอีก 10 ปีข้างหน้าอาจจะเป็น wireless

กำไรการไฟฟ้าในอนาคตมาจากสายส่ง

4. ต้องมี Source of fund เอง

- เข้าตลาดหุ้น เช่น ขายหุ้นกู้ ดอกเบี้ยเป็นศูนย์ ต้องลงทุนโดยเอาเงินจากตลาดหุ้น ได้เงินแล้วค่อยใช้หนี้

- ซื้อบิ๊กซี  เหมือนที่ CP ซื้อแมคโคร

5. ลงทุนกับธนาคารต่างประเทศ

6. เขื่อนสาละวิน

ประเด็นท้าทายของกฟผ.

1. เกี่ยวกับต้นทุนและการลงทุน ผู้รู้ส่วนใหญ่ทางด้านพลังงานและปรากฏการที่เป็นจริงได้แสดงชัดแจ้งว่า ยุคพลังงานราคาถูกได้ผ่านพ้นไปแล้ว อนาคตต่อจากนี้ไปพลเมืองของโลกจะต้องใช้ไฟราคาแพงอันเกิดจากต้นทุนการผลิต ถ้าพลังงานต้นน้ำและค่าใช้จ่ายในการนำส่งไฟถึงผู้บริโภค รวมทั้งการบริหารตลอดเส้นทาง Value Chain

ประเด็นท้าทาย กฟผ.ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการลงทุนมากขึ้นในระดับนโยบายและหัวหน้าปฏิบัติการ และตัวแสวงหาโอกาสอย่างจริงจัง ในการร่วมมือด้านการเงินกับเพื่อนบ้านและภาคธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้า

2. ประเด็นวัตถุดิบต้นน้ำ กฟผ.ในอนาคตจะมีทางเลือกวัตถุดิบมากขึ้น แต่ก็มีข้อจำกัดในวัตถุดิบแต่ละตัว ที่ต้องการการวิจัยและพัฒนาเป็นตัว ๆ ไป เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าพลังน้ำและโรงไฟฟ้าถ่านหิน จะต้องมีวิธีบริหารจัดการผู้ได้ผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างมีสมรรถภาพสูง

ประเด็นท้าทาย มีโอกาสการทำงานวิจัยพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและประเทศเพื่อบ้านในอาเซียนและประเทศอื่น ๆ ที่จะเป็นแหล่งพลังงานต้นทางในอนาคตได้

3. มลภาวะและความหวั่นวิตกของคนพื้นที่ เรื่องนี้อยู่ที่การพัฒนาการประชาสัมพันธ์และผลกระทบบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง เพื่อการสื่อสารสาธารณะอย่างได้ผล

ประเด็นท้าทาย กฟผ.มีผลงานและต้นแบบที่ดีอยู่แล้วที่แม่เมาะและในท้องถิ่นอื่นที่มีการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ๆ ทั้งนี้น่าจะได้หาโอกาสการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญและชุดความรู้ในเรื่องนี้จนสามารถขายและแบ่งปันให้ประเทศในอาเซียนได้ในอนาคต

4. การทำนายปริมาณใช้ไฟได้ยากขึ้น ปรากฏการณ์ในไม่กี่ปีมานี้แสดงให้เห็นว่าการพยากรณ์การใช้ไฟทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานมีความยุ่งยากขึ้น ในแง่อัตราการเจริญเติบโตและความต้องการอย่างฉับพลัน ทั้งตามฤดูกาลในระหว่างเดือนและในระหว่างวัน

ประเด็นท้าทาย กฟผ.ต้องมีวิธีพัฒนากลไกในการตอบสนองความต้องการฉับพลันและการขาดเชื้อเพลิงต้นน้ำฉับพลัน เช่น การปิดซ่อมบำรุงท่อแก๊ซของพม่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ ดังนั้นภาคีผู้ผลิตและแนวร่วม ของทั้งเอกชนและเพื่อนบ้าน เพื่อรักษาขีดความสามารถการผลิตโดยองค์รวม ที่ตอบสนองอุปสงค์และการคาดเดายากได้อย่างทันการ

5. การผลิตไฟฟ้าทางเลือก นอกจากเป็นการสำรวจเพื่อได้ส่วนผสมของแหล่งผลิตไฟฟ้านานาชนิดแล้ว ยังเป็นการได้ความจริงสำหรับแผนเผื่ออีกด้วย

ประเด็นท้าทาย กฟผ.จะต้องมีข้อมูลและการเตรียมพร้อมเรื่องพลังงานทางเลือก ไว้ให้พร้อมรับมือทุกสถานการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลังงานไฟฟ้าสะอาดตั้งแต่ ลม แสงแดด ความร้อนใต้ดินและโรงไฟฟ้านิวเคลีย ทั้งนี้โดยไม่มองข้ามแหล่งผลิตไฟฟ้าระดับชุมชน เช่น การผลิตไฟฟ้าจากเชิงชีวะภาพ เป็นต้น

6. การรับมือการแข่งขัน หน่วยการผลิตไฟฟ้าระดับต่าง ๆ เป็นทั้งคู่แข่งและภาคีร่วมผลิตของ กฟผ.เอง ดังนั้นจึงต้องมีกลยุทธ์กำหนดความสัมพันธ์ที่สมดุล

ประเด็นท้าทาย กฟผ.ควรเป็นตัวนำในการริเริ่มและส่งเสริมให้เกิดหน่วยผลิตไฟฟ้านานาชนิด ตั้งแต่ผลพลอยได้ที่บ้าน ที่โรงงานและจากโรงไฟฟ้าเอกชนทั้งในและนอกประเทศ โดยสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีเอกภาพ

7. ปัญหาอุบัติเหตุและโจรภัย นับวันที่กฟผ.เจริญเติบโตขึ้นก็จะมีปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นเป็นเงาตามตัว ตั้งแต่การขโมยชิ้นส่วนและสายส่งไปขาย จนถึงระดับวินาศภัยและการก่อการร้าย

ประเด็นท้าทาย  ปัจจุบันกฟผ.มีการบริหารจัดการในเรื่องนี้ ในเชิงรับมือค่อนข้างดี แต่น่าจะได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในระหว่างรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาคล้ายคลึงเชิงรุกมากขึ้น และในระหว่างประเทศเพื่อนบ้านที่มีประสบการณ์ ซึ่งในอนาคต กฟผ.สามารถเป็นศูนย์กลางรวบรวมประสบการณ์ด้านนี้เพื่อแบ่งปันและขายได้ด้วย

8. ประเด็นนโยบายภาครัฐและทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ กฟผ.ควรมีการประมาณการสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี ไปพร้อมกันกับทางหนีทีไล่หลาย ๆ ทางตั้งแต่ของบอร์ดขึ้นไปในแต่ละช่วงเวลาในอนาคต ทั้งนี้รวมทั้งการพร้อมเป็นผู้นำด้านธรรมาภิบาล เป็นต้น

ประเด็นท้าทาย  กฟผ.สามารถริเริ่มด้วยจัดการความรู้คือ การแลกเปลี่ยนและสะสมประสบการณ์ โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพลังงานและมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนหรือจัดให้มีการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาขีดความสามารถผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตไฟฟ้า ให้ทันกับความต้องการของ กฟผ.

9. รูปแบบในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและ AEC กฟผ.ในอนาคตอาจมีทางเลือก Business Models ที่ต่างกันกับปัจจุบันไปได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จะเน้นผลิตไฟฟ้ามหภาคอย่างเดียวหรืจะรวมกันกับการไฟฟ้าอื่น ๆ ทางเลือกทางด้านการจัดจำหน่าย รวมทั้งการเข้าตลาดหลักทรัพย์ ร่วมทุนภาคีเครือข่ายในอาเซียน เพื่อให้เป็นเอกภาพและความทันสมัยขององค์กรเพื่อตอบสนองกับความต้องการไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ในอนาคต ซึ่งควรจะทำอย่างเร่งด่วน เพราะตอนนี้ทั้งสิงคโปร์และมาเลเซีย ก็ทำแล้ว

ประเด็นท้าทาย กฟผ.น่าจะได้มีการรวบรวม Models ต่าง ๆ ของหน่วยผลิตไฟฟ้าในส่วนต่าง ๆ ของโลกมาไว้เป็นทางเลือกและทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ที่พร้อมลงมือดำเนินการ ให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อมและความต้องการที่เปลี่ยนไป เช่น ASEAN Grid บริษัทร่วมผลิตไฟฟ้า ASEAN รวมทั้งกระบวนการทำธุรกิจสัมพันธ์กับสังคมในรูปแบบต่าง ๆ โดยเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์อยู่ก่อนแล้ว

10.โอกาสในการทำธุรกิจอื่นๆนอกจากการผลิตและการจัดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าแล้วประสบการณ์ Know-how และทรัพยากรของ กฟผ.ยังสะสมไว้ไม่น้อย ในการลงทุนทำธุรกิจพลังงานอื่น ๆ

ประเด็นท้าทาย กฟผ.ยังมีโอกาสสร้างรายได้เสริมจากการจัดการพลังงานชนิดต่าง ๆ การจัดการน้ำและชลประทาน การทำธุรกิจด้านสื่อสารโทรคมนาคม โดยอาศัยสายส่งในเครือข่าย การให้เช่าสินทรัพย์และสิทธิในที่ดินตามแนวสายไฟแรงสูง เป็นต้น

ตัวอย่างที่เริ่มปรากฏเป็นโอกาสธุรกิจ ถนนและรถไฟความเร็วสูง ตลอดจนทรัพย์สินทางปัญญามากมายด้านบริหารจัดการองค์กรขนาดใหญ่ และการบริหารการลงทุน ตั้งแต่เริ่มต้นการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ จนถึงธุรกิจปลายน้ำต่าง ๆ ที่มีต้นแบบอยู่แล้วในประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจสูงกว่าไทย ซึ่ง กฟผ.ไปศึกษาหาความรู้จนเป็นผู้นำการบริหารจัดการด้านนี้ได้เป็นอย่างดี

ศ.ดร.จีระ: ได้ประเด็นจากอ.พงษ์ชัย และอ.ไกรฤทธิ์หลายประเด็น  ข้อสรุปที่เกิดขึ้นในช่วงเช้า เป็นเรื่องที่ท้ายของรุ่น 9 ที่ต้องทำต่อ และต้องทำ Pre-planning รุ่น 10  เรื่องการเข้าตลาดหุ้นควรจะเข้าไปแบบutilize

วัฒนธรรมของกฟผ.ต้องยอมรับว่าแข้มแข็งมาก หลังจากวันนี้ลูกศิษย์กฟผ. 9 ต้องมองอนาคต

กฟผ.ควรเน้น ให้แต่ละคนมี sense of business ว่าการ utilize asset ทำอย่างไร  และทำอย่างไรให้ดึงศักยภาพของตัวเราออกมาให้ได้มากที่สุด

กฟผ.ยังมีปัญหากับการเข้าไปในชุมชน ต้องมีการทำโฆษณาเน้นสื่อด้วย

Entrepreneurship คืออะไรต้องทราบด้วย และเน้นเรื่อง Business acumen

กลุ่ม 4 EGATi  พม่า เขมร ลาว ยังเป็นโอกาสที่ดี ซึ่งต้องดูวัฒนธรรมด้วย เรื่องเงินใต้โต๊ะ เป็นจุดอ่อนที่กฟผ.ทำไม่ได้

อ.พงษ์ชัย:  ภาษีประชาชนหากได้เอามา ทำไมถึงเรียกตัวเองว่ารัฐวิสาหกิจ

สัญญา IPP ถึงจะผลิตหรือไม่ผลิตก็ต้องจ่ายเช่นกัน บริษัทเอกชนต้องเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น

หากเทมาเซก ซื้อบริษัทราชบุรี หรือ egco ในสัดส่วนที่เราไม่ซื้อ ก็จะเข้าตลาดหลักทรัพย์อย่างง่ายดาย

การที่เข้าลงทุนในลาวช้า เห็นว่าองค์กรเราถึงแม้ตั้ง EGAT I ก็มีแต่โครงการศึกษา แต่ไม่ได้ดูในเชิงลึก ทำให้สู้ในภาคเอกชนไม่ได้ ต่างจากช การช่างที่ได้สิทธิ์จากทวาย

หากไม่มีเงิน แล้วไปขอรัฐบาลก็ทำไม่ได้

คุณพีรพล: กฟผ.เป็นผู้ผลิตอยู่ตลอด ขอแชร์เรื่องประเด็นต่างๆเรื่องที่อ.พงษ์ชัยพูดเรื่องข้อมูลผู้ใช้ไฟ ผู้ลงทุน ผู้เสียภาษี

1.  สิ่งต่างๆขอย้อนไปที่หน้าที่ของกฟผ. ซึ่งจัดหา ผลิต จำหน่ายไฟฟ้าให้กฟภ. กฟน. ซึ่งจริงๆแล้วกฟผ. ต้องเป็นผู้ผลิตเท่านั้น และมีเอกชน 50%  ต้องมองกลับไปที่รัฐบาลเช่นกันว่าทำไมให้สัดส่วนเท่านี้  เพราะฉะนั้นจริงๆอยากผลิต 100%แต่เราทำไม่ได้ หน้าที่จึงต้องจัดหาจากเอกชน ต่างประเทศด้วย

กฟผ.จะไปขายประเทศอื่นก็ลำบาก เพราะในประเทศก็ยังไม่พอใช้

2.  เรื่องเชื่อเพลิง พลังน้ำ แต่ไม่ได้ผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งหมด เพราะเป็นเรื่องชลประทาน แต่ไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้

3.  แสงอาทิตย์ ผลิตได้เฉพาะกลางวัน

4.  ชีวมวล ต่อต้านที่บ้านจาน เพชรบุรี

5.  ถ่านหิน ก็โดนคัดค้านที่กระบี่

6.  เรื่องแหล่งเงินทุน แต่ไม่เอื้อในด้านพรบ. EGATiอยู่ภายใต้รัฐวิสาหกิจ  ในภาคธุรกิจต้องเน้นความรวดเร็ว

-  กฟผ. ตั้งปี 12 รัฐบาลให้ 4หมื่นล้าน สิ่งที่ทำได้มีผลกำไร ก็ส่งไปรัฐบาล 45% กฟผ.ต้องมีการกู้เงิน แหล่งเงินที่ลงทุนไม่มีปัญหาแต่ติดหนี้สาธารณะ ถ้ามองเรื่องการลงทุนบริษัทต่างๆก็ไม่สามารถที่จะตั้งได้

-  รัฐบาลต้องคุม EGATiให้ลงทุนเฉพาะต่างประเทศเท่านั้น

อ.ไกรฤทธิ์: อยากให้ HR บ่มเพราะ General manager  และควรเป็น Strategic department และคนที่อยู่ต้องเป็น KM

Source of information กับประเทศลาว ต้องเข้าไปดูข้อมูลลึกทางรัฐบาลให้ได้ ต้องมี Lobby yeast  มากๆ ส่วนเรื่องเงิน EGAT ขาดเรื่องแหล่งเงินทุน

คุณสุวิทย์: ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไป อดีตกฟผ.ยิ่งใหญ่มาก ปัจจุบัน ถูกควบคุมโดยสำนักงานเรื่องสายส่งต้องขออนุญาต regulator

-  การสร้างโรงไฟฟ้าก็ขึ้นอยู่กับนักการเมือง

-  นโยบายด้านเชื้อเพลิงไม่ถูกต้อง

-  การประมูลไฟฟ้ารอบใหม่ เป็นก๊าซหมด นำเข้า 40% และให้ regulator เป็นคนพิจารณา

-  เรื่องrenew  มีชาวบ้านร้องเรียน มีบรรษัทโซลาร์ฟาร์มซื้อที่ดินซื้อที่ล้อมชาวนา ทำให้ทำนาไม่ได้ เป็นที่ดินเก่า 300 ปี ซื้อ 2,000 ไร่ ขอให้บริษัททำทางให้ออก  แต่บริษัทบอกทำอะไรไม่ได้ ต้องเข้าที่ประชุม

อ.จีระ: Session นี้เป็นนวัตกรรมใหม่ของรุ่นที่ 9  เป็นโจทย์ที่สำคัญสำหรับทุกๆคน ต้องหาโอกาสที่จะเพิ่มประเด็น 2Vขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมากมาย

กลุ่ม 6 การคิดนอกกรอบที่จะอยู่ในเกมส์รุก ขอคำแนะนำจากท่านวิทยากรในมุมของรัฐวิสาหกิจ

อ.ไกรฤทธิ์: หลังเกษียณอายุมาทำ NGO พบว่า อย่างแรกคือ วัฒนธรรมของ NGO สอง คือ บุคลิกขององค์กรต่างกัน

สิ่งแรกคือ ต้องศึกษาวัฒนธรรม ต่อมา คือ ต้องcommand&control

ในอนาคต EGATไม่สามารถทำนายได้ ต้องทำไปและปรับตัวไปด้วย ต้องเชื่อมั่นในเรื่องของการพัฒนาตัวเอง

สุดท้าย ทัศนคติของวงการราชการคือ ไม่มีงบคิดไม่ออก แต่ NGO ไอเดียดึงเงิน

โครงสร้างขององค์กร economies of scale แต่ NGO เป็นeconomies of scope

อ.พงษ์ชัย: องค์กรที่ไม่มีเจ้าของ ไม่มีคนสนใจกระทรวงการคลังเรียกว่าเป็นกระทรวงชั้นเลวร้าย เช่น องค์การพัสดุ เพราะmarket share สู้ของเอกชนไม่ได้

กรณีศึกษาไปรษณีย์ไทย ธุรกิจโทรเลข กระทรวงคมนาคมไม่เอา กลายเป็นธุรกิจที่ไม่มีใครอยากได้

ธุรกิจของโรงงานยาสูบ มีชาวไร่เป็นแสนครอบครัว แต่นึกไม่ออกว่ากฟผ.มี Stakeholderเป็นคนระดับรากหญ้ามากน้อยเพียงใด

เขื่อน ต้องใช้นวัตกรรมที่ใช้ผิวน้ำเพื่อวางแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นวิธีการคิดนอกกรอบ

กลุ่ม 3 เรื่องกาทำโซล่าร์เซลล์ ระยะการคืนทุนตก 8-10 ปี แต่อายุตัวเซลล์ใช้ได้ถึง 25 ปี ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มมาก  ส่วนหนึ่งจะได้เรื่องคาร์บอนเครดิตด้วย

กลุ่ม 6 ถ้าได้ Adder การไฟฟ้าก็ควรจะทำ แต่โซลาร์เซลล์ผลิตที่จีน กระบวนการที่ได้ต้องจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมสูง  เพราะสิ่งที่ออกมาจะเป็นพวกซิลิกา ถ้าจะทำจริงๆ ต้องมีเรื่องการจัดการเรื่องมลภาวะสูง

กลุ่ม 5 คุณสุทธิชัย  เคยอยู่ที่เขื่อนภูมิพล พื้นที่ในอ่างเก็บน้ำ เคยคิดที่จะทำธุรกิจโซลาร์ และคิดอีกหลายๆโครงการ เช่น เรื่องสนามบินน้ำ พื้นที่เหนือเขื่อนทำหลุมฝังศพชาวสิงคโปร์ แต่กรรมสิทธ์ที่กฟผ.ดูแลคือ พื้นที่รอบอ่าง เพราะพื้นที่รอบๆส่วนใหญ่เป็นอุทยาน ซึ่งเป็นของกรมป่าไม้ ล่าสุดเขื่อนศรีนครินทร์ คิดเรื่องร้านอาหารสนามกอล์ฟ แต่ตอนหลังติดเรื่องพรบ. แต่กรรมการกฟผ.ท่านใหม่คิดปรับปรุงที่พักร้านอาการสนามกอล์ฟ เริ่มปี 2557-2558

ศ.ดร.จีระ: การขึ้นไปเป็นผู้นำต้องบริหารกฎระเบียบให้ได้ และที่อันตรายที่สุดคือ กฎการเงิน

กลุ่ม 2: ทำอย่างไรให้องค์กรเป็นองค์กรชั้นเลิศที่ทำทุกอย่างแล้วมีประโยชน์ และบางครั้งต้องทำนอกกรอบ ที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมไม่ใช่ส่วนตน

ศ.ดร.จีระ: โลกมีการเปลี่ยนแปลง เป้าหมายต้องชัดเจนถึงจะอยู่รอด

อ.ไกรฤทธิ์:

1. ลองDefine ผู้นำในอนาคตของ EGAT อีก 10 ปีข้างหน้า

2.ลอง define คำว่า heroes ว่าจะเอาใครเป็นต้นแบบในแต่ละแผนก

3. ขอให้มีวันสำคัญของ EGAT ที่จะมาแลกเปลี่ยนถึงความดีซึ่งกันและกัน

ศ.ดร.จีระ:Leader ต้องproduce future leader  และต้องจัดการกับสิ่งที่คาดไม่ถึง

หัวข้อ กฟผ.กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

โดย   ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

15 พฤษภาคม 2556

อ.พงษ์ชัย: เปิดเสรีอาเซียนวันที่ 31 ธันวาคม 2558

ปัจจัยสำคัญของศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยที่สำคัญในปัจจุบันและอนาคต

- ภาวะโลกร้อน

- วิกฤติพลังงาน

- ประชาคมอาเซียน  มี 3 เสา เรื่องเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเรื่องความมั่นคงทางทหาร

- ขาดแคลนทรัพยากร

Toll logistics เป็นบริษัทออสเตรเลีย แต่ Take over มาจากสิงคโปร์

อาเซียน แบ่งเป็นอาเซียนบก คือ ไทย และทะเล  คือ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโด

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน C L M V เป็นประเทศที่เพิ่งจะพัฒนาอุตสาหกรรม ส่วนประเทศไทย อินโด ฟิลิปปินส์ ถือเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว

ประเทศที่ค่าแรงถูก คือ เวียดนาม

เป้าหมาย AEC

1.  เปิดเสรีการลงทุน

2.  เปิดเสรีการค้าสินค้า

3.  เปิดเสรีการค้าบริการ

4.  การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ

5.  เปิดเสรีการเคลื่อนย้ายเงินทุน

กฟผ.กับอาเซียน

1.  เรื่องเชื้อเพลิง ลม น้ำ ชีวมวล น้ำมัน แสงอาทิตย์

2.  พม่า อินโด ลาว กัมพูชา ออสเตรเลีย

3.  CP all กับ แมคโคร ใครได้ประโยชน์  CPF ได้ประโยชน์ในการกระจายสินค้า

4.  จุดแข็ง คือ

-   ทำเลที่ตั้ง ไทยได้เปรียบมาก เพราะอยู่ตรงบก

-  สายส่ง

-  ความสามารถในการผลิตเอทานอล และไบโอดีเซล

อ.ไกรฤทธิ์: ต้องทำให้ EGAT มีpower need of modern people ของอาเซียน

1. single window ต้องเอาแนวร่วมทั้งไทยและต่างประเทศมาทั้งหมด รวมทั้งปตท. และแหล่งต้นน้ำด้วย

2. good school of project  management  ใครที่อยู่ในอาเซียนมาเรียนก็ได้

3. ให้ยืมผู้จัดการ หรือ Export คน ออกไปอาเซียน

4. เลือกประเทศชายแดน ที่เราจะขายและพึ่งพาเขาได้

5. ต้องเป็น Good host ไม่ต้องคิดเงินกับพวก VIP ที่มาเมืองไทย  เพื่อสร้าง trust ให้เกิดในอาเซียน และในประเทศไทยด้วยกัน

- แบ่งปันไฟ

- เป็นลูกค้า

อยากทราบว่าใน EGAT มีการเตรียมการเรื่อง AEC หรือยังไม่มีอย่างไรบ้าง

คุณราณี: เรื่องความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องถ่านหินจากประเทศออสเตรเลีย

คุณภูวดา: เรื่องอาเซียน EGAT มีบริษัทเครือมาก แต่ในอดีตบริษัทลูกแย่งงานกันเอง ถ้าเรารู้ว่าปี 2558 จะเปิดอาเซียน กฟผ.ต้องดูว่า จะแบ่งกันอย่างไร

บริษัท EGCO ก็มีบริษัทลูกอีกเช่นกัน เพราะฉะนั้นต้องแบ่งทุกอย่างให้ลงตัว

คุณมานิจย์: เห็นด้วยเรี่องtrust ที่ต้องสร้างให้เกิดในอาเซียน

อ.จีระ: เรื่องสร้างtrust EGAT ต้องใช้ผู้ที่มีประสบการณ์  แต่ประเทศไทยล้มเหลวในการที่ดูประสบการณ์จากประเทศที่เคยทำมา

ต้องมอง ASEAN ให้เป็น Holistic และต้องอ่าน ASEAN Blueprint เรื่องพลังงานให้ดี

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/535872

 
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > กิจกรรมรักกาย – รักษ์ใจ & ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8607113

facebook

Twitter


บทความเก่า