Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > แนวคิดประชาสังคมในทัศนะของ อิมมานูเอล ค้านท์

แนวคิดประชาสังคมในทัศนะของ อิมมานูเอล ค้านท์

พิมพ์ PDF

ค้านท์ มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ.1724-1804 เป็นนักปรัชญาเชิงวิพากษ์ชาวเยอรมัน ปรัชญาทางการเมืองของค้านท์มีรากฐานมาจากปรัชญาทางศีลธรรมที่อาศัยหลักการสังเคราะห์เหตุผลในการตัดสินใจปฎิบัติการต่างๆ ที่แสดงออกทางสังคม ค้านท์เห็นว่าสัญญาประชาคมทั้งหลายเป็นที่รวมของปัจเจกชนที่มาผูกพันกัน เพื่อเป้าหมายร่วมบางประการโดยมีการแลกเปลี่ยนทางความคิด ถือว่าเป็นหน้าที่เบื้องต้นของระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ การรวมตัวนี้เปรียบเสมือนเป็นประชาคมทางการเมืองที่ปรากฎให้เห็นทางสังคมที่มีการสถาปนารัฐของชาวประชาขึ้น สัญญาประชาคมได้สถาปนาเป็นประชาสังคมขึ้น เป็นสังคมทางการเมืองที่มีเจตจำนงร่วมที่ปัจเจกชนมาร่วมแลกเปลี่ยนกัน  การแสดงเจตจำนงร่วมในประชาคมทำให้ภาวะความมีสิทธิของพลเมืองเกิดขึ้น และมีเสรีภาพที่จะกำหนดกฏเกณฑ์มาใช้ในหมู่ประชาสังคมด้วยตัวเอง เสรีภาพในการใช้สิทธิหมายความว่าพวกเขามีสิทธิที่จะไม่เชื่อฟังกฎหมายได้ โดยยกเว้นกฎหมายที่ประชาสังคมให้ความยินยอม หลักคิดนี้ค้านท์หมายความว่าเป็นการยินยอมของประชาสังคมที่จะสร้างธรรมนูญของพลเมืองขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นเป้าหมายร่วมอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของประชาสังคม ในทัศนะของ     ค้านท์เห็นว่ารูปแแบของรัฐที่ดีที่สุด คือรัฐบาลที่มาจากรัฐธรรมนูญแบบสาธารณรัฐ โดยมีสมมติฐานว่าพลเมืองแต่ละคนได้ให้ความยินยอมแก่องค์อธิปัตย์ที่ใช้อำนาจกฎหมายผ่านระบบตัวแทนซึ่งเป็นการใช้อำนาจทางอ้อม หรืออาจจะโดยตรงก็ย่อมได้ ดังนั้น ในนิมิตทางศีลธรรม พลเมืองต้องมองว่ากฎหมายทุกฉบับคือที่มาของเจตจำนงของพลเมือง ตามนัยนี้ประชาสังคมจะต้องมีบทบาทสำคัญในการแสดงเจตจำนงที่จะกำหนดกฎหมายให้องค์อธิปัตย์นำไปบังคับใช้

แนวคิดสัญาประชาสังคมในทัศนะของค้านท์มองว่าสัญญาประชาคมคือที่รวมของเหตุผลในการสร้างกระบวนการยุติธรรม กฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณะจะต้องมองว่ากฎหมายมีไว้เพื่อคนทั้งมวลตราบใดที่ยังเห็นด้วยที่จะให้มีกฎหมายนั้นๆต่อไป แนวคิดประชาสังคมนี้เป็นหลักการสำคัญในปรัชญาทางการเมือง เป็นหลักการเน้นย้ำว่ารัฐจะต้องมีหลักประกันให้พลเมืองแต่ละคนมีเสรีภาพให้มากที่สุดเท่าที่เป็นได้ และเป็นเสรีภาพที่สอดคล้องกับพลเมืองทุกคน กล่าวคือเป็นเสรีภาพที่ไม่ไปละเมิดเสรีภาพของคนอื่นๆ ดังนั้นการมีเสรีภาพที่เท่าเทียมกันให้มากที่สุดคือเป้าหมายแบบมีเหตุผลของเจตจำนงร่วม หลักการนี้ถือว่าเป็นแก่นหลักของแนวคิดสาธารณรัฐนิยม (Republicanism)   ค้านท์เชื่อว่ารูปแบบของรัฐบาลแบบสาธารณรัฐเป็นรูปแบบรัฐที่มีศีลธรรมที่ดีและเป็นประโยชน์ที่สุด เพราะเป็นรูปแบบที่ทำให้พลเมืองมีเสรีภาพมากที่สุดเท่าที่จะมีได้ นอกจากนี้รูปแบบสาธารณรัฐยังช่วยทำให้จุดมุ่งหมายตามหลักการของสัญญาประชาคมมีความสมบูรณ์

ตามทัศนะของค้านท์ สัญญาประชาคมและแนวคิดเกี่ยวกับการถือครองทรัพย์สินคือพื้นฐานแห่งความเป็นธรรมและศีลธรรมของประชาสังคม ซึ่งค้านท์มองว่าประชาสังคมมีความจำเป็นในฐานะเป็นสังคมทางการเมือง ที่มีความจำเป็นเพราะความยุติธรรมจะเกิดขึ้นมาได้ ก็โดยสร้างระบบกฎหมายมหาชนขึ้นมา มนุษย์ทุกคนจะต้องเข้าสูงประชาสังคม จุดมุ่งหมายของประชาสังคมคือบังคับให้มนุษย์ต้องเคารพสิทธฺิของคนอื่น แต่การเพิ่มเสรีภาพให้พลเมืองยังไม่เพียงพอต้องเพิ่มเสรีภาพทางการเมืองด้วย รวมทั้งต้องมีรูปแบบรัฐบาลแบบสาธารณรัฐ แนวคิดอำนาจหน้าที่ทางการเมืองของรัฐที่ต้องคอยปกป้องเสรีภาพของปัจเจกชนถือว่าเป็นประเด็นสำคัญ อำนาจรัฐที่ใช้บังคับโดยรัฐนั้นเป็นไปเพื่อปกป้องเสรีภาพของปัจเจกชนเท่านั้น  ส่วนสิทธิสาธารณะ (public right) เป็นสิ่งที่กำหนดขึ้นโดยการจำกัดขอบเขตเสรีภาพของปัจเจกชนเพื่อให้มีความกลมกลืนและบูรณาการแบบเท่าเทียมกับเสรีภาพของทุกๆคนเพื่อให้มีเสรีภาพโดยเท่าเทียมกัน ค้านท์ให้เหตุผลว่ารัฐธรรมนูญของพลเมืองเป็นการสร้างระบบความสัมพันธ์ของเหล่าเสรีชนกับการยอมรับการบังคับใช้กฎหมายของรัฐ ขณะที่ยังคงรักษาเสรีของตนเองไว้ภายในสมาคมทางการเมืองที่รวมกลุ่มกันอยู่เป็นประชาสังคม แต่การธำรงไว้ซึ่งเสรีภาพนั้นปัจเจกชนต้องมีเหตุผลอันบริสุทธิ์ การยอมรับอำนาจทางการเมืองเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุความยุติธรรมและสิทธิอันพึงมี เสรีภาพที่มีขึ้นภายในประชาสังคมจะต้องถูกจำกัดขอบเขตภายใต้การใช้คำที่เรียกว่าการปกป้องเสรีภาพที่มีอยู่ กล่าวคือ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้เสรีภาพเกินขอบเขตจำเป็นจึงต้องจำกัดขอบเขตของเสรีภาพของปัจเจกชน

ค้านท์มีทัศนะว่าประชาสังคมไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้โดยปราศจากรัฐ ซึ่งบ่อยครั้งค้านท์ใช้คำว่ารัฐในความหมายว่า เป็นสังคมทางการเมืองที่มีสถาบันต่างๆ เช่นกฎหมายมหาชน อำนาจของผู้แทน เป็นต้น  ค้านท์ไม่ได้แยกให้เห็นความแตกต่างชัดเจนระหว่างคำว่า "ประชาสังคม" และ"รัฐ" บางครั้งก็ใช้สองคำนี้ในความหมายเดียวกัน บ่อยครั้งที่    ค้านท์ใช้คำว่า "ประชาสังคม" ในความหมายว่าคือรัฐที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาสภาพความเป็นสังคมของพลเมือง และเพื่อเป็นหลักประกันเสรีภาพและศีลธรรมของปัจเจกบุคคล

ทฤษฎีประชาสังคมของค้านท์มีประเด็นที่แปลกต่างไปจาก ล็อก สมิธ และ เฟอร์กูสัน คือเขากล่าวว่า ประชาสังคมไม่ได้อยู่ในระดับท้องถิ่นหรือในระดับรัฐเท่านั้น แต่ยังมีประชาสังคมขึ้นท่านกลางรัฐต่างๆ เป็นชุมชนการเมืองระหว่างประเทศอีกด้วย อีกประเด็นหนึ่งที่มีเป็นทัศนะแปลกใหม่ในปรัชญาการเมืองของค้านท์คือ ได้เสนอเรื่อง กฎหมายสากลหรือกฎหมายครอบอาณาจักรวาล (cosmopolitan Law)  และเรื่องสันติภาพนิรันดรในหมู่ประชาคมนานาชาติ ค้านท์ให้เหตุผลว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองในรัฐทั้งหลายควรจะใช้กับรัฐอื่นๆ หรือกับชุมชนไร้รัฐ ประชาชนบนโลกนี้ได้เข้าสู่ชุมชนสากล (Universal community) ในระดับต่างๆ และพัฒนาไปสู่จุดที่ว่าหากมีการฝ่าฝืนในส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกก็จะมีความรู้สึกร่วมกันของทั้งชุมชนสากลที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่นั้น เงื่อนไขเบื้องต้นของสันติภาพนิรันดรคือการยอมรับความเท่าเทียมของรัฐต่างๆ (เช่นเดียวกับความเท่าเทียมของปัจเจกชน) ในฐานะชุมชนระหว่างประเทศพร้อมกับยอมรับในหลักการไม่แทรแซงซึ่งกันและกัน ค้านท์เสนอว่ารัฐอยู่ในฐานะผู้แสดงบทบาทกลางในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ถึงแม้ว่าโลกประกอบด้วยรัฐต่างๆมากมายที่มีรัฐธรรมนูญแตกต่างกัน แต่ค้านท์มีสมมติฐานว่ามนุษย์มีเหตุผลสากลเพียงหนึ่งเดียว ดังนั้นการมีธรรมนูญทางการเมืองที่ยอมรับได้เพียงหนึ่งเดียวสำหรับรัฐก็ทำให้รัฐต่างๆที่ยอมรับในหลักการนี้เป็นสาธารณรัฐอันเดียวกัน

ค้านท์เสนอว่า การที่จะทำให้สันติภาพนิรันดรเกิดขึ้นบนโลกนี้จะต้องยึดหลักสามประการคือ ประการที่หนึ่งทุกๆรัฐควรมีธรรมนูญแบบสาธารณรัฐ ประการที่สองสิทธิของชาติต่างๆควรตั้งอยู่บนฐานของการรวมเข้าเป็นสมาพันธรัฐ (federation) และประการที่สาม สิทธิสากลควรจำกัดเพื่อให้มีสภาพที่เป็นอยู่ร่วมกันอย่างสากล ส่วนเรื่ององค์แห่งกฎหมายค้านท์เห็นว่าไม่ควรอยู่บนพื้นฐานของการบังคับ แต่ควรอยู่บนพื้นฐานของอำนาจที่มีศีลธรรม ค้านท์มีทัศนะว่า ประชาสังคมนานาชาติ หรือประชาคมสากลเป็นประเด็นอันยิ่งใหญ่ท้าทายความเป็นสังคมสากลของมนุษย์ ค้านท์เน้นว่า "ปัญหาอันยิ่งใหญ่สำหรับชาติพันธ์มนุษย์ก็คือ การหาทางออกที่ธรรมชาติบังคับให้มนุษย์ต้องแสวงหาทางบรรลุเป้าหมายของประชาคมสังคมที่สามารถบริหารความยุคิธรรมได้อย่างเป็นสากล

ปรากฏการณ์ความเป็นสังคมสากลในช่วงที่คานท์มีชีวิตอยู่ยังไม่เกิดขึ้น  แต่หลังจากนั้นมาหลายประเทศได้มีระบบการเมืองการปกครองแบบสมาพันธรัฐ แนวคิดประชาสังคมสากลในปัจจุบันนี้อาจจะพอเห็นเค้าลางๆขึ้นบ้าง มีหลายประเทศที่มีธรรมนูญหรือสัญาประชาคมร่วมกัน เช่นสหภาพยุโรป  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นต้น ในส่วนการเคลื่อนไหวของประชาสังคมที่ดำเนินกิจการของภาคพลเมืองก็ได้มีการสถาปนาประชาสังคมโลกขึ้นมา เคลื่อนไหวในเรื่องต่างๆ เช่น การรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนต่างๆ ต่อต้านการค้ามนุษย์ การป้องกันสิ่งแวดล้อมโลก รวมไปถึงการจัดสมัชชาประชาสังคมโลกของสหประชาชาติในต้นศตวรรษ 2000 เป็นต้น

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

13 มิถุนายน 2556

ข้อมูลจากหนังสือ พัฒนาการและการพัฒนาประชาสังคม โดย ผศ.ทศพล สมพงษ์

 
Home > Articles > สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ > แนวคิดประชาสังคมในทัศนะของ อิมมานูเอล ค้านท์

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8611118

facebook

Twitter


บทความเก่า