Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > โครงการ DFC3 : ๔. เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยวิจัย และมหาวิทยาลัยเอกชน (เพื่อการมีงานทำ)

โครงการ DFC3 : ๔. เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยวิจัย และมหาวิทยาลัยเอกชน (เพื่อการมีงานทำ)

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๑๑ มิ.ย. ๕๖ ออกไปเดินครึ่งชั่วโมง หวังจะหา Zoo แต่หาไม่พบ

วันนี้เราไปเยี่ยมชม ๒ มหาวิทยาลัย คือฮุมโบลดท์ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเน้นวิชาการหรือวิจัยสุดๆ  กับ FOM ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการมีงานทำเหมือน BSEL ที่ไปเยี่ยมเมื่อวาน  แต่ FOM เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน

 

 

มหาวิทยาลัยฮุมโบลดท์ ไม่เก่ามาก ตั้ง ค.ศ. 1810  แต่เป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยที่บูรณาการการวิจัยกับการสอน ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนปัจจุบัน  ถือเป็น elite university ของเยอรมัน

สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ Excellence Initiative ของระบบอุดมศึกษาเยอรมัน  ที่ HU ได้ประโยชน์มาก  (ดูรายละเอียดที่www.exzellenz.hu-berlin.de)  ที่ Tim Flink ทำวิจัยดู impact เอามาเล่าให้เราฟังเมื่อวาน ที่บอกว่ามีผลเปลี่ยนระบบมาก  แต่เปลี่ยนวัฒนธรรมยึดมั่นวิชา ของศาสตราจารย์ทั้งหลายน้อยมาก  จารีตวิชาการฝังแน่นทั่วโลก การปรับเปลี่ยนต้องใช้เวลาเป็น ๕๐ ปี ไม่ใช่แค่ ๑๐ ปี อย่าง Excellence Initiative ของระบบอุดมศึกษาเยอรมัน

เขาแจกเอกสารหลายเล่ม ผมเลือกหยิบมา ๒ ชิ้น เอามาอ่านแล้วได้สัมผัสความละเอียดอ่อนของการจัดการการเปลี่ยนแปลง  ใน HU Wissen : Humboldt research Magazine, Vol 4, November 2012 ได้อ่านข้อโต้แย้งของอาจารย์ผู้นำสาขามนุษยศาสตร์ ต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบอุดมศึกษา ที่ต้องการเน้นด้านการวิจัยเป็นพิเศษ

ข้อโต้แย้งคือ เกรงอาจารย์จะมุ่งทำวิจัยจนลืมนักศึกษา  ลืมอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัย ฮุมโบลท์ ที่ยึดถือกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1802 ที่มุ่งบูรณาการการวิจัยกับการสอน  เข้าใจว่ามีการโต้กันมากทีเดียว  ระหว่างการเน้นความเป็นเลิศที่มาจากความเป็นอิสระของอาจารย์  กับความเป็นเลิศที่ใช้กลไกการจัดการสมัยใหม่ ที่คล้ายวิธีการทางธุรกิจ

อีกเล่มหนึ่งคือ Educating Enquiring Minds และเมื่อมารอคนซื้อของที่ร้านขายของที่ระลึก ผมหาเอกสารภาษาอังกฤษ ได้แผ่นพับ HU200 : The 11th Thesis on Feuerbach and the Art Installation "Mind the Step" อธิบายวาทะอมตะของ คาร์ล มาร์กซ ที่ติดไว้ตรงบันไดทางขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๕๓  แล้วในการฉลอง ๒๐๐ ปีของมหาวิทยาลัยในปี ค.ศ. ๒๐๐๒ ก็มีการประกวดการออกแบบบันไดทางขึ้น  ได้ผู้ชนะที่ออกแบบอย่างปัจจุบัน  ที่ยังเก็บเอาวาทะของ มาร์กซ ไว้  แต่ที่ทุกขั้นบันไดมีคำว่า mind your step  เป็นการเตือนสติผู้คน ว่าแม้แต่วาทะของ มาร์กซ ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นคนที่ปราดเปรื่องที่สุดในศตวรรษที่ ๒๐  หากใครจะดำเนินตามก็จงระมัดระวัง  คือเขาไม่เอาวาทะที่แสลงใจนี้ออกไป  แต่เอาคำเตือนสติง่ายๆ มาติดไว้ที่ทุกขั้นบันได  เป็นการแสดงการอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่างทางความคิด

ต่อไปนี้คัดลอกมาจากข้อความที่ผมจดไว้ด้วย iPad ปรับปรุงภายหลังเล็กน้อย  โดยข้อความที่ขึ้นต้นด้วย ** เป็นการจดความคิดของตนเองที่แวบเข้ามาในตอนนั้น

 


Ursula Hans : HU in German HE Landscape and Worldwide Network

Founded 1810  ไม่เก่า  ตั้งหลังแพ้สงคราม  เพื่อผสานวิจัยกับสอน

นศ. 35,000

7,500 Med Student,  6 University Hospitals

ไม่มีวิศว

2 founders : Wilhelm & Alexander von Humboldt

เป้า เพื่อไม่ให้สังคมมีช่องว่างที่กว้างเกินไป

ศตวรรษที่ ๒๐ เน้น Natural Sci จึงมี 29 Nobel Laureates   ปี 1933 หยุดสอน  มีการเผาหนังสือ

1949 อยู่ใต้ GDR จน 1989

**ประวัติการฟันฝ่า

2000 - 2010 Bologna Reform

อธิการบดีมุ่ง radical reform

over 1,000 public lectures / yr

German Excellence Initiatives เริ่ม ๑๐ ปีก่อน  ปท. ต้องการสร้าง  visible R Univ  โดยที่เดิมเน้น equality  หันมาให้แข่งขัน มีการสนับสนุนที่แตกต่างกัน ตามคุณภาพของข้อเสนอโครงการ

1st Pillar : Graduate studies

2nd R Clusters : 4 Clusters ในรูป

3rd  Future concept or 3rd line funding : Educating Inquiring Minds

TU = Technical Univ, FU = Free Univ

International : สร้าง multi-perspectivity แก่ นศ.  ให้ นศ. สามารถ function in multi-perspective ways

Profile partnership : Princeton U และกำลังหาในเอเซีย  ต่ำลงไป Core Partnership

ให้ นศ. ได้ international training at home  ไม่ขึ้นกับ mobility เสมอไป

Internationalization at faculty level -> institutionalize at the Faculty Level เพื่อความยั่งยืน

Networks

Innovation in Teaching : Bologna Lab เกิดเพราะ นศ. ประท้วง

3Q Approach

·  Q – Tutorials : Research projects ที่ริเริ่มและดำเนินการโดย นศ.

·  Q – Teams : นศ. ที่เรียนเก่ง เข้าร่วมทีมวิจัยที่มีอยู่แล้ว

·  Q – Kolleg : นศ. ทำวิจัยร่วมกับต่างประเทศ ผ่านทาง online เป็นหลัก  อาจมีการเดินทางไปทำงานวิจัยในต่างประเทศบ้าง

Q = Quest

3Q approaches เป็นของ HU เท่านั้น  ได้รับทุนสนับสนุน

Internationalization at home :

HU อยู่ใกล้ Turkish community ที่สร้างตัวได้ดีทางธุรกิจ  โดยไม่ได้เข้ามหาฯ

ทำ project สอน/เรียน ในบริบทของวัฒนธรรมที่ต่าง ที่ไม่ใช่วัฒนธรรมของตน  นร. เยอรมัน กับ เตอรกิช แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องในสังคม โดยสื่อกันด้วยภาษาละติน  ซึ่งไม่ใช่ภาษาของตน

เอาเด็กต่างภาษา/วัฒนธรรม มาเข้า summer camp ในมหาฯ

เยอรมัน เป็น ปท. ที่มีกลไกให้ทุนมากมาย  แต่ไม่มีทุนสนับสนุน internationalization

teaching slaves 18 hrs/wk

reduction / r  3-5 / wk

งานหนักมาก แต่สนุก พอใจ

Educate Inquiring Minds : combine teaching with research

ขอทุนได้

Cosmos Res Summer Univ มี international partners พา นศ. มาด้วย  มี Humboldt Scholars มาเตรียมงาน  เป็น pressure cooker ของนักวิจัยใหม่

อธิการบดี จะ reform ให้ deans มีอำนาจมากขึ้น ด้าน HRM

K & Technol Transfer

Philipp Tottenborn, Spin-Off Manager, Humboldt Innovation

เป็นบริษัท  มีข้อตกลงชัดเจนกับ HU

ทำ innovation scout ในมหาฯ

หาคนมาทำงานได้ภายใน ๑ วัน

Spin off Zone

เริ่ม 2008

อุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ทางใต้ของประเทศ

ได้สร้าง 45 new companies, 500 new jobs  หน้าที่นี้ Technical Univ เก่งกว่า  รวมทั้ง Univ of Applied Sciences

 

จะเห็นว่าในเยอรมัน มหาวิทยาลัยต่างแบบ ได้รับการยอมรับในความสามารถ ตามความถนัดของตน  มหาวิทยาลัย ฮุมโบลดท์ ซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นยอดของโลก ยอมรับว่า เมื่อพูดถึงเรื่องเชิงประยุกต์ การสร้างงาน การสร้างนักประกอบการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี และมหาวิทยาลัยประยุกต์ใช้ความรู้ ทำหน้าที่นี้เก่งกว่า  ส่วนมหาวิทยาลัย ฮุมโบลดท์ ได้รับการยอมรับนับถือในการสร้าง “สมองนักสงสัย” (Inquiring Mind)

ดู ppt ประกอบการนำเสนอได้ ที่นี่ และ ที่นี่

กินอาหารเที่ยงที่ร้านอาหารอิตาลี Via Nova

FOM

มหาวิทยาลัยของลูกจ้าง  เชี่ยวชาญ adult learning  โรงเรียนระดับสูงด้าน Economic & Development. F = Fachhocschuler, O = Economic, M = Management

ต่อไปนี้เป็นข้อความจากบันทึกใน iPad ปรับปรุงเล็กน้อย

เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ไม่ค้ากำไร  เน้นจัดการศึกษาแก่คนทำงานเต็มเวลา  สอนถึงระดับ ป. โท  และมีงานวิจัยด้วย

1,500 students in Berlin

เริ่ม 1993 โดย Employers' Association in Essen  **สมาคมลูกจ้างตั้งมหาฯ**

เมือง Essen อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ ปท.

มีสอน 31 แห่งทั่ว ปท.  นศ. > 21,000  ศ. > 200, อ. > 800

ที่ศูนย์นี้มีศ. ๑๓ คน

มหาฯ สำหรับคนทำงานเต็มเวลา  จัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับ นศ. ทำงาน

คุณภาพดี ราคาไม่แพง  แต่ไม่แข่งกับ elite univ.  ในสภาพการแข่งขันสูงในเบอร์ลิน

อยู่ใต้ BCW Group

ระบบ กศ. เยอรมัน ซับซ้อนหลากหลาย และยืดหยุ่นมาก  1/3 เดินตาม main stream เข้ามหาฯ

Dual Ed

เรียนอาชีพ + วิชาการ พร้อมกัน  เพื่อการมีงานทำ

ค่าเล่าเรียน

BS / BA 15,000 € for 3 ½ yrs

MS 12,000 € for 2 yrs

มีบริษัทนายจ้างที่ช่วยเหลือ โดยจัดยืดหยุ่นเวลาทำงานให้ หรือออกเงินให้บางส่วน

แบบที่ 1  Week Program (Mon – Thur) : 18.00 น. บรรยาย / สัมมนา 90 min, break สั้นๆ  ต่ออีก 90 min

แบบที่ 2  มาเรียน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์

แบบที่ 3 เรียนวันศุกร์ 18 น.  และวันเสาร์เต็มวัน

เริ่ม integrate eLearning บ้าง แต่ไม่มาก

กว่า 90% นศ. เรียนจบ ป. โท จบมากกว่า 90%

การเรียนเรียนแบบ interactive  มีคะแนนให้ในทุกช.ม.  ไม่มีการสอบอย่างเป็นทางการ

คนที่มาให้ข้อมูล  ตอนนี้เรียน MBA  ผ่านมาแล้ว Gerontology, nurse,

ใช้ case-based learning มาก  ทำให้ได้เรียนจากของจริง  เน้นรับอาจารย์ที่มีประสบการณ์การทำงานจริง

เป็น univ of applied sci & economics

ไม่มี วิศว แพทย์

มีการวิจัยด้วย โดยร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ  เช่น business psychology, statistics, employment, demographic, gerontology,

มีความร่วมมือ PhD Program กับ ม. ในสเปน

av age undergrad 25-28 อายุลดลง

MBA อายุ 25 - 44

**ใน concept ยังเน้น K / Content อยู่  ยังไม่ถึง 21st Century Skills

การสอบ ป. ตรี สอบข้อเขียนเป็นหลัก

ป ตรี drop out rate 15% :  5% เพราะวิชาไม่แข็ง  สอบตก ๓ ครั้ง ต้องออก  หรือเพราะปัญหาครอบครัว / ส่วนตัว  หรือเพราะย้ายบ้านไปเมืองอื่น  หรือเพราะไม่มีเงิน  FOM ช่วยโดยให้ผ่อนส่งระยะยาว

นศ. ที่นี่ motivated กว่าในมหาฯ

ป. ตรี ไม่มีการคิดเครดิตจากประสบการณ์การทำงาน

ป. โท คิด

SRH Univ เป็นคู่แข่ง  เป็น ม. เอกชน  คู่แข่งมาก

ม. เอกชนบางแห่งล้มละลายใน ๑ ปี

จากสายอาชีพ ไปทำงาน ๓ ปี มาเข้ามหาฯ ได้

FOM = Fach hocschuler

Hochschuler for Economic and Management

O = Economic

M = Management

นี่คือ adult learning expert  เขาไม่กลัว online university

 

ดู ppt ประกอบการนำเสนอได้ ที่นี่

 

ค่ำไปกินอาหาร บาวาเรีย ที่ร้าน Hofbrauehaus  ซึ่งติดป้ายโฆษณาว่า Hofbrau Muenchen บริเวณ จตุรัส อเล็กซานเดอร์ (Alexanderplatz)  คนส่วนใหญ่กินขาหมู ชิ้นโตน่าตกใจ  และแทนที่จะเป็นขาหมูอบและทอด กลายเป็นขาหมูต้ม  คนผิดหวัง ไกด์จึงสั่งชนิดทอดมาให้แบ่งกันชิม ๒ จาน  ผมเจียมตัว สั่งเนื้อลูกวัวทอด กินกับเบียร์อร่อยดี และกินไม่หมด  เพราะได้ส่วนแบ่งขาหมูมาชิมด้วย ทั้งชนิดต้มและชนิดทอด

 

วิจารณ์ พานิช

๑๖ มิ.ย. ๕๖

 

 



หน้ามหาวิทยาลัย ฮุมโบลดท์ เบอร์ลิน



ภายในห้องโถงทางขึ้นบันไดประวัติศาสตร์
ประดับคำขวัญของ คาร์ล มาร์กซ



บรรยากาศภายในห้องประชุม



หอเกียรติยศนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล



แคมปัสทัวร์ อวดห้องบรรยายใหญ่ โชวืความล้าสมัย



บรรยากาศภายในมหาวิทยาลัย



ด้านหน้ามหาวิทยาลัย FOM มหาวิทยาลัยของลูกจ้าง



บรรยากาศภายในห้องประชุม
ในการเยือน FOM มหาวิทยาลัยเพื่อการมีงานทำ



ร้าน Hofbrau Muenchen
ที่เราไปกินขาหมูเยอรมัน



บรรยากาศภายในร้าน



ขาหมูต้ม



บรรยากาศที่หน้าร้าน

 

 

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/542198

 

 

 

 

 
Home > Articles > การศึกษา > โครงการ DFC3 : ๔. เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยวิจัย และมหาวิทยาลัยเอกชน (เพื่อการมีงานทำ)

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8630168

facebook

Twitter


บทความเก่า