Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > การหลอมรวมระหว่างการเรียนวิชากับการเรียนรู้จากกิจกรรมนักศึกษา

การหลอมรวมระหว่างการเรียนวิชากับการเรียนรู้จากกิจกรรมนักศึกษา

พิมพ์ PDF

บันทึก ๒๐ ตอนนี้ ได้จากการตีความหนังสือ  The Heart of Higher Education : A Call to Renewalเขียนโดยผู้มีชื่อเสียง ๒ ท่านคือ Parker J. Palmer และ Arthur Zajonc ซึ่งเมื่อผมอ่านคร่าวๆ แล้ว ก็บอกตัวเองว่า  นี่คือข้อเสนอสู่การเรียนรู้เพื่อเป็นคนเต็มคน ที่มี “พลังสาม” เข้มแข็ง คือ สมอง ใจ และวิญญาณ (head, heart, spirit)  หรือพูดด้วยคำที่ฮิตในปัจจุบันคือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายในตน (Transformative Learning)

แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเน้นเสนอการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษา  แต่ผมมีความเชื่อว่าต้องใช้กับการศึกษาทุกระดับ  รวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต  และตัวผมเองก็ต้องการนำมาใช้ฝึกปฏิบัติเองด้วย

ผมตั้งเป้าหมายในการอ่านและตีความหนังสือเล่มนี้  ออกบันทึกลง บล็อก ชุด เรียนรู้บูรณาการพลังสาม ว่า ต้องการเจาะหาแนวทางทำให้จิตตปัญญาศึกษา เข้าสู่การศึกษากระแสหลัก  เพื่อให้คนไทยมีทักษะจิตตภาวนาบูรณาการอยู่ในทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต

การเรียนรู้บูรณาการ (สมอง ใจ และวิญญาณ) พัฒนา ๓ ด้านไปพร้อมๆ กัน  และส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Integrative Learning  ในบางที่เรียกว่า Transformative Learning ซึ่งแปลเป็นไทยได้ ๒ แบบ ว่า (๑) การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน  คือเปลี่ยนจากติดสัญชาตญาณสัตว์ เป็นมีจิตใจสูง ซึ่งมนุษย์ทุกคนบรรลุได้   บรรลุได้ในฐานะบุคคลทางโลก ไม่ต้องเข้าวัด หรือไม่ต้องบวช  (๒) เป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง หรืองอกงาม ภายในตน  ตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบรับถ่ายทอดความรู้มาจากภายนอก

ผมได้ตีความเขียนบันทึกจากบทหลักในหนังสือจบแล้ว  แต่ยังมีส่วนเพิ่มเติม เพื่อบอกวิธีปฏิบัติอีกหลายตอน  ที่ผมคิดว่ามีประโยชน์ต่ออาจารย์ที่ต้องการจัดการเรียนรู้แบบ Integrative/Transformative Learning อย่างจริงจัง

บันทึกตอนที่ ๑๖ นี้ ตีความจากส่วนหนึ่งของ Appendix B : Beyond the Classroom  เรื่อง Philadelphia University : Where Physical Education Makes a Play for Civic Education เขียนโดย Tom Schrand, Interim Dean, School of Liberal Arts, and Aurelio Valenta, Assistant Dean, Student Development, Philadelphia  University  เล่าเรื่องการจัดการเรียนรู้ด้านพลศึกษาเพื่อการเรียนรู้บูรณาการ นำไปสู่การจัดการเรียนรู้พลเมืองศึกษา หรือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสำนึกพลเมือง  ในมหาวิทยาลัยฟิลาเดลเฟีย

มหาวิทยาลัยฟิลาเดลเฟีย ต้องการเคลื่อนจัดการเรียนรู้บูรณาการ ไปครอบคลุมการพัฒนาสำนึกพลเมืองของ นศ.  และเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  หลังจากทำโครงการ ๓ ปี ที่ได้รับทุนจาก  Carnegie Foundation for the Advancement of Teaching และจาก AAC&U (Association of American Colleges and Universities) ชื่อ Integrative Learning Project จบ  มหาวิทยาลัยก็ดำเนินการ ขับเคลื่อนหลักสูตรที่เรียนในห้องเรียน ออกสู่ชุมชน  โดยจัดให้มีความร่วมมือกันระหว่างฝ่ายวิชาการ กับฝ่ายกิจการนักศึกษา

ขั้นตอนแรกคือพาอาจารย์ และเจ้าหน้าที่หน่วยพัฒนา นศ. ไปฝึก civic engagement & service learning ที่ AAC&U Greater Expectation Institute โดยดึงผู้บริหารหลายฝ่าย รวมทั้งรองคณบดีฝ่ายกิจการ นศ.  และบริษัทเอกชนที่จะช่วยงานในชุมชนได้ ในระหว่างการฝึก ได้มีการพูดคุยกันระหว่างเจ้าหน้าที่พัฒนา นศ.  รองคณบดีฝ่ายกิจการ นศ.  และ ผอ. การกีฬา ว่าน่าจะเพิ่มการฝึกกิจกรรมชุมชน (civic engagement) เข้ากับวิชาพลศึกษาอย่างเป็นทางการ   ซึ่งในที่สุดก็เกิดรายวิชา SERVE-101 ที่มีเป้าหมายให้ นศ. ได้เข้าใจความเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกของสังคมกับสังคมส่วนรวม  โดยให้ นศ. ได้ลงมือทำ และได้ทบทวนไตร่ตรองในภายหลังอย่างจริงจัง

ในรายวิชานี้ นศ. ได้มีโอกาสเลือกทำงานตามที่ตนสนใจและรัก ในประเด็นตัวอย่าง เช่น (๑) การขับเคลื่อนสังคมด้านสิทธิมนุษยชน  (๒) เด็กและเยาวชน  (๓) การพัฒนาชุมชน  (๔) การศึกษา  (๕) ความหิวโหยและการไร้บ้าน  (๖) เป็นต้น

ในการปฏิบัติงานนี้ นศ. จะได้ทำความเข้าใจผลกระทบและความหมายของกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม  กระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ร่วมกับการใคร่ครวญไตร่ตรองหลังการปฏิบัติ  จะช่วยให้ นศ. เรียนรู้จากภายในตน เปลี่ยนแปลงสภาพของตนเองจาก “อาสาสมัคร” (บุคคลที่มีเจตนาดี แต่ไม่เข้าใจความซับซ้อนของปัญหาสังคม)  ไปสู่ “พลเมืองที่รับผิดชอบต่อประเด็นเชิงจริยธรรมในสังคม”   คือเป็นพลเมืองที่เข้าไปร่วมแก้ปัญหาสังคม

เมื่อนำเสนอร่างหลักสูตรผ่านกระบวนการอนุมัติของมหาวิทยาลัย  ก็ได้รับคำแนะนำให้จัดรายวิชานี้แบบ 3+1  คือให้ นศ. เลือกเรียนวิชานี้ต่อเนื่องได้ทั้งหมด ๔ ครั้ง   เพื่อให้ นศ. ที่สนใจจริงจัง มีโอกาสทำกิจกรรมต่อเนื่อง  เพื่อการเรียนรู้บูรณาการ สู่ความเป็นพลเมือง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๐ ก.พ. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/544172

 
Home > Articles > การศึกษา > การหลอมรวมระหว่างการเรียนวิชากับการเรียนรู้จากกิจกรรมนักศึกษา

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8608505

facebook

Twitter


บทความเก่า