Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ทักษะจุลภาคเพื่อสร้างความรู้

ทักษะจุลภาคเพื่อสร้างความรู้

พิมพ์ PDF

KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ  : 601.  ทักษะจุลภาคเพื่อสร้างความรู้

หนังสือ The Inquiring Organization : Tacit Knowledge, Conversation, and Knowledge Creation Skills For 21st Century Organization ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2004   บทที่ ๖ เรื่อง Microskills for Knowledge Creation

ทักษะจุลภาคเหล่านี้ ช่วยให้เกิดบริบทหรือสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงาน  ที่เอื้อต่อการสร้างความรู้ขึ้นใช้งาน   คือมี ความเอื้ออาทร (care),  ความเคารพซึ่งกันและกัน (respect), และความไว้เนื้อเชื่อใจกัน (trust)  บรรยากาศเช่นนี้ ช่วยให้ความรู้ฝังลึก (tacit knowledge)  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ฝังลึกที่ซับซ้อนมากๆ อย่าง ปัญญาญาณ (intuition)  โผล่ออกมาทำงาน เกือบจะอย่างอัตโนมัติ

ทักษะจุลภาคที่แสดงความเอาใจใส่ ต่อการสื่อสารหรือปฏิสัมพันธ์ในขณะนั้น จะกระตุ้นการสร้างความรู้  โดยทักษะนี้แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือวัจนะภาษา (verbal language)  กับอวัจนะภาษา  (non-varbal language)

ผลการวิจัยบอกว่า ร้อยละ ๖๕ - ๙๐ ของการสื่อสารแบบพบหน้า เป็นการสื่อสารแบบ อวัจนะ (non-verbal)  คือเป็นภาษาท่าทาง ไม่ใช่คำพูด

ทักษะจุลภาคที่สำคัญคือ ทักษะภาษา (ทั้งวัจนะ และอวัจนะ) ที่สร้าง care, respect & trust

ทักษะจุลภาคแบบอวัจนะ ได้แก่ การสบตา (eye contact), ภาษากาย (body language), น้ำเสียง (vocal style), การเปล่งเสียงแสดงความพอใจ หรือสนใจ (verbal following) เช่น อือ  ใช่เลย

ทักษะอนุภาคแบบวัจนะ ได้แก่ คำถาม ทั้งชนิดปลายเปิด และชนิดปลายปิด (open and closed question), การกล่าวทวน หรือกล่าวซ้ำในถ้อยคำใหม่ (paraphrasing), การสะท้อนความรู้สึก (reflection of feeling), การสะท้อนความหมาย (reflection of meaning), และ การกล่าวสรุป (summarization)

ทักษะจุลภาคเหล่านี้ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (care, respect, trust)  ระหว่างสมาชิกในหน่วยงาน  ความรู้ฝังลึกนอกจากอยู่ในตัวคนแล้ว ยังอยู่ในความสัมพันธ์ และงอกงามขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างคน

พฤติกรรมตามทักษะเหล่านี้ จะช่วยให้ หน่วยงาน/องค์กร มีความรู้ฝังลึกที่ทรงพลัง (ที่คู่แข่งไม่มี)  ออกมาใช้งาน  ช่วยให้สามารถสร้างนวัตกรรมในการทำงาน หรือในการสร้างสรรค์ “สินค้า” ใหม่ๆ  สร้าง competitive advantage แก่องค์กร

วิจารณ์ พานิช

๒๕ ก.ค. ๕๖

คัดลอก http://www.gotoknow.org/posts/544051

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 01 สิงหาคม 2013 เวลา 21:50 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ทักษะจุลภาคเพื่อสร้างความรู้

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8607800

facebook

Twitter


บทความเก่า