Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ความเห็นของผมเกี่ยวกับภาพรวมของระบบการศึกษาไทย

ความเห็นของผมเกี่ยวกับภาพรวมของระบบการศึกษาไทย

พิมพ์ PDF

ในการประชุมวิชาการระหว่างประเทศ เรื่อง “การศึกษาเพื่ออนาคตของประเทศไทย” จัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  เมื่อบ่ายวันที่ ๒๓ มิ.ย. ๕๖  ในห้องย่อยเรื่องเสวนา UNESCO และ OECD : นโยบายการศึกษาไทย เรื่องภาพรวมระบบการศึกษาไทย (Overall Assessment of Education Systems)  ทางสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา นำเสนอโครงสร้างของการศึกษาไทย รวมทั้งสถิติทางการศึกษา  แล้วนักการศึกษาของ UNESCO และ OECD ชี้จุดแข็งของระบบการศึกษาไทย  และตั้งคำถามให้ผู้เข้าร่วมประชุมให้ข้อมูลหรือให้ความเห็น

มีคนให้ความเห็นหลากหลายเรื่อง  ผมได้ให้ความเห็นในประเด็นสำคัญ ๔เรื่อง คือ  (๑) inequity ที่พบบ่อยที่สุดในระบบการศึกษาไทย  (๒) ระบบการศึกษาไทยไม่เป็น Learning Systems  (๓) ผลของการกระจายอำนาจต่อห้องเรียน  (๔) ระบบการศึกษาไทยเป็นระบบแห่งศตวรรษที่ ๒๐  คือเป็นระบบเพื่อการถ่ายทอดความรู้  ไม่ใช่เพื่อ active learning ให้เด็กได้ทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้

จากข้อมูลผลการทดสอบ PISA ที่มีการนำเสนอตอนเช้า ว่าความแตกต่างในผลการทดสอบระหว่างโรงเรียน น้อยกว่าความแตกต่างของผลการทดสอบในนักเรียนห้องเรียนเดียวกัน  แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ของนักเรียนห้องเดียวกันต่างกันมาก  สะท้อน inequity ระดับสูงในห้องเรียน  ผมขออธิบายว่า เป็นเพราะครูไทยเอาใจใส่เด็กเรียนเก่งหรือหัวไว ทอดทิ้งเด็กหัวช้า  จึงเกิด inequity ระหว่างเด็กหัวไวกับเด็กหัวช้า

ผมจึงให้ความเห็นว่า ในระบบการศึกษาไทย inequity สูงที่สุดอยู่ในห้องเรียนนั่นเอง  เป็น inequity ของการที่จะบรรลุผลการเรียนแบบ mastery learning  ที่มีสาเหตุจากการที่ครู (และวงการศึกษาไทยทั้งหมด) เอาใจใส่เด็กหัวไว ทอดทิ้งเด็กหัวช้า

ผมให้ความเห็นว่า ระบบการศึกษาไทยไม่เป็น Learning Systems เห็นได้จาก ระบบไม่มีความสามารถ ในการปรับตัวให้ดีขึ้น  ไม่มีกลไกสร้างข้อมูลหลักฐาน เพื่อการปรับตัว  ซึ่งก็คือกลไกวิจัยระบบการศึกษา ไม่มี ESRI (Education Systems Research Institute) แบบที่ทางระบบสุขภาพมี HSRI (Health Systems Research Institute)  มีการเสนอและผลักดันให้ตั้งสถาบันวิจัยระบบการศึกษา เป็นระยะๆ ในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา  แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ

ในประเด็นนี้ นักวิจัยจาก OECD บอกว่า ทางแคนาดา ก็บอกว่า งบประมาณวิจัยระบบสุขภาพของเขา คิดเป็น ๑๕ เท่าของงบวิจัยทางระบบการศึกษา

ในประเด็นการกระจายอำนาจทางการศึกษา ผมเสนอให้ทีมวิจัยตรวจสอบสิ่งที่อยู่ในกระดาษ กับสิ่งที่ปฏิบัติจริง  ซึ่งผมคิดว่าไม่ตรงกัน  ผมมีความเห็นว่า มองจากมุมที่ห้องเรียน การเรียนรู้ในห้องเรียนไม่ได้รับการกระจายอำนาจ หรือให้อิสระเพิ่มขึ้นเลย  การสั่งการจากส่วนกลางยังมาก หรืออาจยิ่งมากขึ้น เพราะเพิ่มการสั่งการจากเขตพื้นที่เข้ามาอีก  ครูต้องทำเอกสารส่งส่วนกลางมากเกินไป  จนมีเวลาเอาใจใส่ศิษย์น้อย

ผมมีความเห็นว่า การกระจายอำนาจต้องประเมินที่ห้องเรียน  หากมีการกระจายอำนาจจริง ครูต้องได้รับอิสระจากงานที่ไม่จำเป็น เพื่อเอาใจใส่ศิษย์เพิ่มขึ้น

ประเด็นที่สี่ เกี่ยวกับระบบการศึกษาไทยในภาพรวม คือมันยังเป็นระบบการศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๐  ที่เน้นสอนวิชา เน้นให้นักเรียนเรียนและรู้เหมือนๆ กัน  ไม่เป็นระบบที่ฝึกความแตกต่างให้แก่เด็ก  ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจให้ดี ว่ามันเป็นของศตวรรษที่ ๒๐ ทั้งการผลิตครู  การพัฒนาครู  การให้คุณให้โทษครู  บทบาทของผู้บริหาร ฯลฯ  พูดง่ายๆ ว่าล้าหลังทั้งระบบ

ที่จริงผมมีประเด็นจะให้ความเห็นอีกมาก แต่เกรงใจผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่นๆ  เพราะเขาก็อยากออกความเห็นเหมือนกัน  จึงนำความเห็นที่ยังไม่ได้พูดมาลงบันทึกไว้

ประเด็นที่ห้า วงการศึกษาไทยหลงเน้น teach to test  สอนเพื่อสอบ  เมื่อตอนเช้าก็ยังมีวิทยากรตั้งเป้ายกระดับผลการทดสอบ PISA เป็นอันดับที่ ๒๐  เป็นตัวอย่างของกระบวนทัศน์ที่ผิด คือเน้นสอนเพื่อสอบ  นำไปสู่การเรียนรู้ที่ให้น้ำหนักพัฒาการของเด็กเพียงด้านเดียว คือ intellectual development ในขณะที่การศึกษาที่ดี เด็กต้องพัฒนาครบทุกด้าน ทั้ง ๕ ด้าน คือ emotional, social, physical และ spiritual

ประเด็นที่หก  การไม่ร่วมมือ ไม่ประสานงานกันระหว่างหน่วยงานใหญ่ ๕ หน่วยภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ  การประชุมในวันนี้มันฟ้อง  ไม่มี ซีอีโอ ในอีก ๔ หน่วยงานมาร่วมงานเลย

ประเด็นที่เจ็ด ยังไม่มีคนย้ำเรื่องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ที่จะมีผลต่อระบบการศึกษาอย่างมาก  และจริงๆ แล้ว เราได้เห็นผลอยู่ตำตา ที่การมีโรงเรียนขนาดเล็กถึง ๑๔,๐๐๐ โรงเรียน

ประเด็นที่แปด เวลานี้ในประเทศไทย โรงเรียนราษฎร์มีคุณภาพดีกว่าโรงเรียนของรัฐบาล  เพราะโรงเรียนราษฎร์เขามีอิสระที่จะเปลี่ยนแปลง  กลายเป็นโรงเรียนกระแสทางเลือก และเป็นตัวอย่างแก่ครูในโรงเรียนของรัฐที่ต้องการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนของตน

 

วิจารณ์ พานิช

๒๓ มิ.ย. ๕๖

คัดลอก http://www.gotoknow.org/posts/544073

 
Home > Articles > การศึกษา > ความเห็นของผมเกี่ยวกับภาพรวมของระบบการศึกษาไทย

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8608841

facebook

Twitter


บทความเก่า