Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > อุปนิสัยของคนไทยด้านการโอ้อวด ขี้อวด ลืมตัว ตอนที่ ๒/๒ ตอนจบ

อุปนิสัยของคนไทยด้านการโอ้อวด ขี้อวด ลืมตัว ตอนที่ ๒/๒ ตอนจบ

พิมพ์ PDF

อุปนิสัยของคนไทยด้านการโอ้อวด ขี้อวด ลืมตัว ตอนที่ ๒/๒ ตอนจบ

วาทิน ศานติ์ สันติ

 

๒. ให้คนรู้จักเจียมตัว ไม่โอ้อวด มุ่งการสอนหรือการเตือน

นุ่งห่มนุ่งเจียม, เจียมอยู่เจียมกิน

ความหมาย แต่งตัวพอให้สมฐานะ เป็นการสอนให้คนพอใจในสิ่งที่ตนมี ไม่ไปอยากได้อยากมีเหมือนคนอื่นเขา ควรทำอะไรให้สมฐานะของตนเอง เป็นสำนวนที่บอกให้ถ่อมตน อีกทั้งสำรวมกิริยามารยาทของตน ซึ่งในสังคมปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ผู้คนใช้เงินเกินรายได้ กู้หนี้ยืมสินมาซื้อรถซื้อบาทซึ่งราคาไม่สมดุลกับเงินเดือน เมื่อไม่สามารถจ่ายได้กำหนด ก็กลายเป็นหนีสินมหาศาล บ้าน รถ ก็โดนยึด บางคนใช้เครื่องแต่งกายที่มีราคาแพง ซึ่งไม่เหมาะสมกับฐานะและสถานที่ที่ไป ซึ่งก็สอดคล้องกับสำนวนนุ่งห่มนุ่งเจียมเช่น “เจียมอยู่เจียมกิน” ในสุภาษิตสอนหญิงได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

“เห็นผู้ดีมีทรัพย์ประดับแต่ง             อย่าทำแข่งวาสนากระยาหงัน

ของตัวน้อยก็ถอยไปทุกวัน                         เหมือนตัดบั่นต้นทุนศูนย์กำไร

จงนุ่มเจียมห่มเจียมเสงี่ยมหงิม                     อย่ากระหยิ่งยศถาอัชฌาสัย

อย่านุ่งลายกรุยทำฉุยไป                          ตัวมิใช่ชาววังไม่บังควร” (กระทรวงศึกษาธิการ๒๕๔๕ : ๑๐๑)

ในโคลงโลกนิติได้สอนเรื่องให้คนเจียมตัวเอาไว้ ในที่นี้หมายถึงการเจียมตัวในเรื่องอารมณ์ เรื่องการเจียมตัวในความรู้ดังนี้

“เจียมใดจักเทียมเท่า           เจียมตัว

รู้เท่าท่านทำกลัว                               ซ่อนไว้

อย่ามึนมืดเมามัว                               โมหะ

สูงนักมักเหมือนไม้                              หักด้วยแรงลม (กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๓ : ๒๕๘)

ตัวเป็นข้าอย่าให้ผ้าเหม็นสาบ

ความหมาย ยากไร้แล้วอย่าประพฤติตัวไม่ดีเป็นสำนวนเก่าที่ยังอยู่ในยุคที่มีทาส ดังนั้นข้าในที่นี้จึงหมายถึงข้าทาส (ดนัย เมธิตานนท์. ๒๕๔๘ : ๑๗๑) ที่อยู่ในชั้นต่ำสุดของสังคมศักดินา เป็นการสอนให้ผู้มีฐานะต่ำต้อยสำรวมอยู่ในฐานะของตนเอง อีกทั้งยังสอนให้ไม่ไปทำเรื่องเดือนร้อนเสียหาย ไม่ให้ประพฤติตนไปในทางที่ไม่ดีเป็นการซ้ำเติมฐานะของตนเอง ซึ่งก็เป็นการสอนให้คนรู้จักเจียมเนื้อเจียมตัว ในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนเข้าห้องนางแก้วกิริยา ซึ่งถูกนำมาขายเป็นทาสขุนช้าง นางแก้วกิริยาตัดพ้อขุนแผนว่า

“แม้นใครรู้ก็จะจู่กันกระซิบ          ตาขยิบปากด่าใส่หน้าเอา

ว่าเป็นข้าแล้วให้ผ้าเหม็นสาบสิ้น                    ฉันจะผินหน้าเถียงอย่างไรเล่า” (ดนัย เมธิตานนท์. ๒๕๔๘ : ๑๗๑)

ปลูกเรือนแต่พอตัว หวีหัวแต่พอเกล้า, นกน้อยทำรังแต่พอตัว

ความหมาย ทำสิ่งใด ๆ ให้พอสมควรกับฐานะของตนเอง (ดนัย เมธิตานนท์. ๒๕๔๘ : ๑๘๕) เป็นสำนวนที่สอนให้คนรู้จักประมาณตน พอใจในสิ่งที่มี รู้จักความพอเพียง ใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมคุ้มค่า ซื้อหาสิ่งใดก็ให้สมกับฐานะการประโยชน์ในการใช้ เช่นการซื้อบ้านหรือสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับสังคมในปัจจุบัน ในสุภาษิตสอนเด็กกล่าวว่า

 

“จงจียมจิตคิดเหมือนนกกระจ้อยร่อย     ตัวนั้นน้อยทำรังพอฝังแฝง

รอดจากภัยพาธากาเหยี่ยวแร้ง                             พอคล่องแคล่งอยู่สบายจนวายปราณ” (กาญจนาคพันธุ์. ๒๕๓๘ : ๒๗๕)

โคลงโลกนิติสอนให้คนรู้จักฐานะของตนเองไว้ดังนี้

“หัวล้านไป่รู้มาก                  มองกระจก

ผอมฝิ่นไป่อยากถก                             ถอดเสื้อ

นมยานไป่เปิดอก                                ออกที่   ประชุมนา

คนบาปไป่เอื้อเฟื้อ                              สดับถ้อยธรรมกวี” (กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๓ : ๓๐๒)

ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา

ความหมาย รู้จักเจียมตัว เป็นสำนวนที่มีความหมายประชดประชันหรือดูถูกเหยียดหยาม (ดนัย เมธิตานนท์. ๒๕๔๘ : ๒๒๔) มักใช้ต่อว่าคนที่มีฐานะต่ำกว่าว่าไม่ควรทำอะไรเกินตัว เป็นการเปรียบเทียบภาชนะที่คนมีฐานะยากจนใช้ตักน้ำคำกะโหลก ซึ่งทำมาจากกะลานั่นเอง เป็นการใช้กะลาตักน้ำแล้วส่องดูเงาของตน ซึ่งคนรวยจะใช้ขันที่ทำจากภาชนะโลหะชั้นดี ซึ่งในสังคมในปัจจุบันก็ยังมีการดูถูกเหยียดหยามเช่นนี้ หากมมองในอีกแง่มุมหนึ่งก็เป็นการสอนให้คนรู้จักเจียมเนื้อเจียมตัวเช่นกัน ในบทเจรจาละครอิเหนา พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๙ ได้กล่าวเกี่ยวกับสำนวนนี้ดังนี้

“อุ๊ย นี่อะไรก็ช่างไม่ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงาเลยแหละ ช่างเพ้อพูดไปได้นี่ ฉันแน่ะจะว่าเป็นกลาง อย่าอึงไปนะหล่อน ถ้าแม้นทองกุเรปันนี้ ได้เป็นเรือนรับหัวเพชรเมืองดาหาละก็นั่นแหละจะงามเลิศประเสริฐตาน่าดูจริงละ” (กาญจนาคพันธุ์. ๒๕๓๘ : ๒๐๙) โคลงสำนวนสาษิตไทยได้กล่าวถึงสำนวนนี้ไว้ดังนี้

“ตักน้ำใส่กระโหลดไว้       ดูเงา   ตนเอง

เป็นคติเตือนเรา                           อยู่ได้

เจียมตัวอย่าตามเขา                      ทุกอย่าง

ฐานะตนรู้ไว้                                อย่าให้คนขยัน” (สุทธิ ภิบาลแทน. ๒๕๔๕ : ๑๒๒ฆ)

คมในฝัก

หมายถึงลักษณะของผู้ฉลาด แต่นิ่งเงียบ ไม่แสดงความฉลาดนั้นออกมาโดยไม่จำเป็น มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่แสดงออกมาให้ปรากฏ การไม่อวดรู้แต่คมในฝัก เก็บความฉลาดไว้ข้างใน, ล่วงรู้ความคิดของผู้อื่น แต่ไม่แสดงออกมาว่ารู้ ปรากฏในคำประพันธ์เรื่อง เพลงยาวถวายโอวาท ของ สุนทรภู่

อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ      ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก

สงานคมสมนึกใครฮึกฮัก                   จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย (กระทรวงศึกษาธิกร. ๒๕๔๕ : ๕๘)

โคลงโลกนิติกล่าวถึงการไม่พูดโม้โออวดตนไว้ดังนี้

“กะละออมเพ็ญเพียบน้ำ         ฤๅติง

โอ่งอ่างร่องชลชิง                       เฟื่องหม้อ

ผู้ปราชญ์ห่อนสูงสิง                      เยียใหญ่

คนโฉดรู้น้อยก้อ                         พลอดนั้นประมาณ” (กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๓ : ๘๐)

บทสรุป

นิสัยการโอ้อวด ขี้อวด และการลืมตัวขึ้นลักษณะดังกล่าวเกิดจากการที่ตนมีความรู้น้อยหรือความรู้มากแล้วพูดจาอวดอ้างแสดงคุณสมบัติที่ไม่เป็นความจริง เพื่อเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ให้ตนเองมีเกียรติ์มากว่าหรือทับกับผู้อื่น สำนวนไทยที่แสดงให้เห็นส่วนใหญ่เป็นการอธิบายนิสัยทางตรง เช่น “คางคกขึ้นวอ” , “กิ้งก่าได้ทอง” ซึ่งยกตัวอย่างวรรณกรรมศาสนาเช่นชาดก ส่วนสุภาษิต“เรือใหญ่คับคลอง” ,“เอาบาตรใหญ่เข้าข่ม” คือการเปรียบเทียบกับวิถีชีวิตประจำวันของชาวบ้านโดยยกสิ่งของเครื่องใช้ประกอบ เพื่อให้คนสามารถเห็นภาพชัดเจน พญาล้านนาปรากฏสำนวนที่ว่า “ข้ามขัวบ่พ้น อย่าฟั่งห่มก้นแยงเงา” อีกทั้งยังสำสุภาษิตที่สอนให้คนไม่ทำหรือทำในด้านบวกเช่น สอนไม่ให้โออวดความรู้ “คมในฝัก” สอนให้รู้จักเจียมตน “ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา” ผญาล้านนาปรากฏภาษิตว่า “หันช้างขี้ อย่าขี้ทวยช้าง” เอกลักษณ์ด้านการโอ้อวด ขี้อวด ลืมตัว จึงเป็นเอกลักษณ์ทางด้านนิสัยของคนไทยมาช้านาน ทำให้เกิดสำนวนเปรียบเทียบมากมาย

 

วาทิน ศานติ์ สันติ

 

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ.โคลงโลกนิติ พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเดชาดิศร.กรุงเทพฯ : สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๓.

......................., ภาษิตคำสอนภาคกลาง เล่ม ๑. สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๕.

กาญจนาคพันธุ์. สำนวนไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : ส.เอเชียเพรส (1991) จำกัด. ๒๕๓๘.

ไขสิริ ปราโมช ณ อยุธยา. การเปลี่ยนแปลงถ้อยคำและความหมายของสำนวนไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ  : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๓๙.

จันทิมา น่วมศรี. ย้อนคำ สำนวนไทย. กรุงเทพฯ : คลี่อักษร. ๒๕๕๔.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นามมีบุคส์. ๒๕๔๖.

ดนัย เมธิตานนท์. บ่อเกิดสำนวนไทย. กรุงเทพฯ : มิติใหม่. ๒๕๔๘.

ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ. สังคมและวัฒนธรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.๒๕๔๓.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (๒๕๔๖, - ตุลาคม-ธันวาคม). "วิเคราะห์ลักษณะอุปนิสัยของคนไทยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ,"   รัฏาฐาภิรักษ์. ๔๕(๔) :   ๓๐ – ๔๑.

ศุภิสรา ปุนยาพร. ภาษิตสำนวนไทย. กรุงเทพฯ : ไทยควิลิตี้บุ๊คส์. ๒๕๕๔.

ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา. สำนวนไทยที่มาจากวรรณคดี. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ ๑. ๒๕๔๔.

สมร เจนจิระ. ภาษิตล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเพทฯ : สถาพรบุ๊คส์. ๒๕๔๗.

สุพัตรา สุภาพ. สังคมและวัฒนธรรมไทย ค่านิยม : ครอบครัว : ศาสนา : ประเพณี. กรุงเพทฯ : ไทยวัฒนาพานิชย์. ๒๕๓๔.

สุทธิ ภิบาลแทน. โคลงสำนวนสุภาษิต. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : ไทยร่มเกล้า. ๒๕๔๕.

อานนท์ อาภาภิรม. สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา. ๒๕๑๙.

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย วาทิน ศานติ์ สันติ

 
Home > Articles > การศึกษา > อุปนิสัยของคนไทยด้านการโอ้อวด ขี้อวด ลืมตัว ตอนที่ ๒/๒ ตอนจบ

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3057
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8650815

facebook

Twitter


บทความเก่า