Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > คุยกับ ศ. ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

คุยกับ ศ. ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑๘ พ.ย. ๕๖  หลังจบการประชุมคณะกรรมการตัดสินผลงานวิจัยเด่น สกว.   ศ. ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ กับผมถือโอกาสอยู่คุยกันต่อ    เรื่องแนวทางส่งเสริมการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เรามีความเห็นพ้องกันว่า ความเข้มแข็งทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นสิ่งจำเป็นต่อความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง    หรือมองมุมกลับ หากยังปล่อยให้การวิจัยด้านนี้ยังอ่อนแอ อย่างในปัจจุบัน    จะมีผลร้ายต่อสังคม

ผมให้ความเห็นกับท่านว่า    สกว. ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารงานวิจัย อย่างน่าชื่นชมมาก    แต่ความสำเร็จนั้น เอียงไปข้างสาขาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี    สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่ได้รับอานิสงส์เท่าที่ควร    สะท้อนว่า แนวทางการจัดการงานวิจัยของ สกว. นั้น  น่าจะยังไม่เหมาะสมสอดคล้องกับธรรมชาติของงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

จึงน่าจะมีการพัฒนาองค์กร และระบบบริหารงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ขึ้นมาในสังคมไทย   แบบเดียวกับที่ผมและคณะพัฒนา สกว. และระบบการจัดการงานวิจัยของ สกว. ขึ้นเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว

เราคุยกันถึงองค์กรแบบ The Social Science Research Council ในสหรัฐอเมริกา     The Social Science and Humanities Research Council ของแคนาดา    Arts and Humanities Research Council ของอังกฤษ

ดร. ธเนศ เอ่ยถึงตัวอย่าง ARI NUS   ที่เริ่มต้นด้วยการไปดึงตัว Prof. Anthony Reid มาจาก ANU   โดยที่ทางรัฐบาลสิงคโปร์ให้งบประมาณหนุนการจัดตั้ง ARI (Asia Research Institute) เต็มที่    ผมให้ความเห็นว่า กรณีเช่นนั้นเกิดยากในประเทศไทย   เพราะรัฐบาลไม่มองมหาวิทยาลัยและวิชาการเป็นเครืองมือ ในการสร้าง ความเข้มแข็งของประเทศ    บางรัฐบาลระแวงมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ

ผมชี้ให้เห็นว่า การมี สกว. ในสังคมไทยเป็นอุบัติเหตุ หรือเหตุบังเอิญ    เกิดจากการมีรัฐบาลอานันท์ และมี ศ. ดร. ไพจิตร เอื้อทวีกุล ที่มีสายตากว้างไกล   ผมยังมองไม่เห็น ว่ารัฐบาลจากการเลือกตั้ง ในสภาพปัจจุบัน จะเห็นความสำคัญของการก่อตั้ง สำนักงานสนับสนุนการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

แต่เราก็ไม่สิ้นหวัง    เราต้องช่วยกันคิดหาช่องทางสร้างความเจริญด้านวิชาการ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็น Knowledge-Based Society   หลุดพ้น  middle-incoem trap ให้ได้

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ พ.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๘๐.ไม่เห็นด้วยกับข้อเขียนของตนเอง

บันทึก คุยกับ ศดรธเนศ อาภรณ์สุวรรณบันทึกนี้ มีคุณลูกหมูเต้นระบำมาแสดงความคิดเห็นเชิงเห็นด้วย   ผมพิจารณาใหม่ กลับไม่เห็นด้วยกับที่ตนเองเขียนไป   ว่าอาจสื่อความหมายผิด

จริงๆ แล้ว ในยุคสมัยปัจจุบัน ศาตร์ต่างๆ ยืนโดดเดี่ยวยาก   เพราะโลกมันซับซ้อน ในท่ามกลางทุนนิยม บริโภคนิยม มูลค่านิยม ศาสตร์ที่เป็นคุณค่า เป็นนามธรรมต้องหาทางดำรงอยู่ด้วยวิธีต่างๆ    วิธีหนึ่งคือจำแลงกายเข้าไปฝังตัวอยู่ในสินค้า หรือบริการ    เหมือนอย่างที่ แบคทีเรียในสมัยโบราณ หาทางดำรงอยู่โดยเข้าไปอยู่ใน เซลล์ ของสิ่งมีชีวิตอื่น    จนในปัจจุบันเรารู้จักกันในชื่อmitochondria

ไมโตฆอนเดรีย มีความสำคัญมากเสียจนต้องไปอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด    เพราะเซลล์ต้องการเพื่อการดำรงชีวิต    เนื่องจากเป็นโรงงานผลิตพลังงาน จนในที่สุด แบคทีเรียชนิดนี้ก็ไม่ต้องอยู่แบบตัวเดียวโดดเดี่ยวอีกต่อไป    เข้าไปอยู่ในเซลล์ เป็นส่วนหนึ่งของเซลล์เสียเลย

ศาสตร์ หรือวิชาการด้านมนุษยศาสตร์   เป็นศาสตร์ว่าด้วยความเป็นมนุษย์    มิติของความเป็นมนุษย์จะต้องอยู่ใน สินค้าและบริการทุกชนิด    เพราะสินค้าและบริการก็เพื่อมนุษย์เป็นผู้บริโภค    วิชาการด้านมนุษยศาสตร์จึงต้องเป็นศาสตร์หนึ่ง ที่ใช้พัฒนาสินค้าและบริการ

หลายปีมาแล้ว ผมอ่านพบในนิตยสารด้านธุรกิจ ไม่แน่ใจว่าใช่ Fortune หรือไม่    ว่าบริษัท สมาร์ทโฟน แห่งหนึ่ง จ้างนักมานุษยวิทยาระดับปริญญาเอก เป็นผู้จัดการแผนก human interphase หรืออะไรทำนองนี้    มีหน้าที่บินไปตามประเทศต่างๆ ในโลก    เพื่อไปดูว่าผู้คนเขาใช้ สมาร์ท โฟน กันอย่างไร    แล้วกลับมาเล่าให้วิศวกรผู้ออกแบบ สมาร์ท โฟน รุ่นใหม่    สำหรับเป็นข้อมูลประกอบการออกแบบ ให้ถูกใจผู้ใช้

เห็นไหมครับ จะอย่างไรก็ตาม มนุษย์เราก็ยังยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง    แล้ววิชาการว่าด้วยความเป็นมนุษย์ จะไม่สำคัญได้อย่างไร    แต่ความสำคัญนั้น อาจต้องตีความหลายแบบ    โดยอาจสำคัญแล้วต้องมีความเป็นตัวของตัวเอง ก็แบบหนึ่ง    หรือสำคัญมากจนไม่ต้องมีตัวตน กลายเป็น ไมโตฆอนเดรีย หรือ intel inside (คอมพิวเตอร์) ก็อีกแบบหนึ่ง    ที่เป็นคนละขั้วทีเดียว

ผมเห็นบางมหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีหลักสูตรการท่องเที่ยว    มีวิชาด้านมนุษยศาสตร์เพียบ    เห็นแล้วคิดว่า นี่คือหนทางหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งของวิชาการด้านมนุษยศาสตร์    คือเปิดโอกาสให้นักวิชาการด้านนี้ทำงานวิจัย และสอน บนพื้นฐานของการสร้างสรรค์วิชาการจากชีวิตจริงในปัจจุบัน    ไม่ใช่สร้างสรรค์จากเอกสารหรือจารึกจากอดีตเท่านั้น   มนุษยศาสตร์ในปัจจุบัน จึงควรสร้างศาสตร์ทั้งจากอดีต และจากปัจจุบัน

หากนักวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ สามารถสร้างสรรค์วิชาการจากปัจจุบันได้จริง    จากกิจกรรมและปรากฏการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน    ศาสตร์ด้านนี้ ก็น่าจะเอาใจใส่สร้างวิธีวิทยาการวิจัยจากข้อมูลจริงนี้    แล้วศาสตร์ทั้งสองก็จะเฟื่องฟูรุ่งเรืองมาก    เพราะมีข้อมูลเรื่องราวให้วิจัยไม่จำกัด    เพราะสังคมมันเปลี่ยนเร็ว

นั่นหมายความว่า วิธีสร้างศาสตร์เกี่ยวกับมนุษย์และสังคม ต้องไม่ใช่แค่ยึดโยงกับอดีตเท่านั้น    ต้องยึดโยงกับปัจจุบันและอนาคตด้วย    โดยจะต้องสร้างวิธิการ และจารีตทางวิชาการขึ้นใหม่    ไม่ใช่ยึดมั่นถือมั่นอยู่กับจารีตวิชาการที่ตนเล่าเรียนมาเท่านั้น

ทั้งหมดนี้ เป็นการเถียงกับตนเอง    ไม่เห็นด้วยกับตนเอง

ผมเป็นโรคจิตเภทหรือเปล่า

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 22 มกราคม 2014 เวลา 15:09 น.  
Home > Articles > การศึกษา > คุยกับ ศ. ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8606454

facebook

Twitter


บทความเก่า