Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ผู้เป็นเจ้าของการเรียนรู้ : ๓. นักเรียนนักเขียน

ผู้เป็นเจ้าของการเรียนรู้ : ๓. นักเรียนนักเขียน

พิมพ์ PDF

บันทึกชุดผู้เป็นเจ้าของการเรียนรู้รวม ๖ตอนนี้ ตีความจากหนังสือ Who Owns the Learning? : Preparing Students for Success in the Digital Ageโดย Alan November ซึ่งผมตีความว่า เป็นเรื่องการใช้ digital technology ช่วยให้เกิด active learning หลากหลายรูปแบบ    ทำให้เปลี่ยนแปลงบทบาทของนักเรียน เป็นผู้ทำงานสร้างสรรค์ หรือสร้างความรู้เพื่อการเรียนรู้ของตน   ครูเปลี่ยนไปทำหน้าที่ โค้ช หรือ “คุณอำนวย” (learning facilitator)

บ่อยครั้งที่นักเรียนเรียนรู้ได้ดีกว่า หากเรียนจากเพื่อนนักเรียนด้วยกันเอง    และหลักการเรียนรู้ตาม Learning Pyramid คือ คนเราเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากการสอนคนอื่น

หลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑   และการเรียนรู้แบบ active learning   ก็คือ นักเรียนต้องมีบทบาท สำคัญ ในการจัดการเรียนรู้ของตนเอง และของเพื่อนๆ    รวมทั้งเผื่อแผ่ออกไปนอกชั้น นอกโรงเรียน และนอกประเทศ ด้วย    ครูเปลี่ยนไปทำหน้าที่ โค้ช และ “global publisher”

ในตอนที่ ๓ นี้ ตีความจากบทที่ 3 The Student as Scribe   เป็นเรื่องการจัดการบันทึก จากการฟังการบรรยายของชั้นเรียน    โดยนักเรียนผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่จดและจัดทำบันทึกของแต่ละคาบเรียน ออกเผื่อแผ่แก่เพื่อนในชั้น และแก่โลก    นักเรียนในชั้นจะมีบันทึกการฟังการบรรยายที่ครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์     ให้นักเรียนทุกคนใช้ทบทวนการเรียน    และยังเผื่อแผ่ให้แก่เพื่อนในห้องเรียนอื่น    และแก่โลกด้วย

เป็นการแก้ปัญหาเด็กจดไม่ทัน    และเป็นการฝึกการทำงานเป็นทีม ไปในตัว

นักเรียนคนอื่นๆ ที่ไม่ได้ “เข้าเวร” รับผิดชอบการบันทึก ก็ยังคงจดการบรรยายตามเดิม    แต่จะมีนักเรียน ๑ หรือ ๒ คน ทำหน้าที่ทีมบันทึก    แล้วภายใน ๒ - ๓ วัน ทีมบันทึกก็จะนำบันทึกฉบับร่างขึ้น บล็อก ของชั้นเรียน    เพื่อให้เพื่อนนักเรียนและครูช่วยกันปรับปรุงแก้ไข    แล้วภายใน ๑ สัปดาห์ บักทึกการบรรยายฉบับสมบูรณ์ ก็จะอยู่ใน บล็อก หรือระบบฐานข้อมูลแบบอื่นในระบบ ไอซีที ของชั้นเรียน    เป็นบันทึกถาวรให้นักเรียนทุกคนเข้าดูได้ตลอดเวลา    รวมทั้งเผื่อแผ่แก่โลกด้วย

ผมขอหมายเหตุว่า ในหนังสือระบุว่าเป็นการจดการบรรยาย    แต่ผมเห็นต่าง ผมเห็นว่าการเรียนสมัยนี้ การบรรยายต้องมีน้อยมาก    แทนด้วยกระบวนการที่นักเรียนเป็นฝ่ายลงมือทำเป็นส่วนใหญ่    การจดบันทึก ของนักเรียนควรเปลี่ยนเป็นบันทึกกิจกรรมการเรียน ของทุกคาบเรียน    โดยนักเรียนที่รับผิดชอบทำบันทึก อาจไปค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อทำให้สาระในบันทึกมีความครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เท่ากับเป็นการฝึกการจับใจความ การเขียน การใช้ถ้อยคำ และอื่นๆ

ตัวอย่างของครูที่ทดลองใช้วิธีการฝึกฝนเรียนรู้แบบนี้ในศิษย์ของตนคือ Darren Kuropatwa ครูคณิตศาสตร์ ที่โรงเรียน McIntyre Collegiate High School เมือง Winnipeg  รัฐ Manitoba  แคนาดา     ซึ่งผมเข้าใจว่าเวลานี้ไม่ได้ทำงานที่นั่นแล้ว    หนังสือ Who Owns the Learning? อ้างประสบการณ์ของครู ดาเรน ตอบข้อสงสัยหลายข้อว่า การให้เด็กผลัดกันจัดทำบันทึกชั้นเรียนดีจริงหรือ มีข้อเสียบ้างไหม    เด็กจะพากันละเลย ไม่จดบันทึกของตนเอง รอแต่จะใช้บันทึกฉบับสมบูรณ์ของชั้นเรียนไหม

คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับครูสร้างแรงบันดาลใจในการเรียน สร้างความรับผิดชอบในการเรียนของตนเอง ของนักเรียน    รวมทั้งส่งเสริมให้นักเรียนช่วยกัน อย่างกรณีชั้นเรียนของครูดาเรน   นักเรียนตกลงกันให้ทุกคน แบ่งปันบันทึกของตนเอง ขึ้นระบบ ไอซีที ของชั้นเรียน    ซึ่งในกรณีนี้ใช้ Google doc    แล้วทีมนักเรียน ที่รับผิดชอบเขียนบันทึกฉบับสมบูรณ์ ใช้บันทึกเหล่านั้นตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ของบันทึกฉบับสมบูรณ์ โดยครูดาเรนคอยให้คำแนะนำ และให้ความเห็นชอบให้นำลงใน บล็อก ของชั้นเรียนได้

เมื่อนักเรียนคุ้นเคย หรือมีความมั่นใจในการทำบันทึกการเรียนในชั้นเรียนแล้ว    ต่อไปเมื่อมีกิจกรรมอื่นๆ ในโรงเรียน หรือในชุมชน    ครูและนักเรียนอาจตกลงกันมอบหมายหรือหาอาสาสมัคร ทำหน้าที่ “ผู้สื่อข่าว” บันทึกรายงาน เหตุการณ์และข้อเรียนรู้จากกิจกรรมนั้นๆ ออกเผยแพร่    เพื่อทำประโยชน์แก่เพื่อนนักเรียน แก่ชุมชน และแก่โลก    นักเรียนก็จะได้รับการฝึกฝนการทำความเข้าใจ การจับประเด็น การบันทึกเพื่อนำเสนอให้ตรงความจริง และน่าสนใจ    รวมทั้งได้ฝึกฝนงอกงามจิตสาธารณะ    จะเห็นว่าครูสามารถใช้หลักการ “นักเรียนเป็นผู้สร้าง(สรรค์)” ออกแบบการเรียนรู้ให้แก่ศิษย์ได้อย่างไม่จำกัด    โดยใช้หลักการ “เรียนรู้จากเหตุการณ์ในชีวิตจริงในปัจจุบัน”

เมื่อนำมาเชื่อมโยงกับวิทยุชุมชนในท้องถิ่น    ครูอาจร่วมมือกับผู้ดำเนินรายการวิทยุชุมชน ให้เข้ามาเป็น “สหมิตรครู” (co-educator)   ร่วมกันฝึกฝนให้นักเรียนป็นผู้สื่อข่าว นำมาออกวิทยุชุมชน    สหมิตรครูช่วยอบรม กล่อมเกลานิสัยรับผิดชอบ มีความแม่นยำ และเคารพสิทธิมนุษยชน    รวมทั้งเอาบางเรื่องมาเป็นโครงงาน เพื่อการเรียนรู้เชิงลึกและเชื่อมโยง

ผลจากโครงงาน อาจนำมารายงานต่อชุมชนเจ้าของเหตุการณ์    ในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งในรายการวิทยุชุมชน  หรืออาจจัดเวทีนำเสนอ  จัดแสดงเป็นละคร  หรือทำเป็นหนังสั้น    นักเรียนจะได้เรียนรู้ ฝึกฝนทักษะที่หลากหลาย จากการนำเสนอนี้    โดยต้องไม่ลืมใช้พลัง ไอซีที สมัยใหม่ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมภายนอก และกับโลกด้วย    โดยนำหนังสั้นขึ้น เว็บ และลง YouTube   นำรายการวิทยุขึ้น เว็บ    และถ่ายวีดิทัศน์รายการละคร ขึ้นเว็บและลง YouTube

โดยครูต้องพิจารณา ว่านักเรียนที่เรียนอยู่ชั้นใด มีวุฒิภาวะระดับใด จึงจะทำงานในระดับใดได้    และเมื่อให้ลองทำแล้ว ครูควรให้นักเรียนบันทึกเรื่องราวและข้อมูลของผลงานไว้ด้วย    โดยหากตั้งคำถามวิจัยให้เหมาะสม    ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปสู่ผลงานวิจัยชั้นเรียนที่ยอดเยี่ยม

คำติชม หรือคำวิจารณ์ของคนในชุมชนที่ได้ฟังหรือได้ชมผลงาน    และของคนที่ได้เรียนรู้เรื่องราวผ่าน อินเทอร์เน็ต จะเป็นข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ที่ดี ต่อนักเรียน   ช่วยกระตุ้นแรงบันดาลใจของนักเรียน   และช่วยให้การเรียนรู้ยิ่งเชื่อมโยงกว้างขวางยิ่งขึ้น    คนเหล่านี้น่าจะถือได้ว่าเป็น “สหมิตรครู” ได้ด้วย

ผลงานเหล่านี้ของนักเรียน ควรจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลผลงานของนักเรียนอย่างเป็นระบบ    ทั้งในระบบ online และระบบ offline    ให้นักเรียนรุ่นหลังค้นคว้ามาศึกษาได้    เพื่อเด็กรุ่นหลังจะได้ทำโครงงานสร้างสรรค์ต่อยอดขึ้นไป

ประสบการณ์ของครู ในการทำหน้าที่ “คุณอำนวย” หรือ โค้ช ของการเรียนรู้ด้วยการลงมือสร้างผลงานออกเผื่อแผ่แก่เพื่อน แก่ชุมชน และแก่โลก    มีคุณค่ายิ่งต่อการทำหน้าที่ครูยุคศตวรรษที่ ๒๑   สามารถนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูได้ ใน PLC ของครู

ผู้เป็นเจ้าของการเรียนรู้คือนักเรียน    โดยครูก็ร่วมเรียนรู้ด้วย

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑ ม.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 12:29 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ผู้เป็นเจ้าของการเรียนรู้ : ๓. นักเรียนนักเขียน

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8611416

facebook

Twitter


บทความเก่า