Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นตามกฎหมาย

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นตามกฎหมาย

พิมพ์ PDF

การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) กลุ่มภาคเหนือ

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล

กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นตามกฎหมาย

ณ โรงแรมอโมร่า ท่าแพ จ.เชียงใหม่

17 มกราคม 2557

อ.จีระ : ผมเคยตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายอยากให้คนไทยอยู่ดีกินดี มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม

- วิทยุกระจายเสียง ต้องตั้งคำถามว่ามีเพื่ออะไร

- ประโยชน์ที่แท้จริง คือ ทุกคนต้องได้ประโยชน์

- คลื่นวิทยุ เป็นสมบัติของประเทศ กสทช.ต้องบริหารจัดการ

- การวิจัยไม่ได้เกี่ยวกับกฎหมายโดยตรง เกี่ยวกับการบริหารจัดการ เศรษฐกิจ สังคม

- ขอให้ทุกท่านทำให้วิทยุเป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศไทย

- วันนี้เทคโนโลยีเป็นหัวข้อหนึ่งที่จะต้องพิจารณา

-ข้อดีของวิทยุ ผู้ประกอบการเป็นรายเล็กได้ เป็นเทคโนโลยีที่ไม่แพง ต้องมีสาระและให้ประโยชน์แก่ประชาชน แต่ทำอย่างไรถึงจะทำให้สิ่งเหล่านี้กระจายไป และทำประโยชน์ให้ประชาชนอย่างแท้จริง อะไรเป็นจุดอ่อนในอดีตและอนาคต

-ในประเทศสวีเดน และนอร์เวย์ ทำให้ประชาชนของเขาฉลาดขึ้น (Wiser Citizen)

- ขอสรุปว่าในวันนี้หากเราต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนที่มาเข้าร่วมประชุมในวันนี้ ตัวเราต้องถามตัวเองก่อนว่ามีความรู้จริงหรือไม่ในการทีจะไปถ่ายทอดความรู้ต่อ ขอเสนอแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาฝึกอบรม ทั้งเรื่องเทคโนโลยี Social media เน้นเรื่องระบบ 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

- ประเทศที่เจริญแล้ว คืออยากทำให้ประชาชนในประเทศฉลาดขึ้น เห็นอะไรถูก ผิดก็ต้องบอก สื่อต้องเป็นหลัก เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม มองอนาคต มองความยั่งยืน รักษาความหลากหลายไม่ใช่เป็นเป้าหมายในการทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

- วิทยุเป็นเครื่องมือที่ถูกและสามารถกระจายได้ง่าย และสามารถเผยแพร่กระจายความรู้เรื่องสาระ ความรู้ได้ดีมาก ปัญหาในปัจจุบันนี้คือคลื่นวิทยุชุมชนทับซ้อนกับคลื่นวิทยุการบิน ถือเป็นปัญหาใหญ่

ความคิดเห็น: คุณมงคล คลื่นเสียงประชาชน จ.ลำพูน ตามกฎหมายไม่มีการบังคับเรื่องการใช้ภาษาของสื่อ แต่หากมีการขอให้สอบผู้ประกาศ ก็ยินดี การคิด การทำอะไรให้สังคมให้ตรงตามความต้องการของสังคมเป็นสิ่งที่ต้องทำ

ศุภชัย ยะคำป้อ : เครื่องบินที่บินผ่านไปผ่านมา สามารถรับคลื่นชุมชนได้ทุกคลื่น ต้องมีการลดปัญหา ที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง

คุณพิชญ์ภูรี: ขอเริ่มด้วยงานวิจัย และขอบคุณทุกท่านที่เข้าร่วมประชุมวันนี้ การพัฒนาวิทยุกระจายเสียงและพัฒนาทุนมนุษย์ บางสถานีก็ไม่มีใบอนุญาต จึงเกิดปัญหาที่ต้องคุยกัน ซึ่งตามที่คุณสาธิตบอกว่าเราทำไปด้วยความไม่รู้ว่าไปรบกวนวิทยุการบิน อยากให้ทุกคนเป็นแนวร่วมกันต่อไป

ขอนำเสนอภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันของวิทยุกระจายเสียง

ความเป็นมา

พ.ศ. 2470 - ถือกำเนิด

พ.ศ. 2473 - สถานีวิทยุแห่งแรกของไทยสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท

ความมุ่งหมายเพื่อ “ส่งเสริมการศึกษา การค้าขาย และการบันเทิงแก่พ่อค้าประชาชน”

สภาพการณ์ระหว่าง พ.ศ. 2475- 2500

ยุคชาตินิยม/ข่าวสารสงคราม/โฆษณาชวนเชื่อ

เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.2407 – สถานีวิทยุเชิงพาณิชย์แห่งแรก คือ สถานีวิทยุกระจายเสียง ททท.

- พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยจอมพลสฤษดิ์เริ่มยุคการค้าในระบบอุปถัมภ์โดยเผด็จการทหาร

สภาพการณ์ระหว่าง พ.ศ. 2511- 2520

การจัดระเบียบว่าด้วยวิทยุฯ ของทางราชการ

เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.2520 – มติรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์

ก่อตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย(อสมท.)

ความพยายามที่จะรวบอำนาจการควบคุมวิทยุกระจายเสียงมาไว้ในกรมประชาสัมพันธ์

สภาพการณ์ระหว่าง พ.ศ. 2532- 2540

ยุคอุตสาหกรรมการสื่อสารระบบทุนนิยมเสรี

เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.2532 – การเปลี่ยนแปลงให้เอกชนรับสัมปทาน หรือ เช่าช่วงเวลาจากรัฐ

มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด

พ.ศ.2540 – การปฏิรูปสื่อโดยรัฐบาล คมช.

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงก่อนปฏิรูป

กรรมสิทธิ์ในความถี่- เป็นของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะรัฐโดยส่วนราชการ ธุรกิจเอกชน และชุมชนมีสิทธิ์ใช้และเข้าถึงได้โดยเท่าเทียมกัน

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงภายหลังการปฏิรู

ใบอนุญาตคลื่น- เป็นของผู้ประกอบการโดยได้รับอนุญาตจากองค์กรอิสระ กสทช.ตามพรบ. องค์กรคลื่นและพรบ.กิจการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ.2543

- ในมาตรา 12 พรบ.กิจการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. 2543 ให้สิทธิ์แก่กรมประชาสัมพันธ์ในการใช้คลื่นความถี่วิทยุ-โทรทัศน์

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงก่อนการปฏิรู

ใบอนุญาตประกอบการสถานีวิทยุ(โทรทัศน์)

- ส่วนราชการไม่ต้องขอใบอนุญาต ได้รับยกเว้นตาม พรบ. วิทยุและโทรทัศน์ 2498

- เอกชนต้องขออนุญาตจาก กกช. กรมประชาสัมพันธ์ตาม พรบ.วิทยุและโทรทัศน์ 2498 และกฎกระทรวงฉบับที่ 14

- ส่วนราชการอาจดำเนินการบริหารสถานีเองหรือให้สัมปทาน (เวลา) แก่เอกชนทั้งหมดหรือให้เพียงบางส่วนและผลิตรายการเองบางส่วน

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงภายหลังการปฏิรูป

- เป็นของผู้ประกอบการโดยได้รับอนุญาตจากองค์กรอิสระ กสช. ตาม พรบ.องค์กรคลื่นความถี่ และพรบ.กิจการวิทยุและโทรทัศน์ฯ ซึ่งแบ่งประเภทใบอนุญาตเป็น

1.สื่อของรัฐ (บริการสาธารณะ)

2.สื่อของธุรกิจเอกชน(ค้ากำไร)

3.สื่อของภาคประชาชน (ไม่ค้ากำไร) เช่นสื่อชุมชน

ข้อสังเกต : มีการกระจายการใช้และการเข้าถึงคลื่นออกไปสู่ภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชนโดยตรง ลดการผูกขาดของรัฐลงไป ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงก่อนการปฏิรูป

การให้สัมปทาน : - ส่วนราชการให้สัมปทานแก่เอกชนที่เป็นบุคคล หรือผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทนายหน้าค้าเวลาหรือผู้ผลิตสื่อในลักษณะการเช่าเหมาทั้งคลื่นหรือการประมูลคลื่น โดยอาจมีสัญญาหรือไม่มีสัญญาสัมปทาน

- ในกรณีที่มีสัญญาเช่น การสร้างสถานีแห่งใหม่อาจมีเงื่อนไขแบบ BTO หรือ BOT และระยะเวลาสัมปทานค่อนข้างยาว 20-30 ปี (เช่น ช่อง 3,ไอทีวี)

ข้อสังเกต : มีผู้รับสัมปทานสองประเภท

1.นายหน้าค้าเวลา 2.ผู้ประกอบการสื่อและผู้ผลิตรายการ

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงหลังการปฏิรูป

ยกเลิกระบบการให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชน โดยส่วนราชการต่าง ๆ เปลี่ยนมาเป็นระบบการได้รับใบอนุญาตโดยตรง

ข้อสังเกต : ลดความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ระหว่างส่วนราชการและธุรกิจเอกชน ในทางเศรษฐกิจและการเมืองทำให้ระบบโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกมากขึ้นโดยเอกชนต้องรับผิดชอบเนื้อหาสาระรายการ

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงก่อนการปฏิรูป

การให้เช่าเหมาเวลา

ส่วนราชการให้เอกชนที่เป็นบริษัทนายหน้าค้าเวลา เช่าเหมาเวลา (สถานีวิทยุ) ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการนำเวลาไปให้เช่าต่อโดยแบ่งเป็นช่วงเวลา (เช่น 2,4,6,8 ชม./วัน/เดือน) ให้ผู้ผลิตรายการขนาดกลางหรือรายการอิสระเช่าช่วงนำไปผลิตรายการ

บริษัทเอกชนผู้เช่าเหมารายใหญ่ มักมีสถานี 5-50 สถานีในเครือของคนข้อสังเกต : ผู้ประกอบการเช่าเหมาเวลาเป็นคนกลางจัดการด้านการตลาด ส่งผลให้เวลามีราคาแพง และกระจายไปทั่วถึง

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงหลังการปฏิรูป

การให้เช่าเหมาเวลา

ยกเลิกการเช่าเหมาและการเช่าช่วงเวลาโดยผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้รับผิดชอบบริหารเวลาการจัดและการผลิตรายการด้วยตนเอง

- กสทช.วางหลักเกณฑ์ส่งเสริมผู้ผลิตรายการอิสระและรายย่อยที่รวมตัวกันด้วยการให้ใบอนุญาตสถานีขนาดเล็กและขนาดกลางและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเช่าเหมาเวลาปรับฐานะเป็นผู้รับใบอนุญาตโดยการรวมกลุ่มผู้เช่าช่วงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสถานีหรือซื้อรายการจากผู้ผลิตเหล่านี้ และมีการแบ่งเวลาให้ผู้ประกอบการรายย่อย ตามกรอบของกฎหมาย

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงก่อนการปฏิรูป

ผู้ชมผู้ฟัง

แบ่งออกเป็น

1. ผู้ที่เป็นมวลชนกลุ่มใหญ่ตรงกับเป้าหมายของบริษัทโฆษณาสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น กลุ่มแม่บ้าน ,กลุ่มวัยรุ่น, กลุ่มเกษตรกร ซึ่งนิยมรายการบันเทิงประเภทละครตลกเบาสมอง/ดนตรี

2. ผู้ที่เป็นมวลชนหรือฐานการเมืองของรัฐ

3. ผู้ฟังเฉพาะกลุ่ม เช่น นักธุรกิจ ชนชั้นกลางในเมืองใหญ่

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงหลังการปฏิรูป

ผู้ชมผู้ฟัง

แบ่งออกเป็น

1.ผู้ที่เป็นมวลชนกลุ่มใหญ่ ตรงกับเป้าหมายของบริษัทโฆษณา เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มเกษตรกร ซึ่งนิยมรายการบันเทิงประเภท ละคร ตลก เบาสมอง ดนตรี

2. ผู้ที่เป็นมวลชนหรือฐานการเมืองของรัฐ

3. ผู้ฟังเฉพาะกลุ่ม .ซึ่งกระจายหลากหลาย รวมทั้งกลุ่มผู้รับในท้องถิ่น

4. กลุ่มผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มต่าง ๆ จะมีโอกาสได้รับชมรายการแบบทางเลือก

5. ประชาชนมีโอกาสใช้สิทธิ “พูด” ได้โดยตรงในกรณีที่ไม่ได้รับบริการจาก 1-4

การทัศนศึกษาและดูงาน ณ ประเทศสวีเดน และประเทศนอร์เวย์

ประเทศสวีเดน The Swedish Broadcasting Commission (SBC)

ปัญหาของการนำสื่อในทางที่ผิดค่อนข้างน้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยต้องดูแลสิ่งที่ผิดจริยธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ของกสทช.

ข้อสำคัญคุณภาพของประชาชนมีคุณภาพมาก บทบาทของรัฐในการดูแลคุณภาพวิทยุจะน้อย เพราะสถานีวิทยุสามารถดูแลกันเองได้ ต่างจากประเทศไทยที่ต้องให้บทบาทของภาครัฐดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะประเทศสวีเดนเน้นเรื่องการมี Freedom of speech

หน่วยงานของประเทศไทย ต้องมีการวิจัยวิเคราะห์ว่าถ้ามีการร้องเรียนจากประชาชนจะทำอย่างไร

กสทช.ไม่สามารถควบคุมดูแลรายการวิทยุได้ทั้งหมดเพราะมีจำนวนมาก

ส่วนประเทศนอร์เวย์ไม่ดูเรื่อง Content

สรุปได้ว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว Commissioner ปลอดจากการเมือง

ประเทศนอร์เวย์ ดูงานที่ The Norwegian Media Authority

  • -มีการวางแผนเรื่อง digital radioมาแล้ว 2 ปี มีทฤษฎี Migration ให้เวลาถึงปี2018
  • -มีความหวังในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร่วมกับประเทศไทย
  • -ข้อเสีย ประชาชนส่วนมากร่ำรวย วิทยุไม่มีปัญหาอะไร ดูแลเฉพาะสัญญาที่ไม่ถูกต้อง เงื่อนไขไม่ถูกต้อง แต่ไม่ดูเรื่อง Content ให้ผู้ประกออบการดูแลกันเอง
  • -2ประเทศ ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ของคน บางครั้งมีสื่อเข้าแทรกแซง

คนระดับรากหญ้าในประเทศไทยมีประมาณ 50-60% หากไม่สามารถพัฒนาคนได้ ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องวิทยุได้ ต้องยกระดับผู้ฟังให้เป็นคนที่คิดเป็น วิเคราะห์เป็น ตัดสินใจด้วยตัวเองได้ ต่อไปก็สามารถควบคุมได้ด้วยตัวเอง

การวิจัยครั้งนี้เป็นเส้นทางการพัฒนาคนในวงการวิทยุ ต้องพัฒนาคนฟังด้วย ถึงแม้จะมีจำนวนมากก็ตาม ต่างกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่สามารถควบคุมดูแลได้ด้วยตัวเอง ซึ่งวัดกันที่ฐานของปีระมิด

องค์กรในประเทศนอร์เวย์ดูแลเฉพาะการให้ใบอนุญาตเท่านั้น

ดูงานที่ The Norwegian Broadcasting Corporation (NRK)เน้นการทำงานเพื่อส่วนรวม ต้องการทำให้ประชาชนในประเทศฉลาดขึ้น

สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประเทศไทยที่ยังมีการเหลื่อมล้ำ เรื่องเศรษฐกิจ ใช้สื่อในทางที่ผิด

สิ่งสำคัญที่สุดคือ เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา เน้นเรื่อง Infrastructure แต่ไม่เน้นเรื่องการพัฒนาคน การศึกษา มีอิทธิพลของการเมือง ไม่ลงทุนเรื่องคนอย่างแท้จริง หากเราทุ่มไปที่ประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่จะทำให้ประเทศพัฒนามาก

หน่วยงานบางหน่วยงานมีน้อยมาก ไม่ถึง 50 คนก็สามารถทำงานให้มีประสิทธิภาพได้

พื้นฐานของคนในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน โดยที่วิทยุจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ในแต่ละประเทศ

คุณพิชญ์ภูรี

กรอบคำถาม

วิทยุกระจายเสียง

1. เนื้อหา และการสร้างสรรค์รายการ ปัญหา ปัจจุบัน และในอนาคต

สภาพสถานการณ์ปัจจุบัน

คุณมงคล:

ปัญหาที่เกิดคือ ความไม่มั่นคงของสถานีวิทยุภาคประชาชน กฎหมายทำลายความเป็นธรรมชาติ ความสุขของการทำงาน มีการประมูลทำให้เกิดความวุ่นวายและสูญเสีย คือไม่สามารถแข่งกับผู้ที่มีเงินเยอะๆ ได้

ทางออกที่ไปประมูล ทำให้เกิดความวุ่นวายในอนาคต ขอเสนอเรื่องนี้ว่ากสทช.ควรรีบดำเนินการไม่ให้เกิดขึ้นอีก

คุณสถาพร:

เรื่องการพัฒนาคน ผมมาจากวิทยุชุมชนเล็กๆสามารถเปิดโอกาสให้ไปดูงานได้หรือไม่

อ.จีระ: เสนอมาได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้วิจัยเท่านั้น

คุณพิชญ์ภูรี: ขอเสนอให้มีความคิดเห็นเรื่องการวิจัยในกลุ่มภาคเหนือ

อาจารย์ปณพร:

เรื่องกฎหมายมาตรา 47 องค์การอิสระกสทช.จ้องมีการจัดให้เป็นเสรีและเป็นธรรม ประเภทบริการชุมชน กสทช.ต้องมีการจัดสรรให้ ส่วนประเภทธุรกิจ เอกชน ผู้เสียเปรียบคือรายย่อย มีการรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องสิทธิว่ากสทช.ต้องโอบอุ้มให้รายย่อยยังอยู่ได้

ในเรื่องเนื้อหา จากการวิจัย เรื่องวิทยุชุมชนมีบทบาทคือสถานีกระจายข้อมูลข่าวสาร ท้องถิ่น วิทยุบริหารชุมชน คือ รับใช้ชุมชน รับใช้ท้องถิ่น วิถีชีวิต เน้นสาระความรู้ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ของทางล้านนา

สัดส่วนผังรายการเน้น สาระความรู้ 70% บันเทิง 30%

อ.จีระ: หากไปสำรวจผู้ฟังภาคเหนือ เน้นศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา เคยมีการสำรวจมาแล้วหรือไม่

อาจารย์ปณพร:: ต้องเช็คทั้ง 2 ทาง คือ ผู้ฟัง ด้วย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ทำงานอยู่ที่บ้าน เน้นใช้ภาษาท้องถิ่น

อ.จีระ: สามารถยืนยันได้จากการดูงานเช่นกัน ถ้าผลวิจัยออกมาแล้ว

คุณพิชญ์ภูรี: ต้องใช้งบเท่าไหร่ในการจัดตั้งวิทยุชุมชน

อาจารย์ปณพร:: ทั้งประเทศ 80,000-100,000 บาทต่อปี หรือ 1-3 ปีแรกควรให้เท่าไหร่

บางท่านอยากให้มาจากกสทช. 50% และออกเอง 50%

คุณพิชญ์ภูรี: ความเป็นไปได้ในการรวมกลุ่มเป็นสมาคมและแบ่งเป็นช่วงเวลาอย่างยุติธรรม

อาจารย์ปณพร: ผังรายการที่จัดเป็นจิตอาสา ไม่ได้เป็นมืออาชีพ ไม่มีค่าตอบแทน คนที่ฟังก็เป็นคนในชุมชน ไม่สามารถแบ่งเป็นช่วงเวลาได้เพราะทุนต่างกันไม่เหมือนวิทยุเอกชน

วิทยุเอกชน การเมือง และอื่นๆที่ทับคลื่นมากมาย ไม่ใช่เฉพาะชุมชนเท่านั้น วิทยุชุมชนใช้ระบบอาสาสมัครเป็นหลัก ส่วนใหญ่วิทยุภาคเหนือ เปิด8 โมง ปิด 18.00 น. หรือขึ้นกับความพร้อมของชุมชนนั้นๆ

คุณ…… : ไม่สามารถจะไปแบ่งกลุ่มเชิงเทคนิค หรือ Time sharing อยากให้มองสภาพชุมชน อาชีพ ซึ่งมองแล้ววิทยุชุมชนแยกไม่ได้อย่างแน่นอน

รูปแบบของการจัดการต้องมีรูปแบบที่ชัดเจนและหลากหลายกันไป

คุณพิชญ์ภูรี: อยากให้ทุกคนหาทางออก ท่านใดเป็นชุมชนกึ่งธุรกิจ รวมถึงเรื่องการเมือง อยากให้ความเห็นกับเรื่องนี้

คุณมงคล: การแบ่งกลุ่มสมาคมก็ทำอยู่แต่ยังไม่เป็นไปได้ด้วยดี ต้องมีกสทช.เข้าร่วมกำกับด้วย การรวมแต่ละจังหวัด ยังไม่สำเร็จ วิทยุธุรกิจกึ่งชุมชน เป็นมืออาชีพไม่เดือดร้อน แต่วิทยุชุมชนจริงๆนั้นหาทุนจากการถอดผ้าป่า วิทยุธุรกิจ 90% ไม่สามารถแบ่งเวลาได้ ต้องออกเวลาเต็มๆ

การนำเสนอวิทยุธุรกิจชุมชน ต้องนำเหตุการณ์ของชุมชนออกข่าวทุกวัน แสวงหารายได้ และช่วยเหลือตัวเองได้และสามารถเข้าถึงชุมชนได้จริงๆ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละภาคส่วนด้วย

คุณพิชญ์ภูรี: คุณมงคลแบ่งออกจากที่จัดกลุ่มไว้ 3 กลุ่ม หากมีการประมูลก็กลัวว่าโอกาสเหล่านี้ก็หายไป

คุณมาณพ ชัยประสิทธิ์ กสทช.เชียงใหม่ : ไม่ต้องกลัวว่าหากเป็นระบบดิจิตอลแล้วไม่มีคลื่น เรื่องคลื่นรบกวนไม่ต้องกังวลเพราะปีนี้ต้องนำเครื่องไปตรวจมาตรฐานในด้านต่างๆ หรือเครื่องไทยทำ

คุณพิชญ์ภูรี: ขอกลับมาเรื่องเนื้อหกา

คุณกัณภัทร แม่แตง เชียงใหม่: เป็นวิทยุชุมชนสำหรับคนทำงานชาวไร่ ชาวสวน ที่ไม่มีเวลามาวัด อยากให้ธรรมะเข้าถึงทุกๆคน สิ่งที่ได้กลับมาคือ ร่วมจัดงานเป็นจำนวนมาก วัดไม่มีคลื่นรบกวน วัดไม่ได้ประโยชน์ ต้องการให้คนที่ต้องการได้บุญจริงๆ และจดทะเบียนกับกสทช.เรียบร้อยแล้ว

  • -ผู้ฟัง (ชุมชน และชุมชนกึ่งธุรกิจ)

คุณพรชัย 103.25 : วิทยุชุมชนนั้นศักยภาพของผู้ที่บริหารจัดการเป็นความยากลำบาก เพราะสังคมเปลี่ยนไป การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครเริ่มหายาก ได้นำเสนอว่า แต่ละชุมชนมีศักยภาพที่ไม่เสมอกัน

มีการนำเสนอว่า นำสิ่งๆดีๆแต่ละช่องมาไขว้กัน ระหว่างสถานีวิทยุชุมชน ผ่านเทคโนโลยีด้านอินเตอร์เนต ภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน ถ้าเรามีสถานีกลางจะเป็นไปได้หรือไม่ ในทางกฎหมายจะเป็นได้หรือไม่ แต่การไขว้กันก็มีโอกาสเป็นไปได้ ทุกชุมชนที่ไขว้กันก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด

อ.จีระ : อยากให้เสนอโครงการทรัพยากรมนุษย์ของชุมชน ซึ่งในอนาคตต้องเป็นชุมชนที่อยู่ในโลกาภิวัตน์ด้วย

อาจารย์...... : กลยุทธ์ลักษณะของสื่อที่สร้างศรัทธาให้ประชาชน หากกสทช.ไม่กำกับดูแล ก็อาจจะมีคลื่นของวัดออกมากมายก็เป็นไปได้

คุณพิชญ์ภูรี: ต้องเน้นผู้ฟัง และต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย

คุณมาณพ ชัยประสิทธิ์ กสทช.เชียงใหม่: มีการกำหนดอยู่แล้วว่าต้องมีการ Monitor สถานีนั้นๆ ถ้ามีสถานีไหนที่คนร้องเรียน ก็ต้องตรวจสอบก่อน คือ เตือน และ ถอนใบอนุญาต

ทางสถานี Monitor กันเองอยู่แล้ว มีเรื่องร้องเรียนกันมาทุกวัน

คุณ : นอกจาก Monitor แล้ว ต้องมีการ Training ด้วย รายการวิทยุต้องให้ประโยชน์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือจัดอบรมบ้าง

คุณนักจัดรายการ: นักจัดรายการบางคนไม่มีคอนเซปของตัวเอง การแก้ไขต้องแก้ที่ตัวบุคคล ว่าต้องดูแลบุคลากรด้วย เวลามีการเตือนก็เตือนมาที่นายสถานี ไม่ได้เตือนนักจัดรายการ

คุณพิชญ์ภูรี: นักจัดรายการเป็นผู้ส่งข่าวความรู้ เป็นนักวิเคราะห์เองด้วย

ดนุพิทย์ เทวิน ผู้นำท้องถิ่น: อยากให้ยืนอยู่ในหลักของคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ และภาษาที่จะใช้ ในช่วงปีใหม่มีนักจัดรายการนำเสนอในการใช้ภาษาคำเมือง แต่มีข้อตำหนิคือ ใช้ภาษาไม่ได้ 100%

คุณมงคล ชัยวุฒิ : ในระยะต่อไป ผู้จัดรายการต้องมีวิธีการจัดข้อมูลเพื่อนำเสนอ วัตถุดิบเหล่านั้นต้องผ่านความคิดสร้างสรรค์ ทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านั้นน่าสนใจ สถิติพบว่าคนเสพสื่อวิทยุน้อยลงเรื่อยๆ ถ้าไม่แก้ไขเรื่องนี้

คุณมงคล ยองเพชร: วิทยุธุรกิจ การไขว้กันจะยาก แต่สิ่งที่จะนำเสนอการตั้งกรอบ ต้องมีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ เด็กสมัยใหม่ไม่รู้คำเมืองเก่าๆ

อาจารย์ : Case จากทางสถานี คือเรื่อง Content วัตถุประสงค์ ไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้ เนื่องจากไม่เคยปฏิบัติ เครือข่าย 10 สถานี 12.00-13.00 เป็นข่าวจากหลายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ซึ่งเกิดเป็นเครือข่ายได้

คุณสาธิต: ปัญหาที่เกิดคนสร้างสื่อ สื่อสร้างคน คนเรารู้กรอบกติกา แต่ไม่ทำกรอบกติกาทุกคน ถ้าคนสร้างสื่อเป็นคนดี คนที่รับสื่อก็ต้องดี ถ้าทุกคนอยู่ในกรอบ การกำกับของกสทช.ก็ง่ายขึ้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่กฎหมาย แต่อยู่ที่ตัวคน

อ.ประสพสุข: การส่งกระจายเสียงวิทยุ มีวิทยุชุมชนกึ่งธุรกิจอยู่ภายใต้ ถึงแม้จะเป็นแปดหมื่น ถึง หนึ่งแสนบาท เมื่อจำเป็นต้องเอาโฆษณาเข้ามา วิทยุชุมชน ก็คิดเช่นเดียวกับวิทยุชุมชนกึ่งธุรกิจแม้ว่ากสทช.จะบอกว่าเรื่องที่แข่งขันกันนั้นก็ผิดกฎหมายกันทั้งคู่ ปัญหาของกสทช.ก็มีปัญหาตรงที่ไปกำกับดูแลไม่ได้ บางท่านเสนอเรื่องการลดค่าใช้จ่ายของวิทยุชุมชน โดยการไขว้สถานี ซึ่งเป็นทางการแก้ปัญหาหนึ่ง แทนที่จะใช้วิทยุไททัม ทั้งหมดขึ้นอยู่กับคุณภาพของบุคลากร หมายถึงทุกๆฝ่าย จริงๆแล้วควรให้ความร่วมมือระหว่างกันมากกว่าร้องเรียนกันเอง เพราะฉะนั้นจริยธรรม จรรยาบรรณของกลุ่มแรก คือ ผู้บริหารสถานีเกี่ยวข้องกับผู้บริหารสถานี รวมกันเป็น Self-regulate หรือให้กสทช.เป็นตัวกลาง ความร่วมมือจะนำไปสู่ Win win solution

กลุ่มที่ 2 คือ นักจัดรายการ ต้องมีจรรยาบรรณของนักจัดรายการที่ต้องได้รับการพัฒนา

กลุ่มที่ 3 Media regulator ผู้ฟังควรรู้สิทธิของตัวเอง ควรจัดรายการประเภทไหนถึงถูกใจคนฟัง

ประเด็นสุดท้ายวิทยุชุมชนเป็นสื่อที่ให้ความรู้ พัฒนาสติปัญญาของชุมชน ผู้สูงวัย คือผู้ทำงานอยู่ที่บ้าน ต้องคิดว่าทำอย่างไรถึงพัฒนาวิทยุชุมชนให้ถูกใจกลุ่มเยาวชนและเด็กๆบ้าง

กลุ่มภาคเหนือ มีปัญหาเรื่องการรวมกลุ่มที่ไม่เป็นเอกภาพ อยากให้กสทช.เป็นแกนกลางของกลุ่มวิทยุชุมชนในภาคเหนือ เพื่อความเป็นปึกแผ่นมากกว่าให้เขาทำกันเอง

คุณวรวุฒิ: ขอใช้มาตรฐานเป็นตัวนำ ต้องมีการพัฒนามาตรฐาน กระบวนการในการพัฒนาและปฏิรูปต้องดูว่ามีอะไรบ้าง ผู้ส่งสาร ไม่ใช่เรื่องคนอย่างเดียว เรื่องอุปกรณ์ส่ง เรื่องสถานะส่ง ถ้าผู้ส่งมีมาตรฐานพอ ก็มองเรื่องผู้ฟังเป็นเรื่องรอง

อ.จีระ: การพัฒนาทุนมนุษย์ด้วย 8K’s + 5K’s และการบริหารทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพจะนำไปสู่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต คือ

Standard มีมาตรฐาน

Quality มีคุณภาพ

Excellence มีความเป็นเลิศ

Benchmarking เทียบเคียงกับคู่แข่งได้

Best Practice เป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีที่สุด

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

บรรยากาศของการเรียน 4L’s

Learning Methodology วิธีการเรียนรู้

Learning Environment บรรยากาศการเรียนรู้

Learning Opportunities โอกาสการเรียนรู้ มีการประทะกันทางปัญญา

Learning Communities ชุมชนแห่งการเรียนรู้

ทุกวันนี้ต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ต้องข้ามศาสตร์

คุณสมศักดิ์: มีการร้องเรียนไปที่ CALL CENTER ถ้าเรื่องอาหารและยา ถามสาธารณะสุขจังหวัดว่าออกได้หรือไม่ ปัญหาเรื่องการร้องเรียนก็ลดลง กสทช.เขต วิทยุชุมชนต้องรู้จักเพียงพอต่อความต้องการ อยากให้มูลนิธิจัดการอบรมแบบนี้อีก

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 17:51 น.  
Home > Articles > การศึกษา > โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นตามกฎหมาย

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8608661

facebook

Twitter


บทความเก่า