Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง บริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง บริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

พิมพ์ PDF

การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) กลุ่มภาคตะวันออก

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง

บริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557

โรงแรมไดอาน่า  by Plus-HD-1.5" style="color: #0022cc; text-decoration: underline !important; background-color: transparent !important; border: none !important; display: inline !important; float: none !important; font-weight: bold !important; height: auto !important; margin: 0px !important; min-height: 0px !important; min-width: 0px !important; padding: 0px !important; vertical-align: baseline !important; width: auto !important;">รีสอร์ท การ์เด้น จ.ชลบุรี

คุณพิชญ์ภูรี: เนื้อหาวันนี้เพื่อนำไปสู่แผนพัฒนากิจการกระจายเสียง ถ้าเห็นว่าแบบสอบถามขาดด้านไหนไปก็ขอให้ทุกท่านช่วยร่วมกันปรับปรุง

วันนี้มีการแชร์ประสบการณ์ที่ได้ไปดูงานที่นอร์เวย์ สวีเดน

ศ.ดร.จีระ: ขอขอบคุณผู้ประกอบการวิทยุ เจ้าของสถานี ผู้นำท้องถิ่น ผู้แทนเมืองพัทยา หากเรามีสื่อวิทยุที่มีประโยชน์ต่อประเทศทำให้สังคมดีขึ้น ทำให้คนมีความรู้มากขึ้น อย่างเช่นประเทศนอร์เวย์สวีเดนสื่อวิทยุทำให้คนในประเทศฉลาดมากขึ้น ประเทศไทยก็ควรจะพัฒนาสื่อวิทยุให้มีประโยชน์ต่อประชาชนเช่นกัน วันนี้ไม่ได้ทำเฉพาะ Focus group อยากมองถึงอนาคตร่วมกันในเรื่องของการพัฒนาสู่อาเซียน

กสทช.เป็นองค์กรที่มีภารกิจหลายอย่าง เรื่องวิทยุเป็นเรื่องสำคัญ มูลนิธิดูแลเรื่องวิจัยฯ เป้าหมายคือ เรามาที่นี่เพื่ออะไร What need to be done

สื่อต้องทำให้สังคมดีขึ้นเช่น ประเทศ สวีเดน นอร์เวย์ยังเปิดโอกาสให้พวก Immigrant จากอิหร่านเปิดโอกาสให้ทำวิทยุชุมชน วิทยุจึงเป็นเทคโนโลยีที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย

ผู้ประกอบการวิทยุต้องพัฒนาศักยภาพของคน การใฝ่รู้ ต้องมีแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องพัฒนาตัวเอง และต้องมีคุณธรรมจริยธรรม

กสทช.ดูแลสื่อทุกชนิด เป็นองค์กรที่มีอิทธิพลมาก แต่ต้องถามว่าทำให้สังคมเป็นสังคมที่ฉลาด ทันเหตุการณ์ เขาถึงประชาชน แล้วหรือยัง

ในฐานะทีเป็นหัวหน้าทีมวิจัย ทุกท่านที่เสนอแผนวันนี้ เป้าหมายหลักคือช่วยกันให้ความเห็นว่าเส้นทางเดินนโยบายของวิทยุจะเป็นอย่างไร อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วม ขอบคุณผู้แทนทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และทำอย่างต่อเนื่อง

ถ้าเราสามารถพัฒนาคนให้เป็นรูปธรรมได้ วงการวิทยุจะดีกว่านี้อีกมาก ควรมีองค์กรที่นำไปสู่เป้าหมายของประชาชน ทั้งเรื่อง

การเมือง

เทคโนโลยี

เศรษฐกิจ

สังคม

เสนอแนะโครงการที่จะพัฒนาทุนมนุษย์ในวงการวิทยุ เช่น ที่เชียงใหม่มีการถกเถียงเรื่องการสอบใบผู้ประกาศวิทยุ

ถ้าเราจะพัฒนาทุนมนุษย์แล้วต้องคิดว่า purpose ของเราอยู่ที่ไหน

อ.ทำนอง : เป้าหมายของวันนี้คือ

1. สภาพปัจจุบันว่าสถานการณ์กิจการกระจายเสียงตอนนี้เป็นอย่างไร ทั้งเรื่อง

- การเมือง

- เทคโนโลยี

- เศรษฐกิจ

- สังคม

2. มาตรฐาน เป็นอย่างไร

3. ความต้องการของชุมชนประชาชน ว่าต้องการอะไร โดยเฉพาะผู้ประกอบการ

4. เรื่องกฎหมาย

- เพื่อการสร้างสรรค์

- เพื่อความปลอดภัย

- เพื่อประโยชน์สาธารณะ

ดร.จีระ: ในสถานการณ์ปัจจุบัน ต้องเน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก 2 ประเทศ คือ นอร์เวย์ และสวีเดน คือ พลเมืองสามารถเช็คกันเองได้ นั่นก็คือ พื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ของสังคม สามารถSanction กันเอง Commissioner ของเขาทำเรื่องสัญญา แต่ไม่ดูเรื่อง Content ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่กสทช.ต้อง Monitor ทุกเรื่อง

ปัญหาของไทย คือ ทำอย่างไรที่จะแก้ปัญหาปีระมิดข้างล่าง กสทช.ต้องพัฒนาพื้นฐานผู้ฟัง ในอนาคตคงต้องใช้เวลา 10-20 ปี

สวีเดน เป็นองค์กรที่ไม่ได้อิสระแบบกสทช. ไม่ได้เลือกวุฒิสมาชิก แต่รัฐบาลเป็นผู้โปร่งใส งบประมาณได้รับโดยตรงจากภาษีอากรของประชาชน พลเมืองเป็นผู้ที่มีฐานความคิด คิดเป็นวิเคราะห์เป็น มีคุณธรรม จริยธรรมต่างกับไทยที่ยังมีการเอารัดเอาเปรียบ หรือเรียกว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา หน้าที่ของพวกเราคือต้องร่วมกัน Monitor ร่วมกันตรวจสอบ

คุณพิชญ์ภูรี: พ.ศ. 2473 เริ่มทดลองออกอากาศครั้งแรกในประเทศไทย สถานีวิทยุแห่งแรกของไทยสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท

วัตถุประสงค์ คือ ความมุ่งหมาย “ส่งเสริมการศึกษา การค้าขาย และการบันเทิงแก่พ่อค้าประชาชน”

พ.ศ. 2475- 2500 เป็นช่วงแรกของการดำเนินกิจการวิทยุกระจายเสียง เป็นยุคชาตินิยม อำนาจอยู่ในมือทหาร ออกพ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อสถานีวิทยุเชิงพาณิชย์แห่งแรกสถานีวิทยุกระจายเสียง ททท.

พ.ศ. 2511-2520 การจัดระเบียบว่าด้วยวิทยุฯ ของทางราชการ

เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.2520 – มติรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ก่อตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.)

วัตถุประสงค์ ความพยายามที่จะรวบอำนาจการควบคุม วิทยุกระจายเสียงมาไว้ในกรมประชาสัมพันธ์

ปัญหาที่เริ่มเกิด คือ ด้านผลประโยชน์

สภาพการณ์ระหว่าง พ.ศ. 2532- 2540ยุคอุตสาหกรรมการสื่อสารระบบทุนนิยมเสรี

เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.2532 – การเปลี่ยนแปลงให้เอกชนรับสัมปทานหรือ เช่าช่วงเวลาจากรัฐ การเติบโตแบบก้าวกระโดดที่ไม่เปิดเผยคือระบบอุปถัมภ์ นายทุนใช้เงินเยอะ ในการเช่าช่วงเวลา

พ.ศ.2540 – การปฏิรูปสื่อโดยรัฐบาล คมช.

การเตรียมพร้อมสู่ DIGITAL RADIO ต้องมีการเตรียมพร้อมเรื่องคลื่นความถี่ ข้อมูลวันนี้ทำให้กสทช. รับข้อมูลได้ดีขึ้น

ผอ.เจษฎา สุขนิยม กสทช.เขต 5 จ.จันทบุรี:

ปี 50 พ.ร.บ. ออกมาให้เหลือองค์กรเดียว หน้าที่ปัจจุบัน คือ กำดับดูแลทางด้านปลายน้ำ

เรื่องจริงของกัปตันเวลาบินผ่านประเทศไทย นักบินจะได้ยินเสียงโฆษณาจากประเทศไทยในวิทยุการบิน ซึ่งต้องมีการบังคับใช้กฎหมายกับทางสถานีทั้งหมด 454 สถานี ในจันทบุรี

การประมูล 3 จี ทีวีดิจิตอล 24 สถานี เงินไปไหน ซึ่งเราต้องช่วยกันร่างกฎเกณฑ์กติกาเพื่อพัฒนาประเทศไทย เพื่อปฎิรูปจากอะแนลอค ไปเป็นการใช้ใบอนุญาตตอนนี้เปลี่ยนผ่านมาแล้ว 27 สถานี

การกำกับดูแล ที่ดีที่สุด คือต้องการเรื่อง Self-regulator ต้องคิดว่าเราจะทำอย่างไรได้บ้าง

เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียง พรบ. วิทยุ 2518 พรบ. จัดสรรคลื่น 2553 หน่วยงานสาธารณสุขจังหวัดจำเป็นต้องเชิญมาเพื่อมาพูดเรื่องการกำกับดูแลโฆษณาชวนเชื่อ

กรณีที่เจ้าหน้าที่กสทช.ของคณะเทคนิคไปพบทุกท่าน เราไปพบด้วยความจริงใจ ขอความร่วมมือจากทุกท่าน เพื่อไม่ให้ไปรบกวนกับกิจการอื่น หรือ วิทยุการบิน เพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่ถูกต้อง

ปัญหาด้านกฎหมาย จากการปฏิรูปสื่อ วิทยุชมชนที่เกิดขึ้น คือ กำเนิดตัวเองแต่สถานะทางกฎหมายตามมาทีหลัง หากจะเปลี่ยนเป็นระบบ Digital ที่สำคัญคือ ทำอย่างไรที่จะทำให้อยู่อย่างเป็นสุข ไม่เบียดเบียนกัน คลื่นวิทยุเป็นทรัพยากรของมวลมนุษยชาติ ความถี่เป็นของทุกคนในโลก แต่เทคโนโลยีทุกวันนี้จะทำอย่างไรที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

อ.จีระ: วันนี้สังคมไทยต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ต้องดูแลเรื่องสื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุด ประเด็นที่อ.ทำนองคือ ถ้าไม่ช่วยให้วิทยุเป็นสื่อที่มีค่า เพราะฉะนั้นคนใช้สื่อวิทยุก็ลดลง ระดับอายุของคนฟังส่วนใหญ่เป็นวัยสูงอายุ ต้องคิดว่าทำอย่างไรจะมีกลุ่มวัยรุ่นมาฟังสื่อวิทยุมากขึ้น transitional period รอยต่อของงานวิจัยคือ 20 ปี และน่าจะทำให้คนรุ่นใหม่ตื่นตัวมากขึ้น หากได้เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี กฎหมาย สังคมการเรียนรู้ ก็จะทำให้งานวิจัยรอด

คุณนคร จ.ระยอง: ทำวิทยุชุมชน ทำตั้งแต่ปี 2548 วิทยุเข้าถึงทุกส่วนคือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง แต่ปัญหาตอนนี้คนขาดคุณธรรม จริยธรรม ขาดความละอายใจต่อบาป มีความเห็นแก่ตัวมาก ต้องให้ผอ.เจษฎา ตรวจสอบว่ามีคลื่นวิทยุใหม่เกิดขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายที่ทับซ้อนคลื่น

เรื่องข้อกฎหมายเรื่องการประมูลคลื่นวิทยุ เราไม่มีทุน ไม่มีโอกาสประมูลแน่นอน เรื่องการกฎหมายการประมูลอยากให้เปลี่ยนกฎหมายนี้ไปเลย

มาตรฐานทางเทคนิค เสา 60 เมตร กำลังส่ง 500 เราต้องยอมกัน ต้องหาจุดตรงกลางทำให้เดินไปได้

ความต้องการชุมชนพื้นที่เกษตรกรรม อยู่ด้วยความพอเพียง ขอฝากเรื่องกฎหมายไปยังกสทช.ว่าไม่ต้องรู้เรื่องกฎหมายไม่เกิน 10 ข้อ ทั้งสาธารณะ วิทยุธุรกิจ และชุมชน

คุณพิชญ์ภูรี: วิทยุชุมชนบางที่ทำธุรกิจเพื่อเลี้ยงตัวเอง ที่ไม่ต้องเบียดบังเงินกองทุน ซึ่งเรียกว่าธุรกิจเชิงชุมชน กลุ่มนี้เปิดเผยว่าทำอย่างไรถึงจะส่งฐานข้อมูลนี้ไปยังกสทช.ได้ ขอโอกาสให้กลุ่มนี้เมื่อมีการประมูล อาจจะเป็นการจัดสรรพื้นที่

อ.จีระ: งานวิจัยหากสำเร็จได้ต้องเน้นความตั้งใจ องค์ความรู้ ทุนน้อย ปัญญามาก โอกาสของคนธรรมดาเข้าสู่วิทยุมีมากกว่าเรื่อง TELECOM และ digital TV เราต้องเปิดช่องว่าให้เดินไปได้ ทุกวันนี้ต้องสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง

คุณลัญชนา: ขอพูดเรื่องการกำกับดูแล และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทุกวันนี้พูดได้ว่า ผู้ใดครองสื่อผู้นั้นครองโลก

ทุกคนก็อยากทำสื่อ แต่วิธีการแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนรู้จริง บางคนรู้ไม่จริงเลยเกิดปัญหา ดิฉันเป็นเจ้าของสถานีวิทยุชุมชนไม่เกี่ยวกับธุรกิจ ไม่เห็นด้วยกับกสทช.กับการกำกับดูแลด้วยตัวเอง เพราะแต่ละจังหวัดแตกย่อยเป็นหลายชมรม หลายสมาคม แล้วใครจะเป็นผู้กำกับดูแลจริงๆ ซึ่งมันยากมาก

อ.จีระ: ทรัพยากรไทยกับนอร์เวย์ต่างกันเรื่องทรัพยากรมนุษย์ หากเมืองไทยพร้อมเราทำ แต่หากไม่พร้อมก็ยังต้องใช้การแทรกแซงที่ต้องยุติธรรมกับทุกฝ่าย

คุณลัญชนา: การพัฒนาเรื่องทรัพยากรมนุษย์ของคนฟัง หากคนฟังชอบนักจัดรายการคนฟังก็จะเชื่อ นักจัดรายการวิทยุต้องเน้นความถูกต้อง เน้นคุณธรรม จริยธรรม หากไม่มีก็ไม่สามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้

เรื่องเสา เรื่องกำลังส่ง เห็นด้วยว่าวันนี้ต้องอยู่ระดับนี้ คือระดับกลาง ๆ เสา 60 เมตร กำลังส่ง 500

ขอฝากเรื่องกฎหมายที่ออกมาต้องชัดเจนทุกข้อ

คุณพิชญ์ภูรี: การกำกับดูแลตัวเองของกสทช.ตอนนี้เป็นเพียงแนวคิด ยังไม่ออกเป็นตัวบทกฎหมาย

ศรากร FM 105: เห็นด้วยกับเครื่องส่ง เสา 60 เมตร กำลังส่ง 500 วัตต์ เรื่องกำกับดูแลตัวเองนั้นประเทศไทยต้องมีกฎหมาย และตัวคุณธรรม จริยธรรมเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกฎหมาย

เห็นด้วยกับกสทช.ที่แบ่งเป็น 3 รูปแบบของสถานี และมีผังการจัดรายการ อยากให้แก้ปัญหาต่างๆดังนี้

เรื่องคลื่นแทรก แทรกกันเอง และแทรกกับวิทยุการบิน

เรื่องเนื้อหาที่ทำลายสังคม ปลุกระดม สร้างความรุนแรง หลอกลวง

เห็นด้วยที่ต้องมีใบอนุญาตในกรอบ และการออกอากาศ อยากให้สถานีมีการจัดเก็บ มีการบันทึกเทปการใช้งาน เพื่อให้กสทช.เอาไปตรวจสอบได้

วิชชุดา สมาคมสื่อภาคตะวันออก: ขอแสดงความคิดเห็นด้านคุณธรรม จริยธรรม เนื้อหาที่เป็นทุนแก้การจัดรายการ เรื่อง CSR ให้กับวิทยุชุมชน

  • -ภาครัฐ กับ ภาคี ควรทำร่วมกัน
  • -สร้างพันธะสัญญาที่กำกับดูแลตัวเอง ผู้ใช้สื่อต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ใช้ นักจัดรายการต้องรับผิดชอบด้านคุณธรรม จริยธรรม
  • -เรื่องเนื้อหานั้นต้องมีการแบ่งกลุ่มอายุผู้ฟัง
  • -Active citizen เนื้อหาฟังง่าย ใส่เนื้อหาความรู้ พัฒนาการเด็กทางด้านสมองได้
  • -ต้องให้ประโยชน์กับผู้ฟัง
  • -เรื่อง CSR Matching ควรจะมีอะไร ที่ทำให้ภาคีอยู่รอด และเป็นประโยชน์กับสังคม
  • -เรื่องใบผู้ประกาศ ทดลองจด MOU อยากรู้ว่าเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน พอทำแล้วเกิดปัญหา ข้อดี คือ มีความรู้ ข้อเสีย กสทช.ไม่ได้สร้างความมั่นใจว่าต้องมี ผู้จัดรับบทหนักมาก มีข้อระเบียบเยอะมาก ทำให้บริหารจัดการยาก
  • -สิ่งที่ควรทำอย่างจริงจัง คือ สำนึกของนักจัดรายการ ที่เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และ เรื่องเนื้อหาสาระ ความรู

อ.จีระ:

ทฤษฎี 8K

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ทฤษฎี 5K’s

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

ผศ.จำเริญ : ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยุ

1. ด้านการผลิตรูปแบบรายการ

2. ด้านเทคนิคเครื่องส่งวิทยุชุมชน

3. ด้านการจัดการเทคโนโลยีเครื่องส่ง เครื่องส่งที่นำเข้าจากต่างประเทศจะมีปัญหาเรื่องคลื่นรบกวนน้อยลง แต่ค่อนข้างราคาแพง

- เรื่องพัฒนาทุนมนุษย์หากมีหน่วยงานสนับสนุนลงไปพัฒนาในชุมชนเลยจะเกิดประโยชน์มาก จะทำให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการเมือง ชีวิตความเป็นอยู่จะดีขึ้น

คุณจุฑามาศ: ทำวิจัยสื่อมวลชนท้องถิ่น จ.ชลบุรี พบปัญหา คือ มุมมองของสื่อ ปัจจัยของการอยู่รอดของสื่อมวลชนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี

ปัญหาของหนังสือพิมพ์ร่วมกัน คือ ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ ที่เราต้องย่อยอด

  • -ขาดทักษะความรู้ ขาดคนทำงาน
  • -สิ่งที่คุกคามสื่อมวลชน คือ สื่อใหม่ ได้แก่ Social media
  • -สิ่งสำคัญ ที่ต้องมีคือความรับผิดชอบ
  • -ตัวผู้รับสาร ต้องมีคุณภาพ

อ.พงศ์สิน: เน้นไปที่การบริหารสถานี ทำงานวิจัยเรื่องวิทยุชุมชนมา 3-4 เรื่อง การบริหารจัดการที่ดี ก็จะทำให้สถานียั่งยืน

1. เน้นไปที่ตัวบุคคล แบ่งหน้าที่ชัดเจน อาสาสมัครทำอย่างจริงจัง

2. รายได้ต้องหาเอง ในชุมชนทำปุ๋ยชีวภาพ

คุณลัญชนา: เรื่องการเมืองมีปัญหา เพราะพูดเรื่องฝั่งตัวเองดี ฝั่งตรงข้ามไม่ดี ปัจจุบันนี้ในชุมชน ลูกถูกปลูกฝังเรื่องการเมือง ไม่เคารพสถาบัน

คุณกังวาฬ: ขอแย้งความเห็นของอ.จีระ ที่เด็กรุ่นใหม่ไม่ฟังวิทยุ เพราะเด็กจะฟังคลื่นๆใหญ่ๆ ไม่ใช่วิทยุชุมชน ขอแนะนำให้วิทยุชุมชนปรับตัวเอง ควรมี application เปิดพื้นที่ให้คนติดตามได้ ไม่ต้องเสียค่าเวลา มี 2 way communication คนฟังสามารถตอบโต้กันได้ทันที ซึ่งสามารถปรับให้ตรงกับlifestyleของผู้ฟัง

กสทช. ควรมี survey ว่าผู้ฟังมี lifestyle อย่างไร เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ฟังมากขึ้น

ผอ.เจษฎา : กสทช.มีอำนาจออกใบกำกับอนุญาตกิจการกระจายเสียง แต่เรื่องอินเตอร์เนต เป็นเรื่องของกระทรวงICT

ผศ.จำเริญ: ขอแชร์ว่าถ้าผ่าน Social media ก็ไม่ถือว่าเป็นวิทยุชุมชนแล้ว ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัญหาในอนาคต

คุณภคพล จากระยอง: สนับสนุนเรื่องผู้ฟังคนรุ่นใหม่ เนื่องจากทำรายการค่อนข้างยาก ปัจจุบันมีสังคมออนไลน์ครบแล้ว ใครไม่เข้าใจก็สามารถถาม GOOGLE ได้ ก็ไม่ต้องผ่านดีเจแล้ว สังคมไทยเป็นสังคมที่ชอบการดูมากกว่าการอ่าน เขียน พอมี youtube วัยรุ่นใช้เวลาการดูพวกนี้มากกว่า เมื่อapplication มันจะทำให้ควบคุมยาก

คุณชัยพร: ข้อสังเกต คือ ทำอย่างไรให้เกิดมาตรฐานเครื่องส่ง ผู้รับสื่อ ผู้ส่งสื่อ

อ.ประสพสุข: ปัญหาเรื่องกฎหมาย เนื่องจากออกตามหลังตลอด การจัดระเบียบภายหลังเป็นเรื่องยุ่งยาก กฎหมายไม่ทันเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น

ประเทศไหนสังคมซับซ้อนก็จะมีตัวบทกฎหมายเยอะมาก Watchdog ทำหน้าที่เฝ้าระวัง ให้กับกลุ่มผู้ฟัง

  • -เครื่องมือ อุปกรณ์ทั้งหลาย กระบวนการซ่อมบำรุงไม่มี
  • -คนที่เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องวิทยุกระจายเสียงเยอะมาก
  • -เจ้าของสถานี
  • -ผู้สนับสนุนรายการ เป็นเรื่องสำคัญ
  • -ผู้ผลิตรายการ
  • -ผู้ดำเนินรายการ

เหตุผลคือทรัพยากรมนุษย์ขาดความรู้เรื่องกฎหมาย ขาดการฝึกอบรม ขาดความรู้ความเข้าใจ แนะนำควรมีองค์กรที่ให้ความรู้ความเข้าใจ กับ ผู้สนับสนุนรายการ - ผู้ผลิตรายการ และ ผู้ดำเนินรายการ

คุณนคร: เครื่องส่งควรกำหนดมาตรฐานออกมาเลย กสทช.ควรเช็คมาตรฐานเครื่องส่ง

คุณมลิพร จังหวัดชลบุรี: เรื่องใบผู้ประกาศ ที่ผอ.เจษฎา บอกไม่มีกฎหมายบังคับ ทำให้รู้สึกเสียใจมาก เพราะเสียค่าใช้จ่ายในการอบรมมาก อยากให้นักจัดมีมาตรฐาน ที่เน้นเรื่องการพูด การใช้ภาษา

ผอ.เจษฎา: พรบ 2498 กรมประชาสัมพันธ์กำหนดชัดเจนว่าผู้ประกาศข่าวต้องได้รับใบอนุญาต พรบ 2551 ไม่มีบังคับเรื่องนี้ ณ ปัจจุบัน มีกลุ่มงานผู้ผลิตสื่อ ที่พัฒนาผู้ประกาศข่าว ผู้ผลิตมีคุณภาพ แต่ในตัวกฎหมายไม่มี

คุณวิชดา : การอบรมผู้ประกาศมีปัญหาเยอะ เพราะต้องใช้เงิน ขอฝากกสทช.ว่าควรไปในทิศทางเดียวกัน เขต 7 ยกเลิกโครงการ แต่เจ้าหน้าที่ที่ลงเขต บอกต้องทำ ซึ่งไม่มีทิศทางไปในทิศทางเดียวกัน มีความล้มเหลวในการบริหารจัดการเรื่องการอบรม

ผอ.เจษฎา: มีประกาศราชกิจจานุเบกษา 1 ก.พ. 2556 ว่าต้องมีใบผู้ประกาศ แต่ในกฎหมายใหญ่ไม่ได้มีเขียนไว้

คุณพิชญ์ภูรี: คนที่รับงานจากกสทช.ยังไม่มีมาตรฐานไปในทิศทางเดียวกัน กองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องได้รับการผลักดัน

การวิจัยภาคเหนือ เอาเงินวิจัยกองทุนมาใช้กับวิทยุชุมชนได้เท่าไหร่

อ.ทำนอง: เรื่องการกำกับดูแลตามกฎหมายต้องปรับปรุงมาก

การกำกับดูแลพันธะสัญญาซึ่งยังไม่เกิด

และเรื่อง Social solution กำกับดูแลโดยผู้ฟัง และผู้ฟังจะกำกับดูแลสถานีได้อย่างไร

คุณวรวุฒิ: 4 ประเด็นสั้นๆ

1. กลุ่มผู้ส่งสาร ดีเจ ผู้บริหารสถานี คนที่รับผิดชอบนำสารไปยังผู้ฟัง ให้มีมาตรฐาน และต้องพัฒนากลุ่มผู้ส่งสารเพื่อให้มีศักยภาพพร้อม

ดีเจ ต้องมีใบประกาศ ต้องผ่านการอบรม และเป็นไปตามกฎหมายได้หรือไม่ ต้องมีการ work out ต่อไป

2. มาตรฐาน เน้นเครื่องส่ง เครื่องมือ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีการรองรับมาตรฐาน

3. เรื่องกระบวนการการควบคุม ทั้งผู้ส่งสาร มาตรฐาน การจัดการต่างๆ เช่น สถานีวิทยุใกล้เคียงกัน ตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นสถานี Zoning กฎหมาย ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ

คำถาม คือ เรากระจายอำนาจจากกสทช. ไปยังท้องถิ่น และชุมชนได้หรือไม่ เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการกระจายเสียง

กรณีการกำกับดูแลตัวเอง ถ้าสามารถรวมกลุ่มกันเองในระดับประเทศ และมีกฎหมายรองรับความเป็นชุมชนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องกำกับดูแล

จาก อรัญประเทศ จ.สระแก้ว : ในปัจจุบันเหลือนักจัดรายการน้อยมาก ปัจจุบันเหลือนักจัดที่มีคุณภาพ ไม่มีเรื่องปัญหาคลื่นความถี่ สื่อจากสระแก้วมีการรวมตัวที่ดีมาก มีจรรยาบรรณ สระแก้วมี 60 คลื่น และดีทุกคลื่น และขอฝากว่าไม่ขอให้มีการประมูล และนักจัดรายการตัวจริงก็คือประชาชน

ผอ.เจษฎา: สำนักงานมีศูนย์ไกล่เกลี่ยช่วยเหลือ นับว่าเป็นเรื่องที่ดีเป็นสันติวิธี หากเอาผลประโยชน์เป็นที่ตั้งระบบไกล่เกลี่ยคงทำได้ยาก

ประเด็นคุณอเนกถามว่าหากมีการจาบจ้วงสถาบัน กสทช.และกรอมน. จะเป็นเจ้าภาพ ในการกรั่นกรอง ประสานกับกสทช.โดยตรง และให้กสทช.จัดเก็บข้อมูล และแจ้งความต่อเจ้าพนักงานต่อไป

ผอ.สุปรานี: ขอเสนอด้านการเสนอว่า วิทยุชุมชนเป็นของประชาชน อยากให้ประชาชนมีส่วนร่วม ควรใช้องค์ประกอบด้านเป้าหมายที่ชัดเจน มีกิจกรรมอะไรบ้าง มีหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม ถ้ากลุ่มผู้จัดวิทยุชุมชนใช้หลักกลยุทธ์เข้ามาช่วย ใช้ชุมชนเป็นฐานในการบริหารจัดการ มีการประเมินตรวจสอบ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทุกกระบวนการ แล้วทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 17:54 น.  
Home > Articles > การศึกษา > โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง บริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8608001

facebook

Twitter


บทความเก่า