Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

พิมพ์ PDF

สรุปการประชุม Focus Group (กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล

กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557

ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ โรงแรมสยามแกรนด์ จ.อุดรธานี

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วัตถุประสงค์

การวิจัยนี้คือการผนึกกำลังร่วมกัน และนำความหลากหลายของตัวละครแต่ละภาคส่วนมารวมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การวิจัยครั้งนี้คือการวิจัยเพื่ออนาคตของประเทศ สื่อวิทยุเป็นสื่อเข้าสู่ประชาชนได้รวดเร็วและต้นทุนถูก นอกจากให้ความรู้บันเทิง และเพลิดเพลินแล้วยังได้แนวคิดใหม่ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ใช้ความรู้เหล่านี้ผสมกับภาคอีสานจะเกิดเป็น Value เกิดขึ้น อาจมีความร่วมมือกันระหว่างกสทช.กับสื่อต่าง ๆ และป้องกันความเสี่ยงกับภัยธรรมชาติ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน งานวิจัยครั้งนี้จึงควรย้อนทั้งอดีต ดูถึงปัจจุบัน และคำนึงถึงอนาคต ตัวอย่างเช่น สวีเดนเน้นการสร้างพลเมืองให้มีความฉลาดเฉลียว และทันการเรียนรู้

คำถามคือประโยชน์วิทยุได้กระจายไปให้คนทุกฝ่ายจริงหรือไม่ และเกิดผลต่อประชาชนจริงหรือไม่

การที่กสทช.รวมกันและมี รัฐธรรมนูญปี 40 จะสามารถช่วยได้

ปัญหาที่พบคือ การขาดคุณธรรม จริยธรรม เน้นการโฆษณาเกินจริง และปลุกระดมทางการเมือง ดังนั้นการสร้างค่านิยมผิด ๆ มอมเมาประชาชนเป็นสิ่งที่กสทช.ควรดูเพื่อทำให้มีประโยชน์แท้จริงกับประชาชน ถ้าใช้สิ่งเหล่านี้ให้เกิดปัญญาขึ้นอย่างแท้จริง เป้าหมายจะเพื่อการพัฒนาสิ่งเหล่านี้ได้

Methodology

1. สำรวจวรรณกรรม

2. Focus Group เรียนรู้มาก ๆ จาก Stakeholder

3. มี Indepth Interview หรือ Expert Opinion Servey

4. Questionaire

5. ดูงานต่างประเทศ

โดยสรุป โจทย์หรือ TOR มี 4 อย่าง +

1. การปฏิบัติตามกฎหมาย หน้าที่ต้องทำเรื่องกฎหมายให้ดี

2. เรื่องเทคโนโลยี เช่นดิจิตอลเรดิโอที่นอร์เวย์เข้มแข็งมาก แต่ขณะที่ยังไม่มีก็ดูที่ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นด้วย

3. ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้คนจะเป็นจุดอ่อน เช่นคนดีอยากทำวิทยุแต่ไม่มีกำลังพอ ก็อาจถูกซื้อไป การมีกองทุนอาจช่วยแบ่งปันผลประโยชน์ให้ครบถ้วน

4. ผลกระทบทางสังคม เช่นวัฒนธรรม ตัวอย่างที่สวีเดน และนอร์เวย์ให้สิทธิชุมชนใช้ภาษาเปอร์เซีย ดังนั้นวิทยุชุมชนคือการรักษาภูมิปัญญาไว้

ตอนจบจะเสนอแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของวงการวิทยุเสนอไปที่ กสทช.

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

การกำกับดูแลมี 3 ระดับ

1. ดูแลตัวเอง ดูแลกันเอง

2. จัดตั้งสมาคม เขียนกติกามารยาท

3. การกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือ กสทช.

ที่มาคุยวันนี้เพื่อให้ได้เห็นถึงปัญหา ทุกภาคเจอมาคือมีการทับซ้อนอยู่ ก่อนปี 40 สถานีวิทยุอยู่ในมือของรัฐ แต่เวลาไม่ได้ทำเอง มีช่องเปิดเหมาเช่าเวลาได้ เงินไม่ได้เข้ารัฐ ตกอยู่เบี้ยบ้ายรายทาง ปี 40 มีการปฏิรูปสื่อเป็นของชาติและประโยชน์สาธารณะ กิจการวิทยุชุมชนมีสิทธิใช้และเท่าเทียมกัน ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพแสดงออกมากขึ้น เอกชนต้องรับผิดชอบเนื้อหาสาระรายการด้วย

กสทช.ได้วางหลักเกณฑ์ ส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยให้ตามแผน เป็นสิ่งที่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม มีแผนการพัฒนาทุนมนุษย์ซ่อนอยู่

สถานีวิทยุกระจายเสียงถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ

1. สื่อสาธารณะ เป็นของรัฐ

2. สื่อของธุรกิจเอกชน

3. สื่อชุมชนแท้ ๆ ไม่หวังกำไร มีการจัดสรรกองทุนไปให้แต่ยังไม่เกิด ซึ่งมีการขยายช่องเพิ่มจำนวนมาก

ทางเลือกอีกด้านหนึ่งคือดิจิตอล แต่อย่างไรก็ตามคิดว่าระบบอนาล็อกยังคงอยู่ ในอนาคตอยากให้มีการวางแผนอย่างถูกต้องและตรงใจ ในความเป็นจริง สถานีวิทยุไปรวมกับคลื่นและใช้ได้ตามใจ

ประเด็นจะพูดถึงปัญหา จุดเด่น จุดอ่อน คำแนะนำที่อยากนำเสนอด้วย อะไรจะอยู่ในกรอบคุณธรรม จริยธรรม และสิทธิ ข้อเท็จจริง เป็นอย่างไร รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงเทคนิคของคลื่น

พระฐนกรทษฌพร กนตสีโล วัดป่าหนองสนุ่น อ.ด่านซ้าย จ.เลย

ถือว่าดีมาก ๆ เนื่องจากได้เป็นวิทยากรมาหลาย 10 ปี ถ้าเปิดโอกาสให้ได้อยากให้เป็นศูนย์กลาง คือให้วัดแบ่งปันกันให้แต่ละวัดมีโอกาสพูดธรรมะดี ๆ เสนอแนะสิ่งที่เป็นประโยชน์ แบ่งให้ชุมชน ประชาชน มีการจัดเป็นสัดส่วน และดูแลอย่างเป็นระดับ ๆ องค์กร ภาค จังหวัด ชุมชน แล้วชุมชนที่มีสมาชิกจะให้ข่าว และมีข้อมูลส่งให้อีกด้าน แต่ถ้าไม่มีตรงนี้เราจะได้เฉพาะกลุ่มเรา ไม่ได้กลุ่มเขา เราต้องมองกลุ่มเขามากกว่ากลุ่มเรา ต้องสื่อให้กับสังคม เยาวชน การพัฒนา การเกษตร ศาสนา ชุมชน พระพุทธศาสนา เราต้องแยกให้ ต้องแบ่งเวลาให้ ใครที่ทำถูกกติกา ก็สามารถทำต่อได้เลย ใครที่ผิดพลาดก็แก้ไขและยุบได้เลย สื่อถ้าทำผิดประเภทก็ควรมีการกำกับดูแล และทำให้ทั่วถึง ข่าวไม่ต้องไปหา มีแต่ข่าววิ่งมาหาเรา แต่ทุกวันนี้เรามัววิ่งไปหาข่าว เสียงบ เสียเวลา

ถ้า กสทช.แบ่งคณะกิจกรรมเป็นกลุ่ม ๆ คือ กลุ่มจัดการ กลุ่มทำงานเช่น ดีเจ กับกลุ่มปฏิบัติงาน ตรวจสอบ ดูแล ช่วยเหลือ และการรวมกลุ่มทุกวันนี้เป็นกลุ่มอิสระหรือยัง ถ้ายัง เขาสามารถครอบงำได้แต่ละจุด ๆ ถ้าเป็นอิสระจะก้าวก่ายไม่ได้ ดูแลกันได้ชาวบ้านคือเกาะป้องกันเรา และการจัดเป็นกลุ่ม ๆ ไม่ต้องดูแลไกล แต่ปัจจุบันนี้ต้องส่งถึงองค์กรก่อน ทำให้มีระยะเวลานาน บางเรื่องไปไม่ถึง ไปไม่ทัน เรื่องช้า สรุปคือจัดเป็นแบบกลุ่ม องค์กรที่ถูกต้อง ตรงไหนควรช่วยเหลือ ช่วยเหลือได้

คุณวิชาญ นิยมสัตย์ ผอ. สถานีอินโดจีนเรดิโอคลื่น 88.50 MHz จ.สกลนคร

สื่อต้องเป็นตัวช่วย เราคือครูผู้กว้างขวาง ชี้แนะสิ่งที่ดีงามให้กับสังคม เพราะทุกวันนี้สื่อวุ่นวายมาก บทบาทคืออะไร หน้าที่เราคืออะไร หลายคนไม่รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองเท่าไหร่ สื่อต้องช่วยกัน

คุณอัศวิน มุงคุณคำชาว ผอ. สำนักงาน กสทช. เขต 6 ขอนแก่น

ภาระหน้าที่ค่อนข้างกว้างเนื่องจากรับทั้งโทรคมนาคม และกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ งานที่ทำเป็นแขนงหนึ่งของ กสทช.ภูมิภาค

หลักวิทยุกระจายเสียงมาจากคลื่นความถี่วิทยุเป็นคลื่นใหญ่ แต่ทั้งหมดเหมือนกันทั้งหมด ถูกกำหนดโดย ITU องค์กรระดับโลก ถูกจัดสรรแบ่งปันเป็นช่วง ๆ คือ 87.5 – 108 MHz. จะซอยได้ 81 สถานี แต่ปัจจุบันที่เกิดมาที่ขอนแก่นจังหวัดเดียวประมาณเกือบ 200 แสดงถึงไม่ได้เข้าสู่การจัดสรรจริง ๆ เราเอา Gap ช่องว่างไปใช้งานหมด ปัญหาเกิดเยอะมาก รบกวนกัน เกิดการผสมคลื่นทางเทคนิค ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากส่งในความถี่เดียว เกิดการรบกวนคลื่น จึงเกิดการตรวจสอบและกำกับโดย กสทช. แก้ไข ทักท้วง ปรับปรุงและนำไปปฏิบัติ อยากฝากว่านโยบายหรือกฎกติกาที่ทำอยู่ ถ้านัดทางเทคนิค จับหลักทางเทคนิคมาวิเคราะห์ทำอยู่ จะเพี้ยนไปหมดแล้ว

จุดอ่อนคือทางเทคนิคไม่ผ่านการ Screen คลื่นความถี่ ถ้าทำโดยช่างไม่มีการดำเนินงานความเข้าใจ สายไฟต่าง ๆ ถ้ามองเห็นด้วยการกระจายคลื่นจะเห็นเป็นลำ ทุกแห่งที่ไฟฟ้าวิ่งผ่านจะมีสนามแม่เหล็กควบคู่ไปด้วย

การทำงานนี้อยากเห็นทุกส่วนเดินในเส้นทางที่ฟังซึ่งกันและกันอย่าคิดว่าเป็นคนห้าม หรือกรรมการ อยากให้ปรับความคิดในส่วนที่แก้ไขได้และไม่ได้

คุณฉลาด อาสายุทธ์ ผอ. สำนักงาน กสทช. เขต 8 อุดรธานี

การปฏิบัติงานของภาคตอ./น. มีอะไรที่รับผิดชอบทั้งง่ายและยาก ทำอย่าไรให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงโหมดกติกาที่ต้องเดิน เมื่อไรก็ตามที่ดำเนินการตามกติกา การปฏิบัติงานน่าจะอยู่ที่ทางบวกมากกว่าทางลบ

ผลกระทบที่ลงสู่ระดับท้องถิ่น ชุมชน หมู่บ้าน ประชาชนเท่านั้นที่จะต้องช่วยกัน เราจะต้องดำเนินการอย่างไร การบังคับใช้กฎหมายเป็นหน้าที่หนึ่งที่ต้องทำ ไม่เลือกปฏิบัติ ขอให้เข้าใจซึ่งกันและกัน มีหลักเกณฑ์กติกาภายใต้ความเป็นอยู่ที่เอื้อต่อกัน จะเอื้อต่อประโยชน์ของสังคมและครอบครัว

เจตนาในการดำเนินการไม่ว่าออกอากาศภายใต้กฎเกณฑ์ การส่งเครื่องตรวจสอบทางเทคนิค และสิ่งต่าง ๆ เช่นการรบกวนคลื่น จะแสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานและเป็นไปอย่างถูกต้อง อาทิ การรบกวนคลื่นน่านฟ้าของลาว ต้องมีการตรวจสอบและกำกับ นักบินลาวค่อนข้างหนักใจเมื่อผ่านร้อยเอ็ดและยโสธร ผ่านคลื่นรบกวนเยอะมาก ในฐานะผู้ดูแลกฎหมาย ไม่ว่าอยู่ชุมชน ธุรกิจ สาธารณะ ปัญหาคือการรบกวน ซึ่งทุกคนมองแค่ว่าจะเสียอะไรหรือไม่ถ้าส่งเครื่องตรวจ เช่น ลดหลักเกณฑ์กำลังส่งมา 500 วัตต์ อาจมีการรวมกลุ่มกัน ไม่ต้องแข่งขันกัน อาจมีอนุกรรมการในท้องถิ่น กำกับดูแลในชุมชน ท้องถิ่น พื้นที่ดูแลกันเองจะทำให้ลดปัญหาตรงนี้เพิ่มขึ้น ต้องไม่ปฏิเสธว่ามีกลุ่มที่ไม่เข้าสู่กระบวนการแต่ทำให้ผู้ที่เข้าสู่กระบวนการเจ็บใจ ถูกรังแก แล้วเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องเดินตามกรอบ และถูกเอาเปรียบจากการทำสิ่งที่ถูกต้อง

อยากให้พัฒนาทั้งในด้านรูปแบบ และเส้นทางการประกอบอาชีพ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และไม่เอารัดเอาเปรียบ

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

บางครั้งปัญหาไม่ได้เกิดจากคลื่นรบกวนอย่างเดียว มีคลื่นแทรก จนบางครั้งไม่สามารถใช้คลื่นไหนเป็นคลื่นไหน

คุณศุภกร มอบมิตร วิศวกรบริหารระบบ ศูนย์ควบคุมการบินอุดรธานี บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

เมื่อระบบดิจิตอลเข้ามาอีกไม่นาน ระบบอนาล็อกจะเป็นเหมือนอนุสาวรีย์แทน เช่นจากที่ผ่านมา โทรศัพท์ ทีวี เทปคาสเซ็ท ในอนาล็อกอาจสงวนไว้ใช้ในเรื่องอื่น ๆ

ก่อนปี 40 สถิติการรบกวนน้อยมาก แต่พอหลังปี 40 มีการรบกวนมาก 50-60 ครั้งต่อปี แต่หลังปี 50 ดีขึ้นมากตั้งแต่ กสทช.เข้ามาช่วยกำกับดูแล

คลื่น V ใช้ควบคุมการจราจรทางอากาศเป็นหลัก จะถูกรบกวนเป็นประจำและตลอด ออกอากาศแบบ AM. แต่ FM.เข้ามาได้ตลอด แต่คลื่น U ไม่ค่อยรบกวน

การกวนดูได้จาก Youtube พิมพ์ว่าวิทยุชุมชนรบกวนวิทยุการบิน คราวนี้นักบินอาจขาดสมาธิว่าตกลงหอเรียกหรือดีเจกำลังพูด และที่ร้ายกว่านั้นคือรบกวนวิทยุนำร่อง ซึ่งจะมีร่อง มีเข็มทิศของเขา แต่วิทยุ FM. ไปเบียดจนวิทยุนำร่องเปลี่ยนไป ทำให้บินออกนอกเส้นทางและหลังไปในเขตที่ห้ามบินเป็นต้น

คุณอภิวัน รัชนีกรกานต์ ผอ.สถานีวิทยุบ้านสันติสุข จ.ร้อยเอ็ด

รู้สึกไม่สบายใจที่มีคลื่นรบกวนวิทยุการบินทำให้มีผลกระทบอยากให้รีบบอก กสทช. ให้รีบจัดการได้เลย ไม่เช่นนั้นจะมีผลเสีย

คุณวชิระ พลตื้อ ผอ. สถานีวิทยุทีน เอฟ เอ็ม F.M.89.50 MHzจ.กาฬสินธุ์

การที่บางสถานีส่งเกิน 500 วัตต์ กสทช.จะจัดการอย่างไร และคำว่าเท่าเทียมเช่น อสมท.ใด อสมท.ส่งเป็น 1,000 วัตต์ จะทำอย่างไร และถ้ามีกลุ่มหลุมดำไม่สนใจคลื่น คน เครื่องอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น กสทช.มีวิธีการจัดการอย่างไร

อยากให้กสทช.ช่วยตรวจสอบคลื่นที่มีปัญหาตามมาตรฐาน 5 ข้อ และให้ช่วยแก้ตามรายลักษณ์อักษร

คลื่นไหนมีปัญหาทางเทคนิคให้ช่วยตรวจและช่วยเตือนจะดีมาก

คุณกรกช พงศ์เกตุ ผอ.สถานีวิทยุคนเมืองไทยกันทรารมย์ F.M.103.50 MHz จ.ศรีสะเกษ

คำถามคือ กสทช. สำรวจหรือยังเรื่องคลื่นวิทยุและความเสมอภาคเท่าเทียมกัน จากสถานการณ์ปัจจุบัน และการใช้เสาสูงเกิน 100 ม.ขึ้นไป การส่งออกอากาศใช้เครื่อง 3,000 วัตต์ แต่ กสทช. ใช้ 5,000 วัตต์

อยากให้คลื่นการบินตรวจเช็คและลงรายละเอียดแจ้งกสทช.เพื่อเตือนวิทยุที่รบกวน และให้มีการแก้ไขเป็นครั้งที่ 1 ว่าคลื่นรบกวนคลื่นการบิน รีบแก้ไข ถ้าไม่แก้ไข มาตรการขั้นต่อไปจะดำเนินการอย่างไรได้เลย ต้องแจ้งชาวบ้านให้รู้ เพราะเขาไม่รู้จริง ๆ

กสทช.ต้องทำสำรวจว่ามีกี่สถานีออกอากาศ กี่สถานีที่แจ้งไว้

และใบอนุญาตทดลองออกอากาศจะได้ตอนไหน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ให้หาช่องทางที่เป็นไปได้ เส้นทางแก้ปัญหาไทยมีอุปสรรคเยอะ

คุณอัศวิน มุงคุณคำชาว ผอ. สำนักงาน กสทช. เขต 6 ขอนแก่น

กำลังส่งเกิน 500 วัตต์ กระบวนการคือต้องส่งเอาเครื่องตรวจ ที่เกินคือไม่ได้ตรวจ จริง ๆ แล้วดูแล้วทุกเรื่อง มีหมด การส่งทุกอย่าง กสทช. รับได้ทุกคลื่น อันไหนเถื่อนหรือไม่เถื่อนรับได้หมด

มาตรการที่ทำอยู่ ทุกเรื่องในประเทศไทย ค่อย ๆ เดิน ไม่ใช่สามารถฟันธงได้ และกสทช.จะช่วยพิจารณาทีละเรื่อง ๆ จะพิจารณาว่าจะให้ใครบ้าง และไม่ให้ใครบ้าง ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ที่ทำให้ การให้ต้องค่อย ๆ ทำ ถ้าทำแรงจะกระทบคนดี ดีบ้างหรือดีน้อย

ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับคลื่นความถี่ เสาอากาศ

การรบกวนคลื่นการบินเป็นเรื่องร้ายแรงมาก ค่อนข้างเครียด นโยบายโดยตรงหลุมดำที่ไม่ลงทะเบียนและทำอยู่ตอนนี้ถูกสั่งให้ดำเนินการแล้ว ยิ่งรบกวนคลื่นการบินไม่ต้องรอเลย แต่อาจอยู่ระหว่างการดำเนินการก็ได้ และเมื่อไรที่กระทบต่างประเทศ ไปกวนเครื่องบินเขาเมื่อไร ก็จะจับเลย

การตรวจสอบว่าสถานีใดกวนบ้างแปลกบ้าง กสทช.ออกตรวจทุกอาทิตย์ และมีหนังสือแจ้ง เมื่อไรที่ Error ไม่ค่อยปรับจูนเข้ามา สาเหตุที่อื่น ๆ ไม่กวนเพราะไม่ได้อยู่ในเส้นทางการบิน ไม่ใช่ไม่กวน แต่เห็นกวนจะแจ้งให้รีบปิด รีบจับ แต่คนที่เป็นหลุมดำจะไม่แจ้งแต่จะดำเนินการเลย

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

มีคนตั้งใจทำดีแต่ยังไม่ถูกต้อง อยากปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นให้มีความเข้าใจมากขึ้น ใช้คำว่าหุ้นส่วนประเทศไทย วิทยุกระจายเสียง อย่างที่พระคุณเจ้าแนะนำ ทำอย่างไรที่จะเป็นปากเป็นเสียง

เชื่อว่า กสทช. ถ้าจัดการตามกฎหมายจะง่ายอยู่แล้ว มีคนทำดีแต่ยังไม่ถูกต้องที่จะต้องค่อย ๆ จูงกันไป

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นโยบายนี้เป็นการพัฒนาประเทศและนำไปสู่ความยั่งยืน แล้วจะเหลืออะไรถ้าพลเมืองเป็นคนดี ขอให้เป็นบรรยากาศของคนหวังดีต่อประเทศร่วมกัน ไม่ใช่ประชุมของกสทช.แต่เป็นเรื่องการวิจัย ช่วยให้เสนอแนะสิ่งที่เป็นทางออก ไม่ใช่คนนั้นผิด คนนี้ถูก

นายฉลาด อาสายุทธ์ ผอ.สำนักงานกสทช.เขต 8 อุดรธานี

สถานีดำ แบ่งเป็นดำรอทำความดี ดำครึ่ง ๆ กลาง ๆ และดำไม่ทำอะไรเลย ทุกอย่างรอเข้าสู่กระบวนการบ้าง ได้มีการร้องทุกข์ไว้หมดแล้ว มีการพาดพิงร้อยเอ็ดว่าทำไมร้อยเอ็ดกวน หลักเกณฑ์อย่าเกิน 20 กม. ถูกแล้ว ทำไมต้องเป็นปัญหาที่ร้อยเอ็ด บางครั้งนักบินที่บินผ่านร้อยเอ็ด แต่อาจไม่ใช่ร้อยเอ็ดส่งก็ได้อาจมาจากที่อื่นไกลกว่าที่คาดการณ์ได้

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

วิทยุกระจายเสียงเป็นมาอย่างไร เมื่ออดีตก่อนปี 40 แต่เดิมคลื่นวิทยุมีความสำคัญทำให้เกิดความมั่นคงของประเทศ วิทยุสำคัญถูกจำกัดและควบคุมโดยรัฐ มี Propaganda สร้างความเชื่อให้คนให้ประชาชน แต่ก่อนตั้งสถานีวิทยุได้ด้วยรัฐ ใครจะมีเครื่องรับส่งวิทยุต้องขออนุญาตต่อรัฐโดยกรมไปรษณีย์โทรเลข ถ้าไม่ได้ขออนุญาตก่อนผิดกฎหมายทั้งหมด มีการผ่อนปรนมาก่อน แล้วโลกเจริญขึ้น โลกพัฒนาเร็วขึ้น เทคโนโลยี และสภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป ฝ่ายวิชาการ กฎหมาย เห็นว่าวิทยุเป็นทรัพยากรสำคัญของมนุษย์ คนไทย ชาติ แต่ว่าคลื่นความถี่มีจำกัด ไม่ได้มีเหลือเฟือ คลื่นเป็นทรัพย์ของชาติทุกคนมีสิทธิใช้ได้ การบังคับการใด ๆ ต้องมีบัญญัติเสียก่อน ต้องมีการขอใบอนุญาต ประเทศไหนในเอเชียไม่ใช่ประเทศไหนทำแล้วต้องขอใบอนุญาต ไม่ใช่มีใบอนุญาตแล้วถึงทำได้

ปี 43 คลื่นความถี่ต้องได้รับการจัดสรร และอนุญาตก่อนถึงใช้ได้ การร่างกฎหมาย พรบ.ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงเป็นภาคประชาชนมีส่วนร่วมเยอะเพื่อก่อเกิดวิทยุชุมชนได้ตั้งกทช.กับกสช.ดูแล กสช.ดูแลคลื่นวิทยุ กทช.ดูกิจการวิทยุและโทรทัศน์ กรมประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านตั้งสถานีวิทยุภายใต้กรมประชาสัมพันธ์ มีการขยายตัวให้ไปจัดตั้งเองได้ คลื่นใช้ได้ต้องมีการได้รับอนุญาตและจัดสรรก่อน แผนคลื่นความถี่แห่งชาติเกิดไม่ได้ การแบ่งปันคลื่นไม่มี การยกร่างกฎหมาย และการจัดให้เข้าระบบโดยวิทยุการบินที่รบกวนการนำร่องการบิน พ.ร.บ. 2551 ให้ กทช.ดูแลวิทยุชุมชนชั่วคราว พยายามดูแลแต่ไม่สามารถออกใบอนุญาตได้เนื่องจากแผนกสช.ดูแลไม่เกิด

พ.ร.บ. 51 แยกวิทยุเป็น 3 ประเภท คือ สาธารณะ ธุรกิจ ชุมชน มีการจัดสรรคลื่นตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด มีการประมูล การกำหนดช่องคลื่น วิทยุชุมชนเป็นการพัฒนาจากหอกระจายข่าวให้กลุ่มคนท้องถิ่นมีวิทยุชุมชนเพื่อสื่อสารข้อมูล กฎหมายเองพยายามจำกัดขอบเขตการให้บริการไว้ เช่นวิทยุชุมชนไม่อาจโฆษณาได้ และกำลังส่งต้องไม่แรงนั้นเพราะเป็นของชุมชนนั้น ๆ ไม่ใช่ของสาธารณะที่มีเสาสูง เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งคลื่นและตีคลื่นกัน ทุกคนต้องเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน กฎ กติกา เพื่อเกิดการเคารพซึ่งกันและกันภายใต้กฎหมายที่ถูกต้อง การแจ้งแล้วกสทช.ไม่ดำเนินการผิดกฎหมายตามมาตรา 79 ทุกวันนี้มีการผ่อนปรน ดังนั้นเขาอาจต้องรับผิด

คลื่นในแต่ละจังหวัดจะคนละคลื่น ละแวกเดียวกันจะไม่ให้คลื่นใกล้กันเพราะรบกวน ควรใช้คลื่นจังหวัดใด ตำบลใดควรใช้คลื่นใด ความสูงของเสาต้องเป็นชุมชน เพื่อชุมชน ภายใต้วิทยุชุมชนเกิดได้อย่างไร มีการรับเงินอุดหนุนจากการวิจัยและพัฒนา เป็นสถานีที่ชอบด้วยกฎหมาย มีใบอนุญาตที่ถูกต้อง ที่บอกว่าหลุมดำ ตอนนี้ทุกสถานีผิดกฎหมายหมดยังไม่มีถูกกฎหมาย เพราะไม่มีกฎหมายบอกว่ามีการทดลองประกอบกิจการ เพราะความจริงทุกอย่างต้องมีพร้อมแล้วถึงเปิดคลื่นได้ ไม่ใช่มีเครื่องที่บ้านหม้อแล้วมาตั้งคลื่นเอง คลื่นวิทยุเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่กระจายทั่วไปและทำให้เกิดความอันตรายได้

กสทช.มีเจตนาดีให้อยู่ร่วมเป็นสุข ใบอนุญาตมีวิธีการที่จะทำให้เข้าระบบได้ อยู่ชายแดนไม่ต้องกลัวแจ้งจับ เครื่องที่ถูกกฎหมายจะไม่กระจายคลื่นไปรบกวนคนอื่น แล้วจะได้รับสนับสนุนจากรัฐ รัฐจะสนับสนุนให้ชุมชนอยู่ได้ถ้าทำเพื่อชุมชน ทุกวันนี้คือการพยายามช่วยกันให้เดินไปตามกฎหมาย ถ้าไม่ทำจะมีความผิด ในต่างประเทศไม่ได้คุมขนาดนั้น ต่างประเทศจะรู้ว่าอะไรควรทำและไม่ควรทำ สำนักงานเขตหนึ่งต้องใช้คน 10-20 คน ในการทำหรือไม่ ถ้าทุกคนอยู่ในกรอบของกฎหมาย ช่วยทำตามกรอบของกฎหมายไม่ต้องกลัวว่าเราจะไปรบกวนคนอื่น และคนอื่นมารบกวนเรา

ทุกคนรู้ว่าเราควรทำหรือไม่ควรทำ ทำอย่างไรถึงเข้าระบบได้อย่างถูกต้อง และทำถูกกฎหมาย นำข้อเสนอไปช่วยงานของกสทช.

คุณพิญช์ภูรี พึ่งสำราญ

ที่บอกว่าทำไมบางสถานีส่งได้ 3,000 – 5,000 วัตต์ เพราะอะไร

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

สมัยก่อนกรมประชาสัมพันธ์ให้เสาสูง 30 เมตร กำลังส่ง 30 วัตต์เพื่อให้เฉพาะชุมชน แต่ต่อมาเมื่อสังคมเจริญขึ้น เสาสูง 30 เมตรจากยอดตึก ตราบใดที่ไม่จัดสรรคลื่นความถี่ชัดเจนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้

ในระหว่างมีการผ่อนปรนคลื่นความถี่ ขอให้ช่วยรักษากฎกติกา ไม่รบกวนคลื่นการบินหรือรบกวนทีวีบางช่อง กสทช.พร้อมเป็นพี่เลี้ยงให้ อยากให้มีแผนคลื่นความถี่

คุณธนกฤต รุ่งแสนทวี นายกสมาคมกิจการวิทยุกระจายเสียงท้องถิ่นอุบล และสถานีวิทยุบัดดี้ F.M.88.25 MHz จ.อุบลราชธานี

หลังจากได้ฟังจากคุณสาธิต การประมูลคลื่นเป็นสาระสำคัญ เห็นด้วยกับการประมูลหรือไม่ เห็นด้วยแต่ขอให้แบ่งเป็นประเภท ระดับชาติ หรือภูมิภาค แต่ที่เป็นปัญหาคือผู้ประกอบการวิทยุท้องถิ่น มีการผลักดันไม่ให้เกิดการประมูลเกิดขึ้นสำหรับวิทยุในท้องถิ่น เช่นโฆษณาปิ้งไก่จากชุมชน เท่านั้น กระประมูล ๆ ได้แต่ขอให้แบ่งประเภท

การจัดสรรคลื่นในอนาคต น่าจะมีการแบ่งคลื่น เช่น ฟังธรรมะน่าจะอยู่ในคลื่นช่วงนี้ อยากทำสาธารณะ กฎหมาย น่าจะอยู่ช่วงนี้ อยากทำธุรกิจ ก็อยู่ช่วงนี้เป็นต้น ทำให้เกิดความชัดเจนและได้เสถียรภาพของคนฟังด้วย

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

การประมูลกฎหมายยากอยู่ ในท้องถิ่น การประมูลราคาต้องต่ำ แต่ข้อเสนอที่ทำไปต้องดูสภาพเศรษฐกิจสังคม การแข่งขัน การกำหนดพื้นที่ใช้คลื่นต่าง ๆ แต่เรื่องธุรกิจไม่ประมูลคงเป็นไปไม่ได้ ส่วนสาธารณะ และชุมชนต้องใช้วิธีการจัดสรร

คุณวิชาญ นิยมสัตย์ ผอ.สถานีอินโดจีนเรดิโอคลื่น 88.50 MHz สกลนคร

1.เท็จจริงมากน้อยแค่ไหนที่เครื่องส่งผ่านการตรวจแล้ว กสทช.ขาย 200,000 – 350,000 บาท มาตรฐานเป็นอย่างไร ข้อเท็จจริงแบบไหน เป็นไปได้หรือไม่ที่ไม่ต้องกำหนดเครื่องส่งเกินกว่านี้ 2. กสทช.มีการกำกับการรับรู้การออกอากาศและเนื้อหาหรือไม่

3. จะดูวัดให้ดูฐาน จะดูสมภารให้ดูสมเณรน้อย

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

กสทช.มีหน้าที่อย่างเดียวคือตรวจคลื่นให้เป็นตามมาตรฐานสากลแต่ไม่เกี่ยวกับเรื่องการกำหนดราคา

ดาวเทียม ดูเฉพาะ Uplink ที่มาขออนุญาตเรา การเผยแพร่ผิดกฎหมายอาจว่าไปตามความรับผิดชอบ

อาจารย์เสกสรร นิเทศศาสตร์

น่าจะมีการหางบประมาณหรือกองการวิจัยย่อย ๆ มาพัฒนาบุคลากร อาทิ นักจัดรายการ ความจริงแล้วกสทช.มีหลักสูตรฝึกอบรมนักจัดรายการให้แต่ไม่ทั่วถึง เป็นไปได้ที่เป็นต้นแบบ อาจให้เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ทำ มีการวัดผล 1 ปีเป็นอย่างไร

ช่างวิทยุ ให้ฝึกอบรมของแต่ละสถานีทำเป็นต้นแบบ พัฒนาบุคลากรเรื่องช่างอบรมให้ความรู้ ว่าจะดูแลอย่างไร บำรุงรักษาอย่างไร มีโครงการวิจัยต่อเนื่อง

พัฒนาบุคลากรระดับผอ. เขียนหลักสูตรขึ้นมา

พระฐนกรทษฌพร กนตสีโล วัดป่าหนองสนุ่น อ.ด่านซ้าย จ.เลย

ได้ไปสถานีชุมชนของญาติโยม แต่ของวัดเข้าไม่ได้ ทำไมของวัดโดยตรงไม่แบ่งปันกัน ทำไมไม่เปิดโอกาสให้กันและกันเพราะพระแต่ละองค์ศึกษาธรรมะเหมือนกัน ความรู้อาจออกมาไม่เหมือนกัน ความรู้ได้คนละเท่าไหร่ ความคิดเห็นแตกต่างกันหรือไม่ ถ้าอยากเห็นความแตกต่างก็ต้องร่วมมือกัน เกิดมาทำผิดทุกคน แต่ก่อนผิดต้องตั้งใจก่อน เมื่อตั้งใจแล้วทำให้ถูกเพราะเขาเปิดโอกาสให้เรา เราต้องแบ่งให้คนอื่นบ้างเพื่อความเสมอภาคกัน ตัวเราติดอย่างเดียวคือเอกราช ไม่ว่าพระหรือโยม ถ้าเราพอมีพอใช้เราก็ไม่ต้องวิ่งแสวงหามาก คนที่เป็นดีเจจะมีทุนอุดหนุนเพิ่มหรือไม่ เพราะความชอบที่แตกต่าง สื่อแต่ละสื่อทำให้คนที่อยากฟังเข้ามาฟังอีก สามารถให้คนไม่ชอบมาแสดงความคิดเห็นได้ เปิดโอกาสให้กันและกัน แต่ช่วงเวลาน้อยมาก ถ้าวันนี้เราพร้อมใจกันทำ สิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามจุดต่าง ๆ ที่ร่วมมือกัน ดีมากเลย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อยากสรุปการพัฒนาทุนมนุษย์ หลักแรกคือคุณภาพการเมือง มีคุณธรรมจริยธรรม เชื่อมโยงกับ กสทช.อยู่ มีการผ่องถ่ายให้กับกับดูแล

การศึกษาพื้นฐาน เป็นสังคมที่อ่อนแอ เด็กเป็นวิชาการเยอะ เป็นที่มาของการปฏิรูปประเทศไทย โดยเฉพาะคุณธรรม จริยธรรม เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น

คุณกนกอร สุระดานัย นักจัดรายการสถานีโฮมออนแอร์คลื่น 87.75 MHz จ.อุดรธานี

อยากให้คำนึงถึงบุคลากรในสถานี ไม่ว่าจะเป็นบัตรผู้ประกาศ การแสดงออก โฆษณาสินค้าจุดนี้สามารถแสดงออกได้มากน้อยแค่ไหน ห้ามพูดถึงสถาบันเบื้องบน ห้ามกล่าวอ้างคนที่สามในที่สาธารณะ แต่ปัจจุบันนี้ทุกอย่างรวมอยู่ในสื่อวิทยุทั้งหมด อยากให้ทุกคนมาร่วมกัน

อยากให้เจ้าของสถานีดูแลบุคลากรภายในสถานี สร้างคุณธรรม จริยธรรม จะทำให้ก้าวหน้า

นายฉลาด อาสายุทธ์ ผอ.สำนักงานกสทช.เขต 8 อุดรธานี

การยื่นเอกสาร เขาไม่ให้กสทช.รับ แต่การต่ออายุเขามีช่องทางให้รายละเอียดจะระบุไว้ชัดเจนในเวปไซด์

นายช่วงวิทย์ สิงห์มอ ผอ.สถานีวิทยุเพื่อการสื่อสารเผยแผ่พุทธศาสนา คลื่น 89.50 MHz จ.หนองคาย

สิ่งที่หนองคายเกิดขึ้นเช่น 96.60 ไม่น่าเกิดแต่ก็เกิดไปทับกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น 96.05 MHz ทับประเทศลาว อยากให้กสทช.ตั้งคนใดคนหนึ่งประจำจังหวัด ถ้าเห็นคลื่นแปลกปลอมก็ไปแจ้ง ถ้าเอาจริงครั้งหนึ่งรับรองไม่กล้า เมื่อกฎหมายรองรับแล้วอยากให้เท่าเทียมกันบ้าง ดังนั้นการพัฒนามนุษย์ให้มีความยุติธรรมยาก ถ้าไม่เอาจริง

นายฉลาด อาสายุทธ์ ผอ.สำนักงานกสทช.เขต 8 อุดรธานี

การโป้งไม่มั่นใจว่าโป้งอย่างไร แต่ถ้ามีการร้องเรียนคนนั้นไม่มีสิทธิ์ได้ออกอากาศแน่นอน เว้นแต่ว่าบุคคลนั้นเปลี่ยนที่หรือย้ายจุด

อยู่ระหว่าง 90 วัน ทุกสถานีต้องได้รับการตรวจสอบแน่นอน อย่างกรณีโป้ง ลาวแจ้งมาที่กระทรวงต่างประเทศแล้วมีการตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง

ปัญหาอะไรก็ตามระหว่างประเทศต้องละเอียดและนุ่มนวลที่สุด

การหาแต่ละสถานี เจ้าหน้าที่กสทช.ต้องทำงานตลอด การเกิดความถี่เคลื่อนที่ถ้าพบแล้วไม่รอดกระบวนการแน่นอน

คุณประยูร วรวงศ์วัฒนะ ผอ.สถานีสื่อสัมพันธ์โนนแดง จ.นครราชสีมา

คนทำวิทยุชุมชนได้เพราะใจรักจริง ๆ ได้รายได้อื่นมาจุนเจือเพื่ออยู่รอด ตามความจริงอยู่ไม่ได้จริง ๆ มีเชิญพระมาเทศน์ เชิญหน่วยงานจากโรงพยาบาลมาออก เสนอว่ามูลนิธิฯ น่าจะหารายได้สนับสนุน กสทช.บอกว่าจะมีกองทุนสนับสนุนแต่จะครบปีแล้วไม่มีความคืบหน้า ตั้งใจจะเปลี่ยนเป็นวิทยุธุรกิจแล้ว

อยากให้มีงบประมาณสนับสนุนบ้างเพราะกองทัพเดินด้วยท้อง อยากให้มูลนิธิฯ ช่วยดูแลเรื่องพัฒนาบุคลากรและจุนเจือสถานี

คุณจินดาวรรณ เข็มพล

กสทช.กำลังจัดอบรมผู้ประกาศอยู่ ทุกรุ่นกสทช.จะจ่ายให้คนละ 2000 บาททุกรุ่น เป็นรุ่นสูง กลาง ล่าง

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

กองทุนเกิดได้ต้องมีการประมูลก่อน แล้วเอาเงินมาใส่กองทุน อยากได้งบประมาณโดยไม่ต้องเสียเงิน

คุณวชิระ พลตื้อ ผอ.สถานีวิทยุ ทีน เอฟ เอ็ม F.M.89.50 MHz จ.กาฬสินธุ์

การใช้คำพูดในการจัดรายการ กับการผลิตและการออกอากาศเป็นคนละเรื่องกัน ถ้าเป็นไปได้อยากให้ทางมูลนิธิฯ จัดอบรมการผลิตและการจัดรายการ ผลิตและจัดรายการอย่างไรเน้นคุณธรรม จริยธรรม ทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

คุณธนกฤต รุ่งแสงทวี จ.อุบลราชธานี

หลักของความเป็นจริง วิทยุชุมชนสร้างความปรองดองคนในชาติ การกำกับดูแลกันเองเป็นเรื่องสำคัญที่สุด แม้มีการกำกับดูแล กสทช.เกิดมาเดือนกว่า แต่ถามว่าถูกจุดหรือไม่ ถูกแต่ไม่ทั้งหมด เพราะองค์กรที่เข้ามาดำเนินการจะได้ผลหรือไม่

การกำกับดูแลกันเองสอดคล้องกับคลื่นที่รบกวนกันอยู่ แต่ปัจจุบันปล่อยเป็นช่องว่าง กสทช.ทำไมไม่ตั้งคนมาดูแลคน เพื่อกำกับดูแลในระดับชาติ

คุณอภิชาต แสงสว่าง ผอ.สถานีวิทยุบุ่งเรดิโอ 90.75 MHz จ.อำนาจเจริญ

ทำคลื่นมาแล้วปี 47 ปัญหาที่เป็นมานานคือคลื่นทับซ้อน ที่บอกว่าวิทยุไม่ถูกกฎหมายเลยไม่น่าจะใช่เพราะจ่ายเงินไปแล้วหมื่นกว่าบาท และกำลังจ่ายต่ออายุอีก หมื่นกว่าบาท เป็นไปได้หรือไม่การตรวจเครื่องส่ง ตรวจอย่างไรก็ไม่ผ่าน ยกเว้นซื้อเครื่องกสทช.เลย เป็นไปได้หรือไม่มีอุปกรณ์ตรวจคลื่นสำหรับ กสทช.แต่ละเขต สถานีแต่ละสถานีจะได้ไปตรวจได้ง่ายขึ้น

คุณอัศวิน มุงคุณคำชาว ผอ. สำนักงาน กสทช. เขต 6 ขอนแก่น

สำนักงาน กสทช.ไม่เคยทำเครื่องและไม่เคยการันตีเครื่องยี่ห้อไหนไปตรวจ ถึงให้มหาวิทยาลัยหรือเอกชนดำเนินการ

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

ใบอนุญาตไม่เห็นด้วยเพราะความจริงแล้วคลื่นยังไม่ได้รับการจัดสรร แต่ที่ออกใบอนุญาตไปเพื่อให้คลื่นเข้าสู่ระบบ และเครื่องผ่านการตรวจสอบ แต่เครื่องที่ซื้อจากบ้านหม้อ ไม่ได้ทำขึ้นมาเพื่อกันสัญญาณรบกวน แล้วที่กำลังมีเครื่องที่ได้รับมาตรฐานน่าจะมี เครื่องต้องส่งให้ Lab ตรวจ

คุณธนกฤต รุ่งแสงทวี จ.อุบลราชธานี

เครื่องส่งทั่วไปซื้อ RVR จากอิตาลีแต่ตรวจไม่ผ่าน ไม่ได้ซื้อเครื่องบ้านหม้อ แต่ทำไมตรวจไม่ผ่าน

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

แสดงว่าไม่มีใบรับรองที่ถูกต้อง ถ้ามาถูกต้องเครื่องต้องตรวจผ่าน ถ้าผ่านกรมศุลกากร ตรวจได้

คุณวรวุฒิ โตมอญ

ที่พูดส่วนใหญ่เกี่ยวกับ กสทช. สิ่งที่ขาดคือคุณผู้ฟัง คือในเรื่องสิทธิ และหน้าที่ ความรู้ ในการบริหารจัดการ ประกอบกิจการ ผลิตรายการวิทยุมีครบหรือไม่ จำเป็นต้องมีองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและได้เกณฑ์มาตรฐานทำให้การบริหารจัดการและวางแผนไปถึงกลุ่มผู้ฟังให้เกิดประโยชน์แท้จริง มีเวลากี่เปอร์เซ็นให้ภาคส่วนต่าง ๆ เครื่องมีทั้งที่มีมาตรฐานมีกระบวนการตรวจสอบมีทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย เรามีความรู้เกี่ยวกับคลื่นมากน้อยแค่ไหนที่ส่งผลต่อสุขภาพและอนามัย

การสร้างเครือข่าย มีสมาคม สมาพันธุ์ ดูแลกันเอง การควบคุมและดูแลกันเอง เป็นจิ๊กซอว์ที่ต่อไม่ติดถ้ารวมตัวได้เป็นมาตรฐานของประเทศ ถ้าใช้กติกาเดียวกันและควบคุมกันเองได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ภาครัฐ ถ้าเครือข่าย ชมรม สมาคม ดูแลตั้งเป็นกฎ กติกา กลางดูแลกันเองในพื้นที่แต่ต้องใช้ระยะเวลาระยะหนึ่งในการรวมตัวกัน

การกำกับเป็นปัจจัยที่เกิดในท้องถิ่นแต่ยังไม่ได้นำมาใช้ ชุมชนไหนตั้งเสาขึ้นมาขออนุญาตท้องถิ่นหรือยัง เสาสูงเป็นอันตราย และเป็นตามมาตรฐานอะไร โยธา ภาษีโรงเรือนเป็นตามกฎหมายหรือไม่ คนตั้งเสาอยู่ภายใต้แพทย์และพาณิชย์หรือไม่ กฎหมายมีอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้นำมามีส่วนร่วมในการกำกับดูแล ปราชญ์ท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน มีการตั้งเป็นกรรมการของสถานีหรือไม่ ไม่ใช่ข้อจำกัดแต่เป็นโอกาสสร้างคุณค่าของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนนั้น ๆ เรื่องกฎระเบียบ ทำอย่างไรให้เกิดการประสานงานกันได้

คุณชัยพร เหมะ

ประเด็นที่สำคัญที่สามารถสรุปให้พวกเราฟังคือยังขาดเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ถ้ามีสิ่งนี้ กฎระเบียบอาจไม่มีความจำเป็นด้วยซ้ำ ทรัพยากรมีจำกัดเราถึงแย่งกันใช้ ในฐานะที่เรามาสร้างความรู้ด้วยกัน เพื่อนำไปสู่บทวิจัย คิดว่าการพัฒนาบุคลากรในภาคส่วน ถ้าพวกเราสามารถพัฒนาขีดความสามารถกันเองได้ กสทช.จะไม่ยุ่งกับสถานีอีก

คลื่นทับซ้อนมีทางแก้หรือไม่ อาจยุบรวมเป็นคลื่นเดียวกัน แล้วแบ่งสรรเวลากัน ถ้ามีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม จะช่วยแก้ปัญหาได้เยอะ

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

สรุปประเด็นได้

1. มีปัญหาพัฒนาคนไม่เพียงพอ

2. ขาดมาตรฐาน

3. ขาดความรู้ ความเข้าใจ

4. ขาดคุณธรรม จริยธรรม

วิทยุกระจายเสียงที่ตรงกับความต้องการอะไรได้รับความชื่นชมว่าดร.จีระ เป็นเจ้าพ่อพัฒนาทุนมนุษย์

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขาดผู้ฟัง ผู้นำท้องถิ่น แต่ตัวละครอื่น ๆ ครบ ความสนใจในเรื่องนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ความสำเร็จไม่ได้จบ Research แล้วขึ้นหิ้ง ถ้ามี Phase 2 ,3 ,4 ปรับคนในสาขาวิทยุต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต้องมีแผนพัฒนาบุคลากรหรือแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใส่ไปด้วย บางเรื่องทำ Training Need พัฒนาคู่ขนานกันไป Phase 2 คนในห้องนี้จะมาเป็นแกนนำที่มาช่วยกัน

การคิดลึกและคิดกว้างคือปัจจัยแห่งความสำเร็จของวันนี้ ไม่ได้ทำให้ประชาชนในสังคมของเรามีคุณภาพเพิ่มขึ้นด้วย ถ้าผิดเรื่องกฎหมายและทำอย่างอื่นให้ถูกต้องไม่สามารถเป็นองค์กรที่ตั้งโดยรัฐธรรมนูญได้ ต้องมีการพัฒนาคน มีตัวละคร กสทช. ข้าราชการ ผู้นำท้องถิ่นจะดีขึ้น ผลประกอบการในเรื่ององค์กรที่ทำจะได้ประโยชน์ ลูกค้าประชาชนได้ประโยชน์จริงหรือไม่

ถ้าจะทำเรื่องพัฒนาคนเราต้องกลับมา Back to basic เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด สละความสำคัญ

เมื่อได้หลักการและเหตุผลแล้ว Key คือทุกคนเห็นด้วย เมื่อเราเสนอไปที่กสทช.แล้ว มูลนิธิฯ จะได้ทำต่อหรือไม่ ทุกคนในห้องคือเจ้าของแนวคิดอันนี้ ดร.จีระเป็นเพียงนำสู่การปฏิบัติให้ได้

อีสานเป็นดินแดนที่น่าสนใจ ถ้ามีแรงบันดาลใจให้กระตุ้นแสดงความคิดเห็นกัน มีส่วนร่วม สิ่งที่ได้รับในวันนี้จะได้รับการนำเสนอไปที่กสทช.

ยกเว้นการใช้วิทยุเพื่อปลุกระดม โฆษณาชวนเชื่อ และค่านิยมที่ผิด ๆ

 
Home > Articles > การศึกษา > โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8611941

facebook

Twitter


บทความเก่า