Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > KM วันละคำ : ๖๒๕. วิธีนำ Tacit Knowledge มาใช้งาน

KM วันละคำ : ๖๒๕. วิธีนำ Tacit Knowledge มาใช้งาน

พิมพ์ PDF

ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว    ที่คุณหมอสมศักดิ์ชวนทีมเขียนหนังสือ Tacit Knowledge ที่ร่วมกันเขียนร่างแรกเสร็จ มาร่วมประชุม เพื่อปรับปรุงต้นฉบับหนังสือ    ซึ่งจะนำเสนอวิธีการนำ TK มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนานโยบายและระบบสุขภาพ

ผมตีความง่ายๆว่า TK อยู่ในกลุ่มคนทำงานที่ประสบความสำเร็จ ที่เรียกว่า Success Story    ดังนั้นหากต้องการบรรลุผลงานเรื่องใด    ให้นำกลุ่มคนที่มี micro success ในเรื่องนั้น     มาตั้งวง ลปรร. กัน ที่เรียกว่า SSS – Success Story Sharing

เมื่อ ลปรร. เรื่องราวของความสำเร็จ    แล้วนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานเพื่อมุ่งสร้าง ความสำเร็จตามเป้าหมาย    แล้วเอาผลงานวนกลับมา ลปรร. กันอีก เป็นวงจรเรื่อยไป    ก็เท่ากับเป็นการใช้พลังของ TK

นพ. ยงยุทธ พงษ์สุภาพ ซึ่งทำงานอยู่ที่ สปสช. เขียนเล่าเรื่องการจัดการเรียนรู้ ที่ท่านเรียกว่า CBL – Context-Based Learning เพื่อให้เจ้าหน้าที่ระดับปฐมภูมิของระบบบริการสุขภาพ (รพสต.) เรียนรู้เพื่อพัฒนา สมรรถนะในการทำงานในบริบทของหน่วยงานของตน    เน้นที่การเรียนรู้คุณค่า และสร้างความมั่นใจ ในการทำหน้าที่    ซึ่งผมอยากเรียกว่า Values-Based Learning    และผมเชื่อว่า เป็นการเรียนรู้บนฐานของ TK เป็นหลัก หรือเน้น TK มากกว่า EK (Explicit Knowledge)

เจ้าหน้าที่ของ รพสต. นี้ ยังหมุนเวียนไปทำงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ให้บริการวิชาชีพเดียวกัน หรือต่างวิชาชีพ ในโรงพยาบาลอำเภอด้วย    ผมมีความเชื่อมานานแล้วว่า เมื่อไรก็ตามมีการหมุนเกลียวความรู้ ผ่านพรมแดน (border)     ไม่ว่าพรมแดนแบบใด TK จะถูกแบ่งปัน และยกระดับ    CBL จึงเป็นกุศโลบายนำ TK มาใช้งานอย่างแยบยล

เรื่องการใช้งาน TK นี้ มีความท้าทายมาก    ว่าจะได้รับการยอมรับแค่ไหน    เพราะโลกความรู้ของเรา พัฒนาขึ้นบนฐานของ EK ที่เน้น evidence-based    จึงมักเกิดคำถามว่า EK ที่เราพูดถึง มีความแม่นยำน่าเชื่อถือ แค่ไหน    ซึ่งก็คือประเด็นการตรวจสอบความถูกต้องน่าเชื่อถือ (validation) ของ TK

ร่างต้นฉบับเขียนถึง TK validation ว่ามี ๔ แบบ    ซึ่ง ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด บอกว่า ตามปกติเราไม่ validate แต่เรา acknowledge และ appreciate   แต่ผมมีความเห็นว่า เราทำ micro-validation หรือ embedded validation ผ่านการตรวจสอบผลของการใช้ความรู้นั้น    โดยอาจใช้เวลาในเสี้ยววินาที เราก็รู้แล้วว่า เราต้องปรับ การใช้ TK นั้นอย่างไร     คือเป็นการปรับให้เข้ากับบริบทสถานการณ์ของงานในขณะนั้น

ในการประชุมนี้ ผมได้แนวคิดว่า โลกเราถูกครอบงำโดยจารีตของ EK    เมื่อนำ TK มาใช้ หากเราหลงใช้ กระบวนทัศน์ จารีต และแนวทางของ EK ก็จะผิดฝาผิดตัว     ไม่เกิดผลดี

ในการนำ TK มาใช้ประโยชน์ เราจึงต้องสร้างจารีตของ TK ขึ้นมาคู่ขนาน และ synergy กับจารีตของ EK

วิธีนำ TK มาใช้งานให้เกิดพลัง    ต้องรู้จักใช้ EK เข้ามาหนุน    และต้องระวังอย่าให้จารีต EK เข้ามาปิดกั้น

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ก.พ. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 02 มีนาคม 2014 เวลา 13:42 น.  
Home > Articles > การศึกษา > KM วันละคำ : ๖๒๕. วิธีนำ Tacit Knowledge มาใช้งาน

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5610
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8633426

facebook

Twitter


บทความเก่า