Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๓. การพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนรู้

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๓. การพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนรู้

พิมพ์ PDF

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๓. การพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนรู้

ผมร่วมคณะศึกษาดูงานของสถาบันคลังสมอง ไปสหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ ๘ ๑๓ ก.ย. ๕๖   โดยมีเป้าหมายในใจว่า ต้องการไปดูว่าการทำหน้าที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัยของอังกฤษ ต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลง อย่างไรบ้าง เพราะอะไร เขามีการจัดระบบการทำงานอย่างไร

ไปเห็นรูปธรรมของขบวนการพัฒนาอาจารย์ ด้านการเรียนการสอน และสนับสนุนการเรียนรู้  โดย

· การจัดตั้ง HEA เป็นองค์กรอิสระขึ้นมาทำหน้าที่ขับเคลื่อน

· HEA ร่วมกับภาคี สร้างเครื่องมือ UKPSF ขึ้นมาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน   โดยไม่บังคับ แต่ชักชวน และสร้างคุณค่าของการเป็น Fellow ของ HE Academy    Fellowship มีอายุ ๓ ปี และมี ๔ ระดับ    สะท้อนหลักการว่า อาจารย์ต้องเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

· มหาวิทยาลัยจัด Workshop ฝึกอาจารย์ใหม่ ให้มีทักษะในการจัดการเรียนการสอน การสนับสนุนการเรียนรู้ และการประเมิน   เพื่อช่วยให้อาจารย์เข้าเป็น Fellow ของ HE Academy ได้   และมีหน่วยงานช่วยเหลืออาจารย์ที่สนใจยกระดับของการเป็น Fellow ขึ้นสู่ระดับที่สูงขึ้น (มี ๔ ระดับ จากขั้นต่ำสู่ขั้นสูง คือ Associate Fellow, Fellow, Senior Fellow, และ Principal Fellow)

· มีหลักสูตรประกาศนียบัตร และปริญญาโท ด้านการเรียนการสอน ที่มหาวิทยาลัย แอสตัน จัดโดย CLIPP (Centre for Learning Innovation & Professional Practice)    ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่พัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอนโดยเฉพาะ

· มหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด มีOxford Learning Institute ทำหน้าที่พัฒนาทักษะด้านการเรียนการสอน และการสนับสนุนการเรียนรู้    ให้แก่อาจารย์ และแก่นักศึกษา    โดยหลักสูตรและกิจกรรมของเขาจัดให้เหมาะแก่สถานการณ์ หรือบริบท ของมหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด

· มหาวิทยาลัย นอร์ธแทมตัน ระบุไว้ใน KPI ด้าน Intellectual Resource ตัวหนึ่ง   ว่าดูที่ร้อยละของอาจารย์ที่มีคุณวุฒิด้านการเรียนการสอน (% of Academics with formal or accredited teaching qualifications)   แต่เขาไม่ได้เล่า ว่าเขาช่วยเหลืออาจารย์ให้ได้คุณวุฒิเหล่านั้นอย่างไร

เราไปดูงานเพียง ๔ มหาวิทยาลัย และบางมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ดูเรื่องการพัฒนาอาจารย์    แต่ผมเดาว่า ในสหราชอาณาจักร มีกระแสรุนแรงมาก ในเรื่องการพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน    เพื่อให้อาจารย์จัด การเรียนการสอนแบบใหม่ ที่เน้น Active Learning   ไม่เน้นการสอนแบบบรรยายอย่างแต่ก่อน    เพื่อประโยชน์ของนักศึกษา    และได้ทราบว่า กระแสต่อต้านการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ไม่น้อย    ซึ่งก็เป็นธรรมดาโลก

มีเอกสารแนะนำอาจารย์ใหม่ เผยแพร่โดย University of Wales น่าอ่านมาก อ่านได้ที่นี่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๗ ก.ย. ๕๖  ปรับปรุง ๒๘ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 22:24 น.  
Home > Articles > การศึกษา > มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๓. การพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนรู้

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8629642

facebook

Twitter


บทความเก่า