Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ห้องเรียนกลับทางภาคปฏิบัติ (2)

ห้องเรียนกลับทางภาคปฏิบัติ (2)

พิมพ์ PDF
กำหนดกติกาเพิ่มให้แต่ละกลุ่มถามคำถามเพื่อนกลุ่มละ 1 คำถาม เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ... คำถามเดียวเท่านั้น นั่นแปลว่าเขาต้องช่วยกันคิดคำถาม

ห้องเรียนกลับทางภาคปฏิบัติ (2)

ห้องเรียนกลับทาง ครูหลังห้อง (2)

ดร.วัฒนา รัตนพรหม รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและวิเทศสัมพันธ์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

………………..

ในการเรียนวิชาที่ผมสอน ช่วงแรกจะเน้นเรื่องหลักสูตร หลักสูตรแกนกลาง และหลักสูตรสถานศึกษา แต่หลังสอบกลางภาคแล้ว (สัปดาห์ที่ 10) ผมจะลงรายละเอียดในหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  โดยให้แต่ละกลุ่มปฏิบัติ “ภารกิจเกาะติดโรงเรียน” เพื่อไปเรียนรู้จากของจริงในสถานที่จริงด้วยตนเอง ในประเด็น “จากมาตรฐานการเรียนรู้สู่ชั้นเรียน” โดยก่อนไปที่โรงเรียนให้มาช่วยกันวางกรอบในเรื่องที่จะทำการศึกษา  โดยเฉพาะประเด็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูที่โรงเรียนเขาทำกันอย่างไร การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design) ในโรงเรียนทำกันอย่างไร การกำหนดสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมเป็นอย่างไร สาระการเรียนรู้เพิ่มเติมนั้นคืออะไร เพราะเหตุใด และปัญหาอุปสรรค์ในการจัดการเรียนการสอน  ซึ่งแต่ละกลุ่มก็ช่วยกันเตรียมคำถามเพื่อไปสัมภาษณ์ครูที่โรงเรียน

จากนั้นในสัปดาห์ที่ 11 ผมก็อนุญาตให้นักศึกษา “ไม่ต้องเข้าชั้นเรียน” ให้ไป “เรียนรู้นอกสถานที่”ในโรงเรียนที่เลือก เป็นการทะลายกำแพงห้องเรียน 5402 ออกไปสู่โลกความเป็นจริง ... ใครหละจะพูดเรื่องโรงเรียนได้ดีเท่ากับครูในโรงเรียน  .... ผมใช้เวลาอีก สัปดาห์ (12 -14) สำหรับการนำเสนอผลงาน กลุ่ม บรรยากาศสนุกสนานกลับมาอีกครั้ง แต่ละกลุ่มพร้อมจะโชว์เพาว์ของกลุ่มตัวเอง ครั้งนี้ผมกำหนดกติกาเพิ่มให้แต่ละกลุ่มถามคำถามเพื่อกลุ่มละ คำถาม เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ... คำถามเดียวเท่านั้น นั่นแปลว่าเขาต้องช่วยกันคิดคำถาม บางกลุ่มคิดไม่ออกสักคำถาม บางกลุ่มมีมากกว่า คำถาม แต่ถูกบังคับแค่ คำถามเลยต้องคุยกันว่าจะถามอะไรดี   ซึ่งผมพบว่านักศึกษาตั้งคำถามได้แต่ไม่ดีต้องคอยช่วยปรับคำถามให้เป็นคำถามที่นำไปสู่การเรียนรู้ (Essential Question) มากขึ้น

ผมเสียดายศักยภาพของนักศึกษาเหล่านี้เขาไม่ได้ถูกฝึกในเรื่องการ “คิดเชิงระบบ” ทำให้เขาตันในการตั้งคำถาม จังหวะนี้ผมก็เสริมและช่วยเขาตั้งคำถามจากสิ่งที่เขาพูดออกมา  กว่าจะได้คำถามแต่ละข้อก็ลุ้นกันแทบแย่ เพราะผมพยายามกระตุ้นให้กลุ่มพูดออกมา และจัดทำให้เป็นคำถาม ต้อง “ด้นสด” อีกแล้ว  ... และดูว่าจะไม่เวิร์ค เลยสลับกับการถามนำ แล้วให้แต่ละกลุ่มตอบ รวมถึงเจ้าของเรื่องด้วย

… มีคำถามน่าคิดคำถามหนึ่งถามว่า ทำไมอาจารย์จำได้ว่าเพื่อนนำเสนออะไร แล้วทำไมเขาจำไม่ได้ ผมตอบเขาไปว่าเพราะผม “ฟัง” แต่เขา “เพียงแต่ได้ยิน” นั่นแปลว่าถ้าได้ยินแล้วคิดตามเขาก็จะ “ฟัง” และเขาก็จะจำได้ว่าเพื่อนเขานำเสนออะไร  ผมจำเป็นต้องฟังอย่างตั้งใจ เพราะสิ่งที่นักศึกษานำเสนอมาไม่ได้ถูกทุกเรื่อง  ซึ่งผมต้องใช้โอกาสเหล่านี้แหละเชื่อมโยงไปสู่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การ “ฟัง” จึงเป็นการสร้าง พื้นที่ปลอดภัย” ให้กับนักศึกษาผู้นำเสนอ  ทำให้เขาสามารถนำเสนอสิ่งที่สัมผัสจากโรงเรียนได้ทั้งสิ่งที่และสิ่งที่ไม่ถูก

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้าย (15) ของการเรียนการสอนในวิชานี้ ผมสรุปประเด็นการเรียนรู้จาก “ภารกิจเกาะติดโรงเรียน” เชื่อมโยงให้นักศึกษาเห็นภาพเรื่องการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรสถานศึกษา มาตรฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และอื่นๆ  สิ่งที่ผมสรุปให้นักศึกษานั้นวันนี้อาจไม่จำเป็นสำหรับเขาบางคนอีกแล้ว เพราะผมสังเกตเห็นว่าขณะที่ผมพูดมีหลายคนรู้ว่าผมจะพูดอะไร ... แต่บางคนอาจต้องการ

จากประสบการณ์ห้องเรียนกลับทาง ครูหลังห้องของผมครั้งนี้ ผมมีข้อสังเกตอยู่ ประการ คือ

1) โดยปกติเราจะคุ้นเคยกับการสอนหรือการเรียนรู้เชิงเส้นตรง (Linear Learning) เป็นลำดับจากง่ายไปยาก จากใกล้ตัวไปไกลตัว จากก่อนไปหลัง เป็นต้น แต่ในการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ ทำให้การเรียนรู้ไม่เป็นลำดับ (None Linear Learning) อีกต่อไป ขอบข่ายสาระ (Scope) และ ลำดับการเรียนรู้ (Sequence) ถูกรบกวนอย่างมีนัยสำคัญ แต่โลกมันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เห็นคำสำคัญ (Keyword) ที่นักศึกษานำเสนอตรงไหนก็จะชี้ประเด็น ตั้งคำถาม และร่วมกันอภิปราย  ทำให้สิ่งที่ง่ายกว่าถูกอธิบายไปพร้อมกับสิ่งที่ยากกว่า โดยไม่ต้องรอให้เข้าใจสิ่งที่ง่ายก่อน  ติดขัดตรงไหนก็ online ได้ทันที

2) ข้อสังเกตหนึ่งที่น่ากังวลคือผลการนำเสนอทุกโรงเรียนกำหนดสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมไม่แตกต่างจากสาระ การเรียนรู้ปกติ ...ถ้ามันเหมือนกับสาระการเรียนรู้ปกติแล้วจะเรียกว่าสาระเพิ่มเติมได้อย่างไร ...จริงอยู่ผู้เรียนอาจมีปัญหาไม่บรรลุตัวชี้วัดที่กำหนดตามหลักสูตร  ทางโรงเรียนจัดรายวิชาซ่อมเสริมเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด แต่เราคงไม่เรียกรายวิชาซ่อมเสริมเหล่านั้นว่า “สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม” ... ผมไม่รู้ว่าครูที่ให้สัมภาษณ์เข้าใจผิดคิดว่ารายวิชาซ่อมเสริมคือสาระเพิ่มเติมหรือไม่ ...นั่นหมายถึงสัญญาณอันตรายของระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง ...แต่ที่แน่ๆ นักศึกษาผมไม่รู้สึกถึงความผิดปกตินี้ทั้งๆ ที่จำนิยามของสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมได้ดี ... L

เรื่องราวที่ผมเล่ามาทั้งหมดนี้ผมคงไม่ได้บอกว่าผมทำได้ดี หรือนี้คือสิ่งที่ดี จากการเปลี่ยนบทบาทตัวเองที่เคยเป็นจ้าวพิธีกรรม มาเป็นผู้ฟังและชวนคิด เชื่อมโยงสิ่งที่นักศึกษาค้นหามาเป็นท่อนๆ ให้เป็นเรื่องราวที่ต้องเรียนรู้ ... จากข้อสังเกต 1) อาจไม่ยุติธรรมเลยถ้าผมยังคงใช้ข้อสอบเดิมตามที่เตรียมเอาไว้ เพราะผมไม่ได้สอนเขาแบบนั้นแล้ว คาดหวังว่าเขาคงไปอ่านเองก็ผมคงได้แต่นึกเอาเอง  ผมรู้ว่าข้อสอบที่ผมกำลังนั่งออกอยู่นี้มันเป็นแบบเดิมไม่ได้ ผมต้องออกข้อสอบใหม่โดยนำประเด็นคำถามที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนมาดัดแปลงให้เป็นข้อสอบ มันจึงจะยุติธรรมกับเขา เพราะสิ่งที่นักศึกษาเขาเรียนรู้มาเป็นการเรียนรู้เชิงหลักคิด และเราก็ใช้เวลาหมดไปกับการอภิปรายหลักคิดนั้นๆ แต่ในขณะที่รายละเอียดของเนื้อหาวิชาที่เขา “น่าจะรู้” ก็พลาดโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย ผมคงต้องเลือกแล้วหละว่า ระหว่างจ้าวพิธีกรรม กับ ครูหลังห้อง ในแบบห้องเรียนกลับทาง ผมจะเอาแบบไหน ... แต่จากที่ผมเล่ามาทั้งหมดทุกท่านคงจะทราบแล้วว่าผมเลือกแบบไหน ...

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 23:15 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ห้องเรียนกลับทางภาคปฏิบัติ (2)

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8629041

facebook

Twitter


บทความเก่า