Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๑๐. ดูเขา แล้วย้อนดูเรา

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๑๐. ดูเขา แล้วย้อนดูเรา

พิมพ์ PDF

ผมตั้งใจเขียนบันทึกชุดเดินทางไปดูงานที่อังกฤษ ๑๐ บันทึกนี้ ด้วยการตีความอย่างสุดๆ    ไม่เขียนแบบบันทึกการดูงาน    ซึ่งเมื่ออ่านทบทวนบันทึกที่ ๑ - ๙ แล้ว    ก็พบว่าได้ “ย้อนดูตัว” ไปมากมายแล้ว     ในลักษณะรำพึงรำพัน    ซึ่งแน่นอนว่า มีความคิดที่ปนอคติส่วนตัวออกมาด้วย    กล่าวอย่างนี้แปลว่า ไม่รับรองความถูกต้อง

 

ข้อแตกต่างกันมากระหว่างอังกฤษกับไทย ในเรื่องระบบอุดมศึกษา    แตกต่างกันอย่างฟ้ากับดิน  หรือคนละกระบวนทัศน์   คือระบบการจัดการอุดมศึกษา ของเขารัฐบาลคิดเรื่องใหญ่ๆ เป้าหมายใหญ่ๆ ระยะยาว  ว่าจะต้องการให้อุดมศึกษาทำประโยชน์ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรให้แก่สังคม   แล้วเขาก็สร้าง เงื่อนไขต่างๆ (เช่นออกกฎหมายเปลี่ยนระบบการเงิน)    เพื่อให้อุดมศึกษาหาวิธีสนอง    โดยแต่ละสถาบัน ทำแตกต่างกัน   เพราะแต่ละสถาบันมีประวัติความเป็นมา จุดแข็งจุดอ่อนแตกต่างกัน    เขาบริหารระบบ โดยบอกเป้า และสร้างเงื่อนไขที่แตกต่าง    แล้วปล่อยให้สถาบันอุดมศึกษาหาวิธีปรับตัวเอาเอง    ไม่กำหนดรายละเอียดของขั้นตอนการทำงาน อย่างของประเทศไทย

 

อังกฤษจัดการระบบอุดมศึกษาแบบ Complex Adaptive Systems    ในขณะที่ไทยจัดการแบบ Simple & Linear System

 

อังกฤษใช้ยุทธศาสตร์จัดการเปลี่ยนแปลงระบบแบบ empowerment   ในขณะที่ไทยใช้ยุทธศาสตร์ top-down, command and control   ซึ่งได้ผลในการสร้างการเปลี่ยนแปลงต่างกัน    และสร้างอารมณ์คนละแบบในกลุ่ม ผู้ที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (หรือถูกเปลี่ยนแปลง)    ในแบบอังกฤษ จะมี prime mover หรือ change agent จำนวน หนึ่ง จากทุกระดับการทำงาน   ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำดำเนินการเปลี่ยนแปลง    หรือจริงๆ แล้ว เขาอาจทำแนวนั้น มาก่อนแล้ว แต่ไม่มีคนเห็น   แต่ในระบบใหม่ เขาจะกลายป็นดาราขึ้นมาทันที   คนเหล่านี้จะมีพลังมาก ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

 

ไทยเราใช้ยุทธศาสตร์ผู้มีอำนาจกำหนดรายละเอียดแบบพิมพ์เขียวในการสร้างบ้าน (ผมเพิ่งพบว่า นายกรัฐมนตรี และคนในรัฐบาลชอบพูดคำว่า blueprint)   ทั้งๆ ที่ในการเปลี่ยนแปลงระบบที่ซับซ้อน ไม่มีทางเขียนพิมพ์เขียวได้    ในแนวทางนี้ “ดารา” คือผู้มีอำนาจ   คือนักการเมือง และข้าราชการระดับสูง    คนในระดับผู้ปฏิบัติไม่มีโอกาสเป็นดารา

 

ผมมีความเชื่อ (โดยไม่รู้ว่าเชื่อถูก หรือเชื่อผิด) ว่าคนเรามีความสร้างสรรค์อยู่ในตัวทุกคน   และความสร้างสรรค์นั้นจะออกมาทำคุณประโยชน์ หากมีโอกาส หรือมีการให้โอกาส (empowerment)    ในสังคมที่ความสัมพันธ์ในสังคมมีความเท่าเทียมกันสูง    หรือเป็นสังคมแนวระนาบ   โอกาสที่คนจะทำงาน สร้างสรรค์ให้แก่สังคมจะมาก

 

แต่ในทางตรงกันข้าม สังคมแนวดิ่ง เน้นใช้อำนาจสั่งการในรายละเอียด    โอกาสที่คนจะทำงาน สร้างสรรค์ให้แก่สังคมจะน้อย

 

คณะไปศึกษาดูงานมีเป้าหมายไปศึกษา ๒ เรื่อง    คือเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอน   กับการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการสังคมให้แก่นักศึกษา    ซึ่งผมตีความว่า ทั้งสองเรื่องเป็นเรื่องเดียวกัน    คือการทำหน้าที่อุดมศึกษา เพื่อสร้างคุณค่าในมิติใหม่ๆ ให้แก่นักศึกษา     ซึ่งก็คือการดึงศักยภาพในการ สร้างสรรค์ออกมา ทั้งเพื่อทำธุรกิจเพื่อกำไรเป็นเงิน และผลประโยชน์แบบอื่น เพื่อประโยชน์ตน   และเพื่อทำธุรกิจ ที่มีเป้าหมายเพื่อสังคมที่ดีขึ้น

 

การสร้างคุณค่าดังกล่าวแก่นักศึกษา ทำไม่ได้โดยวิธีสอนที่อาจารย์สอนวิชาแบบเก่า    แต่ทำได้โดยอาจารย์เปลี่ยนมาทำหน้าที่ตามกรอบมาตรฐานการทำหน้าที่อาจารย์(PSF) ในบันทึกแรกของชุดนี้

 

ที่จริงสังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดกว้าง เปิดรับพัฒนาการต่างๆ ในโลกได้อย่างรวดเร็ว    แต่เมื่อรับมาแล้ว เราทำ ๓ อย่าง ที่เชื่อมโยงกัน คือ

 

๑. เราทำแบบแยกส่วน ต่างหน่วยงานต่างทำ หรือบ่อยครั้งแย่งซีนกัน

๒. เราทำแบบผิวเผิน  เอามาแต่ส่วนเปลือก จับแก่นไม่ได้    หรืออาจจงใจเอาแต่เปลือก ไม่เอาแก่น

๓ ราปรับให้เข้ากับสังคมไทย    หรือเข้ากับผลประโยชน์ที่ซับซ้อนในสังคม ที่มีอยู่แล้ว    ซึ่งก็จะไปสอดรับกับข้อ ๑ และข้อ ๒

 

และเมื่อประกอบเข้ากับระบอบการบริหารบ้านเมืองแบบควบคุม-สั่งการ หรือเน้นอำนาจแนวดิ่ง    การหาลู่ทางพัฒนาระบบอุดมศึกษาของเราในแง่มุมต่างๆ จึงทำได้อย่างจำกัด   ย้ำว่าทำได้ เพราะเราเปิดกว้าง adopt เร็ว    และ adapt ด้วย    แต่ทั้ง adopt & adapt นั้น จะผิวเผินหรือศรีธนญชัย    ไม่เกิดผลดีจริงจัง   เนื่องจากเหตุผล ตามคำอธิบายที่กล่าวแล้ว

ผมภาวนาให้ข้อคิดเห็นเชิงรำพึงรำพันนี้ เป็นสิ่งที่ผิด ไม่ตรงกับความเป็นจริง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ก.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 23:45 น.  
Home > Articles > การศึกษา > มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๑๐. ดูเขา แล้วย้อนดูเรา

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8628000

facebook

Twitter


บทความเก่า