Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > ๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๔. การประเมิน

๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๔. การประเมิน

พิมพ์ PDF

บันทึกชุดนี้มี ๑๐ ตอน   ที่ตีความจากการอ่านหนังสือ Education Nation : Six Leading Edges of Innovation in Our Schools เขียนโดย Milton Chen

 

บันทึกตอนที่ ๔ นี้ ตีความจาก Edge 2. The Curriculum Edge : Real Learning and Authentic Assessment

 

อันตรายที่สุดของการประเมินคือ การส่งสัญญาณให้ครูทำหน้าที่ “สอนเพื่อสอบ” (Teach to Test)    ซึ่งจะเกิดขึ้น หากเน้นการประเมินแบบมาตรฐานกลาง จัดสอบโดยอำนาจส่วนกลาง    อย่างที่ดำเนินการใน สหรัฐอเมริกา ภายใต้โครงการ No Child Left Behind  ซึ่งประสบความล้มเหลวในการยกระดับคุณภาพการศึกษา ของสหรัฐอเมริกา   และอย่างที่ดำเนินการในประเทศไทยในขณะนี้ และทำท่าจะยกระดับความผิดพลาด ขึ้นไปอีก

 

เมื่อครูและโรงเรียน เอาแต่ “สอนเพื่อสอบ” ก็จะเกิดการเรียนรู้แบบผิวเผิน สอนให้นักเรียนจำไว้สอบ    ไม่เกิดการเรียนรู้แบบเรียนแล้วรู้จริง    และเรียนแค่วิชา ไม่ได้เอาใจใส่ฝึกฝนทักษะและพัฒนาการครบด้าน อย่างบูรณาการ    ตามแนวทางพหุปัญญา, แนวทางทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑, และแนวทางการเรียนรู้ฝึกฝนทั้งทักษะด้านนอกและด้านใน    และที่สำคัญที่สุด ไม่ได้ทดสอบทักษะแห่งการเรียนรู้  ทักษะทางสังคม  ทักษะทางอารมณ์    เพราะมันทดสอบไม่ได้ ด้วยการทดสอบมาตรฐาน

 

การประเมินที่หนังสือเล่มนี้แนะนำ คือ “การประเมินที่แท้จริง”    คือการประเมินอยู่กับกระบวนการ เรียนรู้นั้นเอง    ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า authentic assessment เป็นการประเมินที่ช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้ เกิดผลยิ่งขึ้น    ซึ่งผมคิดว่า มองอีกมุมหนึ่งน่าจะเรียกได้ว่า เป็น  empowerment evaluation    กระบวนการประเมิน ช่วยเสริมพลังของผู้เรียนรู้ เสริมพลังของการเรียนรู้    และเสริมพลังของครู คือเสริมพลังการเรียนรู้ของครู

ผมตีความว่า การประเมินที่แท้จริงทำโดยครู ในระหว่างที่ศิษย์ลงมือทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ของตน    เป็นกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้บูรณาการหลากหลายด้าน หลายวิชา หลายทักษะ ในเวลาเดียวกัน    การพัฒนาคุณภาพ การประเมินที่แท้จริงจึงผูกพันอยู่กับการพัฒนาครู   หรือการเอื้ออำนาจแก่ครู ให้มีบทบาทสำคัญในการประเมิน    ช่วยส่งเสริมเอื้อโอกาสให้ครูได้ริเริ่มสร้างสรรค์ พัฒนาการประเมินศิษย์แบบ “การประเมินที่แท้จริง”

ย้ำว่า “การประเมินที่แท้จริง” ต้องพัฒนาโดยครูเป็นแกนนำหลัก    ไม่ใช่ผู้มีอำนาจส่วนกลางเป็นหลัก    เพราะจะต้องพัฒนาขึ้นจากการปฏิบัติงานจริงเป็นหลัก วิชาการด้านการประเมินเป็นตัวเสริม    ไม่ใช่วิชาการด้าน การประเมินเป็นตัวหลัก     เพราะ “การประเมินที่แท้จริง” ต้องดำเนินการแนบแน่นอยู่กับกระบวนการเรียนรู้ ของศิษย์    ซึ่งครูใกล้ชิดที่สุด และครูเป็นผู้ประเมิน

จะเห็นว่า “การประเมินที่แท้จริง” อิงอยู่กับการให้เกียรติครู ให้คุณค่าครู เชื่อมั่นครู    ซึ่งไม่ใช่สภาพที่เป็นอยู่ในระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน

ผมเขียนบันทึกนี้ ลากเข้าหาสภาพระบบการศึกษาไทยแบบสุดๆ    ไม่ได้เขียนตามตัวอักษรในหนังสือ    อาศัยสาระที่ผมตีความ ลากเข้าสู่ระบบการศึกษาไทย    ดังนั้นข้อความในบันทึกนี้ อาจมีอคติของผมแฝงอยู่ มากเกินไปก็ได้    ท่านผู้อ่านพึงอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

มุมมองต่อการพัฒนาระบบการศึกษาของผู้มีอำนาจ ในระบบการศึกษาไทย    เป็นมุมมองแบบไม่ไว้ใจครู    จึงต้องจัดการประเมินจากส่วนกลาง “เพื่อให้ได้มาตรฐาน”    ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นมาตรฐานที่วัดได้เท่านั้น    ส่วนที่ วัดไม่ได้โดยข้อสอบมาตรฐานก็ถูกละเลยไป    โดยที่ส่วนที่ละเลย คือส่วนที่เป็นหัวใจของการศึกษา ในศตวรรษที่ ๒๑

การประเมินที่แท้จริง ต้องนำไปสู่การปรับปรุงวิธีการเรียนของนักเรียน   และนำไปสู่การปรับปรุง การทำหน้าที่ครู    เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนเรียนได้ผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น    และครูก็ทำหน้าที่ครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ได้ดียิ่งขึ้น

ผมขอเสริมสิ่งที่หนังสือเล่มนี้ไม่ได้ระบุไว้    คือการประเมินที่ประเสริฐยิ่งกว่าครูเป็นผู้ประเมิน    คือการที่นักเรียนประเมินตัวเองเป็น    ประเมินวิธีการเรียนรู้ของตัวเองเป็น   และปรับปรุงวิธีเรียนรู้ของตนเองได้    จะนำไปสู่สภาพ “ผู้ที่กำกับการเรียนรู้ของตนเองได้” (Sefl-Directed Learner)

ในบันทึกต่อไป (บันทึกที่ ๕) จะมีเรื่องราววิธีเรียน ที่มี peer assessment    คือการที่เพื่อนนักเรียน ประเมิน และทำความเข้าใจเรื่องที่กำลังเรียนร่วมกัน    ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนดีขึ้นเป็นเท่าตัว

นอกจากครูประเมิน  นักเรียนประเมิน แล้ว    ควรพิจารณาหาทางให้พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ทำหน้าที่ประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนด้วย

Milton Chen แนะนำ “วิธีประเมินแบบรอบด้าน” (comprehensive assessment)    ซึ่งประเมินทักษะสำคัญของนักเรียน  ได้แก่การอ่าน เขียน คณิตศาสตร์  ที่เชื่อมโยงสู่วิชาหลักๆ    โดยนักเรียนแสดงออกความรู้และทักษะของตนผ่านสื่อ และวิธีการ ที่หลากหลาย    รวมทั้งการนำเสนอ (presentation)   และการนำเสนอผ่าน เว็บ เพื่อออกสู่ผู้อ่านหรือชมวงกว้าง ที่อยู่นอกห้องเรียน   รวมทั้งประเมิน การแสดงออกด้าน ทักษะทางสังคม    ได้แก่ความสามารถทำงานเป็นทีม มีความมานะอดทน เพียรพยายาม ไม่ย่อท้อ ฯลฯ

อีกนัยหนึ่ง การประเมินที่พึงประสงค์ คือ การประเมินสมรรถนะ (Performance Assessment, Performance-Based Assessment, Assessment 2.0)    คือประเมินที่ทำได้ ปฏิบัติได้    ไม่ใช่แค่ท่องจำความรู้ เอามาตอบข้อสอบได้ แบบนกแก้วนกขุนทอง

เขายกตัวอย่างข้อสอบนักเรียน ม. ๖ มาให้ดูด้วย    ผมอ่านแล้วรู้สึกว่า เหมือนยกเอาสภาพ เหตุการณ์จริงมาถาม    และการจะหาคำตอบทำไม่ง่าย ต้องค้นคว้า และตอบด้วยความคิดที่ซับซ้อนมาก    คือเป็นข้อสอบที่ยากมาก    แต่ข้อสอบแบบนี้จะชักนำให้นักเรียนเรียนรู้ความรู้ที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ในชีวิตจริง

เทคโนโลยี จะช่วยให้ “การประเมินที่แท้จริง” ทำได้ไม่ยากเกินไป

 

 

วิจารณ์ พานิช

๗ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2014 เวลา 21:13 น.  
Home > Articles > พัฒนาทุนมนุษย์ > ๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๔. การประเมิน

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8611174

facebook

Twitter


บทความเก่า