Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

กฎหมายปัจจุบันกับการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า

พิมพ์ PDF

กฎหมายปัจจุบันกับการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า
บทความ: อาจารย์รุจิระ บุนนาค
กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค

เมื่อเร็วๆนี้ ผมมีโอกาสร่วมฟังการประชุมนโยบายเรื่องการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า และความเหมาะสมของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง จัดโดยสถาบัน Sasin Institute for Global Affairs (SIGA) ได้ฟังความเห็นของม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท รองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งมีแง่คิดที่น่าสนใจ จึงอยากจะเล่าสู่กันฟัง
ม.ล.ชาญโชติ ให้ความเห็นเรื่องนโยบายส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าว่า พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า ที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน ล้าสมัยและไม่ตรงกับวัตถุประสงค์แรกเริ่มในการออกกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพรบ.ฉบับนี้ ต้องการปกป้องเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค แต่พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้าที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นกฎหมายที่ออกมากำกับดูแลระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ ซึ่งม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า รัฐไม่ควรเข้าไปกำกับผู้ประกอบการมากนัก ควรปล่อยให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันโดยเสรี แต่กฎหมายฉบับนี้กลับออกมากำกับไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เอาเปรียบผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งควรจะปล่อยให้แข่งขันไปตามกลไกของตลาด ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่น่าจะให้ประโยชน์กับฝ่ายใดเลย แต่กลับเป็นเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการต่างๆยื่นข้อร้องเรียน แล้วเรียกร้องให้รัฐเป็นกรรมการตัดสิน แทนที่รัฐจะทำหน้าที่ในการป้องกันเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ตามวัตถุประสงค์เริ่มแรกในการออกพรบ.ฉบับดังกล่าว
ม.ล.ชาญโชติ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความล้าหลังของกฎหมายฉบับต่างๆ ที่กว่าจะออกมาได้แต่ละฉบับ ใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี ในขณะที่พัฒนาการทางธุรกิจ ตลอดจนความต้องการของตลาดและผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้น กว่ากฎหมายแต่ละฉบับที่เกี่ยวข้องจะแล้วเสร็จ ธุรกิจนั้นๆก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เงื่อนไขและรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญไปแล้ว ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่า การออกกฎหมายของประเทศไทยส่วนใหญ่มักไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น การออกกฎหมายแต่ละฉบับควรเป็นกฎหมายที่สามารถปฏิบัติได้ด้วย
ม.ล. ชาญโชติ มีความเห็นว่า กฎหมายในบ้านเรามีมากมายหลายฉบับที่มีความซ้ำซ้อนกัน และบางฉบับยังมีข้อกำหนดที่หักล้างกันเอง แทนที่จะส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้น กลับมีผลทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
แต่กระนั้น ม.ล.ชาญโชติ ย้ำว่า ตนมิได้ไม่ต้องการให้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันทางการค้า แต่เห็นว่ากฎหมายที่ออกมาจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ตั้งแต่เริ่มแรก และที่สำคัญจะต้องสามารถนำมาปฏิบัติได้ด้วย เพราะหากกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวยังล้าหลัง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างภาคธุรกิจไทยให้มีศักยภาพที่จะแข่งขันในระดับสากลอีกด้วย
ม.ล. ชาญโชติ ยังกล่าวถึง การเข้ามาของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย โดยเห็นว่า เป็นสิ่งที่ดี แต่จำเป็น ต้องมีนโยบายในการกำกับดูแลบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจแข่งขันว่า การที่บริษัทต่างชาติต่างๆ เหล่านั้นเข้ามาใช้ทรัพยากรของประเทศ ก็ควรกำหนดเงื่อนไขค่าตอบแทนที่พึงจ่ายให้กับประเทศด้วย โดยรัฐสามารถออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขที่ไม่แตกต่างมากจนเกินไประหว่างบริษัทไทยกับบริษัทต่างชาติ ขณะเดียวกัน รัฐจะต้องมีนโยบาย ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทย รวมทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็ก ตลอดจนผู้ประกอบการที่อ่อนแอกว่า เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน
นอกจากนี้ ม.ล. ชาญโชติ ยังได้กล่าวถึงนโยบายการเปิดเสรีว่า ความจริงแล้วไม่ใช่เป็นการเปิดเสรีจริงๆ เพราะแต่ละประเทศต่างก็มีกฎหมายแตกต่างกันในการกำกับดูแลกรณีต่างๆ เช่น กรณีที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ก็มีกฎหมายที่ดินที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับการถือครองกรรมสิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ ม.ล.ชาญโชติกล่าวว่า ต้องยอมรับว่ากฎหมายยังมีความอ่อนแอมาก จึงทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในมือของต่างชาติ จึงจำเป็นที่จะต้อง พิจารณา สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และต้องวางแผน วางหลักเกณฑ์ในการออกกฎหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น กรณี BOI ที่ต้องการจูงใจให้ต่างชาติที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศ แต่กลับไม่มีการส่งเสริมสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยให้ออกไปลงทุนแข่งขันในต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งในความเป็นจริง BOI ควรมีมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลางให้สามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศ มากกว่ามาตรการ ลด แลก แจก แถม เพื่อชักจูงให้ผู้ประกอบการต่างชาติรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะกับการลงทุน มีหลายประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในไทย ยกตัวอย่าง บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยบริษัทที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อคนไทยไปปรึกษาข้อกฎหมาย ข้อมูลต่างๆที่เป็นข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลที่เป็นข้อพิพาทสำคัญๆ ก็จะกลายเป็นข้อมูลของบริษัทที่เป็นต่างประเทศดังกล่าว ดังนั้น รัฐจึงควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล เช่น การจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมาย จะต้องเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เป็นคนไทยเท่านั้น โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น ซึ่งคนไทยมีความสามารถไม่ด้อยไปกว่าชาติอื่นๆ และไม่ควรกลัวต่างชาติ อาจจะยอมเสียเปรียบต่างชาติบ้าง แต่ต้องอยู่ในขอบเขต และที่สำคัญ ม.ร. ชาญโชติ ย้ำว่า จะต้องไม่ยอมให้ต่างชาติเอาเปรียบตลอดเวลา และจะต้องกำหนดประเภทธุรกิจ และข้อจำกัดการประกอบธุรกิจไว้ให้เป็นของคนไทยอย่างชัดเจน
และในตอนท้าย ม.ล.ชาญโชติ ยังกล่าวว่า ที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องบุคลากร ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจต้องเอาคนเป็นที่ตั้ง โดยเริ่มจากประชาชนคนไทย คือการสร้างคนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญ โดยพิจารณาถึงความสามารถ ว่าคนไทยมีความสามารถในด้านใด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนไทยมีความสามารถในด้านการให้บริการ ในด้านการบริหารจัดการซึ่งจะต้องพัฒนาให้คนไทยสามารถบริหารจัดการร่วมกันอย่างเป็นทีม แต่อย่างไรก็ตาม แผนเศรษฐกิจของประเทศไทยฉบับปัจจุบัน กลับไม่กล่าวถึงเศรษฐกิจภาคบริการ ทั้งๆที่ภาคบริการมีความสำคัญ นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ90 ของประเทศเป็น SME ที่มีความสามารถทั้งสิ้น
ผมอยากจะฝากประเด็นแง่คิดของม.ล.ชาญโชติ ซึ่งเป็นรองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนพิจารณา เพราะธุรกิจปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ก็ควรที่จะหันมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกรอบของกฎหมายให้ทันสมัย รองรับความต้องการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้อย่างแท้จริง
อาจารย์รุจิระ บุนนาค
กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 กันยายน 2011 เวลา 17:50 น.
 

บรรยายในหัวข้อ AEC2015-Thailand as a hub for the Greater Mekong Subregion Implication to Hong Kong

พิมพ์ PDF

สวัสดีครับชาว Blog ทุกท่าน

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2556 ได้รับเกียรติจากประธานThailand-Hong Kong Business Counsil คุณวงศ์ทิพย์ ชุ่มภาณี ให้ผมบรรยายในหัวข้อ AEC2015-Thailand as a hub for the Greater Mekong Subregion Implication to Hong Kong ให้กับนักธุรกิจชาวฮ่องกง 30 คน ณ โรงแรม Grand Hyatt Erawan Bangkok ครับ

 

 

 

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/545373

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2013 เวลา 23:45 น.
 

ชมรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนเมือง

พิมพ์ PDF

ผมเคยเขียนบทความชักชวนให้จัดตั้งชมรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเมื่อวันที่  26 กันยายน 2556 และเผยแพร่ในเวปไซด์ นี้  มีผู้เข้ามาอ่านจำนวน 2,000 กว่าท่าน แต่ไม่มีผู้ใดติดต่อกลับมา จึงขอนำมาเผยแพร่อีกครั้ง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

13 พ.ย.2559

ผมเองเคยพยายามจัดตั้ง ชมรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านที่ผมอยู่ โดยเริ่มจากการจัดหาองค์กรที่สามารถให้การสนับสนุนได้ และผมก็สามารถหาผู้สนับสนุน จากมหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิต โรงเรียนราชวินิจ บางเขน โรงเรียนการเคหะท่าทราย โรงเรียนอนุบาลเข็มทอง องค์กรเหล่านี้จะเป็นผู้ให้การสนับสนุนโดยการเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ในหน่วยงานของตน ทำให้ผมสามารถสร้างเครือข่ายได้ในทุกระดับ คือระดับอุดมศึกษา มอบหมายให้มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต เป็นผู้ขับเคลื่อน ระดับมัธยมต้นและมัธยมปลาย ให้ โรงเรียนราชวินิต บางเขน เป็นผู้ขับเคลื่อน ร่วมกับ โรงเรียนการเคหะท่าทราย และโรงเรียนอนุบาลเข็มทองเป็นผู้ขับเคลือนเด็กอนุบาลและผู้ปกครอง สถาบันการศึกษาทั้ง 4 ให้ความร่วมมือ หลังจากนั้นจึงได้ติดต่อเขต และผู้นำท้องถิ่น และผู้แทนท้องถิ่น เมื่อทุกภาคส่วนเห็นด้วย จึงกำหนดให้แต่ละส่วนจัดหาสมาชิก เพื่อมาเลือกกรรมการเพื่อบริหารงาน ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง แต่ปรากฎว่าไม่มีผู้ขับเคลื่อนในการหาสมาชิก และช่วงนั้นผมต้องไปต่างประเทศเป็นเวลา เดือนกว่าๆ เมื่อกลับมาทุกอย่างไม่ก้าวหน้า และผมก็มีงานยุ่งมาก จึงไม่ได้ดำเนินการต่อ

การเรียนรู้ทางทฤษฏีอย่างเดียวไม่เกิดผล ต้องสร้างสังคมที่เรียนรู้จากการปฎิบัติ มีหัวหน้าและกิจกรรมในแต่ละวัย ผมมีการจัดเป็นแผนงานไว้ทุกขั้นตอน แต่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนนั้นๆ ต้องมีทั้งผู้ให้และผู้รับ สร้างงานให้คนในชุมชน ต้องทำให้คนที่ไม่มีงานทำมีรายได้ บริหารความเป็นอยู่ในชุมชนให้สามารถพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ ผู้นำชุมชน หรือผู้แทนชุมชนต้องลงมามีส่วนร่วม

ผมได้นำความคิดและการดำเนินการที่ผ่านมาไปนำเสนอในการประชุมวุฒิอาสาธนาคารสมอง เมื่อต้นเดือน กันยายน ที่ผ่านมา และได้รับความสนใจจากหลายๆท่านุ ทำให้เห็นช่องทางที่จะนำเข้าเป็นโครงการของวุฒิอาสาธนาคารสมอง ท่านใดสนใจมีส่วนร่วมโปรดติดต่อผมได้ที่ e-mail address:  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน  หรือโทร 089-1381950

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

26 กันยายน 2556

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2016 เวลา 13:20 น.
 

Who Hold The American Debt

พิมพ์ PDF

 "อเมริกากับการดูดเงินออมทั่วโลกไปปรนเปรอมาเฟียการเงินวอลล์สตรีท ... เพื่อครองการเงินโลก = สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 3"

... "อเมริกา" โดยการนำของ Bank Cartel หรือกลุ่มมาเฟียทางการเงิน การธนาคารของโลกได้พยายามที่จะ "ดูดเอาเงินออม" ของทั่วโลกไปใช้พัฒนาประเทศตัวเองและไปเก็งกำไรสร้างความยิ่งใหญ่พุงกางกับ "วอลล์สตรีทและBank Cartel" ( เช่น โดยผ่านการขายเงินกระดาษดอลล่าร์ที่ไม่มีสินทรัพย์ใดๆในการค้ำเพื่อผลิตเงินออกมา ค่าเงินต่ำคนชั้นล่างต้องทำงานหนักมากกว่าเดิม ทำให้เงินเฟ้อไปทั่วโลก และดูดเงินจาก ธนาคาร ประกันภัยไปประเคนวอลล์สตรีท เพื่อจะไปปรนเปรอคนชั้นสูง )

... โดยวิธีการทำนั้นอเมริกาพยายามที่จะ "ดูดเงินออม" จากทั่วโลกโดยเฉพาะจากเอเชียและประเทศตลาดเกิดใหม่เช่นกลุ่ม BRICS ที่ยี่สิบปีมาหลังมีเงินเก็บเยอะมาก โดยผ่านทาง "ตลาดหุ้น ธนาคาร วาณิชธนกิจ การประกันภัย พันธบัตร" หรือการค้าเงินดอล่าร์ โดยสามอย่างแรกนั้น ( ธนาคาร วาณิชธนกิจ การประกันภัย ) อเมริกาพยายามดันกฎหมายการ "ควบรวมกิจการ" ที่จะทำให้เงินออมจาก การประกันภัย และ ธนาคาร ผ่านตกมาอยู่ในกระเป๋าของ "วาณิชธนกิจ" ที่เป็นตัวละครหลักในการเอาเงินไป "เก็งกำไร" ใน "ตลาดหุ้น" เงินออมทั่วโลกจะตกไปอยู่ในนั้น เพื่อให้นักลงทุน นายหน้า นายธนาคารสามารถปั่นสร้างกำไรได้มากยิ่งขึ้น Bank Cartel หรือกลุ่มมาเฟียทางการเงิน วอลล์สตรีทยิ่งกล้ามใหญ่ตัวโตคับฟ้ามากขึ้นอีก

... โดยพยายามบีบปั่นป่วนให่การซื้อขายแบบอื่นดูไร้ค่า ไม่มีกำไรมากเท่าแม้แต่การค้าทองก็มีพวกพยายามทุบราคาทองเพื่อให้คนเหนื่อยหน่ายหันไปค้าและเก็งกำไรในตลาดหุ้นแทน

... สิ่งนี้เองที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลในโลกและเกิดสงครามโลกในที่สุด

... หลังจากที่เอเชียและตลาดเกิดใหม่เศรษฐกิจเติบโตเกิดเงินออมมากมาย อเมริกาก็พยายามดึงเงินเหล่านี้มาจากประเทศเหล่านั้น ( อเมริกาลอกแบบอังกฤษในอดีต ) เช่นขายเงินดอลล่าร์ให้เป็นเงินเก็บในรูป “ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ” หรือ “พันธบ้ตรรัฐบาล” เป็นต้น ซึ่งทั้งโลกตอนนี้มีเงินดอลล่าร์เป็นเงินเก็บเป็นอันดับหนึ่งของโลก ทั้งๆเงินนั้นผลิตออกมาจากกระดาษเปล่าๆ ไม่มีทองค้ำประกันการผลิตเลย

... เอเชียและทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศเกิดใหม่ จึงคือ "เจ้าหนี้ของอเมริกา" ที่ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำในระยะยาวให้อเมริกาเอาเงินไปถลุงเล่นพัฒนาประเทศและ “เก็งกำไรจนเพลิน” ในตลาดหุ้นแต่เมื่อคิดเสร็จสรรพแล้วดอกเบี้ยที่ได้คืนแทบจะไม่ได้อะไรเพราะอเมริกาพยายามทำเงินตัวเองให้แข็งทำให้อัตราแลกเปลี่ยนตอนที่จ่ายดอกเบี้ยคืนมาน้อยมาก นี่คือหลักการของอเมริกา ได้เงินใช้ฟรีๆ เหมือน "ประเทศแห่งธนาคาร"

... เพราะใครก็ตามที่พยายามทำให้ค่าเงินดอลล่าร์ของอเมริกาตกต่ำ เช่น กัดดาฟี กับ ซัดดัม ฮุสเซนพยายามจะใช้เงินสกุลดีน่าร์และยูโรในการซื้อขายน้ำมัน ที่จะมีผลให้ดอลล่าร์ตกต่ำลง และต้องจ่ายดอกเบี้นเงินกู้ดังกล่าวมากขึ้น ก็ต้องมีอันเป็นไปทุกคน โดยอ้างว่าเป็นเผด็จการบ้าง มีอาวุธร้ายแรงบ้าง หรือแม้แต่ นายโดมินิค สเตราน์ คาห์น ผู้ว่า IMF ที่พยายามลดบทบาทความสำคัญและปริมาณเงินดอลล่าร์ในตระกร้าของ IMF ลงก็ต้องมาโดนคดีการลวนลามแม่บ้านในโรงแรมเสียอนาคตทางการเมืองที่สดใสไปอีกคน

... โดยอเมริกามีหลายวิธีการในการเอาเงินออมทั่วโลกไปในตลาดเก็งกำไร เช่น ยกเลิกกฎหมาย “กลาสส์และสตีกัล” ( 1933 - 1987 ) ที่เหมือนกำแพงกั้นไม่ให้ธนาคารกับวาณิชธนกิจเชื่อมต่อกันได้ เพราะไม่อยากให้เงินฝากของคนอเมริกาถูกดูดไปให้นักเก็งกำไรสร้างกำไรให้พวกวอลล์ สตรีท ที่ชอบอ้างว่าเอาเงินไปลงทุน ทั้งที่ความจริงเงินลงทุน Real Sector มีไม่กี่เปอร์เซนท์เท่านั้น

... นอกจากแก้ไขกฎหมายเช่นนั้นแล้วก็แก้ไขกฎหมายการควบรวมกิจการ ทั้งระหว่างธนาคาร หรือระหว่าง ธนาคาร ประกันภัย และวาณิชธนกิจ เพื่อรวมเงินออมทั่วโลกไปกองที่เดียวกันในตลาดเก็งกำไร ที่ยื่งทำให้พวกวอลล์สตรีท หรือ Bank Cartel ร่ำรวยมากขึ้น ครอบครองโลกได้เบ็ตเสร็จมากขึ้นอีก

... โดยการที่ระบบโลกออนไลน์เป็นดิจิตัลยิ่งทำให้การทำงานของเครือข่ายพวกเขาง่ายดายมากขึ้น

... พวกเขาพยายามสนับสนุน “การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ” เพื่อจะเอาทรัพย์สินของรัฐในประเทศต่างๆในหลายรูปแบบของทั่วโลกเอาไปเป็น “ตัวดึงดูด” ให้ตลาดหุ้นเป็นแหล่งการฝากเงินออมเงินที่ดีน่ายั่วยวนที่สุดแห่งเดียวของโลกต่อไปอีก โดยอ้างเหตุผลต่างๆมากมาย ว่ารัฐดูแลไม่ดีเท่าเอกชน ( รวมทั้งระบบการศึกษาเอง เช่นมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ที่อาจารย์ไทยยังมองไม่เห็นผลร้าย )

... เงินออมทั่วโลกแทนที่จะเอาไปลงทุนในภาคการผลิตจริงๆ พัฒนาจริงๆ กลับเอาไปเก็งกำไรในตลาดหุ้น ตลาดเงิน ตลาดอนุพันธ์ซื้อขายล่วงหน้า เงินไปเน่าจนบวมเป่งเริ่มจะฟองสบู่แตกในเร็ววันแล้ว จนปี 2008 เกิดวิกฤติครั้งใหญ่แต่อเมริกาก็ไม่เข็ด

... และวิกฤติครั้งนี้เองที่เกิดความไม่สมดุลของการพยายามครอบครองการเงินโลกของอเมริกา “จีน” เริ่มพยายามตีตัวออกห่างจากดอลล่าร์ โดยการรวมตัวกันบีบให้ลดสัดส่วนดอลล่าร์ในระบบการเงินโลกลง โดยพยายามตั้งองค์ทางการเงินมาแข่งเช่น AIIB หรือธนาคารของกลุ่ม BRICS เป็นต้น ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนชี้ว่า เรื่องนี้เองที่เป็นสาเหตุให้ “อเมริกา” สร้าง “สงครามยูเครน” ขึ้นมาเพื่อตัดกำลัง “รัสเซีย” ซึ่งเป็นสมาชิกของสำคัญของกลุ่มนี้ในยุโรป เพื่อรักษาอำนาจทางการเงิน ที่อังกฤษเคยสอนอเมริกาว่า “ถ้าอยากครองโลกต้องครอบครองระบบการเงินโลกให้ได้ก่อน”

... แถม "จีน" จะไปเน้นการพัฒนาตลาดภายในประเทศลดการส่งออกไปอเมริกา ยุโรปน้อยลง ยิ่งทำให่เศรษฐกิจโลกและดอลล่าร์ลดค่าลงเรื่อยๆ ที่อเมริกายอมรับไม่ได้

... และจากวิกฤติปี 2008 หลายประเทศได้เรียกร้องให้มีการทบทวนระบบการเงินโลกใหม่ ทั้งลดอำนาจของวอลล์สตรีทลง กลับมาใช้กฎหมาย “กลาสและสตีกัลล์” อีกครั้ง เพิ่มมาตรการลงโทษบริษัทในวอลล์สตรีทที่สร้าง CDO, CDS มาป่วนกิเลสชาวโลก พยายามรั้งกฎหมายเปิดเสรีทางการเงินถ้าประเทศใดๆยังไม่พร้อม แต่ทุกอย่างที่ร้องไป อเมริกาก็ทำเฉยเสีย เพราะมันคือการเสียอำนาจทางการเงินของอเมริกา คืออำนาจในการครองโลกของพวก Bank Cartel

... ดังนั้นสาเหตุที่แท้จริงของ “สงครามโลก ครั้งที่ 3 “ นั้น คือความไม่สมดุลทางการเงินที่ประเทศมหาอำนาจเดิมพยายามรั้งเอาไว้ โดยการสร้างสถานการณ์ต่างๆขึ้นมาเพื่อแค่เป็นข้ออ้างในการรักษาอำนาจตัวเองไว้ให้นานที่สุดนั้นเอง

... ในตอนนี้หลายประเทศในทั่วโลกโดยเฉพาะจากการนำของประเทศ BRICS ได้เริ่มปล่อยเงินดอลล่าร์ออกจากการครอบครองแล้วในหลายรูปแบบ ทั้งปล่อยทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศให้เป็นดอลล่าร์น้อยลง ทั้งไม่สนใจซื้อพันธบัตรเศษกระดาษที่ไร้ค่าของอเมริกา หันมาใช้เงินสกุลของตัวเองในการค้าขายกู้ยืมทำให้ค่าเงินดอลล่าร์เริ่มตก และอเมริกาเริ่มร้อนตัว และไม่อยากจ่ายดอกเบี้ยแพง ( ไม่ต้องพูดถึงเงินต้นที่ท่วมหัวมากมาย เอาเงินอนาคตมาใช้ สร้างหนี้ให้ลูกหลานอเมริกัน ) และเกิดเป็นว่าที่ "สงครามล้างหนี้" ขึ้นมา

... ถึงเวลาแล้วหรือยังที่รัฐบาลไทยจะลดการครองดอลล่าร์ในทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศแล้วหันมาสะสมทองแบบที่หลวงตาบัวแนะนำ ลดการเล่นหุ้นเพื่อสร้างให้วอลล์สตรีทร่ำรวย สร้าง "การออมแบบใหม่ที่ยั่งยืนและพอเพียง" เช่นระบบสหกรณ์ในแต่ละชุมชนในหลายระดับ ไม่เปิดเสรีทางการเงินแบบไม่มีการควบคุมและรอบคอบ ไม่แปรรูปรัฐวิสาหกิจและสถาบันการศึกษา แล้วหาแนวทางของเราเองในการเอาเงินออมมาสร้างความเจริญให้เราเองแม้จะรวยช้าแต่ก็มั่นคงกว่า

... ผีเสื้อที่อยากเป็นนกอินทรีย์นั้นไม่มีทางจะเป็นไปได้ เพราะถึงวันหนึ่งที่เริ่มโตก็จะถูกนกอินทรีย์จิกตายในท้ายที่สุด

คัดลอกจาก face book บน Time line Pudit Sukhasvasti

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน 2016 เวลา 22:56 น.
 

เครียด บ้า ฆ่าตัวตาย ไม่มีคนฟัง ดร.เสรี พงศ์พิศ

พิมพ์ PDF

#เครียด บ้า ฆ่าตัวตายไม่มีใครฟัง

 รัฐทุ่มเทการแก้ปัญหาโควิดระบาด จัดหาวัคซีน จัดรายการลดแลกแจกแถม แต่ก็เหมือนหยอดน้ำข้าวคนไข้โคม่า สังคมไทยอยู่ในสภาพนี้ คนจำนวนมากเป็นทุกข์ไม่ได้รับการเยียวยา ไม่ได้รับการใส่ใจในการแก้ไขปัญหา จึงมีคนเครียด บ้า ฆ่าตัวตายไม่น้อย แต่ส่วนใหญ่ตายทั้งเป็น

 ที่เป็นข่าวฆ่าตัวตายสองปีนี้มีอยู่เรื่อยๆ แต่ที่ไม่เป็นข่าวมีมากกว่า และที่เครียดจนเรียกว่าป่วยทางจิตคงมีมากกว่า 3 ล้านคนอันเป็นตัวเลขที่ผู้เกี่ยวข้องมักแจ้ง ที่ไม่ได้แจ้งและไม่ได้รับการเยียวยาคงมากกว่าหลายเท่า

 โควิดมาซ้ำเติม  เพิ่มจำนวนคนป่วย คนทุกข์ คนเครียด แต่ก็ไม่เห็นรัฐบาล หน่วยงานต่างๆ ให้ความสนใจ ได้แต่ทุ่มเททุกอย่างกับการแก้ปัญหาโรคระบาด ไม่มีการนำเรื่องนี้มาวิเคราะห์และหาวิธีการแก้ไข อย่างน้อยมีกลไกเพื่อบรรเทาสถานการณ์ที่ย่ำแย่ ที่ยิ่งเลวร้ายหนักยิ่งขึ้นไปอีกเพราะข้าวยากหมากแพง

 โควิดมาขยายความเหลื่อมล้ำให้กว้างออกไป คนจนเพิ่มขึ้น คนป่วยมากขึ้นทั้งทางกายทางจิต คนตกงาน เงินออมหมด ไม่มีแม้แต่เงินซื้อข้าวกิน แม้จะมีรายการแจกเงิน แต่คนจำนวนไม่น้อยก็ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และที่ได้รับก็ “ไม่พอยาไส้” ไม่มีระบบรองรับ ความเจ็บป่วยครั้งนี้สาหัสนัก ยาแก้ปวด บรรเทาได้ชั่วคราวเท่านั้น

 สังคมไทยต้องการ “คนฟัง” มากกว่าคนพูด ต้องการให้รัฐบาลฟัง ให้พรรคการเมืองฟัง นักการเมืองฟัง ให้ข้าราชการฟัง ฟังเสียงของประชาชนมากกว่านี้ พูดให้น้อยลง เทศน์ให้น้อยลง สั่งและสอนให้น้อยลง แล้วจะเข้าใจปัญหาและความทุกข์ของประชาชนมากกว่านี้ และจะตอบสนองและแก้ปัญหาได้ดีกว่านี้

 เมื่อ 30 ปีก่อนตอนที่เกิดรสช.  เกิดรัฐบาลที่พลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น คุณโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ เป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้ไปเชิญปราชญ์ชาวบ้านสองท่าน คือ ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม จากแปดริ้ว กับพ่อบัวศรี ศรีสูง จากมหาสารคาม มาเป็นที่ปรึกษานายกฯ

 บรรดานักวิชาการและเอ็นจีโอต่างก็ทักท้วงแนะนำพ่อบัวศรีว่า อย่าไปเป็นที่ปรึกษาให้เผด็จการ พ่อบัวศรีตอบว่า “ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มา มีรัฐบาลทหาร รัฐบาลพลเรือนไหนที่เคยฟังเสียงชาวไร่ชาวนาบ้าง ถ้าหากพวกเขาเชิญผมไปเป็นที่ปรึกษา ผมจะไป อยากได้ลูกเสือต้องเข้าถ้ำเสือ”

 พ่อบัวศรีนั่งเครื่องบินไปกรุงเทพฯ เพื่อเข้าประชุมครั้งแรกปรากฎว่าป่วยหนัก เข้าโรงพยาบาล และถึงแก่กรรม 6 เดือนต่อมา และพลเอกสุจินดาก็เป็นนายกรัฐมนตรีเพียง 47 วันอย่างที่ทราบกัน

 เล่าเรื่องนี้ไม่ใช่เพราะเห็นด้วยกับรัฐบาลทหาร แต่เห็นด้วยกับพ่อบัวศรีว่า ที่ผ่านมามีรัฐบาลไหนที่ฟังเสียงของชาวไร่ชาวนาจริงๆ บ้าง เพราะคงได้ยิน แต่ไม่ฟัง ถ้าฟังจริง คงแก้ปัญหาได้ดีกว่านี้

 และคงจะสร้างระบบเศรษฐกิจที่ อี เอฟ ชูมาเคอร์ คนเขียน “เล็กนั้นงาม” ตามชื่อเต็มของหนังสือที่ว่า เป็น “เศรษฐกิจที่เห็นหัวประชาชน” (Small is Beautiful: Economics as if People Mattered) คือ เข้าใจคนจน ชาวไร่ชาวนา กรรมกร คนรากหญ้า คนชายขอบ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

 นักจิตวิทยา นักจิตบำบัด ทราบดีว่า การให้การปรึกษา (counseling) นิยมเรียกว่า ให้การปรึกษา มากกว่าให้คำปรึกษา เพราะเป็นกระบวนการไปกลับสองทาง ระหว่างนักจิตวิทยากับคนไข้ โดยหัวใจของกระบวนการอยู่ที่การฟังและการตั้งคำถามที่เหมาะสม ถูกที่ถูกเวลา ไม่ใช่การให้คำปรึกษา คือ ไปสั่งไปสอนคนไข้ให้ทำอย่างโน่น บริโภคอย่างนี้

 ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้บอกว่า คนไข้มีปัญหาทุกข์ร้อน อยากบอกความในใจ อยากระบายความทุกข์ จึงต้องการคนฟังมากกว่าคนมาสอนเขาทันทีที่เห็นหน้า เหมือนกับรู้แล้วว่าปัญหาเขาคืออะไร แบบที่แพทย์ทั่วไปมักทำกัน บางคนแค่เห็นหน้าคนไข้ไม่ถามสักคำก็เขียนใบสั่งยาแล้ว

 การพัฒนาประเทศก็เหมือนกัน มีสูตรสำเร็จของ “คุณพ่อรู้ดี” รู้ว่าชาวบ้านต้องการอะไร

 


หน้า 1 จาก 558
Home

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8606326

facebook

Twitter


บทความเก่า