Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

URAP 2013

พิมพ์ PDF
ประเทศไทย อันดับมหาวิทยาลัย “ตกทั้งแผง” เพราะรัฐบาลไทยทำตรงกันข้ามกับมาเลเซีย ทั้งๆ ที่มีนโยบายให้ประเทศหลุด middle-income trap เช่นเดียวกัน

URAP 2013

ผมได้รับ อีเมล์ จาก รศ. ดร. มงคล รายะนาคร ดังนี้

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2556 มีมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้รับการจัดอันดับอยู่ใน University Ranking By Academic Performance 2013 (URAP 2013) จำนวน 16 แห่ง ตามลำดับ (Country Ranking/World Ranking) โดยรวม เมื่อเทียบกับปี 2012 ดังนี้

Mahidol University (1/368 จากเดิมอันดับ 356)

Chulalongkorn University (2/439 จากเดิมอันดับ 418)

by Plus-HD-1.5" style="color: #0022cc; text-decoration: underline !important; background-color: transparent !important; border: none !important; display: inline !important; float: none !important; height: auto !important; margin: 0px !important; min-height: 0px !important; min-width: 0px !important; padding: 0px !important; vertical-align: baseline !important; width: auto !important;">Chiang Mai University (3/648 จากเดิมอันดับ 621)

Khon Kaen University (4 จากเดิมอันดับ 5/802 จากเดิมอันดับ 805)

Prince of Songkla University (5 จากเดิมอันดับ 4/820 จากเดิมอันดับ 775)

Kasetsart University (6/931 จากเดิมอันดับ 903)

King Mongkut's University of Technology Thonburi (7/1285 จากเดิมอันดับ 1230)

Thammasat University (8/1344 จากเดิมอันดับ 1293)

Suranaree University of Technology (9/1485 จากเดิมอันดับ 1458)

Asian Institute of Technology (10/1563 จากเดิมอันดับ 1465)

King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang (11/1566 จากเดิมอันดับ 1536)

Naresuan University (12/1588 จากเดิมอันดับ 1570)

Srinakharinwirot University (13 จากเดิมอันดับ 14/1717 จากเดิมอันดับ 1711)

Silpakorn University (14 จากเดิมอันดับ 13/1767 จากเดิมอันดับ 1654)

Mae Fah Luang University (15 จากเดิมอันดับ 16/1767 จากเดิมอันดับ 1867)

Mahasarakham University (16 จากเดิมอันดับ 15/1880 จากเดิมอันดับ 1761)

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย URAP 2013 ปรากฏว่าอันดับมหาวิทยาลัยภายในประเทศของไทยเปลี่ยนไปน้อยมาก แต่อันดับมหาวิทยาลัยโลกของไทยแย่ลงแทบทุกสถาบัน (ยกเว้นมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่อันดับโลกขยับขึ้น และมหาวิทยาลัยบูรพาซึ่งได้รับการจัดเป็นอันดับ 17 ของไทย และ 1878 ของโลกในปี 2555 ไม่ได้รับการจัดอันดับในปี 2556 นี้ ทั้งนี้เกณฑ์ในการพิจารณาจัดอันดับ URAP 2013 ยังเป็นเกณฑ์เดิมที่ใช้ใน URAP 2012 คือประกอบด้วยตัวชี้วัด 6 ตัว คือ 1) Number of Articles 2) Citation 3) Total Document 4) Journal Impact Total 5) Journal Citation Impact Total 6) International Collaboration

ทั้งนี้ รายละเอียดทั้งหมดของการจัดอันดับ URAP 2013 สามารถดูได้ที่เว็บลิงค์ต่อไปนี้

http://www.urapcenter.org/2013

ผมจึงขอส่งเรื่องนี้มายังอาจารย์ เพื่อพิจารณานำขึ้นบล็อกสภามหาวิทยาลัย เพื่อ ลปรร. กันต่อไปตามที่อาจารย์จะเห็นสมควรด้วย จักขอบคุณยิ่ง

มงคล รายะนาคร

ผมขอเพิ่มเติมว่า   ที่จริงมหาวิทยาลัยไทยพัฒนาขึ้นในภาพรวม   แต่พัฒนาขึ้นช้ากว่าภาพรวมของโลก   อันดับของเราจึงตกลง   ประเทศที่อันดับของมหาวิทยาลัยดีขึ้นอย่างชัดเจน และ “ขึ้นทั้งแผง” คือมาเลเซีย   เพราะรัฐบาลของเขามีนโยบายส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่มหาวิทยาลัย   เพื่อใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศให้หลุดกับดักรายได้ปานกลาง

ประเทศไทย อันดับมหาวิทยาลัย “ตกทั้งแผง”    เพราะรัฐบาลไทยทำตรงกันข้ามกับมาเลเซีย   ทั้งๆ ที่มีนโยบายให้ประเทศหลุด middle-income trap เช่นเดียวกัน

วิจารณ์ พานิช

๓๑ ต.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 23:54 น.
 

Ranking มหาวิทยาลัยแบบใหม่ : ผูกกับระบบการเงินการคลังด้านอุดมศึกษา

พิมพ์ PDF

บทความเรื่อง Higher Education.  Universities challenged : Barack Obama wants degrees to be better value for money ลงพิมพ์ใน นิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ ฉบับวันที่ ๓๑ ส.ค. ๕๖

 

โลกสมัยนี้ อะไรๆ ก็ต้องใช้เงิน    เรียนมหาวิทยาลัยก็ต้องลงทุน    ดังกรณีโชเฟอร์แท็กซี่ ที่อ้างในบทความ    คุยว่าลูกสาวของตนเรียนจบปริญญาตรีด้านนิเทศศาตร์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน    โดยเบื้องหลังคือ จ่ายไป เกือบ ๕ ล้านบาท ($140,000)    ซึ่งผู้เขียนบทความบอกว่า เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้ม    เพราะการทำงานหนังสือพิมพ์ ไม่ต้องมีปริญญาก็เข้าทำงานได้    จึงเกิดประเด็นว่า ต้องมีการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยในด้านความคุ้มค่าในการเข้าเรียน    ซึ่งก็หมายความว่า การเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่มีชื่อเสียง ก็ไม่ช่วย    ต้องดูกันเป็นรายสาขาวิชาไป

 

บทความบอกว่า ปธน. โอบามา สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการจัดระบบ ranking มหาวิทยาลัยแบบใหม่   ที่เน้นมูลค่าเพิ่มที่บัณฑิตได้รับจากมหาวิทยาลัย    คือดูว่าค่าเล่าเรียนเท่าไร  โอกาสจบมากน้อยแค่ไหน    จบแล้ว ออกไปทำงานมีรายได้เท่าไร    จะใช้ ranking นี้ในปีการศึกษา 2015 ในการจัดลำดับการให้เงินกู้เพื่อการศึกษา

 

ทำให้หวนคิดกลับมาที่บ้านเรา    เงิน กยศ. มีการให้กู้เพื่อเรียนในมหาวิทยาลัยที่คุณภาพต่ำ มากน้อยแค่ไหน   มีหลายแห่งโฆษณาหาผู้เข้าเรียนว่า เรียนฟรี    เพราะเข้าเรียนแล้ว กู้ กยศ. ได้ทุกคน

 

บทความชิ้นนี้บอกเราว่า    สถาบันอุดมศึกษาแค่สอบคัดเลือกรับนักศึกษาเข้าเรียน ยังไม่พอ    ต้องรับผิดชอบจัดการเรียนการสอน ให้จบการศึกษาตามเวลาที่กำหนด    และให้มีทักษะและความรู้ออกไปทำงาน เลี้ยงตัว และทำประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างดี    ในกรณีประเทศไทย ควรมีการจัดระบบข้อมูลเพื่อบอกแก่สังคม ในข้อนี้    นี่คือ university ranking แนวใหม่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๘ ก.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 23:36 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๒๖. รู้เท่าทัน

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๒๐ก.ย. ๕๖ ฝนตกหนัก    โดยตกหนักมาตั้งแต่ตอนดึก    ผมอดออกไปเดินออกกำลังกาย    เปิดอีเมล์พบคุณบัณฑูร นิยมาภา (ซึ่งผมไม่รู้จัก) เขียนมาบอกเรื่องรณรงค์ให้กัญชาถูกฎหมาย ที่ผมเอาไปลงความเห็นไว้ที่www.gotoknow.org/posts/426448 ทำให้ผมนึกถึงบันทึกเรื่อง อารมณ์ดีไร้กัญชา

 

และทำให้แวบคิดขึ้นว่า การดำรงชีวิตที่ดีในโลกยุคปัจจุบัน จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย    คือหากเรียนรู้ฝึกฝนตนไว้ให้ดี การดำรงชีวิตที่ดีไม่ใช่เรื่องยาก     แม้ต่อไปในอนาคตโลกมันจะยิ่งสับสนยุ่งเหยิง เราก็เรียนรู้ได้    รู้เท่าทันได้

 

แต่คนที่อ่อนแอ ไม่ได้ฝึกฝนเรียนรู้จนจิตใจเข้มแข็ง และรู้เท่าทัน ก็ตกเป็นเหยื่อของสิ่งต่างๆ รอบตัว ได้โดยง่าย

 

ยิ่งในอนาคต โลกจะยิ่งซับซ้อนสับสนและหลอกลวง    คนที่อ่อนแอจะยิ่งตกเป็นเหยื่อง่าย

 

กล่าวอย่างนี้อาจจะผิด    เพราะไปโทษสังคมภายนอก    ที่จริงตัวการที่ทำให้เราอ่อนแอ อาจจะมีสาเหตุหลักมาจากภายในของเราเอง    เพราะเราไม่ได้เรียนรู้ฝึกฝนด้านในของตัวเองให้เข้มแข็ง    ให้รู้จักตัวเอง    ให้ควบคุมกำกับตัวเองได้    เราจึงตกเป็นเหยื่อของสิ่งหลอกลวงรอบตัวได้ง่าย

 

สิ่งลวง ไม่มีอะไรลวงได้ลึกและหลงสนิท เท่าตัวเองลวงตัวเอง

 

วิธีคิดตามแนวที่เขียนข้างบนนั้น เดิมผมคิดไม่เป็น    แต่โชคดีมีโอกาสได้เรียนจาก “ครู” หลายท่าน    ใช้วิธีเรียนแบบลักจำ หรือแอบเรียนจากครู โดยครูไม่รู้ตัว

 

อย่างเมื่อบ่ายวันที่ ๑๙ ก.ย. ๕๖ ในการประชุมสภาสถาบันอาศรมศิลป์    ผมตั้งใจเรียนจาก “ครู” ระพี สาคริก ท่านนายกสภาเต็มที่    โดยที่คนที่อยู่ในห้องประชุมอาจรู้สึกว่า ท่านดูจะหลง    แต่ผมกลับมองว่า ท่านอยู่ในสภาพสมองที่ “สร้างสรรค์” เต็มที่    ผมใช้ iPad mini บันทึกสิ่งที่ผมลักจำจากท่านไว้ ดังนี้

 

“ต้องกล้าแตกต่าง

 

ปัญหาของสังคมในปัจจุบัน

  • ดูถูกของเล็ก
  • มองข้ามสิ่งใกล้ตัว
  • มีของดี แต่รักษาไว้ไม่ได้
  • หลงเรียนสิ่งสมมติ ไม่เรียนของจริง”

 

ยอดปรารถนาในชีวิตของมนุษย์คือความสุข    แล้วมนุษย์ส่วนใหญ่ก็แสวงหาสิ่งต่างๆ มาปรนเปรอความสุข    โดยลืมไปว่า หรือไม่รู้ว่า ความสุขอยู่ภายในใจเรา

 

ความสุขจากความพอเพียง    และรู้เท่าทัน

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๐ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 23:59 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๒๕. สร้างสะพานข้ามหุบเหวมรณะให้แก่ประเทศไทย

พิมพ์ PDF

เมื่อวันที่ ๑๘ก.ย. ๕๖ สภามหาวิทยาลัยมหิดล อนุมัติการจัดตั้ง MITI (Mahidol Institute of Technology Transfer and Innovation - สถาบันวิวัฒน์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล) เป็นหน่วยงานอิสระ   มีบอร์ดของตนเอง   ทำหน้าที่ “วิเคราะห์และยกระดับกลไกการผลักดันงานวิจัยสู่นโยบายระดับชาติ และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในภาคสังคมและธุรกิจ”

 

ฟังเรื่องราวทั้งหมดแล้ว ผมตีความว่า มหาวิทยาลัยมหิดล กำลังจัดตั้ง “วิสาหกิจเพื่อสังคม” (social enterprise) ทำหน้าที่เชื่อมสองฝั่งของหุบเหวมรณะ   ที่ขวางกั้นระหว่างการสร้างสรรค์ทางวิชาการ หรือวิจัยและพัฒนา     กับฝั่งการนำไปประยุกต์เป็นธุรกิจอุตสาหกรรม หรือการทำประโยชน์แก่สังคม ในเชิงนโยบาย หรือด้านอื่นๆ    หรือที่ผมเรียกว่า เป็นการทำ downstream management ของการวิจัยและพัฒนานั่นเอง

 

ทำให้ผมนึกถึง UCLB ที่ผมเพิ่งไปดูงานที่ลอนดอน   และคณะผู้วางรูปแบบ MITI เอ่ยถึง Cambridge Enterprise และมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกอื่นๆ ที่ต่างก็มีบริษัทจัดการเทคโนโลยีและความร่วมมือกับฝ่าย “ผู้ใช้” ทั้งสิ้น   โดยทำงานอย่างมืออาชีพ   มีความเข้าใจความต้องการของฝ่าย “ผู้ใช้”   ที่ ดร. พานิช เหล่าศิริรัตน์ ที่จะมาเป็นผู้อำนวยการ MITI กล่าวว่า จะทำงานแบบ outside-in   และมีเป้าหมายเลี้ยงตัวเองได้    และในที่สุดเป็นหน่วยสร้างรายได้ให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดล

 

แม้จะชื่อ MITI ผมก็เชื่อว่าในที่สุดแล้วหน่วยงานนี้จะไม่เพียงทำงานให้แก่นักวิจัยของ มหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้น  แต่จะทำงานให้แก่หน่วยงานวิจัยทั้งประเทศ    หรือทำงานให้แก่ประเทศไทยนั่นเอง

 

ผมเชื่อว่า MITI จะริเริ่มสร้างสรรค์ และสั่งสมความรู้และทักษะของประเทศ   ในการข้ามหุบเหวมรณะแห่งการวิจัยสู่อุตสาหกรรมและการใช้ประโยชน์ทางการค้า และประโยชน์สาธารณะ

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 03 มีนาคม 2014 เวลา 23:49 น.
 

๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗

พิมพ์ PDF
๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ รวมเวลาในการครองราชย์ได้ 9 ปี ขณะมีพระชนมายุได้ 41 พรรษา และเสด็จไปประทับที่กรุงลอนดอน พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์ขณะมีพระชนมายุ 9 พรรษา

หลังการปฏิวัติ 2475 คณะราษฎรสถาปนาระบอบรัฐธรรมนูญขึ้นปกครองประเทศสยามแทนระบอบสมบูรณาญาสิทธิธิราชย์ ทำให้กษัตริย์ต้องอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่คณะราษฎรบริหารประเทศได้เพียงปีเศษก็เกิดกบฏบวรเดชซึ่งเป็นการโต้กลับของฝ่ายเจ้าและขุนนางระบอบเก่า หรือเป็นผลสืบเนื่องจากความขัดแย้งของระบอบเก่ากับระบอบใหม่ ได้แก่ ความขัดแย้งเรื่องการตั้งสมาคมคณะชาติ ปัญหาเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจ การทำรัฐประหารของพระยามโนปรกรณ์นิติธาดาโดยการออกพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา จนถึงการรัฐประหารของพระยาพหลพลพยุหเสนาและคณะเมื่อ 20 มิถุนายน 2476 และประเด็นสำคัญที่สุดคือ ข้อโต้แย้งเรื่องพระเกียรติยศและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ หลังเหตุการณ์กบฏบวรเดชสงบลงความสัมพันธ์ระหว่างคณะราษฎรกับรัชกาลที่ 7 ก็เสื่อมทรามลง เกิดข้อสงสัยในบทบาทของรัชกาลที่ 7 ต่อกบฏบวรเดช ระหว่างที่เกิดกบฏบวรเดช ทรงประทับอยู่ที่หัวหิน แต่เมื่อสถานการณ์รุนแรงขึ้นก็เสด็จด้วยเรือเร็วไปประทับที่สงขลาซึ่งเป็นจังหวัดใกล้พรมแดนมลายู รัฐบาลพยายามกราบบังคมทูลเชิญเสด็จกลับพระนครก็ไม่สำเร็จ ทรงประทับที่สงขลานานถึงสองเดือนจนเสด็จกลับในเดือนธันวาคม รวมทั้งปรากฏหลักฐานทางทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ว่ารัชกาลที่ 7 พระราชทานเงินให้แก่พระองค์เจ้าบวรเดชสองแสนบาท2

หลังจากเสด็จกลับจากสงขลาเพียงเดือนเดียวรัชกาลที่ 7 ก็เสด็จไปรักษาพระเนตรที่ประเทศอังกฤษ และใช้เวลาขณะประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษต่อรองขอเพิ่มพระราชอำนาจ แต่เมื่อรัฐบาลไม่สามารถตอบสนองจนเป็นที่พอพระทัยได้พระองค์จึงมีพระราชประสงค์ที่จะสละราชสมบัติ รัฐบาลรู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างมากต่อการที่พระองค์อาจจะสละราชสมบัติจึงส่งคณะผู้แทนไปเจรจาแต่ไม่เป็นผล ทรงสละราชสมบัติเมื่อ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477

ต่อมาเมื่อรัฐบาลได้นำเสนอเรื่องการสละราชสมบัติให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาและสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเลือกพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่แล้ว รัฐบาลจึงได้ออกคำแถลงการณ์ให้ประชาชนทราบถึงที่มาที่ไปโดยสังเขป และสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้รัชกาลที่ 7 สละราชสมบัติว่า3

“...ทรงขอร้องต่อรัฐบาลหลายประการ ในประการที่ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ รัฐบาลก็ได้จัดสนองพระราชประสงค์เท่าที่จะจัดถวายได้ ในส่วนที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็เป็นอันนอกเหนืออำนาจที่รัฐบาลจะจัดถวายได้ตามพระราชประสงค์ ...รัฐบาล...ได้พยายามทุกทางจนสุดความสามารถที่จะทานทัดขัดพระราชประสงค์มิให้ทรงสละราชสมบัติ แต่ก็หาสมตามความมุ่งหมายไม่”
ต่อไปนี้คือการอภิปรายและการลงมติเลือกพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 33/2477(สามัญ) สมัยที่ 2 (ประชุมวิสามัญ) วันที่ 6-7 มีนาคม พ.ศ. 2477 รัฐบาลเสนอเป็นญัตติด่วนและขอให้สภาผู้แทนราษฎรประชุมลับ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละพระราชสมบัติ และการเลือกตั้งพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ รัฐบาลโดยพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ทำจดหมายแจ้งสภาผู้แทนราษฎรว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติเมื่อ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 โดยเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐบาลได้โทรเลขแจ้งข้อความในพระราชหัตถเลขามาโดยละเอียด รัฐบาลจึงขอส่งคำแปลโทรเลข พร้อมสำเนาหนังสือและโทรเลขที่เกี่ยวข้องมาให้สภาผู้แทนพิจารณาเรื่องการสละราชสมบัติต่อไป4

เมื่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางและรับทราบเรื่องการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว5 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจึงพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ที่จะสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ต่อไป แต่ก่อนหน้าที่จะเริ่มพิจารณาเรื่องกษัตริย์พระองค์ใหม่อย่างจริงจัง พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ ผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล เสนอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรโทรเลขไปแสดงความอาลัยของสมาชิกสภาต่อรัชกาลที่ 76 แต่พระพินิจธนากร ผู้แทนจังหวัดเชียงใหม่ ไม่เห็นด้วย โดยกล่าวว่า

...ในฐานที่ข้าพเจ้าเป็นสมาชิกและเป็นผู้แทนราษฎรผู้หนึ่งก็อยากจะได้กราบเรียนถึงความจริงใจ ก็เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสละราชสมบัติด้วยพอพระทัยเช่นนี้แล้ว เราจะไปวิงวอนและโทรเลขไปดังที่ท่านผู้แทนสกลนคร และผู้แทนจังหวัดสตูลนั้นทำไมกัน...

ท่านบอกให้โทรเลขเสียใจอะไรกัน

ข้าพเจ้าคัดค้านในเรื่องนี้... ข้าพเจ้าเห็นไม่เป็นการสมควรที่จะโทรเลขไปเสียใจอะไรให้เสียอัฐเปล่าๆ โทรเลขทุกคำที่มีไปเงินไปตกอยู่แก่ต่างประเทศ ...เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องพูดถึงในเรื่องนี้ เราพูดในฐานสมาชิก ข้าพเจ้าขอแสดงความรู้สึกอย่างจริงใจทีเดียว ในชีวิตของเราจะหาโอกาสเช่นนี้ยาก เพราะฉะนั้นเหตุใดที่จะแสดงความเสียใจ ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบเลย เหตุผลที่ข้าพเจ้าคัดค้านว่าไม่ควรจะแสดงความเสียใจนั้น ข้าพเจ้าจะได้กราบเรียนดังต่อไปนี้ เราไม่มีโอกาสจะได้พบโอกาสเช่นนี้เลย โดยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราได้มีเงินสำหรับส่วนพระองค์...
แต่ผู้ทำการแทนประธานสภาฯ กล่าวตัดบทว่า “ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่จำเป็นต้องอธิบายต่อไป” หลังจากนั้นผู้ทำการแทนประธานสภาฯก็ให้ลงมติ ในที่สุดที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ลงมติให้ประธานสภาฯ ส่งโทรเลขไปแสดงความอาลัยต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

หลังจากนั้นจึงเข้าสู่การเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ โดยพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง กล่าวแถลงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า8

ผู้ที่จะสืบราชสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ตามกฎมณเฑียรบาลตามที่สมเด็จกรมพระนริศฯ9 ได้ทรงสืบสวนแล้ว ได้แก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลาฯ ซึ่งได้สิ้นพระชนม์แล้ว กับมีพระราชโอรส คือ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลนั้นเป็นผู้สืบราชสันตติวงศ์ของพระมหาก

ตริย์ตามกฎมณเฑียรบาล...
คัดลอกจาก facebook พิชาญ พงษ์พิทักษ์
แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 02 มีนาคม 2014 เวลา 07:13 น.
 


หน้า 384 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8611292

facebook

Twitter


บทความเก่า