Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

เลือกตั้ง ๒ ก.พ.๒๕๕๗

พิมพ์ PDF

เมื่อวาน (๑ ก.พ.๒๕๕๗) ผมยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่า จะเลือกข้อใดใน ๒ ข้อ ดังนี้

 

๑.ไปเลือกตั้งและกาไม่เลือกใคร เพราะไม่เห็นด้วยกับการจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ ๒ ก.พ.๒๕๕๗ เนื่องจากเชื่อว่าไม่ทำให้ประเทศชาติได้รับผลดีจากการจัดเลือกตั้งในวันที่ ๒ ก.พ.๒๕๕๗ ประเทศชาติต้องเสียเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก และผลของการเลือกตั้งจะไม่เกิดผลในด้านการปฎิรูปเลยกลับทำให้เกิดการแตกแยกมากกว่าเดิม เสี่ยงกับการสูญเสียเลือดเนื้อของประชาชน สำหรับเหตุผลที่ผมคิดจะไปเลือกตั้งเพื่อไม่ให้ใครนำไปอ้างว่าผมไม่ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้ง และไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง และเป็นการรักษาสิทธของผม

 

๒.ไม่ไปเลือกตั้งเพื่อแสดงให้เห็นว่าผมไม่เห็นด้วยกับการจัดการเลือกตั้งในวันที่ ๒ ก.พ.๒๕๕๗ เหตุผลในการเลือกไม่ไปเลือกตั้ง เพราะเห็นว่า รัฐบาลรักษาการไม่มีคุณสมบัติที่ทำให้ผมและประชาชนเป็นจำนวนมากไว้ใจให้เป็นรัฐบาลรักษาการ ผลงานจากการบริหารจัดการบ้านเมื่องที่ผ่านมา มีแต่สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติอย่างมากมายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รัฐบาลรักษาการไม่ได้คิดถึงประเทศชาติ ไม่ฟังเสียงจาก กกต ซึ่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้ง ไม่ฟังเสียงทักท้วงจากหลายๆฝ่าย  รัฐบาลรักษาการขาดคุณธรรมและจริยธรรม ทั้งๆที่ทำความเสียหายให้กับบ้านเมืองอย่างมากมายแล้ว ควรละอายใจและขอโทษประชาชน และลาออกเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมมือกันปฎิรูปประเทศชาติอย่างแท้จริง

 

เมื่อคืนทราบว่าเขตหลักสี่ที่ผมต้องไปเลือกตั้งประกาศว่า "เขตหลักสี่ไม่มีการเลือกตั้ง " ทำให้ผมสบายใจเพราะว่าไม่ต้องตัดสินใจเลือกข้อ ๑ หรือ ข้อ ๒ เพราะจริงๆแล้วทั้งสองข้อมีเหตุผลเดียวกัน แต่ยังเกิดการสัปสนอีกเพราะมีการ ออกข่าวมาว่า ประชาชนในเขตหลักสี่ต้องไปแจ้งที่เขตหลักสี่ภายใน 7 วันถ้ายังต้องการรักษาสิทธิในการเลือกตั้ง เพราะถ้าไม่ไปแสดงความจำนงว่าต้องการใช้สิทธิในการเลือกตั้งภายใน ๗ วัน ถือว่าเป็นผู้ที่ไม่ต้องการใช้สิทธิไปเลือกตั้ง จึงถือว่าหมดสิทะธิตามกฎหมาย

ผมเกรงว่าการปล่อยข่าวนี้ออกมาจะทำให้คนที่ไปแจ้งความจำนง จะถูกนำไปใช้เป็นข้อมูลว่าเป็นผู้เห็นด้วยกับการให้มีการเลือกตั้งในวันที่ ๒ ก.พ.แต่ถูกขัดขวางสิทธิ และนำไปใช้เป็นจำนวนผู้เสียหายและนำไปฟ้อง กกปส

 

ผมคิดว่าในกรณีนี้ ประชาชนในเขตหลักสี่และเขตเลือกตั้งที่ทาง กกต ประกาศให้ยกเลิกการเลือกตั้งในวันที่ ๒ ก.พ.๒๕๕๗ ไม่จำเป็นต้องไปแจ้งความจำนงว่าต้องการไปใจสิทธิเลือกตั้ง และจะไม่ถูกตัดสิทธิใดๆทั้งสิ้น ยินดีรับฟังความเห็นจากท่านผู้รู้ทุกท่านครับ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๒ ก.พ.๒๕๕๗

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 12:29 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๘๘. โยนิโสมนสิการแผนพัฒนาประเทศ สู่อำนาจปัญญาเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย

พิมพ์ PDF

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๘๘. โยนิโสมนสิการแผนพัฒนาประเทศ สู่อำนาจปัญญาเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย

 

ในการสัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๒๖ พ.๕๖ ซึ่งผมได้บันทึกสาระของการพูดคุยไว้แล้ว ในบันทึกนี้ ทีมของสภาพัฒน์มอบเอกสารเส้นทางประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียน และวารสารเศรษฐกิจและสังคม จำนวนหนึ่ง เป็นการตอบแทน

ผมเอามาพลิกๆ ดู และถามตนเองว่ากิจการต่างๆ ของสภาพัฒน์ เท่าที่ผมเห็น    จะเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศไทย ออกจากกับดักรายได้ปานกลาง     และให้ประเทศไทยเข้าสู่สภาพ สังคมเข้มแข็ง ๓ มุม” ได้ไหม    สังคม ๓ มุม คือสังคมมั่นคง  สังคมสีเขียว  และสังคมวัฒนธรรม ตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

คำตอบคือ ประเทศไทยเรายังขาดกลไกเชิงสถาบันเพื่อการนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกเชิงปัญญาที่เป็นอิสระจากอำนาจ ทั้งหลาย สำหรับช่วยเป็นแรงส่งการดำเนินการที่ซับซ้อนและปรับตัว (complex-adaptive) ยิ่ง คือการพัฒนาประเทศ   โดยใช้ อำนาจปัญญา เป็นอำนาจที่ ๔    เพิ่มจากอำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร  และ อำนาจตุลาการ ในสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร อย่างในปัจจุบัน เราต้องการอำนาจปัญญาที่เข้มแข็ง เป็นอิสระ และซื่อสัตย์

สภาพัฒน์ ไม่อยู่ในฐานะนั้น เพราะเป็นหน่วยราชการ    ผู้บริหารของสภาพัฒน์ต้องประนีประนอมกับนักการเมือง    ผู้มีอำนาจให้คุณให้โทษตนได้ ไม่สามารถทำงานวิจัยแบบวิเคราะห์เจาะลึกตรงไปตรงมา และบอกแก่สังคมแบบไม่เกรงกลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมได้    คือสภาพัฒน์ยังเป็นกลไกรัฐบาล ไม่ใช่กลไกประเทศไทย และเก่งยกร่างแผนพัฒนาที่ประนีประนอม    แต่ไม่เก่งเลยในช่วงของการดำเนินการตามแผน

ผมได้รับแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนา ฉบับที่ ๑๑ ด้วย  โดยมี ดรณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธาน ผมมีโอกาสไปประชุมครั้งแรกครั้งเดียว    แล้วไม่ได้ไปอีก   เพราะเขาไม่นัดประชุมล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ    ใช้วิธีนัดตามที่ประธาน สะดวก    นัดทีไรผมไม่ว่างสักที    ตอนไปประชุม ผมเสนอให้ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (จริงๆ คือสารสนเทศ - information) ที่สื่อสารกว้างขวางได้ และชาวบ้านเข้าใจ    โดยมีดัชนีชุดหนึ่งของ สังคมมั่นคง  สังคมสีเขียว  และสังคมวัฒนธรรม ให้เห็นแนวโน้มความเคลื่อนไหว

จะเห็นว่า ความเสื่อมโทรมของสังคมไทยในช่วง ๑๐ ปีเศษที่ผ่านมา ในด้านการเมือง ที่ขบวนการมวลมหาประชาชน ออกมาชุมนุมเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศไทย นั้น    ไม่มีสัญญาณจากสภาพัฒน์ออกมาเตือนสังคมเลย

และสภาพัฒน์ ไม่ได้จับประเด็นสำคัญหลัก ๒ อย่างตามความเห็นของคุณบรรยง พงษ์พานิชที่นี่ (ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างมากคือ เรื่องผลิตภาพกับเรื่องการกระจายรายได้ ขึ้นมาเป็นเป้าหมายหลักของการขับเคลื่อน

 

จะว่าสภาพัฒน์ ทำงานไม่ดีก็คงไม่ถูก    เพราะงานหลายอย่างของสภาพัฒน์ ก็ช่วยประสานการเคลื่อนสังคมไทย ไปข้างหน้าอย่างเป็นระบบและอย่างมีสารสนเทศสนับสนุน   เพียงแต่ว่ายังขาดงานส่วนที่เป็นการจัดทำสารสนเทศเชิงลึก และเป็นวิชาการมากๆ    โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบที่ไม่เข้าใครออกใคร ซึ่งเป็นบทบาทสร้าง อำนาจปัญญาให้แก่สังคมไทย

 

ที่จริงเรามีสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)    มี วช., สวทช., สวรส., สกว., สวก., สวทน.   แต่ยังไม่มีการใช้พลังของหน่วยงานเหล่านี้อย่างเต็มที่    ไม่มีการพัฒนานักวิจัยระดับยอดอย่างจริงจังและเป็นระบบ    ไม่มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนอย่างที่แถลงนโยบาย    กล่าวได้ว่านโยบายรัฐบาลในเรื่องสนับสนุนการวิจัยนั้น ในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา เป็นนโยบายประเภท ดีแต่ปาก”    ไม่ได้ทำจริงจัง    ในรัฐบาลที่เพิ่งลาออกไปมีรัฐมนตรีที่เข้ามาทำลายระบบการวิจัย ด้วยซ้ำ

 

ตราบใดที่ประเทศไทยยังไม่มีระบบอำนาจปัญญาที่เข้มแข็ง เป็นอิสระ และซื่อสัตย์    ประเทศไทยจะพัฒนายกระดับขึ้นไป ได้ยาก หรือไม่ได้เลย

การปฏิรูปประเทศไทย ต้องคำนึงถึงการสร้างระบบปัญญาของประเทศ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๕ ม.๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 20:25 น.
 

Vote No – No Vote : ศ. ดร. เขียน ธีระวิทย์

พิมพ์ PDF
ผมเชื่อว่าการเลือกตั้งคราวนี้ จะเป็นโมฆะ ไม่ไปเลือกก็ไม่เสียสิทธิ แต่รัฐเสียเงินเลือกตั้งเปล่า 3,800 ล้านบาท เพราะเรามีรัฐบาลขี้โกง

Vote No – No Vote  : ศ. ดร. เขียน ธีระวิทย์

 

ความเห็นส่วนตัวของผม.......

 

สำหรับคนที่ไม่เอาระบอบทักษิณนั้น ที่เพียง 2 ทางเลือก คือ VOTE NO      หรือ    NO VOTE

1. สำหรับคนที่ต้องการรักษาสิทธิบางประการตามข้อ 2 ก็เชิญไปเลือกตั้ง VOTE NO     จะได้ผล ถ้าการเลือกตั้งคราวนี้ไม่เป็นโมฆะ

2, ส่วนผมจะไม่ไปลงคะแนนเพราะ

2.1 ผมยอมเสี่ยงเสียสิทธิทางการเมืองบางประการ ซึ่งไม่สำคัญสำหรับผม (ไม่เคยใช้อยู่แล้ว)

2.2 ผมต้องการแสดงเชิงสัญลักษณ์ว่า ไม่ยอมรับรัฐบาลในระบอบทักษิณ ที่ละเมิดกฎหมายและรัฐธรรมนูญซ้ำซากหมดความชอบธรรมที่จะเป็นรัฐบาลและเป็นเจ้าภาพในการจัดการเลือกตั้ง

2.3 ถ้าไปเลือกตั้งโดย  VOTE NO     ถึงแม้จะมีคะแนนมากกว่าผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดและเป็นเหตุ ให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่ในที่สุด ผลก็จะได้ส.ส.ฝูงแกะของทักษิณซึ่งจะเลวร้ายกว่าสภาผู้แทนที่ถูกยุบไปแล้ว เสียอีก (ตามกฎหมายเลือกตั้ง ม. 88,89,9)

2.4 ถ้ามีคนไปลงคะแนนน้อย เช่นน้อยกว่า 50 % จะมีผลเท่ากับปฏิเสธความชอบธรรมของรัฐบาล และสภาผู้แทนราษฎร

2.5 ผมเชื่อว่าการเลือกตั้งคราวนี้ จะเป็นโมฆะ  ไม่ไปเลือกก็ไม่เสียสิทธิ แต่รัฐเสียเงินเลือกตั้งเปล่า 3,800 ล้านบาท เพราะเรามีรัฐบาลขี้โกง

 

เขียน ธีระวิทย์

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 20:16 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๘๖. การเมืองเรื่องน้ำ

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๕ ม.๕๗ ผมฟังวิทยุ เอฟเอ็ม ๑๐๑ ระหว่างเดินออกกำลัง    ในรายการเวทีปฏิรูป คุณชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ สัมภาษณ์คุณหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ    เรื่องการปฏิรูประบบบริหารจัดการน้ำ    ที่จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศไทย    ฟังแล้วเกิดความประทับใจในความรอบรู้ และน้ำเสียงเห็นแก่ส่วนรวม

สาระที่ประทับใจคือคำว่า น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ    ที่ผมไม่เคยรู้จัก    เขาบอกว่าการปิดๆ เปิดน้ำจากเขื่อน    ช่วงปิดก็ปิดตาย น้ำในแม่น้ำแห้ง    จะทำลายระบบนิเวศ    ต้องปล่อยน้ำลงมาพอสมควรเพื่อรักษาระบบนิเวศ    แต่เขื่อนมักไม่ได้ทำ    แต่พอฟังข่าววิทยุแห่งประเทศไทย ๗ โมงเช้า    มีข่าวเรื่องขอร้องให้งดทำนานอกฤดู เพราะน้ำในเขื่อนจะไม่พอใช้    ต้องแบ่งปันกันใช้หลายทาง    เขาเอ่ยถึงน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศด้วย

จากการฟังข่าวจาก ๒ ทางนี้   ทำให้ผมสงสัยว่าจะเชื่อใครดี    เพราะคุณหาญณรงค์บอกว่า น้ำในเขื่อนมีกว่า ๗๐%   แต่คุณหาญณรงค์ว่ามีให้ใช้ได้เพียงร้อยละ ๕๐ เศษๆ เท่านั้น

ผมลองมาค้นด้วย กูเกิ้ล พบ ข่าวนี้ และ การอภิปรายนี้

เป็นที่รู้กันว่าในอนาคตเรื่องน้ำ จะเป็นเรื่องคอขาดบาดตายของโลก และสังคม    ถ้าไม่จัดระบบให้ดีจะก่อปัญหามากมาย    โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแย่งชิง    เป็นส่วนหนึ่งของการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นส่วนสำคัญของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ของคนที่ไม่มีกำลังต่อรอง คือชาวบ้าน    โดยฝ่ายที่มีอำนาจ ได้แก่อำนาจรัฐ หรือฝ่ายที่มีอำนาจเงิน    โดยมีตัวอย่างที่เกิดมาแล้ว มากมาย เช่นเขื่อนปากมูล

เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอรัปชั่นที่เรากำลังต้องการขจัดในขบวนการปฏิรูปประเทศไทยในขณะนี้    ถ้าท่านอ่านข่าวที่ลิ้งค์ให้แล้ว จะเห็นร่องรอยของ คอรัปชั่นเชิงนโยบาย

 

 

วิจารณ์ พานิช

๕ ม.๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2014 เวลา 07:52 น.
 

ใครไม่เคารพประชาธิปไตยกันแน่ - The Guardian

พิมพ์ PDF

ใครไม่เคารพประชาธิปไตยกันแน่ - The Guardian

But the truth is more complex, with the protesters being arguably – and paradoxically – more democratically minded than the elected government they oppose. To understand how this is possible, one has to scratch beneath the surface of Thai politics and dispel some myths.

ใครไม่เคารพประชาธิปไตยกันแน่ - The Guardian

อ่าน ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ม.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2014 เวลา 07:55 น.
 


หน้า 393 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8607404

facebook

Twitter


บทความเก่า