Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ผลงานวิจัยนำสู่นโยบายภาคประชาชน

พิมพ์ PDF

ทีดีอาร์ไอ และสถาบันคลังสมองของชาติ ทำงานวิจัยเรื่องโครงการรับจำนำข้าว   และสื่อสารสังคมมาตลอด ว่าโครงการนี้จะทำลายความเป็นที่หนึ่งของไทยในโลก ด้านข้าว    และที่สำคัญเป็นช่องทางคอรัปชั่นของนักการเมือง ซึ่งอ่านได้ ที่นี่ และ ที่นี่

วันที่ ๒๑ ธ.๕๖ ผมพบนักวิจัยท่านหนึ่งคือ รศดรนิพนธ์ พัวพงศกร  แห่ง ทีดีอาร์ไอจึงเรียนท่านว่า ผลงานวิจัยของท่านก่อผลกระทบเชิงนโยบายของประเทศอย่างยิ่งยวด   คือเป็นหลักฐานบอกคนไทยทั้งชาติว่ารัฐบาลทักษิณที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิด โกงชาติเพียงใด   นำสู่การรวมตัวประท้วงเป็นระลอกๆ เพื่อแสดงพลังไม่ไว้วางใจรัฐบาลนั้น

ทั้ง ทีดีอาร์ไอ (ดรนิพนธ์)    และ สถาบันคลังสมองฯ (รศดรสมพร อิศวิลานันท์ทำงานวิจัยอย่างน่าเชื่อถือ    มีข้อมูล มีหลักวิชาการ    แล้วบอกแก่สังคม ว่าโครงการรับจำนำข้าว ทั้งของรัฐบาลนี้ และของรัฐบาลก่อนๆ เป็นช่องทางคอรัปชั่นอย่างไรบ้าง    และรุนแรงยิ่งในรัฐบาลที่เพิ่งลาออกไป

เมื่อมีการชุมนุมประท้วง โดยมวลมหาประชาชน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม ๒๕๕๖   ที่ผู้คนออกมาร่วมชุมนุมขับไล่รัฐบาลมากมายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน    ก็เป็นตัวบอกว่า เขาได้รับข้อมูลต่างๆ มากเพียงพอที่จะลงความเห็นว่ารัฐบาลทักษิณที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิดเลวร้ายเพียงใด

ทำให้ผมคิดออก ว่างานวิจัยเพื่อประโยชน์เชิงนโยบายนั้น    ไม่จำเป็นที่จะต้องมีผู้บริหารเป็นผู้นำไปใช้เท่านั้น    ประชาชนในภาพรวม ก็มีโอกาสเอาไปใช้ได้ หากเราสื่อสารสังคมออกไปอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง อย่างกรณีการวิจัยเรื่องโครงการรับจำนำข้าว

ในยุคดิจิตัล ที่สื่อแพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว    ผลการวิจัยที่ดี สื่อสารดี ย่อมก่อประโยชน์เชิงสร้างสรรค์ต่อสาธารณะได้มากอย่างกรณี การวิจัยโครงการรับจำนำข้าว

และปรากฏการณ์ประชาชนเสพผลงานวิจัย    ทำให้นักการเมืองจอมโกง ไม่สามารถหลอกประชาชนได้    เป็นข้อเรียนรู้สำหรับผมอย่างยิ่ง    ในเรื่องหลักการจัดการงานวิจัย ไปสู่การใช้ประโยชน์

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ธ.๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 22 มกราคม 2014 เวลา 21:21 น.
 

คุยกับ ศ. ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑๘ พ.ย. ๕๖  หลังจบการประชุมคณะกรรมการตัดสินผลงานวิจัยเด่น สกว.   ศ. ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ กับผมถือโอกาสอยู่คุยกันต่อ    เรื่องแนวทางส่งเสริมการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เรามีความเห็นพ้องกันว่า ความเข้มแข็งทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นสิ่งจำเป็นต่อความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง    หรือมองมุมกลับ หากยังปล่อยให้การวิจัยด้านนี้ยังอ่อนแอ อย่างในปัจจุบัน    จะมีผลร้ายต่อสังคม

ผมให้ความเห็นกับท่านว่า    สกว. ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารงานวิจัย อย่างน่าชื่นชมมาก    แต่ความสำเร็จนั้น เอียงไปข้างสาขาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี    สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่ได้รับอานิสงส์เท่าที่ควร    สะท้อนว่า แนวทางการจัดการงานวิจัยของ สกว. นั้น  น่าจะยังไม่เหมาะสมสอดคล้องกับธรรมชาติของงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

จึงน่าจะมีการพัฒนาองค์กร และระบบบริหารงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ขึ้นมาในสังคมไทย   แบบเดียวกับที่ผมและคณะพัฒนา สกว. และระบบการจัดการงานวิจัยของ สกว. ขึ้นเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว

เราคุยกันถึงองค์กรแบบ The Social Science Research Council ในสหรัฐอเมริกา     The Social Science and Humanities Research Council ของแคนาดา    Arts and Humanities Research Council ของอังกฤษ

ดร. ธเนศ เอ่ยถึงตัวอย่าง ARI NUS   ที่เริ่มต้นด้วยการไปดึงตัว Prof. Anthony Reid มาจาก ANU   โดยที่ทางรัฐบาลสิงคโปร์ให้งบประมาณหนุนการจัดตั้ง ARI (Asia Research Institute) เต็มที่    ผมให้ความเห็นว่า กรณีเช่นนั้นเกิดยากในประเทศไทย   เพราะรัฐบาลไม่มองมหาวิทยาลัยและวิชาการเป็นเครืองมือ ในการสร้าง ความเข้มแข็งของประเทศ    บางรัฐบาลระแวงมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ

ผมชี้ให้เห็นว่า การมี สกว. ในสังคมไทยเป็นอุบัติเหตุ หรือเหตุบังเอิญ    เกิดจากการมีรัฐบาลอานันท์ และมี ศ. ดร. ไพจิตร เอื้อทวีกุล ที่มีสายตากว้างไกล   ผมยังมองไม่เห็น ว่ารัฐบาลจากการเลือกตั้ง ในสภาพปัจจุบัน จะเห็นความสำคัญของการก่อตั้ง สำนักงานสนับสนุนการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

แต่เราก็ไม่สิ้นหวัง    เราต้องช่วยกันคิดหาช่องทางสร้างความเจริญด้านวิชาการ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็น Knowledge-Based Society   หลุดพ้น  middle-incoem trap ให้ได้

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ พ.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๘๐.ไม่เห็นด้วยกับข้อเขียนของตนเอง

บันทึก คุยกับ ศดรธเนศ อาภรณ์สุวรรณบันทึกนี้ มีคุณลูกหมูเต้นระบำมาแสดงความคิดเห็นเชิงเห็นด้วย   ผมพิจารณาใหม่ กลับไม่เห็นด้วยกับที่ตนเองเขียนไป   ว่าอาจสื่อความหมายผิด

จริงๆ แล้ว ในยุคสมัยปัจจุบัน ศาตร์ต่างๆ ยืนโดดเดี่ยวยาก   เพราะโลกมันซับซ้อน ในท่ามกลางทุนนิยม บริโภคนิยม มูลค่านิยม ศาสตร์ที่เป็นคุณค่า เป็นนามธรรมต้องหาทางดำรงอยู่ด้วยวิธีต่างๆ    วิธีหนึ่งคือจำแลงกายเข้าไปฝังตัวอยู่ในสินค้า หรือบริการ    เหมือนอย่างที่ แบคทีเรียในสมัยโบราณ หาทางดำรงอยู่โดยเข้าไปอยู่ใน เซลล์ ของสิ่งมีชีวิตอื่น    จนในปัจจุบันเรารู้จักกันในชื่อmitochondria

ไมโตฆอนเดรีย มีความสำคัญมากเสียจนต้องไปอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด    เพราะเซลล์ต้องการเพื่อการดำรงชีวิต    เนื่องจากเป็นโรงงานผลิตพลังงาน จนในที่สุด แบคทีเรียชนิดนี้ก็ไม่ต้องอยู่แบบตัวเดียวโดดเดี่ยวอีกต่อไป    เข้าไปอยู่ในเซลล์ เป็นส่วนหนึ่งของเซลล์เสียเลย

ศาสตร์ หรือวิชาการด้านมนุษยศาสตร์   เป็นศาสตร์ว่าด้วยความเป็นมนุษย์    มิติของความเป็นมนุษย์จะต้องอยู่ใน สินค้าและบริการทุกชนิด    เพราะสินค้าและบริการก็เพื่อมนุษย์เป็นผู้บริโภค    วิชาการด้านมนุษยศาสตร์จึงต้องเป็นศาสตร์หนึ่ง ที่ใช้พัฒนาสินค้าและบริการ

หลายปีมาแล้ว ผมอ่านพบในนิตยสารด้านธุรกิจ ไม่แน่ใจว่าใช่ Fortune หรือไม่    ว่าบริษัท สมาร์ทโฟน แห่งหนึ่ง จ้างนักมานุษยวิทยาระดับปริญญาเอก เป็นผู้จัดการแผนก human interphase หรืออะไรทำนองนี้    มีหน้าที่บินไปตามประเทศต่างๆ ในโลก    เพื่อไปดูว่าผู้คนเขาใช้ สมาร์ท โฟน กันอย่างไร    แล้วกลับมาเล่าให้วิศวกรผู้ออกแบบ สมาร์ท โฟน รุ่นใหม่    สำหรับเป็นข้อมูลประกอบการออกแบบ ให้ถูกใจผู้ใช้

เห็นไหมครับ จะอย่างไรก็ตาม มนุษย์เราก็ยังยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง    แล้ววิชาการว่าด้วยความเป็นมนุษย์ จะไม่สำคัญได้อย่างไร    แต่ความสำคัญนั้น อาจต้องตีความหลายแบบ    โดยอาจสำคัญแล้วต้องมีความเป็นตัวของตัวเอง ก็แบบหนึ่ง    หรือสำคัญมากจนไม่ต้องมีตัวตน กลายเป็น ไมโตฆอนเดรีย หรือ intel inside (คอมพิวเตอร์) ก็อีกแบบหนึ่ง    ที่เป็นคนละขั้วทีเดียว

ผมเห็นบางมหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีหลักสูตรการท่องเที่ยว    มีวิชาด้านมนุษยศาสตร์เพียบ    เห็นแล้วคิดว่า นี่คือหนทางหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งของวิชาการด้านมนุษยศาสตร์    คือเปิดโอกาสให้นักวิชาการด้านนี้ทำงานวิจัย และสอน บนพื้นฐานของการสร้างสรรค์วิชาการจากชีวิตจริงในปัจจุบัน    ไม่ใช่สร้างสรรค์จากเอกสารหรือจารึกจากอดีตเท่านั้น   มนุษยศาสตร์ในปัจจุบัน จึงควรสร้างศาสตร์ทั้งจากอดีต และจากปัจจุบัน

หากนักวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ สามารถสร้างสรรค์วิชาการจากปัจจุบันได้จริง    จากกิจกรรมและปรากฏการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน    ศาสตร์ด้านนี้ ก็น่าจะเอาใจใส่สร้างวิธีวิทยาการวิจัยจากข้อมูลจริงนี้    แล้วศาสตร์ทั้งสองก็จะเฟื่องฟูรุ่งเรืองมาก    เพราะมีข้อมูลเรื่องราวให้วิจัยไม่จำกัด    เพราะสังคมมันเปลี่ยนเร็ว

นั่นหมายความว่า วิธีสร้างศาสตร์เกี่ยวกับมนุษย์และสังคม ต้องไม่ใช่แค่ยึดโยงกับอดีตเท่านั้น    ต้องยึดโยงกับปัจจุบันและอนาคตด้วย    โดยจะต้องสร้างวิธิการ และจารีตทางวิชาการขึ้นใหม่    ไม่ใช่ยึดมั่นถือมั่นอยู่กับจารีตวิชาการที่ตนเล่าเรียนมาเท่านั้น

ทั้งหมดนี้ เป็นการเถียงกับตนเอง    ไม่เห็นด้วยกับตนเอง

ผมเป็นโรคจิตเภทหรือเปล่า

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 22 มกราคม 2014 เวลา 15:09 น.
 

บุคลากรสุขภาพ เรียกร้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

พิมพ์ PDF
ปฏิรูปก่อนเลือกตั้งหมายความว่า กำหนดกรอบ และเป้าหมาย ไว้ก่อนเลือกตั้ง ไม่ใช่ปฏิรูปเสร็จ การปฏิรูปประเทศไทยจะใช้เวลายาว เป็นสิบปี และต้องทำต่อเนื่อง ป้องกันการผูกขาดอำนาจ และการโกงกินชาติ

บุคลากรสุขภาพ เรียกร้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

อ่าน ที่นี่ ปฏิรูปก่อนเลือกตั้งหมายความว่า กำหนดกรอบ และเป้าหมาย ไว้ก่อนเลือกตั้ง    ไม่ใช่ปฏิรูปเสร็จ    การปฏิรูปประเทศไทยจะใช้เวลายาว เป็นสิบปี   และต้องทำต่อเนื่อง   ป้องกันการผูกขาดอำนาจ และการโกงกินชาติ

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ม.ค. ๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 22 มกราคม 2014 เวลา 20:18 น.
 

ฝันเรื่องสภามหาวิทยาลัยมหิดล

พิมพ์ PDF

สภามหาวิทยาลัยมหิดลกำลังทำเรื่องใหญ่    คือการจัดตั้งสำนักงานสภาฯ ที่มีคุณภาพสูง และทำงานใหญ่ได้    เราหวังว่าจะทำได้สำเร็จ

โดยเป้าหมายไม่ใช่แค่เพื่อความเจริญก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้น    แต่หวังทำงานใหญ่ให้แก่บ้านเมืองด้วย   คือทำงานร่วมพัฒนาระบบ Good Governance ของสถาบันอุดมศึกษา   และในระบบอุดมศึกษา

แน่นอนว่า หัวเรือใหญ่ในระดับชาติ ของการพัฒนาระบบ Good Governance ของสถาบันอุดมศึกษา   และระบบอุดมศึกษา คือ สถาบันคลังสมองของชาติ

สำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล จะเข้าไปร่วมเป็นภาคีขับเคลื่อนการพัฒนาระบบ ธรรมาภิบาลอุดมศึกษา (University Governance) อย่างจริงจัง    ด้วยความเชื่อว่า ระบบธรรมาภิบาล (สภามหาวิทยาลัย) ที่เข้มแข็ง    จะเป็นพลังส่งความเจริญก้าวหน้าของมหาวิทยาลัย    ช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถทำสิ่งยาก แต่มีความจำเป็นต่อความก้าวหน้า ให้ลุล่วงได้

ดังนั้น ฝันข้อที่ ๑ คือ   สำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล จะทำงานทั้งระดับสถาบัน   และระดับประเทศ ด้วยความเชื่อว่า    ยุทธศาสตร์นี้ จะช่วยให้สำนักงานสภาฯ ทำหน้าที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดลได้มากขึ้น

ฝันข้อที่ ๒ สำนักงานสภามหาวิทยาลัย ร่วมกับฝ่ายบริหาร ทำให้การทำหน้าที่กำกับดูแล  และกำหนดนโยบาย โดยสภาฯ   เป็นการทำงานแบบ Well-Informed Policy-Making ซึ่งหมายความว่า จะมีการพัฒนาระบบ Information for Policy-Making    สำหรับใช้งานโดยสภามหาวิทยาลัย  เชื่อมโยงกับระบบ MIS (Management Information System) ของมหาวิทยาลัย

ฝันข้อที่ ๓ สำนักงานสภามหาวิทยาลัย   ดำเนินการให้มีเอกสารแนวทางการดำเนินการ ของสภามหาวิทยาลัย ในเรื่องต่างๆ    รวมทั้งรวบรวมนโยบาย และมติของสภาฯ ให้เป็นหมวดหมู่ และทันสมัย ในเรื่องนี้ สำนักงานสภาฯ ต้องเสนอแนะต่อสภาฯ (หรือคณะกรรมการกิจการสภาฯ) ว่ายังมีเรื่องใดบ้างที่สภาฯ ยังไม่ได้กำหนดแนวทางหรือนโยบายไว้ให้ชัดเจน    อาจมีปัญหาในภายหน้าได้

ฝันข้อที่ ๔ สำนักงานสภามหาวิทยาลัย   ดำเนินการให้มีการติดตามความก้าวหน้า ของการดำเนินการตามแนวทางหรือนโยบายกำกับดูแล ที่สภาฯ กำหนดไว้ และเสนอแนะการปรับเปลี่ยนแนวทางหรือนโยบาย ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ต่อสภามหาวิทยาลัย

 

ทั้งนี้ หมายความว่า ผมมองรูปแบบการทำงานของสภามหาวิทยาลัย ว่าไม่มีรูปแบบคงที่ตายตัว    ต้องมีการทดลองและพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมตามยุคสมัย    ตามบริบทที่เปลี่ยนไป    และตามลักษณะที่แตกต่างกันของแต่ละมหาวิทยาลัย

 

จุดสำคัญที่สุดคือ ระบบกำกับดูแล ที่ช่วยให้สถาบันอุดมศึกษาไทยเชื่อมโยงเข้ากับสังคม (social engagement)   เข้าไปทำงานเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนความเจริญก้าวหน้าของประเทศ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ม.ค. ๕๗

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2014 เวลา 09:01 น.
 

จดหมายถึง ปธน. โอบามา

พิมพ์ PDF
Although in self-imposed exile, Thaksin continues to run Thailand and implement the policy of corruption through his sister. แม้อยู่ระหว่างหนีคุก ทักษิณยังคงปกครองประเทศไทย ด้วยระบบที่โกงกิน ผ่านน้องสาว

Letter to President Obama regarding Thailand's Political Crisis - A Response to Michael Turner

.17 มกราคม 2014 เวลา 18:21 น.President Barack Obama

 

President of the United States of America

The White House

1600 Pennsylvania Ave., NW

Washing, D.C. 20500

 

17 January 2014

Dear Mr. President,

I am writing in response to Congressman Michael R. Turner's letter to you yesterday, urging you to publically voice opposition to the anti-government movement and support the election on 2 February 2014.  With all due respect, Congressman Turner's letter is misguided and shows a lack of understanding of the Thai political crisis.

As a U.S. trained lawyer, and citizen of the U.S. and Thailand, I am pro-democracy. Indeed, I have often volunteered for voters' assistance groups to inform Americans on voting registration, necessary documents for voting, and finding the right precinct to ensure that their votes do get counted.

The movement is not to rid Thailand of democracy.  It is to rid Thailand of the most tyrannical and dictatorial regime in history.  Throughout history, many dictators have been democratically elected.  Saddam Hussein received 100% of the votes. Hugo Chavez, whom you publically called authoritarian, was also elected by the majority.

The Thaksin authoritarian government, elected through vote-rigging, proved to be the most corrupt and the gravest human rights violator.  In order to fully appreciate the current political crisis, one must examine the telecommunications Tycoon' legacy.  To name a few examples of Thaksin's egregious conducts:

■In February 2003, Thaksin launched a "war on drugs" campaign resulting in 2,800 extrajudicial killing in the span of three months.  In 2007, official investigations concluded that more than half of those executed had no connections with drugs.  The UN Human Rights Committee raised serious concerns yet perpetrators were never prosecuted.

■In 2004, Thaksin's security forces shot, suffocated or crushed to death 85 southern protestors in what is known as the Tak Bai massacre. Human Rights Watch has condemned this atrocity and urged independent criminal investigation but again, to no avail.

■ According to Amnesty International, 18 human rights defenders were either assassinated or disappeared.

■Due to Thaksin's censorship and intimidation of the press, human rights violations remained unreported and any dissent was silenced.

■In an attempt to circumvent conflict of interest laws, Thaksin illegally transferred billions of baht in assets to his maids and drivers, without their knowledge.

■Thaksin aided his wife to purchase government land at a reduced rate of 1/3 in violation of the law prohibiting political leaders from engaging in business dealings with the government. Thaksin was consequently sentenced to two years in prison but fled the country and never served his sentence.

■Thaksin approved a US $127 million low-interest government loan to Myanmar's military-run government to purchase satellite services from his telecommunications business.

■During his tenure as prime minister, Thaksin sold his stakes in telecoms giant Shin Corp to Temasek holding, evading taxes worth $16.3 million.

■Thaksin's countless measures to benefit his telecommunications business prompted the Supreme Court to unanimously find him guilty of 4 counts of policy corruption and order seizure of $1.4 billion of his frozen $2.3-billion fortune.

 

These are just examples of the myriad ways in which Thaksin abused and robbed this country.  Although in self-imposed exile, Thaksin continues to run Thailand and implement the policy of corruption through his sister.  In a guised attempt to foster reconciliation, the current Thaksin regime passed the Amnesty Bill, designed to pardon protestors from all sides for engaging in political expression.  At 4:25 am on a Friday night, the Thaksin-controlled parliament passed the final version of the bill that would now pardon all politicians ever charged or convicted of corruption since the coup.  The revised bill also provided for the return of assets seized.  To state the obvious, this law was passed solely to pave way for Thaksin's return as a free man with all his wealth restored.

 

In a ploy to control both the parliament and the senate, Thaksin's current government attempted to amend the senate structure and bar appointed senators who are professionals from all sectors.  Eliminating this system would result in Thaksin's party controlling the legislative branch without any checks and balances. The Amnesty Bill or any other laws to enable Thaksin's corruption can then easily pass.  Although the Constitutional Court struck down the senate-restructuring measure, Thaksin's government openly declared that it would defy the court's decision.

It is this blatant systematic policy of corruption and abuse of power solely for the benefit of Thaksin that fueled Thai citizens to stand up and say, enough is enough.  The protestors want democracy.  But first, Thaksin's dictatorship must be eradicated.

Over a decade of being under Thaksin's regime, one thing is clear. Our current democratic system has failed us.  It has allowed for an authoritarian regime to usurp power and strip the nation's wealth. When a system accepts voter fraud and places corrupt politicians above the law, citizens must question and rise up against this broken system.  The citizens are calling for reform.  A true democracy with transparency, accountability, and most importantly, balance of power.

We want democracy.  And it is through this civil obedience that we will achieve it.

 

Sincerely,

 

Vanina Sucharitkul

cc: Congressman Michael R. Turner

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2014 เวลา 09:26 น.
 


หน้า 396 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8606579

facebook

Twitter


บทความเก่า