Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๗๔. สถานการณ์ความมั่นคงของสังคมไทยในปัจจุบัน

พิมพ์ PDF

ทีมงานจัดทำวารสารเศรษฐกิจและสังคม ปี ๒๕๕๖ ฉบับมี่ ๔ (..  -  .๒๕๕๖ขอมาสัมภาษณ์ผม สำหรับนำไปลงวารสาร โดยมีประเด็นสัมภาษณ์ "เรื่องความมั่นคงของสังคมไทยในปัจจุบัน   แนวทางการสร้างความมั่นคงของสังคม ทั้งในด้านการลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม   การเตรียมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ   การสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายด้านการเงินการคลัง   การสร้างสมดุลระหว่างอาหารและพลังงาน   และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านต่างๆ"

เรานัดคุยกัน สายวันที่ ๒๖ พ.๕๖  โดยทางสภาพัฒน์มากัน ๔ คน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑  เน้นยุทธศาสตร์สามประสาน ของการพัฒนา  คือ Competitive Growth, Inclusive Growth และ Sustainable Growth    ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่ดีมาก   คือมีความซับซ้อนย้อนแย้ง (dilemma) อยู่ในตัว    ท้าทายการปฏิบัติให้เกิดผลจริง    ซึ่งจะต้องมีการบริหารบ้านเมืองอย่างชาญฉลาดและเห็นแก่ชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริง    ยากที่จะหวังได้จากรัฐบาลทักษิณที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิด

ผมบอกตัวเองว่า  สมัย ๒๐ ปีก่อน เมื่อพูดเรื่องความมั่นคงของประเทศ คนจะนึกเรื่องการทหาร   แต่เวลานี้ความหมายเปลี่ยนไปแล้ว   เมื่อปี ๒๕๓๕ ๒๕๓๖ ผมเข้าเรียน วปอ.  อาจารย์ที่นั่นบอกว่า ปัจจัยด้านความมั่นคงของประเทศไม่ได้มีแค่ด้านการทหารหรือการป้องกันประเทศ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การศึกษา  การวิจัย ถือเป็นปัจจัยด้านความมั่นคงของประเทศด้วย    ซึ่งถือเป็นวิธีคิดใหม่ในขณะนั้น

มาถึงตอนนี้ ผมบอกคณะผู้มาสัมภาษณ์ว่า   ผมมีความเห็นว่า ปัจจัยสำคัญที่สุด ต่อ sustainability ของสังคมคือ เรื่องคุณธรรมจริยธรรมซึ่งรวมทั้งความซื่อสัตย์ ไม่คดโกง และเวลานี้รัฐบาลทักษิณที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิดได้ทำลายลงอย่างย่อยยับ    โดยดำเนินการมากว่า ๑๐ ปี ตั้งแต่ทักษิณยังอยู่ในประเทศ ประเด็นนี้เขาคงไม่เอาไปเขียน

ผมบอกว่า ความมั่นคงยั่งยืนอย่างหนึ่งขึ้นอยู่กับการบริหารประเทศให้หลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง ไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง แบบที่มาเลเซียกำลังดำเนินการ    โดยที่ต้องเน้นการพัฒนาประเทศแบบใช้ปัญญา/นวัตกรรมนำ    ไม่ใช่แบบใช้แรงงานราคาถูก หรือแรงงานไร้ฝีมือนำ หรือทรัพยากรธรรมชาตินำ อย่างที่ทำอยู่ในปัจจุบัน    รัฐบาลนี้ละเลยความสำคัญ ของระบบปัญญาของประเทศโดยสิ้นเชิง    จึงเท่ากับนำประเทศเดินสวนทางกับความมั่นคงในระยะยาว    เน้นผลงานระยะสั้น และโอกาสโกงกินเป็นเป้าหมายหลัก นี่เขาก็คงไม่เขียนเช่นกัน

ผมชม สคชว่าเขียนเอกสารแผนพัฒนาฯ ได้ดีเยี่ยม   แต่ในส่วนยุทธศาสตร์การบรรลุเป้าหมาย ทำได้ไม่ดี    ผมเสนอให้ทำดัชนีสำคัญๆ ที่บอกพลวัตของการพัฒนาตามเป้าหมายที่กำหนด    สำหรับนำข้อมูลออกเผยแพร่อธิบายแก่ประชาชน    ซึ่งดัชนีที่สำคัญยิ่งต่อความมั่นคงของประเทศคือ ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน    ที่ข้อมูลบอกว่า ยิ่งถ่างกว้างขึ้นทุกที    และเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า สังคมที่ความมั่งคั่งกระจุกตัวอยู่ที่คนเพียงบางกลุ่มมากขึ้นเรื่อยๆ   เป็นสังคมที่กำลังเดินไปสู่วิกฤติ ความขัดแย้งในสังคม ไม่เป็นสังคมที่มั่นคงยั่งยืน

ความมั่นคงเป็นเรื่องระยะยาว มีพื้นฐานอยู่ที่การศึกษา ซึ่งเราอ่อนแอมาก นอกจากนั้นก็อยู่ที่เรื่องสุขภาพ   ซึ่งระบบสาธารณสุขของไทยเป็นที่ยกย่องทั่วโลกในเรื่องคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage)    ในลักษณะ Good Health at Low Cost   แต่เรากำลังเผชิญสภาพที่ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว    คือเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แบบที่แตกต่างจากญี่ปุ่นและสิงคโปร์    สองประเทศนั้นเขารวยก่อนแก่    แต่สังคมไทยแก่ก่อนรวย    ผมเสนอว่า ในเรื่องระบบการดูแลผู้สูงอายุ เราไม่ควรเอาอย่างอเมริกัน    ที่เน้นทำมาหากินกับคนแก่ ตามระบบทุนนิยม    ประเทศไทยควรดูตัวอย่างญี่ปุ่น ที่เขายอมรับว่าในอดีตเขาเดินทางผิด ที่ไปเน้นเอาคนแก่ไปอยู่รวมกันในที่พักคนชรา    เวลานี้เขารู้แล้วว่า ที่ดีที่สุดคือให้อยู่กับครอบครัวและชุมชน    รัฐจัดระบบหนุนให้ครอบครัวและชุมชนดูแลคนแก่ได้ดี

ในเรื่องการศึกษา ผมบอกว่าวิธีคิดเรื่องการศึกษาที่เราใช้กันอยู่ล้าหลังไปร้อยปีหรือ ๕๐ ปี    แถมการเมืองยังเข้าไป กัดกร่อนระบบการศึกษา    เข้าไปมอมเมาคนจำนวนหนึ่งให้ทำหน้าที่เป็นหัวคะแนนเลือกตั้ง    ผมบอกว่า ในสายตาของผม ระบบการศึกษาเป็นระบบที่บิดเบี้ยว เป็นคอรัปชั่นเชิงระบบ    ทรัพยากรที่ลงไปมากมาย ไปไม่ถึงเป้าหมายคุณภาพการศึกษา

หากจะขับเคลื่อนประเทศไทย ให้หลุดกับดักรายได้ปานกลาง    รัฐบาลต้องใช้อุดมศึกษาเป็นเครื่องมือเพื่อการนี้    รัฐบาลของประเทศมาเลเซียดำเนินการแนวนี้อย่างได้ผล    แต่ของไทยไม่มีความคิดนี้เลย    ในช่วงของรัฐบาลทักษิณ ที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิด ระบบอุดมศึกษาถูกทำให้อ่อนแอลงไปอย่างจงใจ    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนหนึ่ง ตัดงบประมาณมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ เอาไปหนุนพื้นที่ของตนเอง    มหาวิทยาลัยที่ได้รับคัดเลือกให้เร่งสร้างความเข้มแข็ง ของการวิจัย ๙ แห่ง (ที่เรียกว่ามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ) กลับได้รับงบประมาณวิจัยน้อยลงกว่าสมัยไม่เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ    รัฐมนตรีคนเดียวกันนี้ ตั้งคนไม่มีความสามารถมาเป็นเลขาธิการ กกอ.   ผมลาออกจากหน้าที่ประธาน กกอ. ทันที ที่ทราบว่าเขาตั้งใครมาเป็นเลขาธิการ กกอ.

แม้ว่าสถานการณ์ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลทักษิณที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิดจะเลวร้าย ไม่เป็นปัจจัยสู่ความมั่นคงยั่งยืน    แต่ สังคมไทยเราก็มีพื้นฐานที่ดีมากมาย    ที่สภาพัฒน์ฯ สามารถเข้าไปทำงานสนับสนุน ต่อยอดความเข้มแข็งเหล่านั้นได้    ที่สำคัญที่สุดคือ ความเข้มแข็งของชุมชนฐานราก    ที่มีการรวมตัวกันเอง พัฒนากันเองจำนวนมากมาย    นี่คือปัจจัยความมั่นคงยั่งยืนของสังคมไทยอย่างแท้จริง

ผมเสนอให้แนวทางพัฒนาประเทศเพื่อหลุดกับดักรายได้ปานกลาง เน้นการเป็นสังคมเรียนรู้สู่นวัตกรรม    ทุกภาคส่วนของสังคมเป็นสังคมเรียนรู้   เน้นการเรียนรู้ในการดำรงชีวิตที่ดี และในการประกอบอาชีพที่ดีมีความมั่นคง

 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ธ.ค. ๕๖

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 14 มกราคม 2014 เวลา 09:20 น.
 

ความเคลื่อนไหวที่กระทรวงสาธารณสุข

พิมพ์ PDF
กลุ่มผู้ชุมนุมได้ทำกิจกรรมบริเวณหน้าอาคารสำนักปลัด โดยอ่านแถลงการณ์ ข้อเรียกร้องในการปฏิรูป โดยให้รัฐบาลลาออกจากรักษาการณ์ทั้งคณะ ให้มีการปฏิรูป และหากไม่ทำตามจะยกระดับการเคลื่อนไหวร่วมกับเครือข่ายอื่นต่อไป จากนั้นได้วางพวงหรีด มีชื่อ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สธ. บริเวณหน้าอาคาร จากนั้นจึงเดินเท้าออกกระทรวงไปสมทบกับผู้ชุมนุมบริเวณ 5 แยกลาดพร้าว

ความเคลื่อนไหวที่กระทรวงสาธารณสุข

อ่าน ที่นี่ และ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๑๓ ม.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 14 มกราคม 2014 เวลา 09:12 น.
 

กกต. กับความดึงดัน (ของรัฐบาล)

พิมพ์ PDF
หาหน่วยงาน และบุคคลให้ความร่วมมือด่อการเลือกตั้งครั้งนี้ยากมาก เพราะเขารู้ว่า เกิดปัญหาแน่

กกต. กับความดึงดัน (ของรัฐบาล)

ผมฟังวิทยุจุฬา ๑๐๑.๕ สัมภาษณ์ กกต. ด้านการจัดการเลือกตั้ง รศ. ดร. สมชัย ศรีสุทธิยากร   แล้วคิดว่า หากรัฐบาลไม่ยอมออก พ.ร.ฎ. เลื่อนการเลือกตั้ง     ก็สะท้อนความดึงดัน ต้องการเอาชนะเพื่อประโยชน์ ของรัฐบาลทักษิณ ที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิด   ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของประเทศไทย

ผมตีความว่าเวลานี้ รัฐบาลรวนเร หรือจนตรอก    จึงมี รองนายกบ้าง รมต. บ้าง ออกมาทะเลาะกับ กกต.    ด้วยความเขลาเบาปัญญา หรือเพราะบ้าอำนาจ

รมต. ที่คนไทยเรียกไอ้ ออกมาบอกให้ อ. สมชัย ลาออก ถ้าจัดการเลือกตั้งไม่ได้

อ. สมชัย บอกว่า หาก กกต. ลาออก จะลาออกทั้งชุด   รัฐบาลจะดิ้นพราดๆ

ปัญหาการจัดการเลือกตั้งคราวนี้คือ ไม่มีหน่วยงานและอาสาสมัครที่จะร่วมมืออย่างครั้งก่อนๆ   ที่จะให้ใช้สถานที่   รวมทั้งหน่วยทหาร เพราะเขาเกรงจะมีปัญหา

ฟังดูแล้ว กกต. เขาบอกว่า หาก รมต. พูดมากบางคนพูดอีก ก็จะยิ่งทำให้จัดการเลือกตั้งยากขึ้น   ยิ่งเป็นเหตุผลให้เลื่อนการเลือกตั้ง

วิจารณ์​ พานิช

๑๓ ม.ค. ๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 14 มกราคม 2014 เวลา 09:30 น.
 

การจัดการความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในการวิจัย

พิมพ์ PDF

การจัดการความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในการวิจัย

 

มช. จัดการสัมมนา เรื่อง การพัฒนางานวิจัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน   เมื่อวันที่ ๙ ธ.ค. ๕๖ ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น จ. ลำปาง    และเชิญผมไปพูดเรื่อง การจัดการความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในการวิจัย

 

จึงนำ narrate ppt มา ลปรร. ที่นี่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๐ ธ.ค. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 14 มกราคม 2014 เวลา 09:35 น.
 

ห้องเรียนกลับทางที่โรงเรียนรุ่งอรุณ

พิมพ์ PDF

วันที่ ๔ ธ.ค. ๕๖ มีการประชุมวิสามัญมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนรุ่งอรุณ   เมื่อถึงวาระที่ ๓.๒.๔ ผมก็ตาลุก

วาระนี้ เรื่อง โครงการพัฒนาการเรียนการสอน โรงเรียนมัธยม วิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ ด้วย online program   ร่วมกับการจัดห้องเรียน แบบห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom)

ใช้ online program ของ MCO E-Learning (Marshall Cavendish Online E-Learning Portal)   จากประเทศสิงคโปร์ มาใช้ในวิชาคณิตศาสตร์   และโปรแกรมของ Cambridge “English in Mind”   ภายใต้กรอบหลักสูตรของ Common European Framework of Reference (CEFR) มาใช้ในวิชาภาษาอังกฤษ    ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทาง

ดำเนินมาตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ ๒/๒๕๕๖   โดยมีการวิจัยควบไปด้วย

ดำเนินมาไม่นาน พบว่าครูบางคนเปลี่ยนไป    เปลี่ยนจากครูสอน เป็นครูฟังและสังเกต    และบรรยากาศ ในห้องเรียนก็ยิ่งเปลี่ยนไป    เห็น active learning ชัดเจน    ทางโรงเรียนถ่ายวีดิทัศน์บรรยากาศในห้องเรียน มาให้คณะกรรมการดู    ทำให้ผมตาลุก ดังกล่าวแล้ว

และแนะนำให้ เอาวีดิทัศน์ นั้นขึ้น เว็บ หรือ YouTube เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ กลับทางห้องเรียน ในสังคมไทย    ซึ่งจะเป็นเรื่องใหญ่มาก

อ่านหนังสือ ครูเพื่อศิษย์ สร้างห้องเรียนกลับทาง ได้ ที่นี่

ข้อค้นพบที่น่าสนใจมาก คือครูรู้จักศิษย์แต่ละคนมากขึ้น    พบว่านักเรียนในชั้นมีสมรรถนะในการเรียน แตกต่างกันมาก อย่างไม่คิดมาก่อน    ได้ฟังข้อค้นพบนี้ ผมก็ยิ่งตาลุกซีครับ    เพราะผมอ่านจากหนังสือฝรั่ง มานานแล้ว ว่านักเรียนในยุคศตวรรษที่ ๒๑  มีลักษณะต่างจากนักเรียนสมัยก่อน    ตรงที่นักเรียนในชั้น มีพื้นความรู้เดิมแตกต่างกันมาก    ผมเอาข้อความนี้ไปบอกครูในที่ต่างๆ และถามว่าจริงไหม    มีแต่คนบอกว่าจริง    ไม่มีคนคัดค้านเลย   แต่ผมก็ไม่เคยได้รับคำบอกเล่าหลักฐานข้อมูลยืนยัน   มาได้รับในวันนี้

ที่ตื่นตาตื่นใจก็คือ ความแตกต่างนั้น อยู่ที่ทักษะในการเรียนรู้ และทักษะในการกำกับการเรียนรู้ ของตนเอง ซึ่งเป็นหัวใจของการเรียนรู้ตลอดชีวิต    นักเรียนจำนวนหนึ่งไม่มีความรับผิดขอบเรียนความรู้ เชิงทฤษฎีที่บ้าน    ในขณะที่นักเรียนอีกจำนวนหนึ่งต้นคว้าและเรียนล่วงหน้าไปไกล

ทำให้ผมระลึกชาติ กลับไปที่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ที่เด็กชายวิจารณ์ พานิช เรียนชั้น ม. ๖ (เทียบเท่า ม. ๔ สมัยนี้)    แอบเรียนรู้วิธีเรียนของอา และพี่ รวมสามคน ที่เรียนแพทย์ เรียนวิศวะ และเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เพื่อนำมาปรับปรุงวิธีเรียนของตนเอง    บัดนี้นายวิจารณ์ พานิช อายุกว่า ๗๑ ปี ยังคงเรียนรู้ meta-cognition skills อย่างต่อเนื่อง    ผมโชคดี ที่สนใจเรื่องวิธีการเรียนรู้    และปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ของตนเอง ไปเรื่อยๆ ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

กลับมาที่ห้องประชุม วิสามัญมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนรุ่งอรุณ คณะกรรมการแสดงความชื่นชม ในการริเริ่มสรางสรรค์ รูปแบบการเรียนรู้นี้    และผมแนะนำว่า เป้าหมายของห้องเรียนกลับทางคือ ยกระดับคุณค่าของครู    และยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียน    จากการเรียนเนื้อหาวิชาโดยครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้    ไปสู่การเรียนรู้แบบนักเรียนสร้างความรู้ของตนเอง จากการลงมือปฏิบัติ และไตร่ตรองผลของการปฏิบัตินั้น    โดยครูทำหน้าที่เอื้ออำนวยกระบวนการการเรียนรู้นั้น

ในการเรียนรู้สมัยใหม่ นักเรียนต้องไม่ใช่แค่มีความรู้ ท่องจำ และนำมาบอกได้    แต่จะต้องได้ฝึก ประยุกต์ใช้ความรู้นั้น ในสถานการณ์จริง หรือใกล้เคียงสถานการณ์จริง    เกิดทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้

ห้องเรียนกลับทาง จะเอื้อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะนี้

ความท้าทายต่อไปคือ ครูจะช่วยเหลือศิษย์ที่ขาดวินัยในตนเอง ในการที่จะเรียนทฤษฎีล่วงหน้าที่บ้าน    ผมจึงแนะนำหนังสือ ครูเพื่อศิษย์ สนุกกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่แนะนำวิธีแก้ปัญหาศิษย์ไม่มีทักษะ ในการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๕ ธ.ค. ๕๖

วันพ่อ  วันมหามงคล

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม 2014 เวลา 20:42 น.
 


หน้า 399 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8607054

facebook

Twitter


บทความเก่า