Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ปฏิรูปประเทศไทย เริ่มจากข้างล่าง

พิมพ์ PDF

ปฏิรูปประเทศไทย เริ่มจากข้างล่าง

วิธีการที่เสนอโดยรัฐบาลรักษาการจะไม่ได้ผล เพราะรวบอำนาจโดยฝ่ายเดิม ที่เป็นผู้ก่อปัญหารวบอำนาจรวมศูนย์ และคอรัปชั่น

ปฏิรูปประเทศไทย เริ่มจากข้างล่าง

ความเห็นของคุณสน รูปสูง ดูได้ที่ http://clip.thaipbs.or.th/file-9673#.UrumCN7y01M.facebook

เป็นความเห็นที่หลักแหลมยิ่ง ของคนระดับชาวบ้าน

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ธ.ค. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2013 เวลา 14:20 น.
 

สื่อต่อชาวโลก Message to the world from Thailand

พิมพ์ PDF

สื่อต่อชาวโลก Message to the world from Thailand

เราต้องการประชาธิปไตย แต่ไม่ใช่ประชาธิปไตยจอมปลอมของรัฐบาลทักษิณที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิด

สื่อต่อชาวโลก  Message to the world from Thailand

ดูได้ที่ http://www.youtube.com/watch?feature=youtu.be&v=3P8oTAQCJVs&desktop_uri=%2Fwatch%3Fv%3D3P8oTAQCJVs%26feature%3Dyoutu.be&app=desktop

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2013 เวลา 14:22 น.
 

เสริมพลังภาคประชาชน

พิมพ์ PDF

ช่วงสุดสัปดาห์ ๒ - ๓ พ.ย. ๕๖ ผมมีโอกาสอยู่กับบ้านทั้งสองวัน    มีเวลาอ่านงานของ สกว. ๒ เรื่องใหญ่ๆ    คือ (๑) ผลงานวิจัยที่ฝ่ายต่างๆ ของ สกว. เสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือกผลงานวิจัยเด่น ประจำปี ๒๕๕๖   รวม ๒๕ เรื่อง    จะคัดเลือกให้รางวัล ๑๐ เรื่อง    และ (๒) รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยพัฒนาระบบการประเมินผลแบบเสริมพลัง เพื่อการพัฒนางานพื้นที่ (ระยะที่ ๒) จะประชุมนำเสนอและวิพากษ์วันที่ ๔ พ.ย. ๕๖

อ่านผลงานทั้งสองชิ้นแล้ว ผมเกิดความสุข    เพราะได้เห็นความเข้มแข็งของงานวิจัยไทย    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานวิจัยที่สร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชน

อ่านผลงานวิจัยเด่น ๒๕ เรื่องแล้ว ผมอยากยกย่องทั้ง ๒๕ เรื่อง    เพราะเด่นจริงๆ ทั้งสิ้น

ที่ผมติดใจมากเป็นพิเศษได้แก่  (๑) ชุดโครงการอ่าวปัตตานี ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูอ่าวปัตตานี  (๒) โครงการการศึกษารูปแบบการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของโรงเรียนและชุมชน  (๓) โครงการผลิตแอนติบอดีสำหรับรักษาโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี

โครงการที่ ๓ เป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์    ที่มีการคิดแนวทางที่ใหม่เอี่ยมไม่มีคนคิดทำมาก่อน   ผมจะไม่เล่า    จะเล่า ๒ เรื่องแรก

เรื่องแรก เรื่องอ่าวปัตตานี เป็นชุดโครงการวิจัย ที่มีโครงการวิจัยย่อย ๔ โครงการ ได้แก่ (๑) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มเยาวชน  ด้านการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำหายาก   (๒) รูปแบบที่เหมาะสม ในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนของชุมชน  (๓) บทบาทของเยาวชนในการคลี่คลาย ความขัดแย้งในการจับสัตว์น้ำอย่างสันติวิธี บ้านตะโละสมิแล  (๔) การจัดการทรัพยากรของชุมชน โดยการจัดทำซังปะการังเทียมแบบพื้นบ้าน

ความงดงามอยู่ที่มีเครือข่ายสถาบันร่วมวิจัยหลายหน่วยงาน    ที่มีบทบาทอยู่แล้วในพื้นที่    เมื่อมาร่วมมือกันโดยมีโครงการวิจัยเป็นตัวเชื่อมประสาน    ก็เกิดการเสริมพลังภาคประชาชน    หน่วยงานดังกล่าวได้แก่ ศูนย์บริหารจัดการประมงทะเล จ. ปัตตานี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งปัตตานี, ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ ๔ จ. สงขลา     โดยภาคประชาสังคมที่ได้รับการเสริมพลัง และร่วมวิจัยคือ สมาคมประมงพื้นบ้าน จังหวัดปัตตานี

งานวิจัยชาวบ้านแบบนี้ ต้องการ “คุณอำนวย” (facilitator) หรือพี่เลี้ยง ช่วยชวนคิดชวนตั้งโจทย์    ซึ่งในโครงการนี้คือ นส. สุวิมล พิริยธนาลัย

ความประทับใจต่อโครงการนี้คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ในด้าน  (๑) การสร้างกลุ่มคน เพื่อการพัฒนาพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี  (๒) การร่วมกันปกป้องแหล่ง ทรัพยากรชุมชน  (๓) การสร้างองค์ความรู้ สำหรับนำไปผลักดันนโยบายอย่างได้ผล  ใช้แก้ปัญหาอย่างได้ผล  และใช้ต่อยอดเป็นชุดความรู้อื่นๆ  (๔) เกิดภาคีเครือข่ายระหว่างนักวิจัยที่เป็นชาวบ้าน กับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่สอง เรื่องการพัฒนาเยาวชนโดยความร่วมมือของโรงเรียนและชุมชน   เป็นเรื่องโรงเรียน บ้านกุดเสถียร จ. ยโสธร   ที่เคยเป็นโรงเรียนขนาดเล็กมาก (นักเรียน ๓๐ คน)    ดำเนินการวิจัย ๑๘ เดือน ระหว่างปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๒   โดยมีชาวบ้านเป็นหัวหน้าโครงการ   ครูและผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นผู้ร่วมวิจัย    เป้าหมายคือเปลี่ยนวิธีจัดการเรียนรู้ของครู   โดยจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง ในกิจกรรมจริง    มีชาวบ้านเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้   เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนานมีชีวิตชีวา  และเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์   และผลการสอบดีขึ้นอย่างมากมาย    จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น ๑๑๕ คน

อ่านเรื่องราวของโรงเรียนกุดเสถียรได้ ที่นี่ และ ที่นี่ เป็นตัวอย่างของการวิจัยสร้างพลังประชาชนฟื้นการศึกษา

ทั้ง ๒ เรื่องข้างบน เป็นตัวอย่างเอามาต่อยอด ปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียนได้ทั้งสิ้น    และเป็นตัวอย่างเรื่อง co-educator หรือ co-teacher

ส่วนโครงการวิจัยพัฒนาระบบการประเมินผลแบบเสริมพลัง เพื่อการพัฒนางานพื้นที่ (ระยะที่ ๒) มีข้อค้นพบตรงกับที่ผมสรุปกับตนเองมาเกือบ ๑๐ ปีแล้ว ว่า ในหน่วยราชการไทย มีสิ่งดีๆ ความรู้หรือเทคนิคดีๆ อยู่    แต่ไปไม่ถึงชาวบ้าน หรือชาวบ้านเข้าไม่ถึง    ชาวบ้านต้องการกระบวนการ เสริมพลัง (empower) ให้เข้าถึง    โดยที่ต้องเป็นการเข้าถึงแบบอิสระและมีเกียรติ    ไม่ใช่เข้าถึงแบบต้องลดเกียรติ เป็นคล้ายๆ ขอทาน   อ่านข้อประทับใจของผม ที่นี่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๘ ธ.ค. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2013 เวลา 05:43 น.
 

ประสานพลังเพื่อการพัฒนาพื้นที่

พิมพ์ PDF

บ่ายวันที่ ๔ พ.ย. ๕๖   ผมไปร่วมประชุมให้ความเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง โครงการระบบประเมินผลแบบเสริมพลัง เพื่อการพัฒนาพื้นที่ ที่สกว.    ท่ามกลางบรรยากาศร้อนระอุทางการเมือง    ที่กระแสต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมแบบสุดซอย ขึ้นสูงมาก    แต่การประชุมนี้ให้ความสุข ชุ่มชื่นหัวใจแก่ผมเป็นอันมาก   เพราะได้เห็นวิธีการประสานพลังเพื่อการพัฒนาพื้นที่ที่ประสบผลสำเร็จน่าชื่นชม    โครงการนี้มีคุณจิริกา นุตาลัย เป็นหัวหน้าโครงการ

ผมได้เรียนรู้ว่าการประเมินผลแบบเสริมพลัง ทีมผู้ทำงานต้องเป็นผู้ประเมินเอง    สำหรับใช้ผลการประเมินในการปรับการทำงานของตน   ให้ได้ผลตามเป้าหมาย    และสำหรับเป็นข้อเรียนรู้ของตนเอง    ทีมประเมินทำหน้าที่ตั้งคำถาม เพื่อให้ทีมทำงานฉุกคิด หาทางทำงานให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

ผมยิ่งชื่นใจ ที่ทีมประเมินและทีม สกว. บอกว่า มีหลายจังหวัดที่บอกว่า “โครงการ สกว. จบ    แต่พวกเราจะทำต่อ”   ผมคิดว่า สปิริต นี้ คือผลงานที่แท้จริง

สปิริตของแกนนำในพื้นที่ ที่จะรวมตัวกัน ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ของตน    อย่างมีระบบ มีการสร้างข้อมูลและใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการพัฒนา

เราได้เห็นว่า มี “สินทรัพย์เพื่อการพัฒนาพื้นที่” (development assets) อยู่ในพื้นที่มากมาย    แต่โดยทั่วไปจะไม่ได้นำมาใช้ หรือใช้แบบแยกส่วน   ไม่ได้ใช้ให้เกิดการเสริมพลัง (synergy) กัน    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สินทรัพย์” ที่อยู่ในหน่วยราชการ    แต่เมื่อเชื่อมโยงเอามาใช้ร่วมกันได้    จะเกิดประโยชน์มหาศาล    เขายกตัวอย่างศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชนครราชสีมา     เป็นสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่งต่อโครงการกลุ่มเกษตรและอาหารปลอดภัย เชื่อมโยงกับโครงการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

ในระหว่างการเสวนาแลกเปลี่ยนกันนั้น    ผมปิ๊งแว้บคำว่า Empowerment Report   ที่เป็นรายงานถอดบทเรียนความสำเร็จของกลุ่มแกนนำและทีมงานของแต่ละพื้นที่    ที่ได้จากการทำ reflection หรือ AAR ของผู้เกี่ยวข้องเหล่านั้น    นำมาเรียบเรียงสังเคราะห์เป็นรายงาน    โดยผมมีความเห็นเพิ่มเติมว่า รายงานสมัยใหม่น่าจะจัดทำเป็น multimedia   คืออาจมีวีดิทัศน์สั้นๆ เสริมด้วย

“สินทรัพย์” ที่มีค่าที่สุดในพื้นที่ ในความเห็นของผม คือ จินตนาการร่วมกันของกลุ่มแกนนำ    ในการพัฒนาพื้นที่   แล้วมีการศึกษาหาความรู้หาข้อมูล    เพื่อนำมาปรับความฝันให้เป็นเป้าหมายที่สมจริง    แล้วรวมพลังทุกภาคส่วนในพื้นที่ และนอกพื้นที่    เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายนั้น

ผมได้เสนอต่อที่ประชุมว่า ผลลัพท์ที่มีค่าสูงสุดต่อพื้นที่ไม่ใช่ตัวผลสำเร็จของโครงการ    ผลลัพท์ที่มีค่ามากกว่า คือการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำโครงการนั้น   ดังนั้น Empowerment Report จึงมีค่ายิ่ง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๔ พ.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2013 เวลา 05:58 น.
 

ความลับของจักรวาล มนุษย์คือปรากกฏการณ์ของธรรมชาติเท่านั้น

พิมพ์ PDF

จิตหยุดนิ่งจึงเห็นสิ่งที่เคลื่อนไหว

คือการเห็นความเป็นธรรมชาติของตัวเราคือการเป็นสิ่งที่มีชีวิต

 

· การเห็นความเป็นธรรมชาติของโลกและจักวาล การเห็น "ตัวเรา"คือธรรมชาติ นำไปสู่การรู้แจ้ง คือการเข้าใจความจริงของชีวิตว่าเป็นปรากฏการณทางธรรมชาติเท่านั้นคือความจริงแท้ การคิดว่าเป็น "ตัวเรา"คือการหลงอยู่ในความเป็นธรรมชาติ การไม่เข้าใจเราจึง เกิดการดิ้นรนไขว่คว้าในสิ่งที่ว่างเปล่า .

การคิดว่ามันเป็น "ตัวเรา" อุปมา เปรียบเหมือนคนหลงทิศ คนหลงทิศยังรู้ว่าตนเองหลง แต่การหลงในความเป็นธรรมชาติ มันไม่รู้ว่าเป็นการหลงแต่กลับคิดว่าเป็น "ตนเอง" นั่นคือเราออยู่ใน "มิติ"ทางความรู้สึกของเราเอง เราจึง

เหมือนอยู่ในโลก สมมุติทางความรู้สึกอยู่เท่านั้น.

การออกจากมิติของตนเองต้องผ่านความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน การมีจิตใจที่งดงาม มีจิตใจที่เป็น "บุญ"จึงจะเข้าใจมิติที่แตกต่างได้จึงต้องทำความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้น.

การหยุดอาการยึดมั่นทางความรู้สึกจึงจะเข้าใจ ความจริงของชีวิตได้

พบกับหนังสือ...

ทางวิเวก : ทางหลุดพ้นจากวังวนความทุกข์ทั้งมวล

โดย.ไพรสณฑ์

( การมองชีวิต ในมุมมองที่แตกต่างจึงพบคำตอบ ว่าแท้จริง "ตัวเรา"คืออะไร? ... เป็นคำถามที่เราลืมหาคำตอบจึงสับสนอยู่ในความเป็นธรรมชาติ การที่เรามีจิตสำนึกอยู่เราจึงต้องหาคำตอบ จึงพบว่าความรู้สึกที่เป็น "ตัวเรา"เป็นการทำงานทางธรรมชาตินั่นเอง คำตอบนี้จึงมีความเป็นเหตุผลสมบูรณ์ ว่าแ้ท้จริงตัวเราคืออะไร นั่นคือสิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจ ซึ่งเป็นความรู้ที่ทุกคนต้องรู้เพราะไม่มีสอนนั่นเอง..การรู้จักตนเองจึงมีความเป็นเหตุผลเกิดขึ้น .และมีความเป็นศาสตร์ธรรมชาติไม่ใช่การจินตนาการหรือปรัชญา แท้จริงปรัชญาคือการอธิบายความจริงทางธรรมชาติของ "ตัวเรา"นั่นเอง จึงนำมาเสนอว่าแท้จริงอะไรเกิดขึ้นกับเราและเราจะแก้ไขมันอย่างไร?จึงเป็นสิ่งที่นำมาเสนอ)

หนังสือขนาด432หน้า ราคา150.-บาท(ราคาปก295.-ดูตัวอย่างตามไฟล์แนบ)

(รวมค่าส่งทางไปรษณีย์ในประเทศ)

สั่งซื้อหนังสือ...

...แจ้ง ชื่อ/ที่อยู่ ในการจัดส่ง

ชำระเงินเมื่อได้รับหนังสือแล้วโดยการโอนเข้าบัญชีธนาคารจะแจ้งให้ทราบเมื่อได้สั่งซื้อ.

สั่งซื้อทางอีเมล์ praisin2493@gmail.com

..................................................................................................

.............แจกฟรี!!!........ไฟล์ทางวิเวกฯภาค3 : "ชีวิต"ในมุมมองของ"ธรรมชาติ"

เป็นไฟล์อ่าน ภาค3 จะเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งเป็นภาคสมบูรณ์.คือ`"ชีวิตในมุมมองของความเป็นธรรมชาติเท่านั้น" การเข้าใจจะทำให้เรามีความเป็นเหตุผลเกิดขึ้นนั่นเอง "ตัวเรา"คือการทำงานของธรรมชาตินั่นเอง การยึดมั่นจึงเ็นความหลง การคลายการยึดมั่นต้องเปลี่ยนมุมมองชีวิต จึงจะเห็นภาพจริงที่ไม่สมมุติได้จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ.

...*ผู้แจ้งความประสงค์จะส่งให้ทางอีเมล์ / ส่วนผู้สั่งซื้อหนังสือจะได้รับเป็นซีดีพร้อมหนังสือ

 


 


หน้า 407 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8612189

facebook

Twitter


บทความเก่า