Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

สกว.จัดเวทีปฏิรูปประเทศไทย เสนอทางเลือกต้านคอร์รัปชั่น

พิมพ์ PDF

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=706303076055359&set=a.706302656055401.1073741994.119527331399606&type=3&src=https%3A%2F%2Ffbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net%2Fhphotos-ak-prn2%2F1473006_706303076055359_1316255574_n.jpg&size=782%2C546

(16 ธันวาคม 2556) ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนส นับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นประธานในการเปิดเวทีสาธ ารณะ สกว.: ความรู้สู่การปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 1 “ทางเลือกใหม่เพื่อการต้านคอร์รัปชั่น” ณ ห้องประชุม สกว. ซึ่งจัดขึ้นเพื่อให้นักวิชาการที่รับทุนจาก สกว. นำเสนอหลักการเหตุผลและข้อเสนอเชิงนโยบายในการปฏิรูปประเทศไทย

ศ. นพ.สุทธิพันธ์กล่าวว่า เหตุการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งด้านความสามารถในการแข่งขันและความผาสุกของประเทศไทย ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่มีความสำคัญคือการออกแบบประเทศโดยอาศัยโครงสร้างอำนาจ จึงต้องกลับมาคิดว่าจำเป็นต้องออกแบบประเทศใหม่หรือไม่ ซึ่งตรงกับโครงการวิจัยของ สกว. ปัญหาใหญ่ของประเทศขณะนี้คือ คอร์รัปชั่น ซึ่งปัจจุบันไทยมีดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศอยู่ที่อันดับ 102 จากเดิมอันดับที่ 88 ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศอย่างรุนแรง สิ่งที่ สกว.ต้องการคือ การทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมองข้ามเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและเตรียมข้อเสนอที่มีฐานมาจากงานวิจัยและงานวิชาการ เพื่อให้เป็นนโยบายที่มีฐานเข้มแข็งและสามารรถนำไปปฏิบัติได้โดยเกิดผลข้างเคียงน้อย “เราต้องร่วมมือกันจัดทำนโยบายที่ดี และออกแบบประเทศไทยให้เป็นประเทศที่มีระบบทั้งระบบโครงสร้างเชิงอำนาจ โครงสร้างอำนาจ และระบบการกระจายอำนาจ รวมถึงมีการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นที่ได้ผล เพื่อส่งผลให้เกิดความสามารถแข่งขันของประเทศ เราต้องช่วยกันปฏิรูปประเทศให้เจริญก้าวหน้า โดยผลผลิตที่เกิดขึ้นจากเวทีนี้ คือ นโยบายที่มีคุณภาพ สกว.จะรวบรวมเป็นเอกสารเสนอต่อคณะรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวทิ้งท้าย

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึง “ทางเลือกใหม่เพื่อการต้านคอร์รัปชั่น” ว่าคอร์รัปชั่นเป็นหัวใจของการปฏิรูปการเมืองในครั้งนี้ ซึ่งมีสาหตุส่วนหนึ่งมาจากการต่อต้าน พรบ.นิรโทษกรรมอันเนื่องจากคดีคอร์รัปชั่น และการที่ไทยมีดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศตกลงมามากก็เป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วง การคอร์รัปชั่นจะเป็นปัญหาทำให้การพัฒนาประเทศไปต่อไม่ได้ อย่างแรกคือจะทำให้การลงทุนต่ำกว่าที่ควรจะเป็น นักลงทุนต่างชาติที่มีธรรมาภิบาลจะไม่จ่ายใต้โต๊ะ หรือถ้าจ่ายก็จะผ่องถ่ายโดยหาตัวแทนแต่ผลการตอบแทนจะต้ำลง ทำให้การลงทุนจะต่ำกว่าที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ยังทำให้การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ในประเทศไทยเป็นไปได้ยาก ดังนั้นหากจะให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการเป็นประเทศรายได้ปานกลางจะต้องมีการปฏิรูประบบธรรมาภิบาลเพื่อลดการคอร์รัปชั่น 

การที่ไม่สามารถลงโทษนักการเมืองระดับสูงในคดีคอร์รัปชั่นได้อย่างที่ควรจะเป็น เป็นจุดอ่อนที่ไม่สามารถดำเนินการได้ อย่างไรก็ตามแม้จะแก้ได้ไม่หมดแต่ก็ทำให้ลดลงได้ เราต้องคิดเชิงระบบไม่ใช่เพียงคำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรมเพียงอย่างเดียว จึงขอเสนอกรอบความคิดที่เป็นประโยชน์คือ “สมการคอร์รัปชั่น” ของ ศ.โรเบิร์ต คลิตการ์ด ที่สรุปว่าคอร์รัปชั่น = ดุลยพินิจ + การผูกขาด - กลไกความรับผิดชอบ เช่น ความโปร่งใส จึงมีข้อเสนอแนะให้ลดดุลยพินิจเจ้าหน้าที่ของรัฐในหลายเรื่อง เช่น กำหนดกรอบเวลาและจัดทำคู่มือพิจารณาใบอนุญาต อธิบายและเปิดเผยเหตุผลต่อสาธารณะกรณีไม่อนุญาต การจะแก้ปัญหาต้องเปิดเสรีและลดการผูกขาดเศรษฐกิจ เช่น เลิกโควต้านำเข้าสินค้าต่าง ๆ รวมถึงเลิกผูกขาดทางการค้า เช่น การค้าข้าว สามารถว่าจ้างที่ปรึกษาด้านกระบวนการทางธุรกิจให้ออกแบบขั้นตอนการอนุญาตเพื่อลดคอร์รัปชั่น รวมถึงให้องค์กรแข่งขันทางการค้าเป็นองค์กรอิสระ และควรให้การฟ้องร้องคดีสู่ศาลควรให้ผู้เสียหายฟ้องร้องต่อศาลได้โดยตรง นอกจากนี้ยังควรแก้ไข
กฎหมายข้อมูลข่าวสารให้เปิดเผยข้อมูลของรัฐมากขึ้น เปิดให้สังคมเข้าตรวจสอบ เช่น ยอมรับข้อตกลงคุณธรรมในโครงการขนาดใหญ่ แก้กฎหมายให้คดีคอรัปชั่นไม่มีอายุความ และให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกของอนุสัญญาต่อต้านการให้สินบนของ Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD ทั้งนี้การจะหวังให้รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการต่อต้านคอร์รัปชั่นเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีกลไกสร้างความเชื่อถือจะเกิดขึ้นได้ยาก เพราะไม่มีกลไกตรวจสอบ “ขณะนี้ทีดีอาร์ไอกำลังจัดทำคู่มือประชาชนในการต้านคอร์รัปชั่น โดยจะเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์และจัดพิมพ์แจกประชาชน ภายใต้การสนับสนุนของ สกว. เพื่อให้ประชาชนเข้าใจกลไกการเกิดคอร์รัปชั่น ผลเสียที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ตลอดจนให้ประชาชนช่วยกันจับตาและมีส่วนร่วมในการป้องกันการเกิดคอร์รัปชั่นในประเทศไทย”

ขณะที่ ศ. ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คอร์รัปชั่นแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ 1. ภาคราชการ ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเพราะข้าราชการเป็นผู้ควบคุมกฎเกณฑ์ 2. ภาคการเมือง มักเป็นการร่วมมือกันระหว่างข้าราชการ นักธุรกิจและนักการเมือง โดยมีวงเงินค่อนข้างสูง จากการสำรวจทั่วประเทศในปี 2543 พบว่าร้อยละ 10 ของครัวเรือนทั่วประเทศต้องจ่ายเงินเมื่อไปติดต่อราชการ และมีการกระจุกตัวของการคอร์รัปชั่นในบางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวงเงินสูง อาทิ ตำรวจ ที่ดิน สรรพากร และกระบวนการยุติธรรม ซึ่งในช่วงต้นเดือนมกราคม 2557 จะทำการสำรวจซ้ำทั่วประเทศอีกครั้งจำนวน 6,000 ครัวเรือน โดยการสนับสุนนของ สกว. เพื่อเปรียบเทียบกับครั้งแรกว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร รวมถึงการซื้อเสียงด้วย 

การคอร์รัปชั่นทางการเมืองยากจะแก้ไขเพราะเกี่ยวโยงกับขบวนการสะสมทุนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ มีการจ่ายสินบนหรือใช้ตำแหน่งอิทธิพลในการเข้าถึงสัมปทานหรือใบอนุญาตในการเข้าถึงทรัพยากรหายาก เช่น ที่ดินสาธารณะ หรือทรัพยากรอื่น ๆ ที่ต้องได้รับการอนุญาตจากภาครัฐ เช่น เหมืองแร่ ดาวเทียม โครงการขนาดใหญ่ทางด้านสาธารณูปโภค วงเงินที่เกี่ยวข้องมีอัตราสูง ทำให้เป็นแรงจูงใจให้บุคคลที่เกี่ยวข้องแสวงหากำไรที่เกินปกติ และพบว่าถ้านักการเมืองหรือนักธุรกิจรวมถึงข้าราชการเข้าไปในวงจรจะมีครอบครัวเศรษฐีได้หลายชั่วอายุคน แม้ในปี 2544 จะมีการก่อตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ทำให้องค์กรมีเขี้ยวเล็บมากขึ้นและดำเนินคดีกับนักการเมืองได้ แต่ก็น่าจะทำได้มากกว่านี้ เช่น กรณีจำนำข้าวยังเอาผิดใครไม่ได้

ศ. ดร.ผาสุกได้ชี้ให้เห็นตัวอย่างการต้านคอร์รัปชั่นในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นที่กล่าวถึงอย่างมากในระดับนานาชาติ ภายหลังการจัดตั้งองค์กรกำจัดคอร์รัปชั่นของอินโด (KPK) ในปี 2002 ที่มีกรณีสืบสวนสอบสวน 236 คดีในเวลา 10 ปี ทุกคดีประสบความสำเร็จ จับกุมข้าราชการระดับสูง นักการเมือง ส.ส. ซีอีโอ ผู้พิพากษา และเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงประมาณ 400 คน จึงน่าจะนำมาเป็นกรณีศึกษาของไทยในการมีศาลพิเศษเพื่อดำเนินคดีกับนักการเมืองเป็นกรณีเฉพาะ รวมถึงการมีองค์กรภาคประชาชนและสื่อเป็นมิตรที่สำคัญของ KPK “แม้คอร์รัปชั่นเป็นเรื่องที่แก้ยาก แต่จากประสบการณ์ของอินโดนีเซียชี้ให้เห็นว่าสามารถทำได้ถ้ามีการปรับปรุงหน่วยงานคอร์รัปชั่น และได้รับความร่วมมือจากภาคประชาสังคมและรัฐบาล ทั้งนี้อยากเสนอให้มีการจัดตั้งศาลคดีคอร์รัปชั่นโดยเฉพาะ น่าจะเป็นไปได้ในประเทศไทยเพราะขณะนี้กระแสต่อต้านคอร์รัปชั่นสูงมาก และสามารถใช้เป็นนโยบายในการรณรงค์หาเสียงได้ สอดคล้องกับกรณีที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซียที่เกิดหลังวิกฤติเศรษฐกิจและประชาชนเบื่อหน่ายการปกครองของประธานาธิบดีซูฮาร์โต”
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 12:56 น.
 

สอนเด็กให้เป็นคนดี : ๑๖. ความกล้าหาญทางสังคม (๑) ทักษะดำรงมิตรภาพ

พิมพ์ PDF

บันทึก ๑๙ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ Teaching Kids to Be Good People : Progressive Parenting for the 21stCentury เขียนโดย Annie Fox, M.Ed. 

ตอนที่ ๑๖นี้ ตีความจากบทที่ ๘ (บทสุดท้าย)  How Can I Do That? Developing Social Courage     โดยที่ในบทที่ ๘มี ๔ ตอน   ในบันทึกที่ ๑๖จะตีความตอนที่ ๑ และ ๒     และในบันทึกที่ ๑๕จะเป็นการตีความตอนที่ ๓ และ ๔

ทั้งบทที่ ๘ ของหนังสือ เป็นเรื่อง มิตรภาพ และความกล้าหาญในการเป็นตัวของตัวเอง และสื่อสารทำความเข้าใจเพื่อธำรงมิตรภาพ

ตอนที่ ๑ มิตรภาพเป็นถนนสองทาง ว่าด้วยการโค้ชเด็กให้มีความกล้าหาญ แสดงความเป็นตัวของตัวเอง  และรู้จักสื่อสารกับเพื่อน เพื่อมิตรภาพจากความเข้าใจซึ่งกันและกัน    โดยต้องตระหนักว่า โลกในวัยรุ่นในปัจจุบันมีความซับซ้อนและยุ่งเหยิงกว่าสมัยเราเป็นวัยรุ่นมากมายหลายเท่า    จึงเป็นคว���มท้าทายต่อวัยรุ่นในปัจจุบัน

การฝึกทักษะมิตรภาพเบื้องต้นเริ่มที่ครอบครัว    หากพ่อแม่ใกล้ชิดลูกและเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ฝึกลูก และเห็นชัดว่ามิตรภาพระหว่างลูกกับพ่อแม่ดี   มีความรักใคร่และไว้วางใจซึ่งกันและกัน    ก็เป็นสัญญาณว่าลูกจะมีทักษะมิตรภาพต่อเพื่อนดีด้วย

ทักษะมิตรภาพเริ่มต้นที่ครอบครัว

หากพบว่า ลูก/ศิษย์ ประพฤติตนเป็นผู้ระราน หรือเป็นเหยื่อของการระราน   และเกิดขึ้นซ้ำๆ นั่นคือสัญญาณบอกว่า ลูก/ศิษย์ ต้องการความช่วยเหลือ    โปรดสังเกตว่า การตกเป็นเหยื่อของการระราน ไม่ได้แปลว่าเด็กคนระรานเป็นตัวปัญหาเท่านั้น   แต่เด็กที่ถูกระรานก็เป็นตัวปัญหาด้วย   ที่จะต้องหาทางแก้ไขทันที

โดยการนั่งคุยกับเด็กอย่างสงบ ไม่ดุด่าว่ากล่าวหรือโวยวาย   ทำความเข้าใจเรื่องการเป็นเพื่อนกัน   ว่าทั้งสองฝ่ายจะต้องมีไมตรีจิตต่อกัน   คือการเป็นเพื่อนกันเป็นถนนสองทาง    คือต้องเข้าใจซึ่งกันและกัน   บอกว่าเราชอบอะไร ไม่ชอบอะไร   และรู้ว่าเพื่อนชอบอะไร ไม่ชอบอะไร   หากเพื่อนปฏิบัติต่อเราในแบบที่เราไม่ชอบ   เราต้องรู้จักบอกเพื่อนดีๆ ว่า ทำอย่างนั้นเราไม่ชอบ   ไม่ต้องการให้เพื่อนทำอย่างนั้นต่อเราอีก    อย่ากลัวว่าบอกแล้วเพื่อนจะโกรธหรือเสียเพื่อน   แต่เราต้องบอกเขาดีๆ อย่าใช้อารมณ์

เพื่อรักษาความเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน หรือเพื่อมิตรภาพยาวนาน    เราต้องสื่อสารให้ชัดเจนว่าเราต้องการความสัมพันธ์แบบไหนกับเพื่อน   ต้องการให้ปฏิบัติต่อกันอย่างไร   อย่าละไว้ในฐานเข้าใจ   อย่าอ้ำอึ้งที่จะบอก   และในทางกลับกัน เมื่อเพื่อนบอกความต้องการของเขาต่อเรา เราก็ต้องฟังอย่างสงบและตั้งใจ   เพื่อให้เราเข้าใจเพื่อนอย่างแท้จริง

นั่นคือหลักการ หรือทฤษฎี   ในชีวิตจริงมันยุ่งยากกว่านั้น   เพราะเด็กๆ มักมีเรื่องกระทบกระทั่งเล็กๆ น้อยๆ กันเสมอ   โดยผู้ใหญ่มองเป็นเรื่องเล็ก แต่เป็นเรื่องใหญ่สำหรับเด็ก   วิธีหรือหลักการที่ผู้ใหญ่จะช่วยได้คือ  (๑) ช่วยเตือนสติเด็ก ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมองได้หลายมุมเสมอ   เด็กอาจมองมุมหนึ่ง แต่เพื่อนอาจมองต่างมุม    การทำความเข้าใจมุมมองของเพื่อนเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ และการเข้าสู่วุฒิภาวะ   (๒) ทุกปัญหามีทางออกเสมอ   เด็กต้องเรียนรู้และหาทางทำให้สถานการณ์ดีขึ้น   โดยแนะนำเด็กว่า ความกล้าหาญที่จะลงมือทำเพื่อแก้ปัญหา หรือเพื่อสร้างมิตรภาพ เป็นสิ่งที่ดี   เมื่อมีการลงมือทำ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง และเกิดการเรียนรู้ด้วย

คำถามของหนุ่ม ๑๒ “เพื่อนของผม ๒ คนบ่นว่าไม่ค่อยมีเพื่อน   โดยที่เขาเป็นคนชอบตัดสินคนอื่น   ผมมีเพื่อนผู้หญิงที่ใกล้ชิดกันมากขึ้นเรื่อยๆ    แต่เพื่อน ๒ คนนี้เรียกชื่อเธอแบบล้อเลียน   เพื่อน ๒ คนนี้ไม่พอใจเมื่อผมไปเที่ยวกับเธอหรือไปกับเพื่อนคนอื่นๆ   ผมจนใจไม่รู้จะทำอย่างไร   ได้พยายามแนะนำให้เขาเป็นเพื่อนกับคนนั้นคนนี้   เขาก็บอกว่าไม่ชอบและอ้างเหตุผลต่างๆ นานา    เขาทั้งสองไม่ทราบว่าคนอื่นๆ ก็เริ่มไม่ชอบเขา    เพราะเขาด่วนตัดสินเกินไป”

คำตอบของผู้เขียน “เธอทำถูกแล้วที่ไม่อยากหมกมุ่นอยู่กับความคิดเชิงลบ   และการคบเพื่อนนักตัดสินคนอื่นทำให้เธอไม่สบายใจและอยากแก้ไข   และแน่นอนว่าเธอมีสิทธิที่จะเลือกเพื่อน   แต่เธอก็ไม่อยากให้เพื่อนเสียใจ   ชีวิตจริงก็ยุ่งยากเช่นนี้เอง

คนที่ชอบตัดสินคนอื่นนั้น   แสดงว่าเขาเองไม่ค่อยมั่นใจตนเอง    จึงไม่อยากมีเพื่อนจำนวนมาก   ตั้งหน้าอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยกันสองคน   และอ้างว่าคนอื่นๆ ไม่ดี   และคนอื่นๆ ก็ไม่อยากเป็นเพื่อนกับเขา เพราะไม่มีใครอยากถูกวิพากษ์วิจารณ์

เธอบอกว่าจนใจไม่รู้จะทำอย่างไร   แต่จริงๆ แล้วมีทางเลือกตั้งหลายทาง ได้แก่

๑. บอกเพื่อนทั้งสองคนตรงๆ ว่าเธอเบื่อที่จะคบเพื่อนขี้บ่น   เพราะเธอรู้สึกสบายใจมากกว่าเมื่อเพื่อนไม่บ่น

๒. ถ้าเพื่อนไม่เปลี่ยนพฤติกรรมขี้บ่น   ให้ลองแยกตัวออกมาคบเพื่อนคนอื่นๆ

๓. การเป็นเพื่อนที่ดีนั้น   เราต้องเป็นเพื่อนที่ดีกับตัวเองก่อน   ถ้าเพื่อนทำให้เธอไม่สบายใจ   และเธอยังทน   เท่ากับเธอไม่เป็นเพื่อนที่ดีต่อตัวเธอเอง”

 

ตอนที่ ๒  อาสาสมัครพัฒนาเด็ก ผู้เขียนเล่าเรื่องของตนเอง ที่ชอบเข้าไปช่วยเหลือเด็กที่ประสบปัญหา    โดยถือว่าเป็นการทำหน้าที่ของผู้ใหญ่   เพราะเด็กเป็นผู้เยาว์ ต้องการคำแนะนำช่วยเหลือจาก parenting/mentoring   ถ้อยคำเหล่านี้ทำให้ผมนึกถึงสมัยเด็กๆ อยู่บ้านนอก   คนที่นั่นเรียกเด็กเป็นลูกทุกคน   และถ้าเด็กเกเรข่มเหงกัน  ก็ถูกผู้ใหญ่ดุหรือห้ามปรามได้ทุกคน

 

ผู้เขียนบอกว่า ตนไม่ใช่แค่เข้าไปช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาให้เด็กเท่านั้น   แต่จะชมเด็กด้วย   ไปที่ไหนหากเห็นเด็กทำดีก็จะหาโอกาสชม   “หนูช่วยแม่ถือของ น่ารักจัง”   “หนูช่วยปลอบเพื่อนที่ร้องไห้ เก่งจัง”  ฯลฯ   โดยถือว่าการช่วยกระตุ้นให้เด็กเติบโตเป็นคนดีนั้น เป็นหน้าที่ของทุกคน   ไม่ใช่แค่เป็นหน้าที่ของพ่อแม่/ครู เท่านั้น

 

ปัญหาที่พบประจำใน���ด็กวัยรุ่น คือการเสพติดการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน (Peer Approval Addiction)   หรืออาจเรียกว่าตกอยู่ใต้แรงกดดันจากกลุ่มเพื่อน (Peer Pressure)   และในขั้นรุนแรงถึงกับเป็นความบีบคั้นจนเกิดความเครียดอย่างรุนแรง

 

คนที่ตกเป็นเหยื่อ คือคนที่ไม่มั่นใจตนเอง ไม่กล้าแสดงออกว่าตนมีจุดยืนอย่างไร ตนต้องการอะไร    ส่วนคนที่มีความมั่นใจตนเอง ก็จะไม่ถูกบีบคั้นมาก    และผ่านพ้นมรสุมชีวิตวัยรุ่นนี้ไปได้   ผู้ใหญ่ต้องหาวิธีช่วยให้เด็กเข้าใจเรื่องการเสพติดการยอมรับจากเพื่อน ซึ่งคนเราเป็นกันทุกคน   แต่ส่วนใหญ่เป็นแบบนิดๆ หน่อยๆ ไม่รุนแรง   การช่วยให้เข้าใจเรื่องนี้ และฝึกให้กล้าที่จะแสดงท่าที/จุดยืนของตน   ชีวิตวัยรุ่นก็จะราบรื่นขึ้น

นอกจากช่วยให้ตัวเด็กเองไม่ตกเป็นเหยื่อแล้ว    ผู้ใหญ่ควรส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าหาญพอที่จะช่วยเพื่อนที่ตกเป็นเหยื่อ   ให้หลุดพ้นจากแรงกดดันนี้   ซึ่งเป็นการฝึกฝนความมีน้ำใจเห็นอกเห็นใจคนอื่น   โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อ่อนแอกว่า

คำถามของหนุ่ม ๑๒ “เพื่อนคนหนึ่งถูกรังแกที่โรงเรียนทุกวัน   เขาเล่าให้ผมฟัง   ผมแนะนำให้บอกครูเพื่อขอความช่วยเหลือ   แต่เขาไม่เอาด้วย เพราะเกรงว่าจะโดนคนที่รังแกทุบตีอีก   เขาไม่ต้องการให้ผมช่วยด้วยเหตุผลเดียวกัน   ผมไม่รู้ว่าจะช่วยเขาอย่างไร   ขอคำแนะนำด้วย”

คำตอบของผู้เขียน “ฉันรู้สึกสงสารเพื่อนของเธอมาก   เป็นเรื่องไม่ยุติธรรมที่ผู้รังแกไม่ถูกลงโทษ   ฉันไม่ทราบว่าเพื่อนของเธอไปโรงเรียนแบบไหน   แต่หวังว่าจะเป็นโรงเรียนที่ครู ผู้ช่วยครูใหญ่ และครูที่ปรึกษา จะเอาใจใส่เรื่องนี้   เพื่อนของเธอควรบอกผู้ใหญ่

ไม่ทราบว่าพ่อแม่ของเพื่อนเธอทราบเรื่องไหม   เขาควรเล่าให้พ่อแม่ฟัง

แม้เขาบอกว่าไม่ต้องการให้เธอช่วย   แต่เขาก็ย่อมต้องการให้ตนเองไม่ถูกรังแกอีกต่อไป    การที่เขาบอกเธอคือหลักฐานสนับสนุน   ขอให้เธอบอกเขาให้พูดออกมา   เพื่อเรื่องนี้จะได้ยุติ   หากเขาไม่กล้า เธอควรเสนอว่าเธอจะไปเป็นเพื่อนเพื่อแจ้งครูที่ปรึกษาหรือครูใหญ่    ถ้าเขาปฏิเสธ ให้บอกเขาว่าเธอเป็นเพื่อน และจะช่วยปกป้องเขา    ถ้าเขาไม่ไปเธอจะไปเอง”

 

 

วิจารณ์ พานิช

๙ เม.ย. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 13:01 น.
 

การพัฒนาการศึกษากับการวิจัย ในวิชาชีพเภสัชกรรม

พิมพ์ PDF

การพัฒนาการศึกษากับการวิจัย ในวิชาชีพเภสัชกรรม[1]

 

วิจารณ์ พานิช

...............

 

เภสัชกรรมเป็นวิชาชีพ  ซึ่งหมายความว่าเป็นวงการที่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญชั้นสูง   ผ่านการฝึกฝนอย่างเข้มข้นจริงจัง    จนได้รับการยอมรับว่ามีความรู้ความชำนาญเพียงพอ   มีกระบวนการควบคุมกำกับการศึกษาและฝึกฝน   รวมทั้งมีการควบคุมกำกับจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ โดยกลไกของวิชาชีพเอง หรือโดยผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน    ที่เรียกว่า self-regulation ด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพ และกระบวนการตรวจสอบของสภาวิชาชีพ

ความท้าทายของวงการวิชาชีพในปัจจุบัน คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและพลิกผัน ของสังคม   และความรู้หรือวิชาการด้านต่างๆ งอกงามเพิ่มพูนอย่างรวดเร็ว    ความรู้เดิมที่มีหรือยึดถืออยู่หลายส่วนกลายเป็นความรู้ที่เก่า หรือผิด    ทำให้หากไม่ระวัง กลไกกำกับวิชาชีพ จะกลายเป็นอนุรักษ์นิยมที่ยึดถือแนวทางเก่า ขัดขวางการเปลี่ยนแปลง

นอกจากนั้น ยิ่งนับวันเรื่องต่างๆ ในโลก ยิ่งมีความซับซ้อน (complex) มีหลายชั้นหลายมิติ มองได้หลายมุม   เรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิชาชีพเภสัชกรรมอย่างหนึ่งคือความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี    ที่นำไปสู่การพัฒนายาที่มีคุณภาพสูง  เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ    แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นความท้าทายต่อระบบยาของประเทศ   ที่หากมีการจัดระบบให้ดี มีข้อมูลและความรู้ประกอบการตัดสินใจ และการพัฒนาต่อเนื่อง จะมีคุณประโยชน์ต่อผู้คนในบ้านเมืองมาก   แต่หากจัดระบบไม่เป็น ตกอยู่ใต้การโฆษณาหรืออิทธิพลของบริษัทยาข้ามชาติ ที่กำหนดราคายาตามความพอใจของตน   ค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศจะสูงจนกลายเป็นปัญหาหนึ่งของระบบสาธารณสุข

เล่ห์กลและการทำผิดกฎหมายของบริษัทยามีผู้เขียนไว้มากมาย เช่น http://www.gotoknow.org/posts/493901 และหนังสือกระชากธุรกิจยาข้ามชาติโดยวิชัย โชควิวัฒน์ (๒๕๔๙)

การศึกษา และการวิจัยในวิชาชีพเภสัชกรรมในยุคศตวรรษที่ ๒๑ จึงมีประเด็นท้าทายที่แตกต่างไปจากการศึกษาและการวิจัยในวิชาชีพเภสัชกรรมยุคก่อนๆ   ความแตกต่างพื้นฐานที่สุดคือ ยุคก่อนขาดแคลนความรู้และเทคโนโลยี   แต่ยุคปัจจุบันและอนาคต มีความรู้และเทคโนโลยีมาก   ตลาดยาและเภสัชภัณฑ์เป็นตลาดที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก   เป็นความท้าทายให้วงการเภสัชกรรมต้องมีสติปัญญาในการเลือกใช้ให้เหมาะสมต่อสังคมและบ้านเมืองของตนเอง

ตัวอย่างของประเทศยากจนและเป็นประเทศเล็ก ที่ระบบการผลิตด้านเภสัชกรรมแตกต่างจากของเราโดยสิ้นเชิง   คือคิวบา   ที่มีความสามารถผลิตเภสัชภัณฑ์ที่ทันสมัยและมีคุณภาพดีขึ้นใช้เองภายในประเทศ และส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ได้   ทำให้ประชาชนได้รับบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่ดี    ที่เรียกว่า สุขภาพดีในราคาต่ำ (Good health at low cost.)

การศึกษาในปัจจุบันไม่ว่าในสาขาใด ไม่ใช่แค่เรียนเพื่อให้ได้ความรู้อย่างในอดีต   แต่ต้องเลยไปสู่การฝึกฝนใช้ความรู้ เกิดทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์ต่างๆ   โดยที่ส่วนของการเรียนทฤษฎีอาจารย์ไม่ต้องสอนแบบบรรยายอย่างในอดีต   นิสิตนักศึกษาสามารถค้นคว้าเรียนเองได้   อาจารย์ใช้เวลาที่มีค่าของตนให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของศิษย์ที่สุด   โดยร่วมกันออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมต่อนิสิตนักศึกษากลุ่มนั้น   ทั้งนี้หมายความว่า ทีมอาจารย์ต้องดำเนินการทดสอบพื้นความรู้ของศิษย์ในชั้นเรียนของตน   สำหรับนำมาใช้ออกแบบการเรียนรู้

การเรียนรู้ส่วนที่อาจารย์มีคุณค่าต่อศิษย์ส่วนถัดมา คือการที่อาจารย์ทำหน้าที่โค้ชต่อการฝึกประยุกต์ใช้ความรู้ของศิษย์ ในกิจกรรมที่ทีมอาจารย์ช่วยกันออกแบบ    การทำหน้าที่โค้ชนี้มีเทคนิครายละเอียดมากมาย   หลักการที่สำคัญคือนิสิตนักศึกษาต้องได้ฝึกทำโจทย์ หรือโครงงานที่ยากพอเหมาะ   โค้ชคอยแนะนำให้กำลังใจให้สู้ความยาก และให้คำชมเมื่อมีความสำเร็จเล็กๆ เกิดขึ้น   รวมทั้งเมื่องานสำเร็จ ชวนศิษย์ทบทวนประเด็นเรียนรู้ร่วมกัน   ทำให้เข้าใจทฤษฎีหรือเนื้อวิชาแจ่มชัดลึกซึ้งยิ่งขึ้น

คุณค่าส่วนที่สามของอาจารย์ต่อศิษย์ คือการประเมิน   อาจารย์ต้องคอยประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของศิษย์แต่ละคนอยู่ตลอดเวลา    สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการทำหน้าที่โค้ช ดูแลช่วยเหลือการเรียนรู้ของศิษย์เป็นรายคน    ที่เรียกว่า การประเมินเพื่อพัฒนา (Formative Evaluation)   การประเมินแบบนี้สำคัญกว่าการประเมินเพื่อตัดสินได้-ตก (Summative Evaluation)

ดังนั้นวงการวิชาชีพเภสัชกรรมควรเอาใจใส่ปฏิรูปการเรียนรู้ของวิชาชีพเภสัชกรรม    ให้เป็น Transformative Education  และมีการฝึกฝนทักษะทั้งด้านวิชาชีพ และด้านการทำงานร่วมกับวิชาชีพอื่น ในระบบบริการสุขภาพ เป็น ทีมสุขภาพ (Health Team)    ตามคำแนะนำในรายงานของคณะกรรมาธิการอิสระ ชื่อ Education of Health Professional for the 21st Century (http://www.healthprofessionals21.org/index.php/2-the-report)    โดยที่แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ อ่านได้จากหนังสือ การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ ๒๑ (http://www.scbfoundation.com/news_publish_detail.php?cat_id=6&nid=881)    และอ่านเรื่องความรู้สมัยใหม่เกี่ยวกับกลไกการเรียนรู้ได้ ในหนังสือ การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร(http://www.scbfoundation.com/news_publish_detail.php?cat_id=6&nid=880)

 

ในด้านการวิจัย วงการวิชาชีพเภสัชกรรมไทยควรเน้นการวิจัย ๔ ด้านคือ

๑. การวิจัยพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์ ด้านเภสัชศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์    เพื่อนำไปสู่การพัฒนายาและเภสัชภัณฑ์    และเพื่อพัฒนาความรู้พื้นฐานด้านเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์

๒.การวิจัยเกี่ยวกับการใช้ยาในการรักษาโรคต่างๆ    รวมทั้งการวิจัยเพื่อตรวจสอบประสิทธิผลของยาที่มีชื่อสามัญเดียวกัน แต่มีชื่อทางการค้าต่างกัน    และรวมทั้งการวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับยาสมุนไพรที่ผลิตภายในประเทศ

๓. การวิจัยระบบยาของประเทศไทย   เพื่อให้มีการใช้ยาอย่างเหมาะสม    ไม่เป็นภาระด้านการเงินหรือเศรษฐกิจของประเทศอย่างไมาสมเหตุสมผล    และเพื่อให้สังคมไทยรู้เท่าทันการทำธุริจอย่างไม่มีจริยธรรมของบริษัทยาข้ามชาติ

๔. การวิจัยด้านการศึกษาเภสัชศาสตร์

 

……………………..

 

 

 

[1] เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง การพัฒนาการศึกษาและการวิจัยในอนาคตกับวิชาชีพเภสัชกรรม    เนื่องในงานสมัชชาเภสัชกรรมไทย ๑๐๐ ปี   วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖  ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 14:50 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๕๗. สาธารณรัฐ กูเกิ้ล

พิมพ์ PDF

นสพ. The Times ฉบับวันที่ ๗ พ.ย. ๕๖   ลงข่าวหน้า ๑๐ เรื่อง Tech elite outline plans to quit US for Google Republic บอกว่า มีนักไอทีสติเฟื่องชื่อ Balaji S. Srinivasan  เสนอให้ Silicon Valley แยกตัวออกมาจากสหรัฐอเมริกา ออกมาเป็นรัฐอิสระ

อ่านมาถึงตรงนี้   ผมปิ๊งแว้บว่า หากมีคนไทยสติเฟื่องเสนอคล้ายๆ กัน จะโดนจับข้อหากบฏแบ่งแยกดินแดนไหม

คุณศรีนิวสัน ไม่ใช่คนจิ๊บจ๊อยนะครับ   ท่านเป็นอาจารย์ด้านไบโอเทคที่มหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด   และเป็นผู้ประกอบการด้านไบโอเทคที่ประสบความสำเร็จสูงมาก    เรียกได้ว่าเป็นคนที่มีหัวสร้างสรรค์เหลือเฟือ

เขาบอกว่า เวลานี้ สรอเป็น ประเทศไมโครซอฟท์”    และดำเนินการภายใต้ โค้ด โบราณ อายุ ๒๓๐ ปี (หมายถึงรัฐธรรมนูญอเมริกันที่ยิ่งนับวันก็ยิ่งชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ว่าล้าสมัย   ดังกรณีปิดรัฐบาล (government shutdown เนื่องจากการงัดข้อระหว่างสองพรรค เป็นเวลา ๒ สัปดาห์เมื่อเร็วๆ นี้   เป็นอาการของโรครัฐธรรมนูญโบราณ ดังนั้น เพื่อให้บริษัทเทคโนโลยีในอาณาบริเวณ Silicon Valley สามารถเจริญก้าวหน้าได้อย่างแท้จริง Silicon Valley ควรแยกตัวออกมาเป็นประเทศอิสระ

การทดลองตั้งประเทศ/รัฐ อิสระ   ปลอดจากกฎหมายที่ขัดขวางการทดลองเพื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่ใช่ของใหม่   พวกหัวก้าวหน้ามีข้อเสนอแนะมากมาย   ทั้ง ไปตั้งรัฐอิสระบนดาวอังคาร ไปตั้งนอกอ่าวในทะเล  เป็นต้น

ผู้เขียนบทความนี้บอกว่า ที่จริงแล้ว กูเกิ้ล กำลังยึดครองโลก    ดังนั้นถ้าฉลาดจริง พวกนักเทคโนโลยีสติเฟื่องทั้งหลาย   ควรถ่อมตัวเข้าไว้    ไม่ช้าทั้งโลกก็จะเป็นสาธาณรัฐ กูเกิ้ล    ในรูปของ สาธารณรัฐเสมือน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๗ พ.ย. ๕๖

บนเครื่องบินไปริโอ เดอ จาไนโร

 

ถ่ายจาก นสพ. The Times, November 7, 2013

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 13:03 น.
 

ยามเฝ้าแผ่นดิน โดย ศ. ดร. เขียน ธีระวิทย์

พิมพ์ PDF

ยามเฝ้าแผ่นดิน โดย ศ. ดร. เขียน ธีระวิทย์

ประเทศไทยนั้นมีรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรค่อนข้างจะสมบูรณ์ตามมาตรฐานสากลแล้ว แต่ที่เรามีวิกฤตการเมืองซ้ำซากนั้น เป็นเพราะเรามีปัญหาพิเศษ คือเรามีนักการเมืองที่เป็นโรคจิตชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า psychopathy คือเป็นคนบ้าเงิน-บ้าอำนาจ โลภมากสุดๆ ใช้อำนาจเงิน-อำนาจการเมืองนั้นอย่างขาดหิริโอตตัปปะ ละเมิดกติกา-กฎหมายที่มีอยู่เพื่อประโยชน์ของตัวและพรรคพวก และมีความชำนาญพิเศษในการซ่อนเร้นความจริงให้อยู่ภายใต้ภาพหลอนที่ดูสวยอย่างสนิทแนบเนียน จนคนทั่วไปจับผิดได้ยากประกอบกับสังคมไทย ยังมีคนยากจนมากที่ยังไร้เดียงสา ถูกหลอกถูกซื้อตัวได้ง่าย รัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 และกฎหมายลูกได้จัดตั้งองค์กรอิสระต่างๆ ขึ้นมาเพื่อตรวจสอบอำนาจรัฐ แต่ก็สู้อำนาจเงิน-อำนาจการเมืองไม่ได้

อนาคตของ กปปส : ยามเฝ้าแผ่นดิน

 

ข้าพเจ้าเคยแสดงความคิดเห็นไว้ในโอกาสต่างๆ หลายครั้งแล้วว่าประเทศไทยนั้นมีรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรค่อนข้างจะสมบูรณ์ตามมาตรฐานสากลแล้ว แต่ที่เรามีวิกฤตการเมืองซ้ำซากนั้น เป็นเพราะเรามีปัญหาพิเศษ คือเรามีนักการเมืองที่เป็นโรคจิตชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า psychopathy คือเป็นคนบ้าเงิน-บ้าอำนาจ โลภมากสุดๆ ใช้อำนาจเงิน-อำนาจการเมืองนั้นอย่างขาดหิริโอตตัปปะ ละเมิดกติกา-กฎหมายที่มีอยู่เพื่อประโยชน์ของตัวและพรรคพวก และมีความชำนาญพิเศษในการซ่อนเร้นความจริงให้อยู่ภายใต้ภาพหลอนที่ดูสวยอย่างสนิทแนบเนียน จนคนทั่วไปจับผิดได้ยากประกอบกับสังคมไทย ยังมีคนยากจนมากที่ยังไร้เดียงสา ถูกหลอกถูกซื้อตัวได้ง่าย  รัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 และกฎหมายลูกได้จัดตั้งองค์กรอิสระต่างๆ ขึ้นมาเพื่อตรวจสอบอำนาจรัฐ แต่ก็สู้อำนาจเงิน-อำนาจการเมืองไม่ได้ ปัญหาสำคัญคือกลไกในการบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ทำตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้  ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนจะต้องใช้อำนาจอธิปไตยของตนเข้าไปควบคุมกลไกในการบังคับใช้กฎหมายโดยตรง เป็นมาตรการสุดท้าย นั่นคือจัดตั้งเป็นองค์กรภาคเอกชน ทำหน้าที่เป็น “ยามเฝ้าแผ่นดิน” แทนประชาชน ดังจะกล่าวต่อไปในบทความเรื่องนี้

  1. หลักการและเหตุผล

ประชาธิปไตยของไทยล้มลุกคลุกคลาน และเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ มากมาย ผ่านการปฏิวัติ-รัฐประหารมาหลายครั้ง ทุกครั้งก็จะต้องล้มล้างรัฐธรรมนูญ โทษว่ารัฐธรรมนูญบกพร่องต่างๆ นานา แล้วก็ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พูดถึงการปฏิรูปการเมืองซ้ำซาก แต่ไม่เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง ไม่นานการเมืองก็เข้าสู่วงจรอุบาทว์ดังเดิม หรือเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม

ปัญหาที่สำคัญส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราแก้ปัญหาไม่ถูกจุด “เกาไม่ถูกที่คัน” เราลองมาช่วยกันออกแบบโครงสร้างอำนาจของรัฐเสียใหม่ โดยให้ประชาชนเป็นยามเฝ้าระวังนักการเมือง-ข้าราชการ-ตำรวจ-ทหาร ที่กินเงินเดือนของประชาชน แต่ทุจริต ไม่ทำงานตามที่กฎหมายกำหนด

ถามว่า “ยามเฝ้าแผ่นดิน” ที่ว่านี้มีต้นแบบที่ไหนในโลกหรือไม่ คำตอบคือ “ไม่มี” เพราะในโลกนี้คนที่มีอำนาจเงิน-อำนาจการเมือง และเป็นโรคจิต psychopathy นั้นหาได้ยาก เราจึงต้องมีกลไกพิเศษภาคเอกชนมาใช้กับสถานการณ์ของไทยโดยเฉพาะ

  1. พันธกิจของยามเฝ้าแผ่นดิน

2.1   ตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมายของรัฐ ดูว่าบุคคลหรือหน่วยงานทุกภาคส่วนของรัฐ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจและบริษัททั้งหลายว่าได้ปฏิบัติตามกฎหมายถูกต้องชอบธรรมหรือไม่

2.2   เมื่อพบว่ารัฐธรรมนูญ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่สัมพันธ์กับสิทธิและหน้าที่ของเอกชนนั้นมีจุดอ่อน-ช่องโหว่-ขาดความสมบูรณ์ ก็ควรเสนอให้องค์กรที่มีอำนาจแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อเหตุการณ์เสมอ โดยจะต้องติดตามให้ดำเนินการอย่างรวดเร็ว

2.3   ตรวจสอบ-ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ให้ยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคล งานการเงิน และงานบริการชุมชน

2.4   เมื่อพบว่าผู้ใด (หรือองค์กรใด) ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการการเมือง ข้าราชการพลเรือน-ทหาร-ตำรวจ ทำผิดรัฐธรรมนูญ กฎหมาย หรือกฎระเบียบของทางราชการ ให้ถือเป็นภารกิจในการติดตามเอาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีให้ถึงที่สิ้นสุด

ยามเฝ้าแผ่นดินสามารถรักษาผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างไร? ยกตัวอย่างเมื่อครั้งทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี กรณีสังหารหมู่ชาวมุสลิมที่มัสยิดกรือเซะ การใช้กำลังสลายการชุมนุมของชาวมุสลิมที่ตากใบ บัดนี้เวลาผ่านไปเกือบสิบปีแล้วยังไม่มีใครหรือหน่วยงานใดเอาตัวผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบมาดำเนินคดีแต่อย่างใด

กรณีทำนองนี้ ถ้ามีกลไกยามเฝ้าแผ่นดินภาคประชาชนประจำจังหวัดหรืออำเภอที่เกิดเหตุ ให้ถือเป็นภาระที่จะต้องติดตามตลอดกระบวนการ ตั้งแต่ตำรวจ อัยการ ให้ทำการดำเนินคดี ตรวจสอบสำนวนคดีว่าทำเรื่องฟ้องร้องตามความเป็นจริงหรือไม่ ตามจี้ให้ทำงานโดยมิชักช้า เช่นเดียวกัน เมื่อเรื่องไปถึงศาล ถ้าพบว่าใคร “ปล่อยเกียร์ว่าง” หรือ “เตะถ่วง” ให้ยื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. กล่าวหาบุคคลหรือหน่วยงานว่าปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157

ผลที่จะได้รับก็คือ คนทำผิดกฎหมายต้องรับโทษ ญาติมิตรของผู้ตายและบาดเจ็บใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็จะไม่หันไปสนับสนุนผู้ก่อการร้าย หรือผู้แบ่งแยกดินแดนดังที่เป็นอยู่ ประชาชน-ครู-ทหาร-ตำรวจ ผู้บริสุทธิ์ก็ไม่ต้องตายและบาดเจ็บจำนวนมากเช่นนั้น ทรัพย์สินที่เสียหายจากการระเบิดก็จะไม่เกิดขึ้นเป็นรายวันดังที่เป็นอยู่

  1. องค์กร การจัดตั้งและบุคลากร

3.1   ให้ กปปส. ในขณะนี้เริ่มเป็นแกนนำในการจัดตั้ง เครือข่าย การตรวจสอบอำนาจรัฐภาคเอกชน โดยจะใช้ชื่ออะไรอื่นก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน

3.2   บุคลากรขององค์กรตรวจสอบอำนาจรัฐภาคเอกชนนี้ล้วนเป็นอาสาสมัครที่ไม่รับเงินเดือน

3.3   การจัดตั้งองค์กร สาขา และเครือข่ายทั่วประเทศให้ขานรับกับพันธกิจที่จะต้องทำตามข้อ 2 คือสามารถตอบสนองความต้องการของงานด้านการรับเรื่อง ร้องเรียน สืบสวนสอบสวน ร้องเรียนหรือฟ้องร้อง ฯลฯ เรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจ และบรรษัทธุรกิจเอกชนด้วย

3.4   เชิญชวนสื่อมวลชน สภาทนายความ กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ องค์กรพัฒนาชุมชน และองค์กรเอกชนที่ไม่เป็นฝักเป็นฝ่ายของพรรคการเมืองเข้าร่วมงาน หรือเป็นพันธมิตร ในฐานะต่างๆ ตามแต่จะตกลงกัน มีระบบการตรวจสอบการทำงานขององค์กรนี้ให้โปร่งใส ปราศจากอคติ

  1. ปรัชญาในการทำงาน

4.1   ยึดถือคุณธรรม หลักกฎหมาย และสันติวิธี เป็นหลักการในการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

4.2   ส่งเสริมความสามัคคี-ความปรองดองในการต่อสู้กับศัตรูของประชาชน

4.3   ไม่เป็นฝักเป็นฝ่ายทางการเมือง แกนนำองค์กรในระดับต่างๆ จะต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ผู้ร่วมงานในฐานะอื่นที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองจะต้องพิสูจน์ตัวให้เห็นว่าเป็นคนมีคุณธรรมที่มีความเที่ยงธรรมในการทำงานสาธารณะ

4.4   ปฏิบัติต่อพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีความขัดแย้งกันโดยยึดถือความถูกต้องเป็นหลัก ไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง

4.5   ส่งเสริมธรรมาภิบาล คนทำความดี ป้องกันคนชั่วที่จะเข้าไปทำงานทางการเมือง

4.6   ใช้ศิลปในการจูงใจฉันมิตรอย่างละมุนละม่อมก่อน จนไม่มีทางเลือกจึงใช้พลังกดดันทางสังคม และกล่าวหาฟ้องร้องเป็นคดีความ โดยมีลำดับจากเบาไปหาหนัก

4.7   พัฒนาองค์กรของตนให้ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล โดยผลิตเอกสารความรู้เกี่ยวกับงานแจก และมีการประชุมอบรมจริยธรรมให้สมาชิกพัฒนาตนเองเป็นครั้งคราว

  1. แผนงาน งานหลักและงานรอง

5.1   ให้แกนนำ (จะเรียกอะไรก็ตาม) กำหนดแผนงานประจำปี (รวมทั้งแผนงาน 2, 3, 4 ปีด้วย) โดยผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ขององค์กร

5.2   ในการทำงานนั้น ให้จัดลำดับความสำคัญ และความเร่งด่วนไว้ด้วย งานหลักที่สำคัญมากก็เช่น การตรวจสอบ ตามจี้เอาผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้แทนระดับต่างๆ ไม่ใช่ปล่อยให้คนทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่ จนกระทั่งเป็นรัฐมนตรีเป็นแรมปี หรือจนหมดสมัยจึงตัดสินว่าผิดหรือไม่ผิด

ตัวอย่างการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ซึ่งเราได้ ส.ส. ฝูงแกะเข้าไปนั่งในสภา พรรคเพื่อไทยและส.ส.ของพรรคทำผิดกฎหมายกันเกือบทั้งหมด แต่กลไกของรัฐ ตำรวจ ก.ก.ต. ไม่ทำอะไรเลย ถ้ามียามเฝ้าแผ่นดินภาคประชาชน พวกเขาน่าจะจัดการกับนักการเมืองและเจ้าพนักงานที่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ได้ดังนี้

ให้อาสาสมัครของยามเฝ้าแผ่นดินประจำเขตเลือกตั้งจับตาดูพรรคการเมือง และผู้สมัคร ส.ส. ที่มีคะแนนนิยมนำในอันดับที่อาจจะได้รับเลือกตั้งในแต่ละเขตว่าได้ทำผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือไม่

(1)พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 53 ส่วนหนึ่งบัญญัติว่าห้ามผู้สมัครหรือผู้ใดจัดทำให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณได้เป็นเงิน

เมื่อตรวจดูป้ายโฆษณาหาเสียง คำพูดบนเวทีของผู้สมัคร ใบปลิวหาเสียง สื่อมวลชนทุกประเภทจะได้ข้อสรุปว่า พรรคเพื่อไทยและผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคส่วนมากทำผิดกฎมายแน่นอน มีความผิดตามกฎหมายฉบับเดียวกัน มาตรา 137 ว่า ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนด 10 ปี นอกจากนั้น ถ้า ก.ก.ต. และอัยการสูงสุด ดำเนินคดีอย่างตรงไปตรงมาตามมาตรา 94 (1), 94 (2) และ ม. 95 ศาลรัฐธรรมนูญอาจวินิจฉัยให้ยุบพรรคได้

(2) หาหลักฐานอื่น ๆ ที่กฎหมายระบุว่าเป็นความผิด เช่น พรรคการเมืองและผู้สมัคร ส.ส. จะใช้เงินหาเสียงเลือกตั้งเกินที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 50 และตามประกาศของ ก.ก.ต. ไม่ได้ ปรากฏว่าผู้สมัคร ส.ส. ส่วนมากทำผิดกันทั้งนั้น

กรณีเหล่านี้ให้แมวมองเก็บหลักฐานทั้งหมดที่หาได้ ทำสำเนาเก็บไว้ให้เรียบร้อย เอาไปแจ้งให้ ก.ก.ต. ดำเนินคดี (ตาม ม. 95) ถ้า ก.ก.ต. ไม่รับแจ้ง หรือรับแจ้งแล้วไม่ดำเนินคดีตามกฎหมาย ก็ไปแจ้ง ป.ป.ช. กล่าวโทษ ก.ก.ต. ว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 มีโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีฯ และถ้า ก.ก.ต. หรืออัยการสูงสุด “เตะถ่วง” หรือทำเรื่องล่าช้า ก็ให้แจ้ง ป.ป.ช. ดำเนินคดีในทำนองเดียวกัน

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ไม่ว่า”สภาประชาชน”ที่เสนอโดย กปปส.นั้นจะเกิดได้หรือไม่ก็ตาม และการเลือกตั้งส.ส.จะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการปฏิรูปก็ตาม ถ้ามวลชน” 9 ธันวามหาสามัคคี”ภายใต้การนำของแกนนำ กปปส. สามารถแปรสภาพเป็นองค์กรภาคเอกชนที่มีเครือข่ายเฝ้าระวังองค์กรภาครัฐได้ทั่วประเทศ จะสามารถทำงานใหญ่ที่การชุมนุมใหญ่และการปฏิวัติ-รัฐประหารครั้งก่อนๆ ไม่สามารถทำได้สำเร็จดังนี้

 

6.1 สามารถสืบทอดเจตนารมณ์ของขบวนการต่อต้านระบอบทักษิณ” 9 ธันวามหาสามัคคี”ได้ ใครหรือพรรคการเมืองใดก็ตามที่จะมาเป็นรับบาลโดยคิดคดทรยศต่อชาติ ก็ต้องเผชิญกับพลังต่อต้านจากมวลชนจนต้องร้องไห้อีก

6.2 ถ้า กปปส. แปรสภาพเป็นองค์กรภาคเอกชน คนพันธุ์ทักษิณ- เสื้อแดง ก็จะต้องยอมรับโดยดุษณียภาพ เป็นการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ ขจัดปัญหาความขัดแย้งยืดเยื้อจากการที่ฝ่ายหนึ่งได้อำนาจจัดตั้งรัฐบาล ฝ่ายตรงข้ามก็จะตั้งแง่ปลุกระดมพลต่อต้านอย่างยืดเยื้อ

6.3 ถ้าแกนนำ กปปส. เลิกทำงานการเมืองในระบบพรรค อุทิศตนมาทำงานสานเจตนารมณ์ “9 ธันวามหาสามัคคี”ต่อในฐานะยามเฝ้าแผ่นดิน พวกเขาจะมีคุณูปการมากกว่าการเป็นผู้นำพรรคการเมืองมาก จะทำงานเพื่อธำรงรักษาความถูกต้องเพื่อชาติโดยรวม ซึ่งสามารถทำได้อย่างเป็นอิสระเที่ยงธรรมได้ดีกว่าอยู่ในองค์กรภาครัฐหรือสังกัดพรรคการเมือง

6.4 สามารถทำงานสำคัญที่สุดในสังคมไทยเพราะปัจจุบันนี้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายไม่ทำงานตามอำนาจหน้าที่กันอย่างแพร่หลายเป็นงานหลักของการปฏิรูปการเมือง ส่วนการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายและรัฐธรรมนูญเป็นงานรอง

6.5 จะสามารถช่วยกำจัดและป้องกันคนโกง เช่น คนในระบอบทักษิณให้เกิดขึ้นมาใหม่ สังคมจะย่างเข้าสู่ยุคแห่งการปรองดอง มีความสงบเรียบร้อย และปราศจากการทำรัฐประหาร

 

7. การเงินและงบประมาณ

ในเบื้องต้น องค์กรภาคเอกชน ยามเฝ้าแผ่นดินนี้ ดำเนินงานโดยอาสาสมัครทำงานเพื่อสาธารณประโยชน์โดยไม่มีค่าตอบแทน รายจ่ายสำนักงานและการปฏิบัติงานภาคสนาม สนับสนุนโดยเงินบริจาคของผู้มีจิตศรัทธา

 

หมายเหตุ

ข้อความที่เสนอแนะไว้ในเอกสารนี้ เป็นเพียงตุ๊กตาสำหรับปรับปรุงให้สมบูรณ์ขึ้น เพื่อประโยชน์ในการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น

 

 

เขียน ธีระวิทย์

17 ธันวาคม 2556

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2013 เวลา 13:54 น.
 


หน้า 410 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8612235

facebook

Twitter


บทความเก่า