Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ปฏิรูปห้องเรียน ปฏิวัติการสอน

พิมพ์ PDF

ผมได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง ปฏิรูปห้องเรียน ปฏิวัติการสอน ในงาน EDUCA 2013 เมื่อวันที่ ๑๑ ต.ค. ๕๖   โดยห้องบรรยายวางเก้าอี้ ๑,๐๐๐ ที่นั่ง    คนเข้าฟังแน่นห้อง เกือบไม่มีที่นั่งว่างเลย   ที่ผมภูมิใจมากคือ ศ. ดร. อารี สัณหฉวี ปรมาจารย์ด้านการศึกษา ไปฟังด้วย   ท่านบอกว่าท่านตั้งใจไปฟังผมพูดโดยเฉพาะ

จึงนำ narrated ppt มา ลปรร.ที่นี่

หลังการประชุมมีเจ้าของโรงเรียนอนุบาลมาถามว่า ใช้ flip classroom กับชั้นอนุบาลได้ไหม    ผมตอบว่า flip classroom เพื่อการเรียนสาระวิชาควบคู่ไปกับทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นต่อชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑   ต้องตั้งคำถามกันว่า ชั้นอนุบาลต้องการให้เด็กได้อะไร   ผมเข้าใจว่ายังไม่เน้นที่วิชาการ   แต่เน้นฝึกพัฒนาการทางร่างกาย ทางสังคม ทางอารมณ์ ฝึกความอดทน พัฒนา EF มากกว่าเรื่องวิชา    ต้องคิดเป้าหมายของการเรียนชั้นอนุบาลให้ชัด แล้วจึงวางยุทธศาสตร์การใช้เทคโนโลยี

กลับมาบ้าน ไตร่ตรองเรื่อง flip classroom ในเด็กเล็กและอนุบาล    หวนระลึกถึงคำบรรยายของ John Couch, VP for Education ของบริษัท แอ๊ปเปิ้ล   เมื่อวันที่ ๓ ต.ค. ๕๖   เขาฉายภาพหลานอายุไม่ถึงขวบเล่น iPad เพื่อการเรียนรู้ของตน   แต่ผมก็ยังไม่คิดว่า เทคโนโลยีจะทดแทนปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน เพื่อการเรียนรู้

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ต.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10:15 น.
 

พระองค์เจ้าขุนเณร ผู้บัญชาการกองทัพนินจาของไทย

พิมพ์ PDF
หน่วยรบพิเศษของไทย ซึ่งเป็นหน่วยที่ถูกฝึกแบบไม่ธรรมดา ซึ่งเดิมทีได้มีการเริ่มฝึกมาตั้งแต่สมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้ที่รับหน้าที่นี้ได้แก่ออกญาเสนาภิมุข ซึ่งเป็นอาสาญี่ปุ่น นามตามภาษาญี่ปุ่นว่า "ยามาด้า(YAMADA)" อันเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน "วิชานินจา" โดยได้แสดงต่อหน้าพระที่นั่งวังจันทร์เกษม เมืองสองแคว(พิษณุโลก) เป็นที่ประทับพระราชหฤทัยขององค์สมเด็จพระนเรศวรเจ้าเป็นที่ยิ่ง จึงทรงมอบให้จัดค่ายลับไว้ ณ ช่องเขาด้านเหนือของเมืองสองแคว (ปัจจุบันอยู่ที่ อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ติดกับเส้นทางไปชัยบาดาล ด้านหลังภูเขาติดพิจิตร และกำแพงเพชร) พื้นที่อยู่ในซอกสลับซับซ้อน มีหินเรียงเป็นฉาก คนภายนอกมิอาจมองเห็นภายในอันคล้ายดั่งน้ำเต้าใส่สุรา มีทัศนยภาพที่พิกลยิ่งนัก ค่ายนี้ไม่ปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ด้วยชำระทิ้งเสียสิ้น อนึ่งเป็นค่ายลับเฉพาะ ด้วยเหตุดั่งนี้จึงไม่มีผู้ใดได้ทราบว่าออกญาเสนาภิมุขนำทหารไปไว้ ณ ที่ใด (แลด้วยออกญาเสนาภิมุขคุมทหารกล้านี้ จึ่งเป็นที่หวาดเกรงแก่ขุนนางทั้งหลาย ร่วมกันใส่ความจนเป็นเหตุให้ออกญาเสนาภิมุขต้องถูกเนรเทศไปอยู่นครศรีธรรมราช ก็เพื่อกำจัดอำนาจบัญชาการหน่วยรบพิเศษนี้ในสมัยพระเอกาทศรศ)

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงคัดผู้จะเข้ารับการฝึกในหน่วยนี้ด้วยพระองค์เอง ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกนั้นจะต้องมีความพิเศษในทุก ๆ ด้าน และมีหัวใจที่เสียสละ พร้อมที่จะสละชีวิตเพื่อแผ่นดินได้ในทุกวินาทีด้วยความเต็มใจ พระองค์ได้ทรงนำหน่วยรบนินจานี้ออกทดสอบเป็นครั้งแรกในการปล้นค่ายหงสาในยามค่ำคืน อันเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ไทยอันลือลั่น ที่พระองค์ทรงปีนค่ายทหารหงสาด้วยพระองค์เอง พร้อมทหารไม่ถึงร้อย ก็คือหน่วยรบนินจา หรือกองอาสาอาทมาทนี้เอง นี่คือที่มาของตำนาน "พระแสงดาบคาบค่าย" นั่นเอง(ปัจจุบันพระแสงดาบคาบค่าย อยู่ในพิพิธพัณฑสถานแห่งชาต กรุงเทพฯ) กองทหารอาสาอาทมาท ได้มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ยุทธหัตถี เพราะเป็นหน่วยรบเดียวที่ติดตามไปพร้อมกับช้างพระที่นั่ง ตีกระเจิดแทรกไปหว่างกลางทัพหงสา จึงบังเกิดเป็นเหตุการณ์สำคัญแห่งประวัติศาสตร์ คือ "สงครามยุทธหัตถี" ที่องค์สมเด็จพระนเรศวร ทรงชำนะศึกด้วยยุทธกษัตริย์เพียงลำพังพระองค์ และทหารกองอาทมาท เป็นเหตุการณ์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ อันประทับอยู่ในห้วงหัวใจของชนชาวไทยตราบเท่าทุกวันนี้

ทหารหน่วยรบนี้ เป็นกองอาสาพิเศษ จะใช้ในราชการพิเศษเท่านั้น จึงเรียกว่า " กองอาสาอาทมาท" ซึ่งวิทยาการทางยุทธวิธี และยุทธศาสตร์ ได้ถูกถ่ายทอดมาจนกระทั่งถึงยุคกรุงศรีอยุทธยาตอนปลาย ถึงรัตนโกสินทร์ยุคต้น และถูกทำลายโดยได้ยุบกองอาสานี้ไปในสมัย ร.๔ (โดยคำแนะนำของปรึกษาทางทหารของต่างประเทศ ที่เข้ามารับราชการเปลี่ยนระบบกองทัพไทยเใหม่ เป็นแบบยุโรป...เนื่องจากฝรั่งรบโดยใช้ปืน แต่กองทัพนินจารบแบบประชิดตัว=ฝรั่งทำไม่เป็น ยังไม่รู้จักการรบกองโจร..??) ดังนั้นกองอาสาอาทมาท หรือ หน่วยรบพิเศษของไทย จะเรียกว่า กองทัพนินจานี้ ก็สาปสูญชื่อไปจากกองทัพไทยแต่บัดนั้น

กองทัพนินจา หรือ กองอาสาอาทมาท ได้แสดงฝีมือให้ประจักษ์แก่ลูกหลานไทยครั้งสุดท้ายในยุคของ เจ้าขุนเณร เป็นผู้บัญชาการ เข้าทำการสู้รบใน "ศึกเจ้าอนุ" จนเป็นที่ร่ำลือกล่าวขานเป็นตำนานการรบของกองทัพไทย ตราบจนทั่วทุกวันนี้ ดังนั้น เราจะพาท่านไปพบกับ เจ้าขุนเณร ผู้บัญชาการกองทัพนินจาไทยคนสุดท้าย ว่าท่านเป็นใคร ?

พระองค์เจ้าขุนเณร พระโอรสของพระเจ้าขุนรามณรงค์ หรือออกหลวงรามณรงค์ (พระเชษฐาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) พระองค์เจ้าขุนเณรทรงปฏิบัติการรบในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งพระภารกิจและวีรกรรมของพระองค์เจ้าขุนเณรในการรบที่สำคัญ ดังนี้ 

๑. การรบในสมัยสงครามเก้าทัพ กรณียกิจที่ปรากฏชัดเจนและมีความสำคัญยิ่งขึ้น คือ เหตุการณ์ในการทำสงครามกับพม่า ที่เรียกว่าสงครามเก้าทัพ ณ เมืองกาญจนบุรี ในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ ในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์เจ้าขุนเณรได้รับหน้าที่เฉพาะกิจโดย กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหัวหน้ากองโจร คอยทำลายกองกำลังของพม่า ตัดกำลัง แย่งชิงเสบียงอาหารและยุทโธปกรณ์ของพม่า รบกวน รังควานแย่งชิง ทำลายกองเกวียนกองช้างกองม้าที่นำเสบียงมาจากเมืองเมาะตะมะ เมืองทวาย และตะนาวศรี นำกำลังเข้าไปทางบก และทางน้ำแทรกซึมเข้าไปในพื้นที่ตั้งของข้าศึก และอาศัยภูมิประเทศ เหตุการณ์ดินฟ้าอากาศในขณะนั้น จู่โจม โจมตีทำลาย และจับกุมกำลังทหารของพม่า ทำให้ข้าศึกพะวักพะวน ต้องดึงกำลังมารักษาพื้นที่ส่วนหลังมากขึ้น เป็นการทำลายขวัญของพม่าให้ลดถอยในการสู้รบ พระองค์เจ้าขุนเณรใช้กองทัพนินจาที่พระองค์ทรงฝึกเองเพียง ๑,๘๐๐ คนเท่านั้น ที่จะต้องยันกองทัพพม่า ที่ยกมาเป็นจำนวนนับแสน ซึ่งในการปฏิบัติงานสำคัญ เป็นภารกิจเสี่ยงต่อภัยอันตรายตลอดเวลา ยากที่กำลังพลปกติทั่วไปจะกระทำได้สำเร็จกองทัพนินจาของพระองค์เจ้าขุนเณรโดยมากปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่ส่วนหลังของกองทัพพม่า พื้นที่ปฏิบัติการเข้าใจว่าอยู่ในเส้นทางเมาะตะมะ - ด่านเจดีย์สามองค์ – ท่าดินแดง – ไทรโยค – ท่ากระดานกับเส้นทางทวาย – บ้องตี๋ – ไทรโยค – พุตะไคร้ – ช่องแคบ – ท่าด่าน เป็นระยะเวลา ๒ เดือนเศษ 

ครั้นถึง ณ วันศุกร์ เดือน ๓ แรม ๔ ค่ำ ปีมะเส็ง ก็ตรัสสั่งให้กองทัพไทยเข้าระดมตีค่ายพม่าพร้อมกันทุกค่ายในเวลาเดียวกัน พม่าก็แตกฉานทั้งกองทัพที่ ๔ และ กองทัพที่ ๕ ไทยได้ค่ายหมดทุกค่าย ฆ่าฟันล้มตายเสียเป็นจำนวนมาก ที่เหลือตายก็แตกหนีไป กองทัพนินจาของพระองค์เจ้าขุนเณรก็ซ้ำเติม ฆ่าฟันพม่า และจับส่งมาถวายอีกหลายพันคน

๒. สงครามปราบเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ 
กรณียกิจครั้งสุดท้ายของพระเจ้าขุนเณร ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จากเอกสารของ ฯขุนนคเรศฯ เรื่อง "บันทึกลับ เจ้าพระยาบดินทร์เดชาฯ " ได้พบพระนามของพระองค์เจ้าขุนเณรอีก ได้พิจารณาข้อความตอนหนึ่งที่ขุนนางผู้ใหญ่ ได้นำหนังสือกราบบังคมทูลถึงการปฏิบัติการรบกับกองทัพพระเจ้าอนุเวียงจันทน์ ในฐานะกองโจร และกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแม่ทัพหลวงทรงตรัสว่า “ พระองค์เจ้าขุนเณรเขาเคยได้กระทำการศึกสงครามชำนิชำนาญ มาแต่ครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง แต่ครั้งท่านเสด็จไปตีพม่าที่เขาชะงุ้ม ราชบุรี ครั้งนั้น พระองค์เจ้าขุนเณรเขาได้เป็นนายทัพกองโจรไปตีกองลำเลียงพม่า เขาเคยมีชัยชนะมาแล้ว ” ยังมีข้อความตอนหนึ่งกล่าวว่าในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ สันนิษฐานว่าพระองค์เจ้าขุนเณรมีพระชนมายุเกิน ๖๐ พรรษา และได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็นนายทัพกองโจรคุมกำลังกองโจร ซึ่งเป็นคนพม่า คนทวาย และเป็นนักโทษมาแล้ว จำนวน ๕๐๐ คน ภายหลังให้ทหารเมืองนครราชสีมามารวมด้วยอีก ๕๐๐ คน โดยให้พระณรงค์สงครามเป็นหัวหน้า กองโจรต่างชาติซึ่งนำโดยแม่ทัพไทยได้เริ่มออกปฏิบัติการรบแบบกองโจร ในขณะที่กองทัพหลวงเข้าตีค่ายทหารลาวที่หนองบัวลำภู ค่ายส้มป่อย ค่ายทุ่งลำพี้ และค่ายเขาช่องสารเป็นลำดับไป 

สำหรับทัพหลวง กรมพระราชวังบวรฯ ได้โปรดเกล้าฯให้กรมหมื่นนเรศร์โยธี กรมหมื่นเสนีย์บริรักษ์ เป็นแม่ทัพใหญ่ นำกำลังเข้าประชิดทหารลาวที่ค่ายส้มป่อย เจ้าหน่อคำแม่ทัพใหญ่ค่ายส้มป่อยนำหน้าทหารเข้าตีค่ายทหารไทย พระยาเสน่หาภูธร และพระยาวิสูตรโกษาแม่ทัพหน้า ยกทหารออกต้านทานสัประยุทธ์ ยิงแทงกันเป็นสามารถ ยังไม่แพ้ชนะกันทั้งสองฝ่าย ไทยไพร่พลน้อยกว่าลาวจึงล่าทัพเข้าค่ายปีกกา ปิดประตูค่ายรักษามั่นไว้ กรมหมื่นนเรศร์ฯ แม่ทัพใหญ่ได้ทราบข่าวจากม้าเร็วว่า กองทัพหน้าถูกล้อมไว้ จึงยกกำลังเข้าไปแก้ไขอย่างเร่งด่วนโดยประมาท ถูกพระยาแสนหาญ กับพระยาน่านมือเหล็กแม่ทัพกองซุ่มของลาวคุมทหารแปดพันคน ซุ่มอยู่ข้างป่าดงตะเคียนยกพลเข้าโจมตีกองทัพกรมหมื่นทั้งสองพระองค์ ต่อสู้ตะลุมบอน ฟันแทงกันด้วยอาวุธทั้งสองฝ่าย ฝ่ายไทยเสียเปรียบจึงถูกฝ่ายลาวล้อมไว้อีกทัพหนึ่ง 

ฝ่ายพระองค์เจ้าขุนเณรซึ่งเป็นแม่ทัพกองทัพนินจา ก็ยกกองทัพพม่าทวายไปซุ่มคอยตีกลองลำเลียงลาวอยู่ในป่าหลังค่ายทุ่งส้มป่อย แล้วสามารถจับพลลาวได้เจ็ดคน ถามได้ความว่า “ เจ้าหน่อคำเป็นแม่ทัพใหญ่คุมพลทหารพันแปดร้อยยกไปตีกองทัพไทย และให้ท้าวเพี้ยคุมพลทหารพันหนึ่งรักษาค่าย แล้วเจ้าหน่อคำจัดการระวังทางป่าและลำธารเป็นสามารถ “ พระองค์เจ้าขุนเณรมีความวิตกกังวลนักจึงดำริอุบายที่จะไปช่วยกองทัพไทยฝ่ายกองหน้าที่ถูกล้อมไว้ จึงสั่งไว้ชีวิตทหารลาวทั้งเจ็ดคน แต่จับยึดเป็นเชลยอยู่หกคน ให้ทหารไทยปลอมตัวเหมือนลาวปลอมหาบคอนแทนหกคน รวมทหารลาวที่ปล่อยตัวไปหนึ่งคนเป็นเจ็ดคน พาพวกไทยหกคนเข้าไปในค่ายลาว ถ้าสำเร็จตามประสงค์ พระองค์เจ้าขุนเณรจะปูนบำเหน็จให้ เมื่อฝ่ายลาวขอรับอาสาตอบแทนพระกรุณาที่พระองค์เจ้าขุนเณรทรงไว้ชีวิตให้ พระองค์เจ้าขุนเณรจึงตรัสรับสั่งพระณรงค์สงครามให้เป็นแม่กองคุมทหารนินจาของพระองค์(อาทมาตทะลวงฟัน) และคุมพลทหารห้าร้อย ถืออาวุธสั้นและมีคบเพลิงสำหรับตัวทุกคน จะได้เผาค่ายลาว ให้ยกไปซุ่มอยู่ตามชายป่าห่างค่ายลาวประมาณ ๔๐ เส้น หรือ ๕๐ เส้น พอควรการให้ทันท่วงที ถ้าเห็นลาวพาไทยหกคนเข้าไปในค่าย เผาค่ายเจ้าหน่อคำได้แล้ว ให้พระณรงค์สงคราม ยกกองทัพอาทมาตรีบเร่งต้อนพลโห่ร้องกระหน่ำสับทับ หนุนเนืองกันเข้าไปหักค่ายให้พังลงแล้วไฟเผาค่ายลาวไหม้สว่างขึ้น พลทหารเจ้าหน่อคำก็จะตกใจ พว้าพวังทั้งข้างหน้าข้างหลัง ก็จะถอยทัพล่าถอยไปเอง ไทยที่อยู่ในที่ล้อมก็จะออกได้ แล้วจะได้เป็นทัพกระหนาบด้วย พระองค์เจ้าขุนเณรจึงตรัสสั่งไทยทั้งหกคนที่แต่งกายเป็นลาวนั้นว่า " ถ้าเข้าค่ายลาวได้ ให้ไล่ฆ่าฟันลาวในค่าย คลุกคลีตีลาวไป อย่าให้ลาวทันตั้งตัวหาอาวุธได้ ให้นำคบเพลิงเผาค่ายลาวขึ้นด้วย 

ครั้นเมื่อแผนการที่พระองค์เจ้าขุนเณรได้วางไว้สำเร็จ สร้างความอลหม่านให้แก่พลลาวเป็นอันมาก รวมทั้งช้างงาในค่ายลาวที่ตกมันน้ำมันอยู่ เห็นแสงไฟสว่างจ้าก็ตกใจแตกปลอกออก ไล่แทงผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก แล้ววิ่งหายเข้าป่าไปในค่ำนั้น ฝ่ายพระยาไชยสงคราม ท้าวสุวรรณ ท้าวหมี สามนายคุมพลทหารพันหนึ่ง อยู่รักษาค่ายที่ทุ่งส้มป่อย เห็นเชิงศึกไทยกระชั้นตีเข้ามาในค่ายได้โดยเร็วดังนั้นก็ตกใจ จะรวบรวมทหารให้เป็นเป็นหมวดเป็นกองออกต่อสู้ก็ไม่ได้ ด้วยรี้พลแตกตื่นตกใจมาก จะกดไว้ไม่อยู่ จึงปล่อยให้แตกแหกค่ายหนีไปซ่อนภายในป่าทั้งนายไพร่ได้บ้าง ที่ตายก็มากที่เหลือตายก็มี

ขณะนั้นกรมหมื่นนเรศร์โยธี กรมหมื่นเสนีย์บริรักษ์ ทั้งสองพระองค์ที่อยู่ในที่ล้อมลาวทอดพระเนตรเห็นกองทัพลาวที่ล้อมอยู่นั้นล่าถอยไป จึงเข้าพระทัยชัดว่า ชะรอยจะมีกองทัพไทยผู้ใดไปจุดไฟเผาค่ายลาว ลาวจึงได้ล่าถอยไป จึงตรัสสั่งให้นายทัพ นายกองไทยเร่งรีบยกพลติดตามทัพลาวเจ้าหน่อคำที่ล่าถอยหนีไปนั้นให้เต็มมือ เจ้าหน่อคำสู้พลางถอยหนีมาพลาง เดินทัพรุดหนีมาตามทางในป่า ก็พอมาปะทะพบกองทัพพระองค์เจ้าขุนเณรที่ยกมาเป็นทัพกระหนาบหลังเจ้าหน่อคำ เจ้าหน่อคำกระทำศึกดุจดังฟองสกุณาปักษาชาติ อันถูกพายุพัดมาประดิษฐานตั้งกลิ้งกลอกอยู่ริมก้อนศิลาที่เป็นแง่อันแหลม 



ฝ่ายกองทัพไทยทั้งหลายไล่พิฆาตฆ่าฟันแทงลาวตายเป็นอันมาก ศพลาวซ้อนทับกันเต็มไปทั้งป่า นายทัพนายกองไทยเก็บเครื่องศาสตราวุธต่างๆ ไว้ได้ทุกอย่าง จับได้ช้างใหญ่ขนาดพลาย ๔๙ เชือก ช้างพัง ๔๑ เชือก ช้างเล็กไม่ถึงขนาดรวมทั้งพลายพังด้วยเป็น ๑๗๔ เชือก ม้า ๓๔๖ ม้า โคกระบือ ๖๐๐ เสบียง อาหารพร้อมบริบูรณ์ เจ้าหน่อคำแม่ทัพใหญ่หนีไปกับทหารร่วมใจสองร้อยเศษ ไปถึงค่ายเขาสาร ทหารไทยจับได้ไม่ หลังจากเสร็จสิ้นการศึก กรมพระราชวังบวรฯ ตรัสเรียกพระองค์เจ้าขุนเณรให้เข้ามาเฝ้าในที่ใกล้ และพระราชทานพระแสงดาบฝักทองคำองค์หนึ่งแด่พระองค์เจ้าขุนเณรเป็นรางวัล

การปฏิบัติการแบบกองโจรของพระองค์เจ้าขุนเณรในพื้นที่การรบดังกล่าว ทำให้การรบของทัพหลวงได้รับชัยชนะรวดเร็วขึ้น แก้ไขสถานการณ์ที่เพลี่ยงพล้ำแก่ข้าศึก กลายเป็นการได้เปรียบอย่างคาดไม่ถึง ใช้กลยุทธ์เฉพาะหน้าที่เสี่ยงแก่ชีวิต และการแพ้ชนะชั่วเวลาอันสั้น ใช้การพิจารณาสถานการณ์ความรู้ในด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับข้าศึกได้ถูกต้อง ใช้การลวง การจู่โจม ความเด็ดขาด ปฏิบัติการการรบอย่างกล้าหาญรุนแรง รวดเร็ว พฤติกรรมการรบของพระองค์ท่านเป็นอย่างกองโจรโดยแท้ และยังเป็นตัวอย่างที่เป็นแนวทางของการรบแบบกองโจรในสมัยนี้ได้อย่างสมบูรณ์ยิ่ง 

ปัจจุบันทางราชการได้สร้างเขื่อนขึ้นมาจึงให้ชื่อว่า เขื่อนเจ้าเณร ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น เขื่อนศรีนครินทร์ บ้านเจ้าเณรตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ ต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จว.กาญจนบุรี ปัจจุบันถูกน้ำท่วมหมดแล้วรวมทั้งเมืองท่ากระดาน ด่านแม่แลบ และด่านกรามเชียง( แก่งเรียง-ม่องคอย) ซึ่งเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์อันสำคัญยิ่ง

เพื่อเทิดทูนวีรกรรมของพระองค์เจ้าขุนเณร พระโอรสของเจ้าขุนรามณรงค์ หรือออกหลวงรามณรงค์ (พระเชษฐาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) พระองค์เจ้าขุนเณร ที่ทรงผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษคนแรกแห่งรัตนโกสินทร์ ปฏิบัติการรบในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งพระภารกิจและวีรกรรมของพระองค์เจ้าขุนเณรในการรบที่สำคัญให้ปรากฏแก่อนุชนชาวไทยรุ่นหลังสืบไป 

ดังนั้น กองทัพไทยจึงได้มีหนังสือรายงานขออนุมัติ ทบ. เพื่อขอพระราชทานนามค่ายทหารของ กรมรบพิเศษที่ ๕ ว่า “ค่ายพระองค์เจ้าขุนเณร” ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามค่ายทหาร ให้แก่ กรมรบพิเศษที่ ๕ ซึ่งมีที่ตั้งปกติถาวร ณ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ว่า ค่ายขุนเณร ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานนามค่ายทหาร ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิต รองนายกรัฐมนตรี ลงในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑ ง หน้า ๑๓ ลง ๓ มกราคม ๒๕๔๙

คัดลอกจาก facebook เผยแพร่โดย คุณพิชาญ พงษ์พิทักษ์

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 16:35 น.
 

ประชาพิจารณ์แบบปกปิด

พิมพ์ PDF
“การขุดคลองยาวกว่า 300 กิโลเมตร ผมไม่เชื่อว่าจะสร้างเสร็จได้ภายใน 5 ปี ที่สำคัญเขายังไม่มีตอบให้ว่าจะส่งผลกระทบต่อคนกี่แสน เขาไม่มีการวิเคราะห์ขั้นแรกก่อนว่าจะแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ ถือว่าเป็นขบวนการขับเคลื่อนของรัฐบาลและกบอ.ที่ผิดพลาดตั้งแต่ขั้นแรกคือไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ผมทำเรื่องเขื่อนมาเยอะ จริงๆแล้วควรตอบโจทย์ 2 ข้อให้ได้ก่อนคือเรื่องความเป็นไปได้และเรื่องผลกระทบ” นายปราโมทย์ กล่าว

ประชาพิจารณ์แบบปกปิด

เรื่องคลองผันน้ำฝั่งตะวันตกจากแม่น้ำปิง ไปยังแม่น้ำแม่กลอง   ซึ่งจะต้องมีการศึกษาผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม   นำมาทำประชาพิจารณ์นั้น   ข่าวบอกว่า รัฐบาลดำเนินการอย่างงุบงิบปกปิด ดัง ข่าวนี้ ข่าวนี้ และข่าวนี้

เรื่องการจัดการเงิน ๓.๕ แสนล้านป้องกันน้ำท่วมใหญ่ในภาคกลางนั้น    ความน่าห่วงใยคือคอรัปชั่น

วิจารณ์ พานิช

๒๑ พ.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10:17 น.
 

พระบรมราโชวาท

พิมพ์ PDF
“...หญ้านั้นมีทั้งหญ้าที่เป็นวัชพืชซึ่งเป็นโทษ และหญ้าที่มีคุณอย่างหญ้าแฝก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การอนุรักษ์ดินและน้ำ เพราะมีรากที่หยั่งลึกแผ่กระจายลงไปตรงๆ ทำให้อุ้มน้ำและยึดเหนี่ยวดินได้มั่นคง และมีลำต้นชิดติดกันแน่นหนา ทำให้ดักตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี 

...คนเราก็เช่นเดียวกัน มีทั้งบุคคลที่มีชีวิตอยู่โดยเปล่าประโยชน์ และบุคคลที่มีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า ต้นหญ้าจึงเป็นบทเรียนได้อย่างดีเลิศ สำหรับนำมาพิจารณาเทียบเคียงให้เป็นคติในการดำเนินชีวิตของบุคคล ว่าควรจะประพฤติปฏิบัติตนอย่างวัชพืช ซึ่งอยู่ ณ ที่ใดก็มีแต่สร้างปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ที่นั้น หรือควรจะประพฤติตนอย่างเช่นหญ้าแฝก ซึ่งมีแต่สร้างสรรค์ประโยชน์และความมั่นคงเป็นปึกแผ่นให้แก่ตนและแก่แผ่นดินอันเป็นที่อยู่อาศัย”

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ 
วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม 2540

ขอทรงมีพระพลานามัยที่ดีและแข็งแรง 
ทรงพระชนมายุที่ยืนยาว ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน 
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ..

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10:51 น.
 

เงินถุงแดง

พิมพ์ PDF

เงินถุงแดง มรดกจากรัชกาลที่ ๓ ที่ช่วยรักษา “เอกราช” ของชาติไว้....พระมหากษัตริย์ในบรมราชจักรีวงศ์ตลอด 9 รัชกาล ได้พระราชกรณียกิจนานัปการพาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ฝ่ามรสุมจากมหาอำนาจ และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ประชาชนตลอดจวบจนปัจจุบัน....
“เงินถุงแดง” มรดกจากรัชกาลที่ ๓ ของพระองค์เป็นคล้ายเงินทุนสำรองก็คงว่าได้ เนื่องจากทรงพระราชทานพระราชทรัพย์สำหรับใช้ในราชการแผ่นดิน มิได้พระราชทานให้เป็นประโยชน์แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ซึ่งเมื่อพระราชทานแก่แผ่นดินแล้ว ก็คงเก็บไว้อย่างเดิมโดยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ มิได้ทรงนำออกใช้เลยตลอดรัชกาลของพระองค์ โดยยอมให้ขุนนางกล่าวร้ายพระองค์ และเมื่อไม่มีเงินเบี้ยหวัดก็เลาะทองเบ็ญจาออกจ่ายแทนเงินสดโดยไม่แตะต้องเงินก้อนนี้ พระคุณและพระเนตรอันกว้างไกลของพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ทำให้เงินก้อนนี้ยังคงอยู่ตลอดมาจนกระทั่งได้นำออก “ไถ่บ้านไถ่เมือง” ช่วยรักษา “เอกราช” ของชาติไว้ได้ ช่วยกอบกู้บ้านเมืองไทยให้รอดพ้นจากการคุกคามและยึดครองของฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ ๕....

ข้าพระพุทธเจ้าปวงชนชาวไทย.... น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม.....

หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุท

24 พ.ย.2556

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10:56 น.
 


หน้า 421 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8625937

facebook

Twitter


บทความเก่า