Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๒๑. ไปร่วมงานปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

พิมพ์ PDF

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จัดการประชุม  “CoP – Teaching  # 8  การประยุกต์การปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ”    ตอนบ่ายวันที่ ๑๖ ก.ย. ๕๖    และเชิญผมไปเป็นวิทยากรให้ความเห็น

 

ไปเห็นแล้วชื่นใจ   ที่ได้เห็นความพยายามทั้งระดับมหาวิทยาลัย  และคณาจารย์จำนวนหนึ่ง ดำเนินการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ ไปเป็น Active Learning อย่างจริงจัง

 

หลังจบการประชุม นักศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ปี ๒ มาสัมภาษณ์ว่า จากกิจกรรมนี้นักศึกษาได้อะไร

 

ทำให้ผมได้โอกาสคุยกับนักศึกษา   และได้ตระหนักว่า ผมไม่มีโอกาสคุยเรื่อง Learning Reform กับนักศึกษาเลย    ได้แต่คุยกับครูอาจารย์ ซึ่งก็เห็นด้วยบ้างไม่เห็นด้วยบ้าง    และแม้แต่ที่เห็นด้วย ก็มักไม่ได้นำไปปฏิบัติ    คือยังคงยึดติดกับการสอนแบบถ่ายทอดความรู้อยู่อย่างเดิม    เพราะมันง่าย สะดวกต่อครู/อาจารย์

 

ผมบอกนักศึกษาว่า    กิจกรรมเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้นี้   ทั้งหมดทำเพื่อนักศึกษา    เพราะอนาคตข้างหน้าเมื่อนักศึกษาจบออกไปทำงานและดำรงชีวิต    ไม่มีใครรู้ว่า โลกในอนาคต ๑๐ - ๒๐ - - ๕๐ ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร    เรารู้แต่ว่ามันจะไม่เหมือนในปัจจุบัน   ดังนั้น เนื้อความรู้ที่เรียนจากมหาวิทยาลัย ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้ไม่ได้ในอนาคต   นักศึกษาจึงต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวไปเผชิญชีวิตที่ไม่แน่นอน ในอนาคต   โดยการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนให้ครบด้าน ไม่ใช่แค่เรียนวิชา    คือต้องเรียนให้ได้ทักษะด้านพัฒนาการ เชิงอารมณ์  เชิงสังคม  เชิงจิตวิญญาณ  และด้านกายภาพ  ไปพร้อมๆ กัน    การเรียนรู้เพื่อให้ได้ผลพัฒนาการ อย่างบูรณาการ ทำไม่ได้โดยการฟังเล็กเชอร์    ต้องเรียนโดยการลงมือทำ    ทำแล้วคิดไตร่ตรองเอง และไตร่ตรองร่วมกับเพื่อนๆ  โดยอาจารย์คอยโค้ช    คำว่าไตร่ตรองนี้ ภาษาอังกฤษว่า reflection    ภาษา KM ว่า AAR (After Action Review)    ภาษาพระว่า โยนิโสมนสิการ

 

ผมให้คำแนะนำแก่คณาจารย์จำนวนประมาณ ๕๐ คนที่มาประชุมว่า   Active Learning โดยตัวของมันเอง ไม่ได้ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบรู้จริงเสมอไป    จะให้เกิดการเรียนรู้แบบรู้จริง    การเรียนแบบลงมือทำต้องตามด้วย reflection ๓ แบบ

๑. Self reflection   ทำโดย นศ. แต่ละคนเขียนบันทึกการเรียนรู้ของตนเองทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ - ๒ ครั้ง    ว่าที่ทำกิจกรรมนั้นๆ ตนเองหวังได้ประโยชน์ อะไรบ้าง    เมื่อทำแล้วส่วนไหนได้มากกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้   เพราะอะไร   ส่วนไหนยังไม่ค่อยได้  เพราะอะไร   คิดจะปรับปรุงวิธีการอย่างไรบ้าง    เพราะอะไร    จะเอาความรู้ที่ได้ส่วนไหน ไปใช้ประโยชน์ในอนาคต    สิ่งที่ได้เรียนรู้อธิบายทฤษฎี ก, ทฤษฎี ข อย่างไรบ้าง  ฯลฯ

จะยิ่งดี หากให้ นศ. เขียนบันทึกออกแบ่งปันกับเพื่อนๆ ทาง โซเชี่ยล มีเดีย    เพื่อจะได้เรียนรู้มุมมอง และประสบการณ์ที่แตกต่างของเพื่อนๆ และจะยิ่งดีขึ้นไปอีก หากอาจารย์เข้าไปอ่าน และเลือกบันทึกเด่นประจำสัปดาห์ ๓ บันทึก    บอกให้ นศ. ช่วยกันบอกว่า บันทึกเหล่านั้นดีอย่างไร   เพื่อจะได้เรียนรู้วิธีเขียนบันทึก reflective journal ที่ดี

 

๒ การเรียนรายงานผลงานของทีม   และนำเสนอต่อชั้นเรียน   โดยอาจไม่นำเสนอเป็น presentation ก็ได้   เช่นเสนอเป็นละคร  เป็นหนังสั้น

 

๓ การทำ AAR ในชั้นเรียน หลังจากจบวิชานั้น  หรือจบตอน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๗ ก.ย. ๕๖

 

 

บรรยากาศในห้องประชุม

 

อธิการบดี ดร. มัทนา สานติวัตร กล่าวเปิดการประชุม

 

อ. กุลเชษฐ์ เล็กประยูร ผช. คณบดีคณะนิเทศศาสตร์

นำเสนอเรื่องวิชา Broadcasting Production Technique

 

ผศ. ยุบลวรรณ ตั๋นเธียรรัตน์ รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว

นำเสนอเรื่องGE 111 Value of Graduates

 

ผศ. ประสิทธิ์ สันติกาญจน์ ผอ. ฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการ

กล่าวนำวิชา GE 114 Thai Citizens, Global Citizens

ท่านอธิบายความหมายของ civil society ได้จับใจผมมาก

 

อ.พรพจน์ เพ็ชรทวีพรเดช และ อ. ศุภชัย อิทธิปาทานันท์

เสนอเรื่อง GE 114 Thai Citizens, Global Citizens

 

 

อ. เสาวณี แซ่ตั้ง ผอ. ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาวิชาชีพ และ

อ. ศิริพร กนกชัยสกุล ผอ. สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา

เสนอเรื่อง GE 112 Information Technology and the Future World

Imagine Room สถานที่ประชุม ถ่ายจากด้านหลัง เมื่อเลิกประชุมแล้ว

 

อีกมุมหนึ่งของ Imagine Room

 

อาคาร A3

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2013 เวลา 17:04 น.
 

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๘. วิจัยเพื่อพัฒนานักศึกษา

พิมพ์ PDF

ผมอ่านบทความของ ศ.นพ.วิจารณ์ "มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๘. วิจัยเพื่อพัฒนานักศึกษา"

ทำให้นำมาเปรียบเทียบกับมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ และได้เขียนแสดงความคิดเห็นในบทความของท่านอาจารย์ดังนี้

เรียนอาจารย์วิจารณ์ ที่เคารพ

จากบทความของท่านในประโยค  "แน่นอนว่า มหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด ตั้ง Oxford Learning Institute ขึ้นมาเพื่อทำงานวิชาการด้าน การพัฒนานักศึกษานั่นเอง     และ Skoll Centre for Social Entrepreneurship ของ Said School of Business  มหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด ก็คือศูนย์วิชาการด้านการพัฒนานักศึกษาด้านการเป็นผู้ประกอบการทางสังคมนั่นเอง   โปรดอ่านและสังเกตใน เว็บไซต์ ของเขา     จะเห็นยุทธศาสตร์ที่แยบยลในการพัฒนาวิชาการด้านใดด้านหนึ่ง โดยใช้ scholarship เป็นเครื่องมือดึงดูดคนเก่งมาร่วมทำงานสร้างสรรค์    ซึ่งส่วนหนึ่งคือใช้นักศึกษานั่นเอง เป็นผู้ทำงานวิจัยเพื่อพัฒนานักศึกษา

และเคล็ดลับอยู่ที่การมองนักศึกษาเป็นผู้(ร่วม) สร้างสรรค์วิชาการ    ไม่ใช่ผู้มารับถ่ายทอดวิชา"

ทำให้ผมเกิดการเปรียบเทียบดังนี้

"มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ เป็นเวทีให้คนมาร่วมเรียนรู้ทำงานสร้างสรรค์ร่วมกันเพื่อพัฒนาเพิ่มคุณค่าคนให้มีคุณค่า ไม่เป็นภาระและเอาเปรียบซึ่งกันและกัน เป็นองค์กรหนึ่งที่ผลักดันในการแก้ไขและพัฒนาสังคมที่อ่อนแอให้เป็นสังคมที่มีคุณภาพ"

ขอแสดงความนับถือ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

26 ตุลาคม 2556

บทความเต็มของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

มหาวิทยาลัยที่เราไปเยี่ยมชม คัดสรรแล้วว่าเป็นเลิศด้านความเอาใจใส่ด้านจัดการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยแบ่งกลุ่มง่ายๆ ได้เป็น ๒ กลุ่ม   คือ กลุ่มที่เก่งวิจัยพื้นฐานด้วย   ได้แก่ อ็อกซฟอร์ด กับ UCL   กับกลุ่มที่ เน้นนักศึกษาเป็นหลัก ได้แก่ Northampton กับ Aston   กลุ่มหลังนี้แหละ ที่ผมตั้งข้อสังเกตว่า   เขาทำวิจัยเพื่อ นักศึกษา   หรือกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เขาทำวิจัยเพื่อผลประโยชน์ด้านการเรียนรู้ของนักศึกษา เป็นหลัก    เป้าหมายอื่นเป็นรอง

 

ในเอกสาร Learning and Teaching Strategy 2012 – 2020 ของมหาวิทยาลัยแอสตัน    ระบุว่า สิ่งที่สอน และวิธีการสอนนั้นเลือกแล้วว่ามีความน่าเชื่อถือ โดยมีหลักฐานจากการวิจัย (research-informed)    เขาระบุว่า อจารย์จะสร้างแรงบันดาลใจแก่ นศ. ด้วย  research-informed and professionally-focussed programmes that incorporate quality teaching, research-inspired teaching excellence    ภายในเอกสารไม่ระบุการวิจัย เรื่อง การเรียนรู้เลย    แต่ระบุคำว่า review ไว้บ่อยมาก    คือในการดำเนินการริเริ่มสร้างสรรค์ของเขาในทุกเรื่อง รวมทั้งเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอน    จะต้องตามมาด้วยการ review หรือประเมินผลเพื่อการปรับปรุง ต่อเนื่อง    ซึ่งก็คือการวิจัยเพื่อพัฒนานั่นเอง

ในเอกสาร Raising the Bar : Strategic Plan 2010 – 2015ของมหาวิทยาลัย Northampton    ผมพยายามหาหัวข้อวิจัย    พบว่าไม่มีครับ    ผมตีความว่าเรื่องการวิจัยเป็นของธรรมดาสำหรับการพัฒนางาน ของเขา จนไม่ต้องเอ่ยถีง   เหมือนปลาไม่ต้องเอ่ยถึงน้ำ

แต่ผมสังเกตเห็นว่า เขากำหนด KPI ไว้    ทำให้คิดต่อ ว่า KPI น่าจะเป็นคล้ายๆ โจทย์วิจัย เพื่อการพัฒนางาน ที่เป็นเป้าหมายหลัก

ผมลอง กูเกิ้ล ด้วยคำว่า “student development research” พบว่ามีเรื่องราวมากมาย     สะท้อนว่า เรื่องการพัฒนานักศึกษาเป็นวิชาการที่เข้มข้น และเป็นที่เอาใจใส่กันมาก    และมีหนังสือที่เขียนเรื่องนี้ด้วย ดังตัวอย่าง หนังสือชื่อ Student Development in College : Theory, Research and Practice, 2nd Ed. (หรือดู ที่นี่)   ทำให้ เห็นโอกาสของคนที่ต้องการสร้างตัวเป็นนักวิชาการด้านนี้ ในวงการอุดมศึกษาไทย

แน่นอนว่า มหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด ตั้ง Oxford Learning Institute ขึ้นมาเพื่อทำงานวิชาการด้าน การพัฒนานักศึกษานั่นเอง     และ Skoll Centre for Social Entrepreneurship ของ Said School of Business มหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด ก็คือศูนย์วิชาการด้านการพัฒนานักศึกษาด้านการเป็นผู้ประกอบการทางสังคมนั่นเอง   โปรดอ่านและสังเกตใน เว็บไซต์ ของเขา     จะเห็นยุทธศาสตร์ที่แยบยลในการพัฒนาวิชาการด้านใดด้านหนึ่ง โดยใช้ scholarship เป็นเครื่องมือดึงดูดคนเก่งมาร่วมทำงานสร้างสรรค์    ซึ่งส่วนหนึ่งคือใช้นักศึกษานั่นเอง เป็นผู้ทำงานวิจัยเพื่อพัฒนานักศึกษา

และเคล็ดลับอยู่ที่การมองนักศึกษาเป็นผู้(ร่วม) สร้างสรรค์วิชาการ    ไม่ใช่ผู้มารับถ่ายทอดวิชา

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2013 เวลา 17:55 น.
 

สันติภาพกับความมั่งคั่ง

พิมพ์ PDF
ความรุนแรงเป็นตัวถ่วงความเจริญ หากสามารถหมุนกลับวงจรแห่งความชั่วร้าย ความขัดแย้งความรุนแรง - ภาระทางเศรษฐกิจ ไปเป็นวงจรแห่งความดี สันติภาพ - ความมั่งคั่ง สังคมจะน่าอยู่ขึ้นมาก

สันติภาพกับความมั่งคั่ง

บทความเรื่อง Peace and prosperity go hand in hand ใน นสพ. บางกอกโพสต์ วันที่ ๒๔ ต.ค. ๕๖ ให้ความรู้ผมมาก   และทำให้ผมสงสัยว่า มนุษย์เราเกิดมาพร้อมกับความประเสริฐ และจุดอ่อนภายในตัวพร้อมๆ กัน   จุดอ่อนสำคัญคือสัญชาตญาณความรุนแรง   ที่กัดกร่อนความมั่งคั่ง หรือความอยู่ดีกินดีของมนุษยชาติ

ผู้เขียนบทวามนี้คือ Steve Killelea, Executive Chairman ของ Institute for Economics and Peace   ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาความรุนแรงก่อภาระด้านเศรษฐกิจแก่โลกถึงร้อยละ ๑๑ ของ จีดีพี ของโลก   หากลดงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านต่อสู้กับความขัดแย้ง และความรุนแรงลงได้สักครึ่งหนึ่ง   จะมีเงินเอาไปใช้ก่อประโยชน์เชิงสร้างสรรค์ได้มากมายอย่างไม่น่าเชื่อ

หมายความว่า เวลานี้ความรุนแรงเป็นตัวถ่วงความเจริญ   หากสามารถหมุนกลับวงจรแห่งความชั่วร้าย ความขัดแย้งความรุนแรง - ภาระทางเศรษฐกิจ   ไปเป็นวงจรแห่งความดี สันติภาพ - ความมั่งคั่ง    โลกจะน่าอยู่ขึ้นมาก

การบริหารประเทศที่ดี คือการหมุนวงจรแห่งความดี

วิธีการคือ การลงทุนด้านการศึกษา ดังตัวอย่างที่ดีคือประเทศสแกนดิเนเวีย

ประเทศไทยอยู่ในวงจรความขัดแย้ง หรือวงจรสันติภาพ?    ตรวจได้ง่ายๆ ด้วย Global Peace Index เราอยู่ที่อันดับ ๑๓๐ จาก ๑๖๒ ประเทศครับ

วิจารณ์ พานิช

๒๔ ต.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

 

ด้านบวกของความผิดพลาด ที่เป็นผลได้ต่อการเรียนรู้

พิมพ์ PDF
ในทางจิตวิทยาการเรียนรู้ นี่คือการเรียนจากการทำผิด

ด้านบวกของความผิดพลาด ที่เป็นผลได้ต่อการเรียนรู้

บทความเรื่อง The Plusses of Getting It Wrong เขียนโดย Henry L. Roediger III and Bridgid Finn   ตีพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American ในปี ค.ศ. 2010    และพิมพ์ซ้ำในหนังสือ The Science of Education ในปี 2012  บอกว่าการเรียนรู้จากความผิดพลาด เป็นส่วนของการเรียนรู้ที่สำคัญยิ่ง    ทั้งตอนเรียนในโรงเรียน มหาวิทยาลัย    และต่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง ตลอดชีวิต

กล่าวใหม่ บทความนี้แนะว่า ก่อนเรียนเรื่องอะไร ให้ทดสอบหรือทำแบบฝึกหัดเสียก่อน    ซึ่งผลก็คือทำผิดเยอะมาก    แต่เจ้าการทำผิดนี่แหละ จะช่วยให้เรียนรู้ดีกว่าไม่เคยทำผิด   เขายกผลการวิจัยมายืนยัน

เขาแนะนำว่าในการอ่านหนังสือให้เรียนรู้สาระดี (ในเวลาเท่ากัน) ให้พลิกไปดูคำถามท้ายบท    แล้วตอบคำถามเสียก่อน (ซึ่งแน่นอนว่า หลายส่วนเป็นการเดา   และหลายส่วนผิด)   แล้วจึงอ่านหนังสือบทนั้น   ถ้าไม่มีคำถามท้ายบท ให้เอาชื่อบทเป็นคำถาม เพื่อทดสอบความรู้ก่อนอ่าน   นี่คือวิธีการช่วยให้การเรียนรู้ทรงประสิทธิภาพ   ซึ่งในทางจิตวิทยาการเรียนรู้   นี่คือการเรียนจากการทำผิด

วิจารณ์ พานิช

๖ ต.ค. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

เรียนอาจารย์วิจารณ์ ที่เคารพ

ขออนุญาติแสดงความเห็นกับบทความนี้ด้วยคนครับ

ผมไม่เคยกลัวความผิดพลาด เพราะถือว่าความผิดพลาดเป็นครูที่ดีที่สุด ก่อนผมจะคิดหรือทำอะไร จะศึกษาความผิดพลาด และปัญหาที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นจะนำข้อผิดพลาดและปัญหา มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ จนค้นพบโอกาส เพื่อนำไปสู่การปฎิบัติที่สร้างสรรค

ด้วยความนับถือ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

26 ตุลาคม 2556

 

ด้านบวกของความผิดพลาด ที่เป็นผลได้ต่อการเรียนรู้

พิมพ์ PDF
ในทางจิตวิทยาการเรียนรู้ นี่คือการเรียนจากการทำผิด

ด้านบวกของความผิดพลาด ที่เป็นผลได้ต่อการเรียนรู้

บทความเรื่อง The Plusses of Getting It Wrong เขียนโดย Henry L. Roediger III and Bridgid Finn   ตีพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American ในปี ค.ศ. 2010    และพิมพ์ซ้ำในหนังสือ The Science of Education ในปี 2012  บอกว่าการเรียนรู้จากความผิดพลาด เป็นส่วนของการเรียนรู้ที่สำคัญยิ่ง    ทั้งตอนเรียนในโรงเรียน มหาวิทยาลัย    และต่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง ตลอดชีวิต

กล่าวใหม่ บทความนี้แนะว่า ก่อนเรียนเรื่องอะไร ให้ทดสอบหรือทำแบบฝึกหัดเสียก่อน    ซึ่งผลก็คือทำผิดเยอะมาก    แต่เจ้าการทำผิดนี่แหละ จะช่วยให้เรียนรู้ดีกว่าไม่เคยทำผิด   เขายกผลการวิจัยมายืนยัน

เขาแนะนำว่าในการอ่านหนังสือให้เรียนรู้สาระดี (ในเวลาเท่ากัน) ให้พลิกไปดูคำถามท้ายบท    แล้วตอบคำถามเสียก่อน (ซึ่งแน่นอนว่า หลายส่วนเป็นการเดา   และหลายส่วนผิด)   แล้วจึงอ่านหนังสือบทนั้น   ถ้าไม่มีคำถามท้ายบท ให้เอาชื่อบทเป็นคำถาม เพื่อทดสอบความรู้ก่อนอ่าน   นี่คือวิธีการช่วยให้การเรียนรู้ทรงประสิทธิภาพ   ซึ่งในทางจิตวิทยาการเรียนรู้   นี่คือการเรียนจากการทำผิด

วิจารณ์ พานิช

๖ ต.ค. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

 

เรียนอาจารย์วิจารณ์ ที่เคารพ

ขออนุญาติแสดงความเห็นกับบทความนี้ด้วยคนครับ

ผมไม่เคยกลัวความผิดพลาด เพราะถือว่าความผิดพลาดเป็นครูที่ดีที่สุด ก่อนผมจะคิดหรือทำอะไร จะศึกษาความผิดพลาด และปัญหาที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นจะนำข้อผิดพลาดและปัญหา มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ จนค้นพบโอกาส เพื่อนำไปสู่การปฎิบัติที่สร้างสรรค

ด้วยความนับถือ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

26 ตุลาคม 2556

 


หน้า 430 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5608
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8619908

facebook

Twitter


บทความเก่า