Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

การเสวนาเรื่องทุนมนุษย์ภาคบริการ ศาสตราจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

พิมพ์ PDF

การพัฒนาทุนมนุษย์ต้องอาศัยการวางแผนยุทธศาสตร์ในระดับชาติเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การพัฒนาทุนมนุษย์นั้นต้องอาศัยระยะเวลา ทั้งนี้ประเทศไทยจะต้องตระหนักได้เสียก่อนว่าคนคือทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ ความได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจของประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้ถ้าหากทุนมนุษย์ของประเทศมีคุณภาพ สิ่งที่สาคัญในภาคธุรกิจคือการหันมาวางแผนเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง ประเทศไทยในยุคปัจจุบันมีความล้มเหลวในเรื่องระเบียบวินัยและจริยธรรมเพราะเมื่อคนไม่มีวินัยและจริยธรรมในการทางานเบื้องต้น อาทิเช่น การลอกเลียนแบบความคิด โอกาสที่ประเทศไทยจะล้มเหลวเมื่อเปิดเสรีอาเซียนจึงมีสูงมาก นอกจากนี้ การศึกษาของประเทศไทยปัจจุบันพัฒนาไปในวิถีทางที่ผิดโดยการไปเน้นที่คุณวุฒิของบัณฑิตมากกว่ามุ่งเน้นที่จะพัฒนาคุณภาพ ในปัจจุบันบัณฑิตที่มีวุฒิปริญญาตรีมีจานวนมากเกินความต้องการของประเทศ แต่ขณะเดียวกันผู้ที่จบสายอาชีพนั้นลดน้อยลงเพราะค่านิยมที่ผิดของคนไทยที่ต้องการเพิ่มปริมาณ (สถาบันการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในระยะเวลาอันสั้น) สิ่งที่สาคัญอีกประการสาหรับการพัฒนามนุษย์คือการสร้างคุณค่า (Value) สาหรับการพัฒนามนุษย์นั้นต้องสร้างทั้งในส่วนของการเพิ่มมูลค่า (Value Added) และการสร้างมูลค่า (Value Creation) ยกตัวอย่างเช่นการร่วมมือในระดับภูมิภาคหาความคิดใหม่ๆเพื่อแข่งขันกับโลกภายนอก นอกจากนี้สิ่งที่สาคัญคือต้องสร้าง Value Diversity เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางความคิดซึ่งในที่สุดจะส่งผลต่อระบบธุรกิจโดยรวม

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:15 น.
 

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการธุรกิจบริการสู่ AEC and Beyond ในธุรกิจบริการ 4 สาขา

พิมพ์ PDF

ความสาคัญ
ภาคบริการมีความสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยอันจะเห็นได้จากสัดส่วน GDP ของไทยในปี 2553 มาจากภาคบริการถึง 45.1% และภาคอุตสาหกรรม 43.3% (World Economic Outlook Database 2010) นอกจากนี้ การเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้แก่ภาคบริการจะเป็นการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจเพื่อให้ประเทศไทยหลุดจากกับดักการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Poverty Trap)

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ธุรกิจเชิงโครงสร้างและมาตรฐานเพื่อปรับปรุงโครงสร้างของธุรกิจบริการไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ไม่ว่าสถานการณ์การเปิดเสรีโลกจะเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบไหน (Beyond AEC liberalization) โดยผลลัพธ์จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ได้รวบรวมเป็นสมุดปกขาว (White Paper) เพื่อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจบริการของภาคเอกชนใน 4 สาขาบริการได้แก่ ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจ ICT และอีกกลุ่มที่เป็นพื้นฐานของการบูรณาการธุรกิจในทุกกลุ่ม นั่นคือ เรื่องทุนมนุษย์ในภาคบริการ

สมุดปกขาวเล่มนี้จะได้รับการส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจบริการไทยอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากการพัฒนาธุรกิจภาคบริการอย่างมีประสิทธิภาพจะไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้จากการผลักดันของภาคเอกชนเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการประสานงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องจะทำให้ธุรกิจภาคบริการไทยพัฒนาไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน

กรอบแผนยุทธศาสตร์ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
เพื่อเป็นการวิเคราะห์ปัญหาและหาทางแก้ไขให้แก่ธุรกิจภาคบริการอย่างเป็นรูปธรรม การสัมมนาฯ จึงกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจบริการไทยดังนี้
1. หมวดโครงสร้าง ประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ มาตรฐาน ความสาคัญ (จุดเน้น: ทุน แรงงาน เทคโนโลยี หรือทรัพยากรมนุษย์) กรอบการกำกับดูแล (Regulatory Framework) กฎเกณฑ์และระเบียบที่จำเป็นต้องแก้ไข และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
2. หมวดความเชื่อมโยงและเครือข่าย ประกอบไปด้วย การปฏิรูปความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐ และการปฏิรูปความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
3. หมวดการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ประกอบไปด้วย มาตรการส่งเสริมการออกไปลงทุน มาตรการส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัย และหน่วยงานที่รับผิดชอบ
4. หมวดอุปสรรค และแนวทางแก้ไข
5. หมวดโอกาส ประกอบไปด้วย จุดเด่น และแนวทางการพัฒนาจุดเด่น
6. หมวดการจัดลำดับความสาคัญและเร่งด่วน เพื่อกาหนดประเด็นให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบและเกี่ยวข้องนาไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาธุรกิจบริการ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:24 น.
 

ธุรกิจท่องเที่ยว

พิมพ์ PDF

1.โครงสร้าง
ต้องการให้มีมาตรฐานในการให้บริการ โดยเฉพาะ SMEs ที่ยังเป็นรองธุรกิจขนาดใหญ่ พัฒนามาตรฐานทางด้าน ICT เพื่อเกื้อหนุนศักยภาพ เช่นการนา Software มาใช้กับธุรกิจท่องเที่ยวในหลายๆ ส่วน อีกทั้งควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการกากับดูแลเรื่องการตรวจสอบใบอนุญาตประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ เพื่อขจัดธุรกิจแอบแฝง และธุรกิจผิดประเภทนอกจากนี้ธุรกิจ SMEs ประสบปัญหาการเข้าถึงแหล่งทุน

2.ความเชื่อมโยงและเครือข่าย
เอกชนและรัฐควรมีมาตรการร่วมกันในเรื่องการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพ อาทิการพบปะนักธุรกิจ การตรวจสอบธุรกิจผิดกฎหมายร่วมกัน รัฐจัดตั้งศูนย์เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากเอกชน นอกจากนี้เอกชนจาเป็นต้องรวมกลุ่มเป็น Cluster และต้องมีสถานะที่เข้มแข็งพอที่จะร่วมงานกับรัฐและออกมาตรการที่มีน้าหนักได้

3. การเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน
ต้องการให้มีการจัดตั้งกองทุนสาหรับธุรกิจท่องเที่ยว (Tourism Mutual Fund) ซึ่งเป็นกองทุนที่บริหารโดยเอกชนในภาคธุรกิจท่องเที่ยวจัดตั้งจากภาษีของภาคท่องเที่ยวทั้งหมดที่จ่ายให้รัฐ นอกจากนี้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวต้องการให้มีความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและกรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการพัฒนามาตรฐาน รัฐควรมีบทบาทในการประชาสัมพันธ์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ SMEs ที่มีต้นทุนจากัด รัฐควรสร้างระบบ “Coaching” โดยการสนับสนุนตั้งแต่จัดตั้งธุรกิจ ตลอดจนความช่วยเหลือด้านเทคนิค และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และรัฐควรมีระบบในการรวมแหล่งงานวิจัยและมาตรการส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัย

4. อุปสรรค
ภาคธุรกิจบริการประสบอุปสรรคต่างๆ ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมาย คุณภาพของคน การขาดแคลนสายอาชีพ บุคลากรขาดความภาคภูมิใจในสายอาชีพโรงแรม การสื่อสารกับรัฐบาลมีปัญหา เช่นการที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือไม่ตรงจุด

5. โอกาส
ธุรกิจรูปแบบใหม่ เช่น Mobile Home และ Thailand’s Medical Tourism Cluster ที่ตั้งของประเทศ บุคลากรมีจิตใจบริการ ประเทศไทยมีวัฒนธรรมโดดเด่นและมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย

6. การจัดลาดับความสาคัญและเร่งด่วน
การบังคับใช้กฎหมาย การยกระดับมาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยว การพัฒนาคน การทางานร่วมกันระหว่างรัฐกับเอกชน และความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:29 น.
 

ทุนมนุษย์ภาคบริการ

พิมพ์ PDF

1. โครงสร้าง
มาตรฐานของบุคลากรในประเทศที่ควรได้รับการพัฒนามีดังต่อไปนี้คือ ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ทักษะด้านบริหารจัดการ การวางแผน การตลาด ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มาตรฐานด้านฝีมือแรงงาน มาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานการให้บริการ โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งยังด้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่อยู่มาก นอกจากนี้ควรมีการตั้งโครงการสาคัญ (Winning Project) ด้านการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์ภาคบริการเพื่อช่วยพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ และให้สภาวิชาชีพทำงานร่วมกับภาคเอกชน ภาคการศึกษาและภาครัฐเพื่อให้เกิดบูรณาการ
2. ความเชื่อมโยงและเครือข่าย
ภาครัฐควรสร้างนโยบายและแผนงานด้านทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีภาคบริการอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม มีการสร้างแรงจูงใจให้ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐมากกว่านี้ ภาครัฐควรประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้มากขึ้นภาครัฐควรประสานงานกับเอกชนให้มากขึ้น นอกจากนี้ควรมีการจัดตั้งสภาทุนมนุษย์ภาคธุรกิจบริการ
3. การเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน
การปฏิรูปการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน การฝึกอบรมระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านทักษะภาษาต่างประเทศ การสร้างเครื่องมือรับรองคุณภาพมาตรฐานของบัณฑิตให้เท่าเทียมกัน ควรนาจุดเด่นของไทยไปใช้ในการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่นการหลอมรวมศิลปวัฒนธรรมและศิลปวิทยา และความเป็นเสน่ห์ไทยในงานบริการ
4. อุปสรรค
การขาดข้อมูลพื้นฐานเช่น ภาวะต่างคนต่างทำ ข้อมูลกระจัดกระจายไม่เป็นระบบ และปัญหาค่านิยมเช่นการไม่นิยมงานบริการ นอกจากนี้ยังมีการขาดแคลนบุคลากรระดับปฏิบัติการ
5. โอกาส
การสร้างงานจากการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะสูง และการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้
6. ความเสี่ยง
การแย่งงานในประเทศ และปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะไปยังต่างประเทศ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฏาคม 2013 เวลา 00:35 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๕๙. ยุครุ่งโรจน์รอบใหม่ของสหรัฐอเมริกา

พิมพ์ PDF

ระหว่างนั่งเครื่องบิน Airbus A380-800 ไปแฟรงค์เฟิร์ต คืนวันที่ ๘ มิ.ย. ๕๖  ผมได้อ่านคอลัมน์ Book Review ของ นสพ. The Wall Street Journal ฉบับวันที่ ๗-๙ มิ.ย. ๕๖ อย่างอิ่มใจ

เรื่องแรกคือเรื่อง The New Prometheus review หนังสือ Comebackเขียนโดย Charles R. Morris  เป็นการทำนายว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะกลับมารุ่งโรจน์อีกครั้งหนึ่ง  จากการค้นพบหินแก๊ส (shale gas) มากมายมหาศาล  ซึ่งจะทำให้สหรัฐอเมริกามีพลังงานราคาถูก  และมีการจ้างงานเพิ่ม ๑.๗ ล้านคนในปัจจุบัน  และคาดว่าจะเพิ่มเป็น ๔ ล้านคนในปี ค.ศ. ๒๐๒๐

Promethius เป็นเทพในนิยายโบราณ ที่เป็นผู้ขโมยไฟจากพระเจ้า เอามาให้มนุษย์  ทำไมพระเจ้าจึงใจแคบอย่างนั้นก็ไม่รู้

สภาพดังกล่าว ผสมกับการเปลี่ยนแปลงในประเทศที่เคยรับ outsource การผลิตสินค้า high tech จากอเมริกา  จะดึงให้ต้นทุนการผลิตสินค้าในสหรัฐอเมริกาต่ำลงเมื่อเทียบกับการจ้างผลิตในต่างประเทศ  และบริษัทต่างๆ ก็จะหันกลับมาใช้ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นฐานการผลิต

ผู้ review หนังสือเล่มนี้คือ Daniel Yergin รองประธานของบริษัทวิจัยและที่ปรึกษา ชื่อ IHS ผู้เขียนหนังสือ The Quest : Energy, Security, and the Remaking of the Modern World

ตอนนี้เริ่มมีข่าวความหวังของยุคอุตสาหกรรมใหม่ในสหรัฐอเมริกา หนาหูขึ้นเรื่อยๆ  ผู้เขียนบอกว่า ในไม่ช้าเรื่องการขาดดุลการเงินของรัฐบาลสหรัฐก็จะกลายเป็นอดีต และประเด็นการเมืองก็จะเปลี่ยนไป

ผู้เขียนหนังสือบอกว่า สหรัฐต้องเตรียมตัวรับยุครุ่งโรจน์รอบใหม่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน  เพื่อความสะดวกในการสื่อสารคมนาคม และกิจการอื่นๆ

เขาบอกว่า การค้นพบแหล่งพลังงานมหาศาลเมื่อปี 2008 นี้ มีทั้ง shale gas และ tight oil ซึ่งใช้เทคโนโลยีเดียวกันในการสะกัดออกมา  ของ shale gas เขาใช้วิธีฉีดน้ำผสมทรายและสารเคมี ฉีดเข้าไปในชั้นหินแก๊ส ให้เกิดรอยแยก ให้แก๊สไหลไปรวมตัวกันที่รูที่เจาะเอาแก๊สออกมา

กระบวนการเช่นนั้น รบกวนสภาพแวดล้อมอย่างแน่นอน  ตอนแรกประมาณกันว่าจะมีก๊าสมีเธนปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศมหาศาล  เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีฤทธิ์สูงกว่าคาร์บอนไดอ็อกไซด์ถึง ๒๕ เท่า  แต่ตอนนี้ผลการวิจัยบอกว่า จะมีก๊าซมีเธนปลดปล่อยออกไปในปริมาณที่น้อยกว่าเดิมมาก

คุณสุเมธ ตันธุวณิชย์ อดีตกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ที่เพิ่งพ้นวาระไป บอกผมเมื่อตอนต้นปีว่า  การค้นพบ shale gas ค้นพบทั่วโลก  แต่เทคโนโลยีการจัดการ shale gas ของสหรัฐก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นๆ มาก  เขาจะเปลี่ยนแก๊สเป็นกระแสไฟฟ้าราคาถูก  การขนส่งไฟฟ้าราคาถูกกว่าขนน้ำมันหรือแก๊สมาก  ดังนั้นต่อไปนี้จะเป็นยุคใช้กระแสไฟฟ้า  ในไม่ช้ารถยนต์จะเป็นรถไฟฟ้าทั้งหมด  ผมเดาว่าโลกใน 20 ปีข้างหน้าจะเปลี่ยนไปมากทีเดียว  ความท้าทายร่วมกันของคนทั้งโลกคือ ภาวะโลกร้อนและภูมิอากาศวิปริตจะทุเลาลงหรือรุนแรงยิ่งขึ้น

ยุครุ่งโรจน์ กับยุคหายนะ อาจเป็นสิ่งคู่กัน  หากไม่เอาใจใส่ด้านลบของความรุ่งโรจน์นั้น  ไม่ว่าจะเป็นความรุ่งโรจน์ระดับโลก ระดับประเทศ ระดับองค์กร และระดับบุคคล

วันที่ ๑๓ มิ.ย. ๕๖ อ่าน Financial Times พบโฆษณา The FT Global Shale Energy Summit www.ft-live.com/shalesummit ๒๑ ต.ค. ๕๖ ที่ลอนดอน

 

วิจารณ์ พานิช

๙ มิ.ย. ๕๖  ปรับปรุง ๑๘ มิ.ย. ๕๖

บนเครื่องบิน Airbus A380-800 บินไปแฟรงค์เฟิร์ต

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/543564

 


หน้า 461 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8629033

facebook

Twitter


บทความเก่า