Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง: ๑๗๖๕. ฝึกทักษะทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

พิมพ์ PDF

การฝึกทักษะเป็นเรื่องสนุกสำหรับผม  และการทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายเป็นสิ่งท้าทาย  หลังจากเอาใจใส่ฝึกมาระยะหนึ่งผมก็พบว่าจะว่าง่ายก็ง่ายจะว่ายากก็ยาก

ที่ว่ายากก็คือเรื่องยากมักมีความซับซ้อนที่ว่าง่ายก็คือในความซับซ้อนมีความเรียบง่ายซ่อนอยู่

สมัยทำงานในมหาวิทยาลัยและที่สกว. ผมแอบใช้“ครู”หลายคนเป็นตัวอย่างฝึก systems thinking ให้แก่ตนเอง   ฝึกมองให้เห็นpattern บางอย่างที่ซ่อนอยู่ในเรื่องราวหรือปรากฏการณ์ต่างๆ  โดยฝึกทำความเข้าใจความเชื่อมโยงและพลวัต

อีกวิธีหนึ่งคือหัดคิดถึงroot cause ของเรื่องต่างๆ  หัดมองสิ่งที่เห็นเป็น“อาการ”  โยงอาการไปสู่ตัวโรคและสาเหตุของโรค  ในที่สุดก็จะคิดออกว่า“หัวใจ”ของเรื่องนั้นๆคืออะไร

เป็นวิธีหาความเรียบง่ายในท่ามกลางความซับซ้อนสับสน  ได้เป็น“กระบวนทัศน์”ในเรื่องนั้นๆ  ถ้าจะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของสิ่งซับซ้อนเช่นนั้นก็ต้องขับเคลื่อนการเปลี่ยนกระบวนทัศน์  โดยที่คุณค่าของการเปลี่ยนกระบวนทัศน์คือเป้าหมายที่มีความหมายยิ่งใหญ่ต่อส่วนรวมหรือต่อสังคม

เป้าหมายที่มีคุณค่ายิ่งใหญ่คือศูนย์รวมใจรวมพลัง

การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้วยวิธีไม่ใช้อำนาจบังคับ (เพราะไม่มี) ก็ต้องใช้วิธีขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก  วิธีหนึ่งคือหา success story เล็กๆที่เป็นหน่ออ่อนของกระบวนทัศน์ใหม่  และผู้คนที่สร้างความสำเร็จนั้น  จัดเวทีเรื่องเล่าและAppreciative Inquiry  ให้การยกย่องชื่นชมและให้รางวัล  พร้อมทั้งempower ให้ทำต่อเนื่องและขยายผล

ตัวsuccess story จำนวนมากและผู้สร้างสรรค์  จะเชื่อมโยงกันเองเป็นเครือข่าย  เกิดการช่วยเหลือส่งเสริมกัน  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การลงมือทำเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมายที่ทรงคุณค่าร่วมกัน

พลังของเป้าหมายที่ทรงคุณค่า  กับวิธีการจัดการเชิงบวกให้พลังบวกคือพลังความสำเร็จ (เล็กๆ)  และพลังความชื่นชม  ร่วมกับเวทีลปรร. ประสบการณ์จากการปฏิบัติ  ทำต่อเนื่องหมุนเกลียวความรู้ยกระดับ   เป้าหมายที่บรรลุยากจะไม่ใช่สิ่งที่บรรลุไม่ได้

นั่นคือKM เป็นเครื่องมือทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

 

วิจารณ์   พานิช

๗  ก.พ. ๕๖

 

ชีวิตที่พอเพียง: ๑๗๖๔. ชีวิต“คุณอำนวย”เปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์

พิมพ์ PDF

เวลานี้การศึกษาไทยไม่ว่าระดับใดเอาใจใส่เพียงด้าน “ปัญญาศึกษา” ไม่สนใจด้าน“จิตตศึกษา”ซึ่งจะช่วยพัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ไปด้วย การเรียนรู้แบบใหม่ที่เรียกว่า“การเรียนโดยกระทำ” (Active Learning) จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ครบทั้ง ๔ ด้าน หากครูโค้ชเป็น

 

เช้าวันที่ ๖ ก.พ. ๕๖  ผมไปประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรสาธารณสุขที่เหมาะสม ในศตวรรษที่ ๒๑  ครั้งที่ ๕  ที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  เป็นการประชุมที่ช่วยให้เห็นลู่ทางปฏิรูปการเรียนรู้ของวิชาชีพสุขภาพชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ

เป้าหมายที่สำคัญคือ การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้จากของศตวรรษที่ ๒๐  ไปสู่กระบวนทัศน์ของศตวรรษที่ ๒๑  หรืออาจเรียกว่าเปลี่ยนจาก Science - Based HRH Education  ไปเป็น Systems-Based HRH Education  (HRH = Human Resources for Health)

คือเน้นที่ตัวความรู้ไม่ได้เสียแล้ว  ต้องเน้นที่ทักษะที่จำเป็น (สำคัญ) สำหรับออกไปทำงานในระบบสุขภาพของประเทศนั้น  ย้ำคำว่า “ของประเทศนั้น”  คือไม่ใช่ผลิตตามๆกันตามมาตรฐานโลก  ต้องผลิตเพื่อประเทศนั้นๆ  เพราะค่าใช้จ่ายในการผลิตร้อยละ ๙๐ (หรือกว่า) มาจากภาษีอากรที่เก็บจากประชาชนของประเทศนั้นๆ

พูดง่ายๆว่า  การศึกษา (ของวิชาชีพสุขภาพ) ต้องรับใช้ระบบ (สุขภาพ)  ต้องวิเคราะห์ว่าการทำงานในระบบสุขภาพของประเทศ ต้องการทักษะสำคัญอะไรบ้างสำหรับวิชาชีพนั้น  แล้วจัดการศึกษาของวิชาชีพนั้นให้ตรงความต้องการ

การศึกษาต้องเป็นแบบ Outcome-Based Education  โดยที่กำหนด Learning Outcome จากความต้องการของระบบสุขภาพ  ไม่ใช่กำหนดโดยฝ่ายวิชาการโดยเอาองค์ความรู้ของวิชาชีพนั้นเป็นหลัก

คือต้องเปลี่ยนจากการผลิตบุคลากรสุขภาพ แบบเน้นsupply push  ไปเป็นเน้นdemand pull

การเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน หากใช้วิธีการที่ถูกต้องจะสนุกทั้งครูและศิษย์  เกิดการเรียนรู้และทักษะได้ไม่ยาก  แต่ถ้าใช้วิธีการที่ผิดก็จะทุกข์ยากทั้งครูและศิษย์  เพราะขยันเพียงไรก็ไม่สำเร็จเรียนไม่ไหว  ความรู้มันมากเหลือเกินเรียน/สอนไม่ทัน  ได้หน้าลืมหลังรู้วิชาท่องได้ตอบได้แต่พอไปเจอสถานการณ์จริงทำไม่ได้แก้ปัญหาไม่ได้  เป็นการเรียนที่ชีวิตรันทดทั้งศิษย์และครู

ที่ร้ายยิ่งกว่าคือจะได้บัณฑิตที่แล้งน้ำใจ  ไม่เข้าใจคนอื่นไม่รักผู้อื่นไม่มีจิตสาธารณะเห็นแต่แก่ตัวเอง  สื่อสารกับผู้อื่นไม่ได้  ทำงานกับคนอื่นวิชาชีพอื่นไม่เป็น  ไม่มั่นใจตนเองและเคารพคนอื่นไม่เป็น

การเรียนรู้แบบใหม่ที่เรียกว่า Transformative Learning คือคำตอบ  ซึ่งวิธีการเรียนรู้จะเปลี่ยนไปจากเน้นการสอนเป็นเน้นการเรียน  เน้นการเรียนทั้งของศิษย์และการเรียนของครู  ใช้หลัก“เรียนโดยลงมือทำ (และคิด)” (Learning by Doing)

ครูเปลี่ยนจากทำหน้าที่สอนหรือสั่งสอน  ไปทำหน้าที่โค้ชหรือ  “คุณอำนวย”  อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้โดยการลงมือทำให้แก่ศิษย์

เนื่องจากศตวรรษที่ ๒๑ ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เปลี่ยนแบบเอาแน่เอานอนไม่ได้  รวมทั้งทุกสิ่งทุกอย่างซับซ้อนซ่อนเงื่อน จริงกับเท็จอยู่ด้วยกัน  บัณฑิตจึงต้องฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับชีวิตตน  ต้องฝึกทักษะการเรียนรู้ทักษะคาย (หรือปลดปล่อย) ความรู้ชุดเดิมที่ผิดหรือล้าหลัง  และทักษะเรียนความรู้ชุดใหม่  แล้วนำความรู้ชุดใหม่ (ซึ่งในหลายกรณีเป็นการเปลี่ยนในระดับเปลี่ยนกระบวนทัศน์)  เอาไปสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่ตนเอง หน่วยงาน ชุมชน หรือสังคม  นี่คือทักษะ “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” (Change Agent)  ที่จริงการฝึกทักษะในย่อหน้านี้ต้องทำตั้งแต่ชั้นอนุบาล หรือชั้นเด็กเล็กตามระดับพัฒนาการของเด็ก  และฝึกเรื่อยไปตลอดชีวิต

Transformative Learning (เรียนรู้บูรณาการ) คือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการครบทั้ง ๔ ด้าน ไปพร้อมๆกันหรือในเวลาเดียวกัน  ไม่แยกกันเรียนคือด้านสติปัญญา  สังคมอารมณ์และจิตวิญญาณ

เวลานี้การศึกษาไทยไม่ว่าระดับใดเอาใจใส่เพียงด้าน “ปัญญาศึกษา”  ไม่สนใจด้าน“จิตตศึกษา”ซึ่งจะช่วยพัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ไปด้วย  การเรียนรู้แบบใหม่ที่เรียกว่า“การเรียนโดยกระทำ” (Active Learning) จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ครบทั้ง ๔ ด้าน หากครูโค้ชเป็น

การเรียนโดยการกระทำ จะมีผลให้เกิดการเรียนรู้บูรณาการหรือไม่ก็ได้  ขึ้นกับว่าครูโค้ชเป็นหรือไม่ซึ่งที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องยากคือหลังเรียนโดยทำกิจกรรมเสร็จต้องมีการทำ reflection หรือ AAR  ทักษะชวนนศ. ทำ reflection มีความสำคัญมาก  และครู/อาจารย์ต้องฝึกต้องเรียนรู้อยู่ตลอดไป

ครู/อาจารย์จึงต้องรวมตัวกัน เพื่อเรียนรู้ร่วมกันด้านการทำหน้าที่โค้ช  ซึ่งรวมทั้งการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่จะจัดให้แก่ศิษย์  การทำ reflection ร่วมกันเพื่อเรียนรู้Transformative Learning ในฐานะครู/อาจารย์  การรวมตัวกันเรียนรู้ของครูนี้เรียกว่าPLC (Professional Learning Community) หรือLesson Study

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วและรุนแรงเช่นปัจจุบัน (และอนาคต)  การเปลี่ยนแปลงในระดับกระบวนทัศน์มาเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ  ทักษะในการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ตนเอง และเอื้ออำนวยการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของผู้คนรอบข้าง (และในสังคม) จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผมกำลังเรียนรู้

 

 

วิจารณ์  พานิช

๗  ก.พ. ๕๖

 

นวัตกรรมสามประสาน : บัณฑิตศึกษาแนวใหม่

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑ ก.พ. ๕๖ ผมได้ฟัง รศ. ดร. ลือชัย ศรีเงินยวง เล่าเรื่อง ชุดโครงการบัณฑิตศึกษา ปริญญาโทสังคมศาสตร์สุขภาพ ภาคพิเศษ แก่ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงาน สสจ. และ รพสต.  ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี  และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทองผาภูมิ  เรียน ๑๘ - ๒๐ เดือนจบแน่นอนโดยมีคุณภาพสูงมาก

เพราะเป็นการศึกษาแบบใหม่  แบบบูรณาการ ๓ ประสานภารกิจของมหาวิทยาลัย คือการเรียนการสอน (ผลิตมหาบัณฑิต)  การวิจัย  และบริการวิชาการ เป็นงานชิ้นเดียว  คือวิทยานิพนธ์เป็นชุด ของ นศ. รุ่นแรก ๑๓ คน  อาจารย์ ๘ คนเป็นอย่างน้อย ทำงานเป็นทีม  โดยที่วิทยานิพนธ์จะตอบโจทย์ระบบสุขภาพในพื้นที่ด้วย (บริการชุมชน หรือพื้นที่)   โดยโจทย์พื้นที่คือ ASEAN Community, cross-border migration, มองสภาพสังคมในพื้นที่ชายแดน พม่า - ไทย เป็นพื้นที่ข้ามถึงกัน

ฟังแล้ว ผมนึกในใจว่า งานนี้หาอาจารย์ทำได้ยาก  ต้องนำโดยคนที่ทำงานวิจัยจริงจัง และทำงานพื้นที่ช่ำชองอย่าง รศ. ดร. ลือชัย   รวมทั้งต้องมีทีมงานดีด้วย  ท่านมีหมอพม่า ๕ คน มาเรียนหลักสูตรสังคมศาสตร์สุขภาพ จะร่วมทีมวิจัยด้วย

ผมถามท่านว่า นศ. ต้องเสียเงินค่าเล่าเรียนไหม  ท่านบอกว่าท่านหาทุนมาช่วยบางคนที่ไม่มีเงิน  และการทำวิจัยก็มีแหล่งทุนช่วยเหลือ

เมื่อได้ผลงานวิจัยวิทยานิพนธ์แยกเป็นรายคนแล้ว อาจารย์ในทีมจะสังเคราะห์ซ้ำ ออกมาเป็นผลงานวิจัยหลายรายงาน ต่างด้าน  ได้เป็นองค์ความรู้ใหม่สำหรับขับเคลื่อนระบบสุขภาพของบริเวณชายแดนพม่า-ไทย  ที่มองระบบสุขภาพเชื่อมโยงกับสังคมหลากหลายมุม

ผมชื่นชมการทำงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแบบทำเป็นชุด  ทำเสร็จได้องค์ความรู้ที่หนักแน่น ให้ประโยชน์แก่บ้านเมือง  สมัยผมเป็น ผอ. สกว. เคยร่วมมือกับ ศ. ดร. ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ จัดชุด ป. โท เรื่องคนไร้กล่องเสียง  เป็นชุดที่ นศ. และอาจารย์มาจากหลากหลายสถาบัน  และวิจัยข้ามศาสตร์  คือนักภาษาศาสตร์ไปร่วมกับทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วย  สนุกและได้ประโยชน์มาก

เป็นบัณฑิตศึกษาของแท้  ไม่ใช่ของปลอม ที่เรียนพอให้จบ ที่ดาษดื่นอยู่ในปัจจุบัน


 

วิจารณ์ พานิช

๒ ก.พ. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/521629

 

ชีวิตที่พอเพียง: ๑๗๖๓. ชีวิตเข็นครก

พิมพ์ PDF

บ่ายวันที่ ๔ ก.พ. ๕๖  ผมไปร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อผลการประเมิน  และข้อเสนอแนะสำหรับโครงการวิจัย  “ การประเมินการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ภายใต้การดำเนินการของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๐- ๒๕๕๔ ”   ซึ่งก็คือการประเมินการทำงานของ สช. นั้นเอง

ผมจึงได้ตระหนักว่า งานของสช. เป็นงานเข็นครกขึ้นภูเขา  การประเมินนี้เน้นการประเมินครกและคนเข็นครก  ไม่ได้ประเมินภูเขา  ทั้งๆที่ผลงานขึ้นกับ “ภูเขา” หรือบริบทสังคมไทยด้วย

สช. ทำงานแนวระนาบกระจายอำนาจ  และมุ่งผลประโยชน์ของส่วนรวมของสังคมไทยภาพรวม  ในท่ามกลางบริบทสังคมไทย ที่เป็นสังคมอำนาจแนวดิ่ง  อำนาจรวมศูนย์มีการแก่งแย่งผลประโยชน์ส่วนกลุ่มและพลเมืองไทยมีคนกลุ่ม active citizen น้อยมาก  ที่ลุกขึ้นมาทำงานสาธารณะ ส่วนใหญ่เพราะมีประเด็นร้อนเข้ามาใกล้ตัว  ที่จะทำงานสาธารณะประเด็นเย็นเพื่อวางรากฐานสังคมมีน้อยมาก   รวมทั้งผู้คนในสังคมติดวิธีคิดแบบขาว-ดำ  ถูก-ผิด  ในขณะที่เรื่องราวต่างๆ ในสังคมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อน และเป็นพลวัตสูง

สภาพเช่นนี้ เปรียบเสมือนการทำงานแบบเข็นครกขึ้นภูเขา   ซึ่งต้องวางยุทธศาสตร์การทำงานระยะยาว ทำต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง  ตระหนักว่า กว่าจะเห็นผลจริงจังต้องใช้เวลา ๑๐ - ๒๐ ปี  ไม่ใช่  ๕ ปี

การทำงานในสภาพที่มีข้อจำกัดเช่นนี้  ต้องการทักษะพิเศษ  ซึ่งฝ่ายบริหารสช. ทำได้ดีอย่างน่าชื่นชม    แต่ก็ยีงมีส่วนที่น่าจะปรับปรุงได้อีกมาก

สช. ทำงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ โดยใช้เครื่องมือ ๔ อย่างได้แก่

·  สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

·  สมัชชาสุขภาพในพื้นที่  รวมทั้ง HIA (และcHIA, eHIA)

·  ธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ

·  commission

 

เพราะสช. ทำงานเพื่อสุขภาวะของคนส่วนใหญ่ของประเทศ  และทำงานในลักษณะกระจายอำนาจ    เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม  จึงอยู่ในสภาพ “เอียงข้าง” เข้าหาภาคประชาชน   ภาคราชการซึ่งเคยผูกขาดอำนาจจึงไม่สนใจเข้าร่วม  ยกเว้นจะเข้ามาปกป้องตนเอง  และภาคธุรกิจซึ่งเคยร่วมกับภาคราชการ  แสวงหาความได้เปรียบในสังคมก็ไม่อยากเข้าร่วม  ยกเว้นนักธุรกิจจิตสาธารณะซึ่งก็มีหลายคนแต่ก็ไม่ใช่ผู้ที่มีบทบาทสำคัญมากนักในองค์กรของภาคธุรกิจ  หรือบางท่านเข้ามาร่วมอย่างเอาจริงเอาจัง ก็ขัดแย้งกับเพื่อนนักธุรกิจ

นี่คือสภาพความเป็นจริงในสังคมไทยที่เราเผชิญอยู่   และสช. ต้องทำงานพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ  ในท่ามกลางความเป็นจริงนี้

ผมจึงให้ความเห็นว่าสช. ต้องยึดการทำงานแบบ evidence-based เป็นหลัก  โปร่งใสเข้าไว้   เพื่อจะได้เป็นที่ยอมรับในสังคมว่าไม่เอียงข้างฝ่ายใด  แต่มุ่งรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม  โดยที่ประเด็นต่างๆมีความซับซ้อน

เราพูดกันว่าสช. ต้องทำงานมุ่งพัฒนา evidence เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ ให้ยิ่งขึ้น  และมีวิธีสื่อสาร  หลักฐานความรู้นี้ให้แพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้น  ทั้งๆที่ที่ผ่านมาก็ทำได้ดีอยู่แล้ว

เราพูดกันว่าสช. เลือกทำงานแบบใช้“อำนาจอ่อน”คือไม่บังคับ  ใช้การพูดจากัน (สมัชชา)  และการสร้างความรู้ขึ้นใช้ก็ต้องพัฒนาทักษะในการทำงานแบบนี้ในหลากหลายระดับ

ผมมองว่าทักษะ “สื่อสารหลักฐานความรู้” (evidence communication)  สำคัญกว่าทักษะสร้างกระแสสังคม  หรือขับเคลื่อนสังคม (advocacy)  สำหรับสช.

เรื่องมาลงที่การใช้ commission ในการทำงานเฉพาะเรื่อง  ที่ยังไม่ชัดเจนว่าสช. ต้องไปเป็นคณะเลขานุการกิจ(secretariat) ของcommission หรือไม่

ซึ่งผมมีความเห็นแบบขาว-ดำว่า “ ไม่ ”   ผมเห็นว่าcommission ต้องรับงานไปแบบรับcontract out งาน   จะcontract ให้ใครภายใต้ความรับผิดชอบอย่างไร   ส่งมอบผลงานอะไร  มีเกณฑ์คุณภาพอย่างไร  ตรวจรับงานอย่างไร ฯลฯ    สช. ต้องมีทักษะในการcontract out งาน  เป็นความสัมพันธ์แบบกึ่งธุรกิจ  ไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบไหว้วานหรือขอให้ช่วย

ทักษะอีกอย่างหนึ่งที่คนสช. ต้องมี  คือทักษะต่อยอดความรู้จากข้อเสนอของ commission  หรือจากผลการวิจัยที่มอบให้นักวิชาการทำ  คนสช. ต้องมีพื้นความรู้เรื่องระบบสุขภาพดี  และเรียนรู้ต่อยอดจากกิจกรรมต่างๆเพิ่มพูนขึ้นตลอดเวลา   นี่คือ learning skills   คนสช. ต้องเป็นexpert ด้านนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ  ที่เรียนรู้เพิ่มพูนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพอยู่ตลอดเวลา

เหล่านี้เป็นกระบวนการเข็นครกทั้งสิ้น

ผมสรุปกับตัวเองที่บ้าน  ว่าคนสช. ต้องเป็น “นักจัดการความรู้” ด้านนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ   โดยที่สช. ต้องจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติให้แก่เจ้าหน้าที่ของสช.  เพื่อให้เจ้าหน้าทุกคนได้ฝึกฝนทักษะ จัดการความรู้ด้านนโยบายสุขภาพอย่างต่อเนื่อง  ไม่ทราบว่าสรุปถูกหรือผิด

จัดการความรู้สำหรับเอาไปสื่อสารสังคม เน้นสื่อสารอย่างมีข้อมูลหลักฐาน (evidence communication)  ไม่ใช่เน้นขับเคลื่อนสังคม (advocacy)  สรุปอย่างนี้ยิ่งไม่ทราบว่าถูกหรือผิด

 

วิจารณ์  พานิช

๕  ก.พ. ๕๖

คัดลอกมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/521519

 

ประกาศรับสมัครงาน

พิมพ์ PDF

 

ประกาศรับสมัครงาน

ศูนย์ความรู้เฉพาะด้าน วิศวกรรมความรู้และวิศวกรรมภาษา

คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ต้องการรับสมัคร ผู้ช่วยวิจัยในตำแหน่งวิศวกรคอมพิวเตอร์หรือนักวิชาการคอมพิวเตอร์ 5 ตำแหน่ง

 

คุณสมบัติ

จบปริญญาตรีขึ้นไป สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือ สาขาที่เกี่ยวข้อง

เชี่ยวชาญภาษาคอมพิวเตอร์ ที่ใช้พัฒนาเว็บไซต์ อย่างน้อย 1 ภาษา เช่น  Python, Ruby, Perl, Java, PHP, .NET

สามารถเก็บ requirement และวิเคราะห์ระบบเบื้องต้นได้

สามารถออกแบบฐานข้อมูลที่สำคัญๆ เช่น  MYSQL, PostgreSQL

สามารถใช้งาน HTML CSS XML ได้

มีความรู้พื้นฐานในการใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ

มีความรู้ภาษา client-side สำหรับการทำงานบนเว็บไซต์ เช่น  jQuery Ajax

สามารถเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น HTML5 CSS3 FRAMEWORK ตลอดจนกฎ W3C

ทำงานเป็นทีมได้  มีวินัย ซื่อสัตย์ อดทน

ทำงานดึกได้ในบางครั้ง

 

 

ค่าตอบแทน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์

ปริญญาตรี เริ่มจาก15000 ++ บาท ทดลองงาน 2 เดือน จากนั้นจะพิจารณาขึ้นขึ้นให้โดยอยู่กับผลงานในระยะเวลา 1 ปี หาก มี ความสามารถที่จะเรียนต่อปริญญาโท จะให้เป็นผู้ช่วยวิจัย พร้อมมีเงินเดือน ในกรณีที่มีความสามารถ ด้านภาษา อังกฤษ มีโอกาสเป็นผู้ช่วยวิจัยแลกเปลี่ยน กับ ประเทศ ญี่ปุ่น

ปริญญาโท เริ่มที่ 17900 ++ ทดลองงาน 2 เดือน  จากนั้นจะพิจารณาขึ้นให้โดยขึ้นอยู่กับผลงานในระยะเวลา 1 ปี หากต้องการเรียน ปริญญาเอก เงื่อนไขเช่นเดียวกับปริญญาตรี และ มีโอกาสเป็นผู้ช่วยวิจัยต่อ

 

สนใจติดต่อที่

คุณ อารีรัตน์ ทองใบ 02-579-0358

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

http://naist.cpe.ku.ac.th

 

 


หน้า 506 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8610478

facebook

Twitter


บทความเก่า