Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

Student Engagement Techniques

พิมพ์ PDF

Editorial Reviews

Review

“The conclusion is easy: if you’re going to be teaching on the moon and have only one suitcase for resources, this is the book on motivation and active learning that you’ll want to pack. I know it’s the one I’d be taking with me … probably as a carryon so I have something good to read on the way.”
— The Teaching Professor (newsletter), December 2009

“The book is full of practical advice and ideas for teachers who are striving to increase student engagement and learning supported by research. It is well organized and accessible. Student Engagement Techniques is an important and useful guide for any teacher interested in improving student learning.”
—Gayle Venegas, Math Teacher, San Jacinto USD (Icezablog.com)

From the Back Cover

Student Engagement Techniques

A Handbook for College Faculty

Elizabeth F. Barkley

Student Engagement Techniques

Keeping students involved, motivated, and actively learning is challenging educators across the country,yet good advice on how to accomplish this has not been readily available. Student Engagement Techniques is a comprehensive resource that offers college teachers a dynamic model for engaging students and includes over one hundred tips, strategies, and techniques that have been proven to help teachers from a wide variety of disciplines and institutions motivate and connect with their students. The ready-to-use format shows how to apply each of the book's techniques in the classroom and includes purpose, preparation, procedures, examples, online implementation, variations and extensions, observations and advice, and key resources.

"Given the current and welcome surge of interest in improving student learning and success, this guide is a timely and important tool, sharply focused on practical strategies that can really matter."
—Kay McClenney, director, Center for Community College Student Engagement, Community College Leadership Program, the University of Texas at Austin

"This book is a 'must' for every new faculty orientation program; it not only emphasizes the importance of concentrating on what students learn but provides clear steps to prepare and execute an engagement technique. Faculty looking for ideas to heighten student engagement in their courses will find usefultechniques that can be adopted, adapted, extended, or modified."
—Bob Smallwood, cocreator of CLASSE (Classroom Survey of Student Engagement) and assistant to the provost for assessment, Office of Institutional Effectiveness, University of Alabama

"Elizabeth Barkley's encyclopedia of active learning techniques (here called SETs) combines both a solid discussion of the research on learning that supports the concept of engagement and real-life examples of these approaches to teaching in action."
—James Rhem, executive editor, The National Teaching & Learning Forum


Product Details


 

พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไทย

พิมพ์ PDF
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไทย

หลังจากผมอ่านทบทวนบทความของอาจารย์ และอ่าน powerpoint ของ ดร.กฤษณพงศ์ แล้ว ผมเห็นด้วยกับแนวคิดของอาจารย์ดังนี้ " การสร้างคนไทย ต้องสร้างผ่านชีวิตจริงของคนไทย เอาความรู้จากภายนอกมาทำให้เป็นความรู้ของเราเอง และต่อยอดยกระดับผ่านกิจการงานและชีวิตของคนไทย ในเชิงระบบ ต้องให้มีสมดุลและ synergy ระหว่าง supply-side กับ demand-side"

" ที่จริงระบบในสังคมทุกระบบ เป็นการสร้างคนไทยทั้งสิ้น จึงเกิดคำถามว่า เวลานี้ระบบต่างๆ ในสังคม สิ่งต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคม กำลังพัดพาคนไทยสู่ทางวัฒนาหรือทางหายนะ "

ผมคิดว่าที่คนไทยเข้าสู่ทางหายนะ เป็นเพราะสังคมไทย ไปยึดติดกับกระแสนิยม สร้างคนให้ยึดติดกับการศึกษาขั้นสูงระดับปริญญาตรีขึ้นไป คนไม่จบปริญาตรีกลายเป็นคนชั้นสอง หน่วยงานของราชการรับคนที่จบปริญาตรีขึ้นไป สร้างคนจบปริญาตรีแต่ไม่ได้สร้างงานมารองรับ

ผู้ประกอบการ ( demand-side) ต้องการแรงงานถูกๆ เพราะคิดว่าแรงงานเป็นค่าใช้จ่าย คนที่ได้ค่าจ้างสูงและอยู่ในตำแหน่งบริหารของบริษัทสากล คือคนจำนวน 2 % ของแรงงานไทยทั้งหมด คนเหล่านี้มาจากครอบครัวที่มีฐานะดี รวย หรือมีอำนาจทางสังคม ( ดร. ทศพร บอกว่า เรื่องการศึกษานั้น สังคมไทยอยู่ในสภาพ ๒ : ๙๘ คือคนฐานะดี ๒% บนของสังคม ช่วยลูกหลานของตนได้ โดยส่งเข้าโรงเรียนที่คุณภาพดี แล้วส่งไปเรียนต่างประเทศ แต่อีก ๙๘% ต้องส่งลูกหลานเข้าเรียนโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งคุณภาพด้อยลงเรื่อยๆ ที่ประชุมเห็นว่า การแก้ไขต้องทำจากภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ เป็นสภาพที่ผู้คนหมดหวังต่อกลไกภาครัฐ)

ดังนั้นการสร้างและพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพ จึงขึ้นกับปัจจัยหลายๆส่วน จะโทษระบบการศึกษาอย่างเดียวไม่ได้ ถ้าจะให้โทษต้องโทษทางฝั่ง Demand-side ที่ไม่เห็นคุณค่าของคน คนเป็นทรัพยากรของแผ่นดิน คนไทยมีความสามารถแต่ขาดเวทีและการสนับสนุนจากภาค Demand-side ประกอบกับภาคสังคมที่อ่อนแอ รับเอาวัฒนธรรมของชาติมหาอำนาจ มาเป็นแบบอย่าง ไม่รักษาวัฒนธรรมและความเข้มแข็งของวัฒนธรรมไทยที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ให้ ปรัชญาเศราฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการพัฒนาคนไทยให้มีความเข้มแข็งและมีภูมิคุ้มกัน จึงควรนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง และสร้างคนไทยให้ได้ 4 เก่ง คือ เก่งคน (การบริหารจัดการคน เริ่มจากการบริหารตัวเอง รู้ทันอารมณ์สามารถบริหารอารมณ์ได้ แล้วจึงสามารถบริหารคนอื่น) เก่งคิด (คิดในทางสร้างสรรค์ แก้ปัญหาให้เป็นโอกาส) เก่งทำงาน (รู้งานและรู้เป้าหมายของงาน) และเก่งในการดำรงค์ชีวิต (ทำให้ชีวิตมีความสุข แบ่งเวลาให้เหมาะสม ) ส่วนการทำให้คนไทยมี 4 เก่งได้อย่างไร จะต้องได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก เริ่มจาก บ้าน วัด โรงเรียน

การเปลี่ยนความคิดของคนในสังคมต้องใช้เวลาอย่างต่ำๆ 2 รุ่น คนรุ่นอาจารย์และรุ่นผมคงเปลี่ยนแปลงได้ยาก ผู้ที่เข้าใจเช่นอาจารย์หรือผม ทำได้แค่จุดประกายและวางพื้นฐาน ผู้ที่จะสนับสนุนและเป็นกำลังในการขับเคลื่อนได้แก่ผู้มีอายุ 45 ปี ลงไปที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับของสังคมปัจจุบัน ผู้ที่จะขับเคลื่อนอย่างจริงจังได้แก้คนรุ่นอายุ 25 ปีลงไป และจะเห็นผลกับคนรุ่นลูก

· เลขที่บันทึก: 504696
· สร้าง: 06 ตุลาคม 2555 10:51 · แก้ไข: 06 ตุลาคม 2555 10:51
· ผู้อ่าน: 34 · ดอกไม้: 4 · ความเห็น: 0 · สร้าง: ประมาณ 14 ชั่วโมง ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
 

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF
การเรียนไม่ได้ขึ้นกับการคิดเชิงเหตุผลเท่า นั้น นศ. จะผูกพันกับการเรียนเมื่อเรียนอย่างเป็นองค์รวม คือ Cognitive learning (เมื่อ นศ. คิดอยู่กับเรื่องที่กำลังทำ), Affective learning (นศ. รู้สึกสนุก และพุ่งความสนใจ), และ Psychomotor learning (ลงมือทำกิจกรรม)

ครูเพื่อศิษย์ส่งเสริมให้ศิษย์สนุกกับการเรียน  : 19. เคล็ดลับส่งเสริมการเรียนอย่างเป็นองค์รวม (๒)

บันทึกชุดนี้ ได้จากการถอดความ ตีความ และสะท้อนความคิด    จากการอ่านหนังสือ Student Engagement Techniques : A Handbook for College Faculty เขียนโดย ศาสตราจารย์ Elizabeth F. Barkley ในตอนที่ ๑๙ นี้ ได้จากบทที่ ๑๑ ชื่อ Tips and Strategies to Promote Holistic Learning   โดยในตอนที่ ๑๘ ได้บันทึก คล. ๔๓ - ๔๘ ไปแล้ว    ในตอนที่ ๑๙ นี้จะเป็น คล. ๔๙ - ๕๐

การเรียนไม่ได้ขึ้นกับการคิดเชิงเหตุผลเท่านั้น   นศ. จะผูกพันกับการเรียนเมื่อเรียนอย่างเป็นองค์รวม   คือ Cognitive learning (เมื่อ นศ. คิดอยู่กับเรื่องที่กำลังทำ), Affective learning (นศ. รู้สึกสนุก และพุ่งความสนใจ), และ Psychomotor learning (ลงมือทำกิจกรรม)

 

คล. ๔๙  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายด้วย

นศ. สมัยนี้นั่งนิ่งๆ นานๆ ไม่เก่ง   และได้บันทึกแนะนำการกิจกรรมละลายพฤติกรรม   กิจกรรมกลุ่มย่อย และกิจกรรมให้ นศ. เคลื่อนไหวไปแล้ว    ต่อไปนี้เป็น ๔ กิจกรรมเพิ่มเติม ที่เสนอให้นำไปปรับใช้

  • กิจกรรมปาลูกบอลล์ ถือเป็นกิจกรรมกึ่งทบทวนสาระ กึ่งปลุกให้ตื่น   เป็นกิจกรรมที่ครูให้ นศ. ทำหลังจากได้ผ่านการเรียนแบบที่ต้องใช้สมองมาก จนรู้สึกล้า     ทำโดยให้ นศ. ยืนเป็นวงกลมหันหน้าเข้าหากัน    ครูปาลูกบอลล์เด็กเล่น ไปยัง นศ. คนหนึ่ง    นศ. ที่โดนปาต้องพูด ๒ ประโยค    (๑) ในการเรียนที่เพิ่งผ่านมา ประเด็นใดสำคัญหรือตนสนใจเป็นพิเศษ  (๒) ประเด็นใดยังไม่ชัดเจน    แล้วปาคนต่อไป

จนครบ

  • กิจกรรมการอภิปรายแบบ snowballing ทำโดยฉายประเด็นคำถามที่จะให้อภิปรายคำตอบขึ้นจอ   ให้ นศ. นึกสักครู่    แล้วจับคู่อภิปรายกัน ให้เวลา ๕ นาที    แล้วจับกลุ่ม ๔  ให้เวลา ๑๐ นาที    ต่อด้วยกลุ่ม ๘  ให้เวลา ๒๐ นาที   เช่นนี้ไปเรื่อยๆ คือจำนวนสมาชิกกลุ่มเพื่มขึ้นเท่าตัว และเวลาสำหรับอภิปรายแลกเปลี่ยน ก็เพิ่มขึ้นเท่าตัวด้วย    ทำเช่นนี้จนกลายเป็นกลุ่มใหญ่ทั้งห้อง

เขาบอกว่า กิจกรรมที่เปลี่ยนสภาพกลุ่มไปเรื่อยๆ เช่นนี้ ทำให้เกิดสภาพที่ นศ. ได้รับการปลุกให้ตื่นตัว

  • กิจกรรม snowball ทำโดยตั้งคำถามให้ นศ. ตอบลงบนกระดาษ    แล้วปั้นกระดาษเป็นลูกบอลล์ และปาไปมาเป็นเวลา ๑ นาที    เมื่อครูบอก “หยุด” นศ. ผลัดกันอ่านคำตอบจากกระดาษในมือให้เพื่อนฟัง

วิธีนี้เหมาะแก่การให้ นศ. เปลี่ยนอิริยาบท ในคาบการเรียนนานๆ

  • กิจกรรม ค็อกเทล ปาร์ตี้ ให้ นศ. ยืนคุยกับเพื่อน แบบจับกลุ่มตามสบาย และเคลื่อนตัวเปลี่ยนกลุ่มไปเรื่อยๆ    เพื่อคุยกันในประเด็นคำถามหรือการเรียนรู้ที่ตกลงกัน   ครูคอยดูแลว่า นศ. ได้รู้จักกันทั้งห้อง   โดยทำหน้าที่ “เจ้าภาพ”  คอยแนะนำให้ นศ. รู้จักกัน และคุยกัน    ครูอาจทำหน้าที่ เสิร์พ เครื่องดื่ม (ไม่ผสมแอลกอฮอล์) และของว่าง

กิจกรรมเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อทำให้ นศ. ได้เรียนรู้ตามจริตของตน หรือของคนสมัยใหม่    ที่นั่งเรียนนานๆ ไม่เก่ง    ต้องการการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนอิริยาบท และการสังสรรค์    หากนำมาใช้ใน นศ. ไทย ควรพิจารณาปรับให้เข้ากับวัฒนธรรม นศ. ไทย

 

คล. ๕๐  นำเสนอเอกสารรายวิชาแบบรูปภาพหรือกราฟฟิก

ปัญหาของ นศ. ปัจจุบันคือไม่ชอบอ่านตัวหนังสือยาวๆ    และมีการศึกษาในสหรัฐอเมริกา พบว่า นศ. จำนวนมากไม่ได้อ่านเอกสารรายวิชา    ทำให้ขาดข้อมูลประกอบการเรียนของตน    ดังนั้นจึงมีคนแนะนำให้เขียนเอกสารอธิบายรายวิชาเป็นตาราง หรือเป็นกราฟฟิก    ย่อลงในหน้าเดียว     เพื่อให้น่าอ่าน และดึงดูดจริตของ นศ. ในยุคปัจจุบัน

เขาให้ตัวอย่างการเขียนคำอธิบายรายวิชาชนชั้นทางสังคม เป็นแบบร้อยแก้ว  แบบเป็นตาราง  และแบบเป็นแผนผังหรือกราฟฟิกบอกความสัมพันธ์ของทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเกิดและดำรงอยู่ของความไม่เท่าเทียมกันในสังคม    ซึ่งเมื่อผมพิจารณาแล้ว เห็นว่าวิธีนำเสนอทั้ง ๓ แบบ ช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน   คือหากมีทั้ง ๓ แบบ จะยิ่งช่วยเพิ่มความกระข่าง    แต่นี่คือความคิดของคนชอบอ่าน อ่านแล้วพิจารณา    หากต้องอนุโลมตามนิสัยของ นศ.  ก็น่าจะพิจารณาทดลองนำเสนอหลายแบบ แล้วให้ นศ. โหวด ว่าชอบแบบไหนมากที่สุด   เสนอแบบนี้ งานของครูเพิ่มขึ้น   แต่ก็อาจนำมาเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยการเรียนการสอนได้

 

เป็นอันว่า ได้นำเสนอเคล็ดลับ ที่อาจารย์ใช้ดึงดูดความสนใจของ นศ. รวม ๕๐ เคล็ดลับครบถ้วนแล้ว    โดยผม AAR ว่า เคล็ดลับส่วนใหญ่ อยู่บนฐานของบุคลิกลักษณะของ นศ. สมัยใหม่   ที่ไม่เหมือนคนสมัยที่ครูเป็นเด็ก   คนเป็นครูต้องทำหน้าที่ครูแก่ศิษย์โดยรู้ใจ และเอาใจศิษย์    ไม่ใช่สอนตามใจครู

หากเน้นสอนตามใจครู    นศ. ก็จะรู้สึกไม่สนุก และขาดความสนใจ

วิจารณ์ พานิช

๖ ต.ค. ๕๕

 

· เลขที่บันทึก: 504719
· สร้าง: 06 ตุลาคม 2555 17:19 · แก้ไข: 06 ตุลาคม 2555 17:20
· ผู้อ่าน: 47 · ดอกไม้: 4 · ความเห็น: 2 · สร้าง: 1 วัน ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
บันทึกที่เกี่ยวข้อง
 

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

เผลอแป๊บเดียว มูลนิธิสยามกัมมาจลก็ทำงานมาได้ ๕ ปีแล้ว    โดยตั้งปณิธานความมุ่งมั่นไว้ว่า มูลนิธิฯ มุ่งทำงานด้านพัฒนาเยาวชน เน้นที่การสร้างจิตอาสา วิญญาณสาธารณะ หรือการทำเพื่อผู้อื่น   โดยมูลนิธิไม่ต้องการทำงานเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้แก่ธนาคารไทยพาณิชย์   ต้องการทำประโยชน์แก่สังคมไทยอย่างแท้จริง   แถมคณะกรรมการ CSR ของธนาคารยังกำหนดด้วยว่า ให้เน้นทำงานแบบเป็น catalyst ไม่เน้นลงมือทำเอง    แต่ให้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนพลังเครือข่ายหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานพัฒนาเยาวชน

ตอนนี้ผมได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคมของธนาคารไทยพาณิชย์    และในการประชุมคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ ๒๘ ส.ค. ๕๕   คณะกรรมการก็ได้ทบทวนงานในภาพรวมของมูลนิธิสยามกัมมาจลว่ามี ๓ ขา   คือ (๑) สื่อสารเพื่อเผยแพร่กิจกรรมการพัฒนาเยาวชน  (๒) สร้างเครือข่าย  (๓) ต่อยอดกิจกรรมที่มีอยู่แล้ว

โดยคุณเปา (ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร) ผู้จัดการมูลนิธิ ได้สรุปเสนอที่ประชุมว่า ปัจจัยความสำเร็จของงานพัฒนาเยาวชนมี ๘ ประการ ได้แก่ (๑) พัฒนาการในการดำเนินการ จนทำได้เอง เป็นเจ้าของโครงการเอง (๒) การมีพี่เลี้ยงหรือผู้สนับสนุน  (๓) มีโอกาส  (๔) มีการเรียนรู้ และพัฒนาต่อเนื่อง  (๕) มีเครือข่าย  (๖) มีการขยายผล  (๗) มีกลไกสนับสนุน  และ (๘) มีผู้สนับสนุนหรือเป็น catalyst   โดยมูลนิธิสยามกัมมาจลอยู่ในกลุ่มนี้   โดยมูลนิธิสยามกัมมาจลไม่เน้นสนับสนุนเงิน   แต่เน้นสนับสนุน (เป็น enabler/empowerment) ให้เกิดปัจจัยความสำเร็จทั้ง ๘ ประการนี้

คณะกรรมการ CSR แนะนำให้เพิ่มปัจจัยความสำเร็จอีก ๒ ประการคือ (๙) ระบบข้อมูล   (๑๐) ความน่าเชื่อถือด้านการเงิน ซึ่งก็คือทักษะในการทำบัญชีมาตรฐาน และระบบตรวจสอบ

คณะกรรมการฯ ตั้งคำถามว่า ที่ดำเนินการมา ๕ ปี บรรลุผลกระทบต่อสังคมตามที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่   ตกลงกันว่า มอบให้ฝ่ายจัดการไปคิดหาวิธีประเมินและทีมประเมินมาเสนอในการประชุมคราวต่อไป

วิจารณ์ พานิช

๒๘ ส.ค. ๕๕

· เลขที่บันทึก: 504462
· สร้าง: 04 ตุลาคม 2555 09:38 · แก้ไข: 04 ตุลาคม 2555 09:38
· ผู้อ่าน: 102 · ดอกไม้: 10 · ความเห็น: 0 · สร้าง: 3 วัน ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
 

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

บทความเรื่อง Why Obama Must Goโดย Niall Fergusonในนิวสวีค ฉบับวันที่ ๒๗ ส.ค. ๕๕   ทำให้ผมสงสัยว่านักเขียนผู้นี้เป็นใคร   เมื่อค้นด้วย Google ก็พบว่าเป็นถึง chair professor ที่มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด และอื่นๆ    และเป็นนักเขียน   ที่สำคัญประกาศตัวเป็นอนุรักษ์นิยม   และเป็นผู้สนับสนุน Mitt Romney ให้เป็นประธานาธิบดี   คือเล่นการเมืองเต็มตัว

 

อ่านประวัติใน Wikipedia แล้วผมก็ประจักษ์ในความเก่งของนักวิชาการท่านนี้   ที่สร้างมิติใหม่ให้แก่วิชาการด้านประวัติศาสตร์   คือเก่งในการตีความเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ด้วยสมมติฐานใหม่   ที่ไม่เคยมีคนคิดมาก่อน

 

ผมชอบบรรยากาศทางวิชาการและการเมืองใน สรอ. ที่เปิดเผยโปร่งใส และเปิดกว้าง   นักวิชาการสามารถประกาศตัวเป็นฝักฝ่ายทางการเมืองได้   แต่เมื่อสวมหมวกวิชาการก็ต้องอยู่กับหลักฐานและความแม่นยำทางวิชาการ

 

โปรดอย่าเข้าใจว่าผมเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการเป็นนักวิชาการที่เล่นการเมืองแบบ Niall Ferguson   ที่ผมชอบคือการเป็นนักวิชาการที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์ และแม่นยำด้านข้อมูลหลักฐาน   รวมทั้งเปิดกว้างต่อการตรวจสอบทางวิชาการ และสุดท้าย เอาวิชาการเข้าไปแนบชิดสังคมและเหตุการณ์บ้านเมือง    ซึ่งในกรณีของศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ท่านนี้คือเข้าไปแนบชิดกับการเมืองอเมริกัน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ส.ค. ๕๕

· เลขที่บันทึก: 504467
· สร้าง: 04 ตุลาคม 2555 10:01 · แก้ไข: 04 ตุลาคม 2555 10:01
· ผู้อ่าน: 106 · ดอกไม้: 12 · ความเห็น: 1 · สร้าง: 3 วัน ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
ดอกไม้
ให้ดอกไม้ สมาชิกที่ให้กำลังใจ: Blank EGA, Blank Wasawat Deemarn, และ 10 คนอื่น.
Facebook
Twitter
Google

ความเห็น

เป็นแบบอย่างหนึ่งที่น่าสนใจครับอาจารย์

Ico_66560_279400792177916_1026659708_n
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้
ชื่อ: ชาญโชติ
อีเมล: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
ข้อความ:
เรียกเครื่องมือจัดการข้อความ เขียนแบบ Markdown ได้
แนบไฟล์:
ชื่อไฟล์ต้องใช้ตัวอักษร a-z, A-Z, 0-9 สัญลักษณ์ขีดกลาง (-) หรือขีดล่าง (_) และห้ามเว้นวรรค
ส่งอีเมลแจ้งด้วยเมื่อรายการนี้มีความเห็นเพิ่มเติม New!
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.๒๕๕๐
 


หน้า 524 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8611086

facebook

Twitter


บทความเก่า