Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

สารแสดงความยินดี เนื่องในโอกาส “ครึ่งศตวรรษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล”

พิมพ์ PDF

สารแสดงความยินดี

เนื่องในโอกาส ครึ่งศตวรรษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

 

วิจารณ์ พานิช

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล

.................

 

 

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ผมข้ามฟากมาเรียนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ที่คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล (มีคำว่า และ)  มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์    ซึ่งในขณะนั้นเป็นกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์    สังกัดกระทรวงสาธารณสุข    มีศาสตราจารย์ นายแพทย์สวัสดิ์ แดงสว่าง เป็นผู้บัญชาการกรม    การเรียนในปีที่ ๑ ที่ศิริราช เรียนวิชามหกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยาและชีวเคมี เป็นหลัก    และมีนักศึกษาปริญญาโท ซึ่งเป็นรุ่นพี่ของพวกเราที่จุฬาฯ มาเรียนด้วย ๒ - ๓ คน   คนหนึ่งคือ รศ. ดร. ประณีต ผ่องแผ้ว แห่งคณะเวชศาสตร์เขตร้อน

แสดงว่าหลักสูตรบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยมหิดล) นั้น    มีมาก่อนตั้งบัณฑิตวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗

อาจารย์ของพวกเราในตอนนั้น จำนวนหนึ่งได้รับปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เอง    โดยไม่มีการเรียนรายวิชา มีแต่การเสนอวิทยานิพนธ์    ที่ผมใกล้ชิดคือ วิทยานิพนธ์ของศาสตราจารย์แพทย์หญิง คุณสุภา ณ นคร    เป็นผลงานวิจัยเกี่ยวกับ ฮีโมโกลบิน อี    ตอนทำงานที่ตึกอานันทราช ผมเคยเปิดดูบ่อยๆ    เป็นประวัติศาสตร์ของบัณฑิตศึกษาในประเทศไทย ที่ย้อนหลังไปก่อนมีการก่อตั้งบัณฑิตวิทยาลัย คงจะไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปี

เมื่อผมเรียนจบปริญญาโท สาขามนุษยพันธุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน กลับมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ก็ได้บรรจุเข้ารับราชการที่บัณฑิตวิทยาลัย    แต่ทำงานที่สาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล    โดยในขณะนั้น ศาสตราจารย์ นายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย์ ดำรงตำแหน่งคณบดีผู้ก่อตั้ง     ท่านบอกให้ผมไปเซ็นชื่อในสมุดเซ็นชื่อมาทำงานของบัณฑิตวิทยาลัย (ขณะนั้นอยู่ที่อาคารสองชั้นหลังเล็กๆ ตั้งอยู่ด้านหลังตึกอำนวยการของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในปัจจุบัน) ทุกวัน    ผมไปเซ็นชื่อเป็นคนแรกทุกเช้า เวลาประมาณ ๗ น. เป็นเวลาสองสามปี    ท่านคงจะมั่นใจว่าผมไม่เหลวไหลอู้งานหรือเบี้ยวงานแน่ จึงบอกผมให้ไม่ต้องเซ็นชื่อมาทำงานอีกต่อไป

ต่อมา คงจะประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ท่านคณบดี ศ. นพ. สวัสดิ์ บอกผมว่า บัณฑิตวิทยาลัยต้องมีเลขานุการคณะ และขอตั้งให้ผมทำหน้าที่นี้    ผมเรียนถามท่านว่า ต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง    ท่านบอกว่า มีงานประจำอย่างเดียวคือเซ็นค่าสอนพิเศษ    เจ้าหน้าที่เขาส่งเอกสารมาให้เซ็นก็เซ็นไป    ผมจึงเป็นเลขานุการคณะที่ไม่เคยมีโต๊ะนั่งทำงานที่บัณฑิตวิทยาลัย    เจ้าหน้าที่เขาส่งเอกสารไปให้เซ็นที่ ตึกอานันทราช

คงจะเพราะผมมีตำแหน่งเลขานุการบัณฑิตวิทยาลัย    ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ มีดำริจัดตั้ง “ศูนย์ศาลายา”   มีการแต่งตั้งคณะทำงานวางแผนแม่บทพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา (ชื่ออาจคลาดเคลื่อน เพราะเขียนจากความจำ)  มี ศ. นพ. กษาณ จาติกวนิช รองอธิการบดี เป็นประธาน   ศ. นพ. สวัสดิ์ สกุลไทย์ เป็นรองประธาน   กรรมการเท่าที่จำได้มี ศ. ดร. กำจร มนุญปิจุ, ศ. ดร. อมร รักษาสัตย์, ศ. นพ. ณัฐ ภมรประวัติ, ศ. นพ. ประเวศ วะสี    จำได้ว่าครั้งหนึ่งคณะกรรมการนั่งรถไฟไปกราบนมัสการท่านพุทธทาสที่สวนโมกขพลาราม ไชยา    เพื่อขอคำปรึกษาเรื่องการจัดการศึกษามหาวิทยาลัย    สมัยนั้นยังไม่มีทางหลวงสายเอเซียที่ตัดผ่านหน้าวัด    เราไปถึงไชยาประมาณตีสี่    พี่ศิริ พานิช ว่าจ้างรถรับจ้างสองแถวมารับที่สถานีรถไฟไชยา พาไปสวนโมกข์ทันที    ไปถึงท่านพุทธทาสนั่งอยู่ที่หน้ากุฏิอยู่แล้ว    โดยท่านนั่งสัปหงก เราไปถึงสักครู่ท่านก็ลืมตาขึ้น    และ ศ. นพ. สวัสดิ์ ก็เริ่มต้นถามท่านทันที    สาระคำแนะนำของท่านก็คือ การศึกษาต้องมีส่วนของการลดละความเห็นแก่ตัว ไม่ใช่พอกพูนกิเลส    คือต้องเรียนรู้ด้านในหรือด้านจิตวิญญาณด้วย    อีกกว่า ๔๐ ปีให้หลัง มหาวิทยาลัยมหิดลจึงมีศูนย์จิตตปัญญาศึกษา

เราโดยสารรถไฟชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นห้องนอนแยกเป็นห้องๆ กลับกรุงเทพในคืนนั้น    โดยตอนเย็นได้ไปกินอาหารทะเลที่พุมเรียง   และ ศ. นพ. ณัฐ ภมรประวัติ ซื้อปูทะเลมาเข่งใหญ่เอากลับกรุงเทพ    ตกกลางคืนมีปูหลุดออกมาคลานในตู้รถไฟ    มีคนแซวว่าไปวัดแต่กลับทำบาปซื้อปูมากิน    เข้าใจว่าคนแซวคือ ศ. ดร. กำจร มนุญปิจุ

เกร็ดประวัติศาสตร์เหล่านี้หากไม่บันทึกไว้ ต่อไปจะสูญหายไป    จึงถือโอกาสนำมาเล่าไว้ในหนังสือเฉลิมฉลองครึ่งศตวรรษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

ในช่วงเวลา ๕๐ ปี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สร้างคุณูปการให้แก่วงวิชาการของประเทศไทยอย่างกว้างขวาง    ไม่ใช่แค่สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้น    โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ มีหลักสูตรปริญญาเอกรวมทั้งสิ้น ๖๘ หลักสูตร  เป็นหลักสูตรนานาชาติ ๕๖ หลักสูตร    มีหลักสูตรปริญญาโท ๑๕๕ หลักสูตร   เป็นหลักสูตรนานาชาติ ๗๑ หลักสูตร    นอกจากนั้นยังมีหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต ๕ หลักสูตร และ ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ๔ หลักสูตร (ข้อมูล สภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ ๔๗๘ เมื่อวันที่ ๒๐ พ.ย. ๒๕๕๖)   ที่สำคัญคือ เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพสูง    และสภามหาวิทยาลัยมหิดลได้กำหนดนโยบายด้านบัณฑิตศึกษาไว้อย่างชัดเจนว่า    ไม่มีนโยบายเปิดหลักสูตรเพื่อหารายได้เป็นเป้าหมายหลัก    จึงไม่สนับสนุนให้เปิดหลักสูตรพิเศษ ชนิดเรียนไม่เต็มเวลา    หากจะเปิดหลักสูตรชนิดเรียนไม่เต็มเวลา จะต้องมีเหตุผลพิเศษ ที่ไม่ใช่เพื่อการหารายได้

ที่ผ่านมาบัณฑิตวิทยาลัย ได้ทำหน้าที่บริหารจัดการเพื่อสร้างเสริมคุณภาพ ของบัณฑิตศึกษา ในมหาวิทยาลัยมหิดล ได้อย่างน่าชื่นชมยิ่ง

เนื่องในโอกาสฉลองครึ่งศตวรรษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล    ผมขอแสดงความยินดี  ความชื่นชม และเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่เกี่ยวข้อง ให้ใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ และความเอาใจใส่มานะพยายาม ยกระดับคุณภาพ ของผลงานด้านบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ สังคมไทย และต่อโลก ยิ่งๆ ขึ้นไป

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม 2014 เวลา 21:29 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๗๖. วพส. : บันทึกเพื่อการต่อยอด

พิมพ์ PDF

เผลอไปแว้บเดียว วพส. ดำเนินการมาแล้วถึง ๙ ปี   ได้ก่อคุณูปการแก่วงวิชาการในภาคใต้อย่างเหลือคณา   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผลงานทั้งหมดนั้น เกิดขึ้นจากภาวะผู้นำทางวิชาการ ของยอดนักวิชาการระดับนานาชาติ ที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์   มุ่งทำงานวิชาการเพื่อรับใช้มวลมหาประชาชน (เขียนระหว่างเทศกาลขับไล่รัฐบาลทักษิณที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิด ก็อย่างนี้แหละ ของขึ้นง่าย)   คือ ศนพวีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

ผมโชคดี ที่มีส่วนร่วมเป็นกรรมการชี้ทิศทางของโครงการนี้มาตลอด   ได้เห็นพัฒนาการดีวันดีคืน มั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้น   และได้รับการสนับสนุนจาก สสสไปแล้ว ๒ ช่วง (ช่วงละ ๓ ปีและเริ่มช่วงที่ ๓ (.๕๖ มิ.๕๙มาแล้วครึ่งปี

ข้อเรียนรู้ของผมต่อ วพสคือ เวลานี้ วพสเป็นสถาบัน (institution) ทางวิชาการ ที่เป็นนวัตกรรม   คือเป็นสถาบันที่ก่อตัวขึ้นบนฐานภาวะผู้นำทางวิชาการ ของ อหมอวีระศักดิ์ และได้ทำคุณประโยชน์และสร้างความเชื่อถือสูงมาก ทั้งภายในประเทศ  ในประเทศเพื่อนบ้าน  และในวงการวิชาการและวงการพัฒนานานาชาติ   เป็นสถาบันอีกรูปแบบหนึ่งที่แตกต่างจากสถาบันที่เป็นทางการ คือคณะวิชา ซึ่งตัวผู้นำ (คณบดีจะมีภาวะผู้นำแบบบริหาร ใช้ความสามารถด้านการบริหารงาน   หรือบางกรณีใช้ความสามารถด้านธุรการด้วยซ้ำ   ขอเรียกชื่อผู้นำแบบ อหมอวีระศักดิ์ ที่เป็นผู้อำนวยการ วพสว่า ผู้นำแบบ ข   ในขณะที่คณบดีโดยทั่วไป (อาจมียกเว้นบางคน)เป็นผู้นำแบบ ก   ผมมีความเห็น ๒ ประการที่เชื่อมโยงกัน ต่อสถาบันวิชาการที่เป็นนวัตกรรมแบบ วพสนี้ คือ

๑. ควรพิจารณาสนับสนุนให้เกิดสถาบันแบบ ข เพิ่มขึ้น บนฐานวิชาการด้านอื่น เช่นด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (วพสอยู่บนฐานวิชาการด้านสุขภาพ)   แต่ต้องให้มีผู้นำทางธรรมชาติ ที่มีความสามารถทางวิชาการสูง จึงจะสนับสนุนให้เกิดสถาบันแบบนี้ได้

๒. ต่อไปในอนาคตระยะยาวของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่จะต้องทำหน้าที่เป็น world-class research university ให้แก่ประเทศ  ผู้นำแบบ ก และ ข จะโน้มเข้าหากัน จนในที่สุดเป็นคนๆ เดียวกัน    กล่าวใหม่คือ อธิการบดี คณบดี จะต้องมีความสามารถทั้งแบบ ก และ ข อยู่ในคนๆ เดียวกัน

 

ทำให้ผมหวนนึกถึงเมื่อปีที่แล้ว อหมอวีระศักดิ์ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาคม มอสูงมาก ให้เป็นอธิการบดี   อหมอวีระศักดิ์ปรึกษาผม ว่าเอาอย่างไรดี   ผมให้ความเห็นว่า หากเป็นอธิการบดี ท่านจะต้องสนองความต้องการของฝ่ายต่างๆ จนเป็นตัวของตัวเองยาก   และที่คิดว่าจะเป็นผู้นำเปลี่ยนแปลงทางวิชาการนั้น ส่วนใหญ่จะทำไม่ได้    เพราะไปขัดกับความต้องการของคนส่วนใหญ่ใน มอ.

แต่ ท่านตัดสินใจง่ายขึ้นไปอีกเมื่อปรึกษา อหมอประเวศ   ได้รับคำแนะนำอย่างตรงไปตรงมาที่สุดว่า อย่ารับ   งาน วพสที่ทำอยู่ดีแล้ว จะทำประโยชน์แก่บ้านเมืองได้มากกว่าเป็นอธิการบดีมากมายนัก

กรรมการที่มาจากพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ พูดตรงกันว่าปัญหาสำคัญที่สุดในขณะนี้คือเยาวชนร้อยละ ๗๐ ติดยาเสพติด   สิ่งที่พ่อแม่วิตกกังวลที่สุดคือ กลัวว่าลูกที่เป็นวัยรุ่นจะติดยาเสพติด   ประเด็นยาเสพติดจึงเป็นประเด็นทางสังคมที่หากดำเนินการวิจัยแก้ไข จะได้ใจพ่อแม่ใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้

ผมจึงเสนอให้ วพสหาทางสนับสนุนให้ทำวิจัยป้องกันการติดยาเสพติด เชื่อมโยงกับการพัฒนาจิตอาสา ให้เยาวชนได้เป็นsomebody ที่มีประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อสังคม และได้เรียนรู้เปล่งความสามารถภายในตน (ศักยภาพออกมาทำประโยชน์แก่ผู้อื่น และแก่ส่วนรวม    โดยการดำเนินการนี้น่าจะเป็นความร่วมมือ ๓ ฝ่าย คือ โรงเรียน  โรงพยาบาล  และ อปท.   กิจกรรมที่ทำควรมีหลากหลาย ให้ตรงจริต หรือความถนัด ของเยาวชนแต่ละคน ควรเป็นกิจกรรมที่ทำเป็นกลุ่ม ต่อเนื่อง มีกระบวนการ reflection (AAR) เพื่อการเรียนรู้หลากหลายด้าน รวมทั้งด้านจิตวิญญาณ และควรผนวกกิจกรรม เด็กดีมีที่เรียน” เข้าไปด้วย    โดยบางคนอาจได้รับทุนสนับสนุนด้วย

คณะกรรมการคุยกันว่า วพส. มีผลงานมากมาย    ในช่วงต่อไปน่าจะกำหนดประเด็นดำเนินการ ให้เน้นเรื่องที่มีความสำคัญ มีน้ำหนักต่อการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้อย่างจริงจัง    แล้วจัดกระบวนการตั้งโจทย์ ร่วมกับทีมงานในพื้นที่    โดยอาจหาทีมงาน ที่เหมาะสมเพิ่ม    แล้ว อ. หมอวีระศักดิ์ และทีมงานช่วย โค้ช   หรือจัดกระบวนการโค้ช ให้ได้ผลงานวิจัยและพัฒนาที่มีคุณภาพ

ผมเคยเขียนเรื่อง วพส. ไว้ ที่นี่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๑ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม 2014 เวลา 21:26 น.
 

เราจะทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำโลก ด้านจิตวิญญาณได้อย่างไร เสวนาสด รายการเปลี่ยนเป็นเปลี่ยน พุธที่ 11 กันยายน 2562 เวลา 19.00-20.00 น

พิมพ์ PDF

“เราจะทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำโลก ด้านจิตวิญญาณ

ภายในปี พ.ศ.2573 (ค.ศ.2030) ได้อย่างไร”  

เสวนาสด รายการ เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน  

พุธที่ 11 กันยายน 2562 เวลา 19.00-20.00

(ออกอากาศซ้ำวันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2562 เวลา 9.30-10.30 น)

แขกรับเชิญ พ.อ.นพ. พงศ์ศักดิ์ ตั้งคณา

นักพูด นักทอล์คโชว์ ชั้นแนวหน้าของประเทศไทย

 ดำเนินรายการโดย หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุท  

ทางสถานีโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ  (WBTV) วัดยานนาวา        สามารถรับชมทาง ทีวี ผ่านจานดาวเทียม ตามช่องต่างๆดังนี้

·      ทางกล่องดาวเทียมค่าย GMM ช่อง 175

·      ทางกล่องดาวเทียมค่าย PSI ช่อง 239

·      ทางกล่องดาวเทียมค่าย CTH  ช่อง 870

·      ทางกล่องดาวเทียมค่าย  Infosat ;Thaisat; Indeasat ; Leotech ช่อง 189

หลังจากออกอากาศทาง ทีวี ผ่านดาวเทียมแล้ว ท่านสามารถติดตามชมเทปบันทึก รายการได้ทาง YOUTUBE ค้นหา “ เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน ตามด้วยวันทีเดือนพ.ศ”. เช่น วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ.2562  (ค้นหา “ เปลี่ยนเป็นเปลี่ยน 04092562)


   


หน้า 399 จาก 558
Home

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5611
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8634538

facebook

Twitter


บทความเก่า