Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ห้องเรียนกลับทางที่โรงเรียนรุ่งอรุณ

พิมพ์ PDF

วันที่ ๔ ธ.ค. ๕๖ มีการประชุมวิสามัญมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนรุ่งอรุณ   เมื่อถึงวาระที่ ๓.๒.๔ ผมก็ตาลุก

วาระนี้ เรื่อง โครงการพัฒนาการเรียนการสอน โรงเรียนมัธยม วิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ ด้วย online program   ร่วมกับการจัดห้องเรียน แบบห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom)

ใช้ online program ของ MCO E-Learning (Marshall Cavendish Online E-Learning Portal)   จากประเทศสิงคโปร์ มาใช้ในวิชาคณิตศาสตร์   และโปรแกรมของ Cambridge “English in Mind”   ภายใต้กรอบหลักสูตรของ Common European Framework of Reference (CEFR) มาใช้ในวิชาภาษาอังกฤษ    ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทาง

ดำเนินมาตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ ๒/๒๕๕๖   โดยมีการวิจัยควบไปด้วย

ดำเนินมาไม่นาน พบว่าครูบางคนเปลี่ยนไป    เปลี่ยนจากครูสอน เป็นครูฟังและสังเกต    และบรรยากาศ ในห้องเรียนก็ยิ่งเปลี่ยนไป    เห็น active learning ชัดเจน    ทางโรงเรียนถ่ายวีดิทัศน์บรรยากาศในห้องเรียน มาให้คณะกรรมการดู    ทำให้ผมตาลุก ดังกล่าวแล้ว

และแนะนำให้ เอาวีดิทัศน์ นั้นขึ้น เว็บ หรือ YouTube เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ กลับทางห้องเรียน ในสังคมไทย    ซึ่งจะเป็นเรื่องใหญ่มาก

อ่านหนังสือ ครูเพื่อศิษย์ สร้างห้องเรียนกลับทาง ได้ ที่นี่

ข้อค้นพบที่น่าสนใจมาก คือครูรู้จักศิษย์แต่ละคนมากขึ้น    พบว่านักเรียนในชั้นมีสมรรถนะในการเรียน แตกต่างกันมาก อย่างไม่คิดมาก่อน    ได้ฟังข้อค้นพบนี้ ผมก็ยิ่งตาลุกซีครับ    เพราะผมอ่านจากหนังสือฝรั่ง มานานแล้ว ว่านักเรียนในยุคศตวรรษที่ ๒๑  มีลักษณะต่างจากนักเรียนสมัยก่อน    ตรงที่นักเรียนในชั้น มีพื้นความรู้เดิมแตกต่างกันมาก    ผมเอาข้อความนี้ไปบอกครูในที่ต่างๆ และถามว่าจริงไหม    มีแต่คนบอกว่าจริง    ไม่มีคนคัดค้านเลย   แต่ผมก็ไม่เคยได้รับคำบอกเล่าหลักฐานข้อมูลยืนยัน   มาได้รับในวันนี้

ที่ตื่นตาตื่นใจก็คือ ความแตกต่างนั้น อยู่ที่ทักษะในการเรียนรู้ และทักษะในการกำกับการเรียนรู้ ของตนเอง ซึ่งเป็นหัวใจของการเรียนรู้ตลอดชีวิต    นักเรียนจำนวนหนึ่งไม่มีความรับผิดขอบเรียนความรู้ เชิงทฤษฎีที่บ้าน    ในขณะที่นักเรียนอีกจำนวนหนึ่งต้นคว้าและเรียนล่วงหน้าไปไกล

ทำให้ผมระลึกชาติ กลับไปที่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ที่เด็กชายวิจารณ์ พานิช เรียนชั้น ม. ๖ (เทียบเท่า ม. ๔ สมัยนี้)    แอบเรียนรู้วิธีเรียนของอา และพี่ รวมสามคน ที่เรียนแพทย์ เรียนวิศวะ และเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เพื่อนำมาปรับปรุงวิธีเรียนของตนเอง    บัดนี้นายวิจารณ์ พานิช อายุกว่า ๗๑ ปี ยังคงเรียนรู้ meta-cognition skills อย่างต่อเนื่อง    ผมโชคดี ที่สนใจเรื่องวิธีการเรียนรู้    และปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ของตนเอง ไปเรื่อยๆ ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

กลับมาที่ห้องประชุม วิสามัญมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนรุ่งอรุณ คณะกรรมการแสดงความชื่นชม ในการริเริ่มสรางสรรค์ รูปแบบการเรียนรู้นี้    และผมแนะนำว่า เป้าหมายของห้องเรียนกลับทางคือ ยกระดับคุณค่าของครู    และยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียน    จากการเรียนเนื้อหาวิชาโดยครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้    ไปสู่การเรียนรู้แบบนักเรียนสร้างความรู้ของตนเอง จากการลงมือปฏิบัติ และไตร่ตรองผลของการปฏิบัตินั้น    โดยครูทำหน้าที่เอื้ออำนวยกระบวนการการเรียนรู้นั้น

ในการเรียนรู้สมัยใหม่ นักเรียนต้องไม่ใช่แค่มีความรู้ ท่องจำ และนำมาบอกได้    แต่จะต้องได้ฝึก ประยุกต์ใช้ความรู้นั้น ในสถานการณ์จริง หรือใกล้เคียงสถานการณ์จริง    เกิดทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้

ห้องเรียนกลับทาง จะเอื้อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะนี้

ความท้าทายต่อไปคือ ครูจะช่วยเหลือศิษย์ที่ขาดวินัยในตนเอง ในการที่จะเรียนทฤษฎีล่วงหน้าที่บ้าน    ผมจึงแนะนำหนังสือ ครูเพื่อศิษย์ สนุกกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่แนะนำวิธีแก้ปัญหาศิษย์ไม่มีทักษะ ในการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๕ ธ.ค. ๕๖

วันพ่อ  วันมหามงคล

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม 2014 เวลา 20:42 น.
 

บ้านโรงเรียน การศึกษาโดยครอบครัว

พิมพ์ PDF

  “บ้านโรงเรียน”(การศึกษาในครอบครัว)

เสวนาสด รายการ เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน  พุธที่ 31 กรกฎาคม 2562 (วันพระ)

เวลา 21.00-22.00 (ออกอากาศซ้ำวันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม 2562 เวลา 9.30-10.30 น)

ดำเนินรายการโดย หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุท และ ดร.รวิช ตาแก้ว

แขกรับเชิญ “ พ่อบิก”

ทางสถานีโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ  (WBTV) วัดยานนาวา       

 สามารถรับชมได้ทางทีวีผ่านจานดาวเทียม ตามช่องต่างๆดังนี้

 

·      ทางกล่องดาวเทียมค่าย GMM ช่อง 175

·      ทางกล่องดาวเทียมค่าย PSI ช่อง 239

·      ทางกล่องดาวเทียมค่าย CTH  ช่อง 870

·      ทางกล่องดาวเทียมค่าย  Infosat ;Thaisat; Indeasat ; Leotech ช่อง 189


   

คำนิยม หนังสือ การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ : 7 หลักการสร้างนักเรียนรู้แห่งอนาคตใหม่

พิมพ์ PDF

คำนิยม

หนังสือ การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ : หลักการสร้างนักเรียนรู้แห่งอนาคตใหม่

 

วิจารณ์ พานิช

................

 

 

การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ : 7 หลักการสร้างนักเรียนรู้แห่งอนาคตใหม่เป็นหนังสือที่ “ครูเพื่อศิษย์” ทุกคนต้องอ่าน   เพราะท่านจะได้ความรู้และเทคนิคช่วยเหลือศิษย์ ให้เรียนง่ายและสนุกขึ้น    และที่สำคัญยิ่งคือ เรียนแล้วรู้จริง (เกิดความสันทัด - mastery)    และพัฒนาเป็นคนที่กำกับการเรียนรู้ของตนเองได้    ซึ่งจะมีส่วนสร้างอนาคตให้แก่ศิษย์อย่างประมาณค่ามิได้

เมื่อท่านอ่านหนังสือ การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ : 7 หลักการสร้างนักเรียนรู้แห่งอนาคตใหม่ เล่มนี้   ท่านจะเข้าใจปัญหาในการเรียนหลายอย่างของศิษย์ ที่ท่านกำลังเผชิญอยู่    และเข้าใจที่มาที่ไปของมัน    ปัญหาจะกลายเป็นความท้าทาย ความสนุกสนานในการประยุกต์ใช้ความรู้และเทคนิคใหม่ ที่เรียนรู้จากหนังสือ    แล้วท่านจะพบว่า ท่านสามารถช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนอ่อน ให้กลายเป็นนักเรียนที่เรียนอย่างมีชีวิตชีวา    และในที่สุดประสบความสำเร็จในการเรียน

ผมอ่านหนังสือเล่มนี้ในภาคภาษาอังกฤษในลักษณะที่อ่านแล้ววางไม่ลง    และคิดว่าครู-อาจารย์ไทยควรรู้เรื่องราวเกี่ยวกับกลไกการเรียนรู้ ที่สังเคราะห์มาจากผลการวิจัยด้านจิตวิทยาการเรียนรู้สมัยใหม่    ตามที่นำเสนอในหนังสือ    จึงได้ตีความออกเผยแพร่ใน บล็อก Gotoknow    เป็นบันทึกรวม ๑๖ ตอน ซึ่งสามารถอ่านได้ที่ http://www.gotoknow.org/posts?tag=ambrose และต่อมา มูลนิธิสยามกัมมาจล ได้รวบรวมพิมพ์เป็นหนังสือ ชื่อ การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร ออกเผยแพร่   โดยที่สามารถ ดาวน์โหลด หนังสือเล่มนี้ได้ฟรีที่  http://www.scbfoundation.com/news_publish_detail.php?cat_id=6&nid=880

ในช่วงเวลาประมาณ ๑ ปี ที่ผมรู้จักหนังสือเล่มนี้ ผมได้นำสาระจากหนังสือไปพูดในที่ต่างๆ มากมาย    รวมทั้งได้ปรารภกับหลายท่านว่า อยากให้มีการแปลออกเผยแพร่ต่อสังคมไทย    ผมจึงยินดียิ่ง เมื่อทราบว่าสำนักพิมพ์ openworlds กำลังดำเนินการแปลหนังสือเล่มนี้    และได้ปวารณาตัวไว้ว่า ยินดีเขียนคำนิยมให้ หากต้องการ

หนังสือ การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ : 7 หลักการสร้างนักเรียนรู้แห่งอนาคตใหม่ แปลจากต้นฉบับชื่อ How Learning Works : 7 Research-Based Principles for Smart Teaching    ที่ผู้เขียนสังเคราะห์มาจากผลงานวิจัยจำนวนนับพันชิ้น    สรุปเป็นหลักการ ๗ ข้อ สำหรับครู-อาจารย์ ใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนรู้ ให้ศิษย์เรียนได้ผลดี    ทำให้ครูจัดการเรียนรู้อย่างมีหลักการ   ช่วยให้ศิษย์เรียนรู้ได้อย่างมีขั้นตอน   เรียนแล้วรู้จริง (Mastery Learning)   และสามารถกำกับการเรียนรู้ ของตนเองได้ (Self-Directed Learner)    ซึ่งจะมีคุณูปการต่อการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learner)

แต่ละบทของหนังสือ เริ่มด้วยฉากสถานการณ์ ๒ สถานการณ์    ที่สะท้อนปัญหาในการเรียนการสอน    ตามมาด้วยคำอธิบาย ที่อ้างอิงผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก    เพื่อบอกวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูอาจารย์    ที่จะช่วยให้ศิษย์ไม่เกิดปัญหาอย่างในฉากสถานการณ์    และในตอนท้ายของแต่ละบท มีสรุปใจความสำคัญของบทนั้น    ช่วยให้ผู้อ่านติดตามสาระสำคัญได้ง่ายขึ้น    ถือได้ว่า เป็นวิธีเขียนหนังสือที่ทำเรื่องยาก ให้เข้าใจง่าย ได้เป็นอย่างดี

หลักการ ๗ ข้อ เพื่อการจัดการเรียนรู้อย่างชาญฉลาด ได้แก่

๑ พึงเอาใจใส่ความรู้เดิม หรือพื้นความรู้ ของนักเรียน/นักศึกษา

๒. การจัดระเบียบความรู้ มีผลต่อการเรียนรู้

๓. พึงเอาใจใส่แรงจูงใจต่อการเรียน   และรู้จักสร้างแรงจูงใจแฝงหรือแทรกอยู่ในกระบวนการสอน (แบบไม่สอน)

๔. การจัดการเรียนรู้ ให้นักเรียน/นักศึกษา เรียนแบบรู้จริง (Mastery)   ซึ่งในหนังสือเล่มนี้เรียกว่า การพัฒนาความสันทัด

๕. พึงเอาใจใส่การฝึกฝน (Practice) และการป้อนกลับ (Feedback)

๖. พึงเอาใจใส่พัฒนาการของนักศึกษา และบรรยากาศของการเรียนรู้

๗. การพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้เรียนที่กำกับการเรียนรู้ของตนเองได้

 

จากการนำเรื่องราวในหนังสือนี้ไปบรรยายให้ครู-อาจารย์ฟัง    ผมพบว่าเรื่องราวความรู้และวิธีการ ในหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องใหม่ สำหรับครู-อาจารย์ไทย    การตีพิมพ์เผยแพร่หนังสือ การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ : 7 หลักการสร้างนักเรียนรู้แห่งอนาคตใหม่ เล่มนี้จึงมีประโยชน์ต่อวงการศึกษาไทยเป็นอย่างยิ่ง

ข้อความในหนังสือ การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ : 7 หลักการสร้างนักเรียนรู้แห่งอนาคตใหม่ มาจากการแปลจากภาคภาษาอังกฤษ    แตกต่างจากข้อความในหนังสือ การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร ซึ่งผมตีความและเขียนขึ้นแบบสะท้อนความคิด (Reflection) จากการอ่านหนังสือ How Learning Works    ดังนั้นการอ่านหนังสือสองเล่มนี้จึงให้คุณค่าและสาระแตกต่างกัน   และไม่ทดแทนกัน

ผมขอขอบคุณคุณ วันวิสาข์ เคน ที่ได้ทุ่มเทอุตสาหะแปลหนังสือที่มีค่ายิ่งเล่มนี้    และขอบคุณ สำนักพิมพ์ openworlds และทุกฝ่ายที่ร่วมกันสนับสนุนการจัดพิมพ์ออกเผยแพร่แก่สังคมไทย     รวมทั้งขอขอบคุณที่ให้เกียรติผมเขียนคำนิยม    ผมเชื่อว่าหนังสือเล่มนี้จะมีคุณค่าต่อสังคมไทยและขายดี เท่าเทียมกับหนังสือ ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ ๒๑ ที่เป็นหนังสือขายดีของสำนักพิมพ์นี้

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓ ธันวาคม ๒๕๕๖

........................

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 08 มกราคม 2014 เวลา 07:51 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๗๐. เรียนรู้เรื่องจิตไร้สำนึก

พิมพ์ PDF

บทความเรื่อง Our Unconscious Mind ลงพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American ฉบับเดือนมกราคม 2014    เขียนโดยศาสตราจารย์ John A. Bargh หัวหน้าห้องปฏิบัติการ Automacity in Cognition, Motivation and Evaluation แห่งมหาวิทยาลัย เยล น่าสนใจมาก

อ่านแล้วผมสรุปว่า ชีวิตของคนเราควบคุมโดยจิตไร้สำนึก มากกว่าส่วนที่ควบคุมโดยจิตสำนึกหลายเท่า    เพราะจิตไร้สำนึกเป็นส่วนของชีวิตอัตโนมัติ ตัดสินใจเร็ว    หรือทำโดยไม่ต้องคิด   ซึ่งจำเป็นสำหรับความอยู่รอด สมัยมนุษย์อยู่ในป่าร่วมกับสิงสาราสัตว์และภยันตรายรอบด้าน

ส่วนจิตสำนึก ที่มากับความรอบคอบ คิดไตร่ตรอง คิดสร้างสรรค์ มาทีหลัง    แม้สมองส่วนนี้แหละที่ทำให้มนุษย์ กลายเป็นสัตว์ที่ครองโลก    แต่เราก็ใช้สมองส่วนนี้น้อยกว่าส่วนจิตไร้สำนึกอย่างมากมาย ในชีวิตประจำวัน

ฟรอยด์ บอกว่า จิตไร้สำนึกเป็นตัว id ความเห็นแก่ตัว หรือจิตฝ่ายต่ำ    ส่วนจิตสำนึกเป็น ego ต้องการสร้าง ความยอมรับจากผู้อื่น    เป็นจิตฝ่ายสูง    แต่ผลการวิจัยด้านจิตวิทยาสมัยใหม่บอกว่า จิตไร้สำนึกหรือพฤติกรรมอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องเป็นจิตฝ่ายต่ำเสมอไป    คนเราสามารถฝึกฝนจิตใจตนเอง ของลูก ของคนใกล้ชิด หรือของศิษย์ ให้จิตไร้สำนึกเป็นจิตฝ่ายสูง ที่เห็นแก่ผู้อื่น    เป็นจิตที่เสียสละ ได้ กล่าวใหม่ด้วยคำไทยไม่สุภาพว่า ฝึกสันดานได้

แต่จะฝึกสันดานหรือจิตไร้สำนึก ต้องเข้าใจความลี้ลับ หรือพลังของจิตไร้สำนึก ที่เราไม่รู้สึกหรือไม่ตระหนัก    ว่ามันครอบงำความประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน โดยเราไม่รู้ตัว และคาดไม่ถึงว่าเราโดนสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมหลอกโดยเราไม่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา เรื่องราวที่เล่าในบทความนี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มนุษย์โดนจิตไร้สำนึกหลอกในชีวิตประจำวัน

เช่น เรื่อง พฤติรรมเลียนแบบ (chameleon effect),   เรื่องstereotype threat ที่คนเราตกอยู่ใต้ความครอบงำ ของความเชื่องมงาย เช่นเชื่อว่าผู้หญิงด้อยกว่าผู้ชาย คนดำด้อยกว่าคนขาว    เขาเล่าการทดลองทางจิตวิทยา ว่าเพียงแค่เตือนสตินักเรียนก่อนให้ทำข้อสอบ ว่านักเรียนเป็นคนดำนะ หรือเป็นผู้หญิงนะ    นักเรียนจะทำข้อสอบได้ด้อยลง กว่าไม่บอกอะไรเลย เป็นต้น

ผม AAR การอ่านบทความนี้ ลากเข้าสู่เรื่องการเรียนรู้ หรือการศึกษา    และมองว่า สุดยอดของการศึกษา คือการฝึกจิตไร้สำนึก หรือจิตอัตโนมัติ    ให้เป็นจิตใหญ่ จิตของโพธิสัตว์ หรือของพรหม    ไม่ใช่จิตที่แคบ หรือจิตเล็ก เอาแต่ผลประโยชน์ของตนเอง    ผมมีความเชื่อว่า นั่นคือส่วนสำคัญที่สุดของการศึกษาเพื่อชีวิตที่ดี

มนุษย์ทุกคนสามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้หากได้รับการฝึกฝนอย่างถูกต้อง    และหมั่นฝึกฝนเพียงพอ    นี่คือ จิตตปัญญาศึกษา    และคนที่กิเลสหนาอย่างผม ต้องหมั่นฝึกฝนเรื่อยไปไม่ย่อท้อ   แม้จะอายุมาก ก็ยังฝึกได้

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ธ.๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 08 มกราคม 2014 เวลา 07:49 น.
 


หน้า 406 จาก 559
Home

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3057
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8655281

facebook

Twitter


บทความเก่า