Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

An Everlasting Light -International artists

พิมพ์ PDF

 
 

เรียนรู้ตลอดชีวิต บทความของคุณวัฒนา คุณประดิษฐ์

พิมพ์ PDF

Constructivism  กับ  การศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาตลอดชีวิต

Constructivism  คือ ลัทธิการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับสร้างองค์ความรู้ 
การศึกษาตามอัธยาศัยมีแนวโน้มในการเป็นลัทธิการศึกษาแนวสร้างองค์ความรู้.
ซึ่งก็แตกต่างอย่างสุดขั้วจากลัทธิการศึกษาอีกประเภทหนึ่ง  คือ ลัทธิท่องจำคำตอบ
แล้วเอาไปสอบอย่างสิ้นเชิง

สมมุติฐานของความรู้และองค์ความรู้  มาจากความรู้  ตัวความรู้ ข้อเท็จจริง
ก็มาจากประสาทสัมผัสทั้งห้า  ทั้งรูป แสง สี  รส กลิ่น สัมผัส  นำเอามาปรุงแต่ง
เป็นการจัดประเภท สร้างเรื่องราว  สร้าง หลักการ กฎ  และการอธิบาย 
การกระทำต่อความรู้เช่นจัดประเภท สร้างเรื่องราว หลักการ กฎ และคำอธิบาย
นั่นแหละคือการสร้างองค์ความรู้

การสร้างองค์ความรู้ มีสิ่งสำคัญในการสร้างอย่างหนึ่งก็คือ ตรรกะและระบบความคิด
ตรรกะและระบบความคิด มีอยู่สองอย่าง คือ นิรนัย และ อุปนัย 
นิรนัย (Deductive) ก็คือตรรกะการให้เหตุผล ที่ร้อยเรียงความรู้มาจาก กฎ หลักการ  ที่รับรู้มาก่อนแล้ว
เพียงแต่เรียบเรียงให้สอดคล้องกับ กฎ ความรู้ หลักการ เหล่านั้น
อุปนัย (Inductive)  ก็คือตรรกะ การให้เหตุผล ที่เกิดจากการสร้าง กฎ หลักการ จากข้อเท็จจริง
โดยเรียบเรียงจากข้อเท็จจริง

ตรรกะแบบนิรนัย ส่วนใหญ่  เป็นความรู้สำเร็จรูปที่กำหนดเป็นความจริงขึ้นมา  การท่องจำกฎ
หลักการ ที่เชื่อว่าเป็นจริง  ถือว่าปลอดภัยเพราะหลักการเหล่านี้ได้ถูกกลั่นกรองโดยนักวิชาการ
แต่ไม่มีองค์ความรู้ใหม่   ในแต่ละบริบท  ตรรกะชุดนี้ยึดความจริงสูงสุดของอำนาจที่กำหนด
จากหลักสูตร  ไม่ให้ความสำคัญของคนหรือผู้เรียนรู้  ผู้เรียนรู้อยู่ในฐานะของ Object

ตรรกะแบบอุปนัย  ใช้วิธีการเรียบเรียงข้อเท็จจริง  เข้าไปสู่ หลักการ กฎ  วิธีการเหล่านี้จะพบว่า
มีหลักการ กฎที่หลากหลาย  เนื่องจากมีองค์ความรู้และวิธีการที่แตกต่างตรงบริบท และเน้นความสำคัญ
และให้ความสำคัญของมนุษย์  และสถาปนามนุษย์ให้อยู่ในฐานของ Subject

ยกตัวอย่างองค์ความรู้ทางการเกษตรแผนใหม่ผ่านระบบการศึกษา  เน้นการจัดการเกษตรเชิงเดี่ยวแบบ
พึ่งพา  ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และเทคโนโลยที่จะซื้อ  ไปสู่ระบบการจัดการฟาร์ม  ด้วยหลักวิทยาศาสตร์
จัดการทำต้นทุน กำไร ขาดทุน แบบการบริหารธุรกิจ  ความเป็นจริงแบบนี้ได้ถูกสร้างโดยนักวิชาการ
ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ  ที่ได้เรียนรู้ระบบเกษตรแบบปฏิวัติเขียว เขาจึงนำมาเขียนหลักสูตร

ส่วนอีกองค์ความรู้หนึ่ง  มาจากเกษตรกรที่สังเกตวิถีชีวิตของตนเอง  ว่าทำอะไรก็เป็นหนี้สินเพราะอะไร
เกิดการคิดวิเคราะห์ออกมา และทดลองการผลิตแบบใหม่ที่ไม่พึ่งพาตลาด  พึ่งพาตนเอง  ผลของการค้นคิด
ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตของการพึ่งพาตนเอง  อันเกิดจากการคิดจากขอ้เท็จจริงที่มีอยู่  และสรุปลงเป็น
ทฤษฎีว่า  ถ้าใช้การผลิตแบบเดิมพึ่งพาตลาด จะต้องชอกช้ำใจ  และเป็นหนี้ตลอดกาล  หากผลิตการเกษตร
แบบพึ่งพาตนเอง ก็จะมีซุปเปอร์มาเก็ตอยู่ในสวนของตนเอง 

ความล่มจมของเกษตรกรไทย มาจากวิธีแบบไหน คงจะสรุปเป็น กฎและทฤษฎีได้
แต่เนื่องจากความพยายามของนายทุนบรรษัทข้ามชาติ ทำให้ระบบเกษตรแบบพึ่งพา
ได้สนับสนุนและถูกชื้อตัวจากการหลอกไปแลกแจกกระดาษ  ตลอดจนการทำให้เกิดหลักสูตร
ที่พึ่งพาการใข้ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง  ผ่านการส่งเสริมของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
กับการเกษตร  เพื่อให้เกษตรกรของเราเป็นผู้บริโภคปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และปัจจัยการผลิต
ราคาแพง  ด้วยการจูงใจด้วยกำไรที่เป็นตัวเงิน ซึ่งก็ถูกกำหนดโดยกลไกของการตลาด
ที่มีพ่อค้าคนกลางได้รับผลประโยชน์สูงสุด

การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของขบวนการปราชญ์ชาวบ้านอีสาน
เป็นไปในรูปแบบของการสร้างองค์ความรู้ จากปรากฎการณ์  ที่เป็นอยู่  ทำให้หลุดพ้น
จากการเป็นหนี้ และมีคุณภาพชีวิตที่มีอยู่  และปรากฎการณ์สำคัญอีกปรากฎการณ์หนึ่ง
คือปรากฏการณ์หมอเขียว  หมอเขียวทำงานสาธารณสุข ได้สังเกตว่า วิธีวิทยาทางการแพทย์
ส่วนใหญ่เฉพาะโรคเรื้อรัง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของคนป่วยไข้ได้  หมอเขียวจึงได้พยายาม
หาวิธีการรักษาแบบพึ่งพาตนเอง ไม่พึ่งพาหมอ  ด้วยการทดลองทุกอย่างด้วยตนเอง และ
รักษาคนรอบข้าง  จนเกิดทฤษฎีแบบหมอเขียว ทฤษฎีสมดุลร้อนเย็น สมัยใหม่  การสร้าง
องค์ความรู้แบบนี้ทำให้คนหันมาพึ่งพาตนเอง  เป็น Super Constructivism  ที่มีปรากฎการณ์
ที่เห็นได้ สัมผัสได้  ได้ผลจริง

สรุปแล้วว่า Constructivism อยู่คู่ กับ การเรียนรู้ตลอดชีวิต  การศึกษาตามอัธยาศัย
ชนิดแยกออกจากกันไม่ออก  เพียงแต่ถูกกีดกัน  ลดบทบาท  ไม่ให้คนได้พึ่งพาตนเองได้
ก็เท่านั้นเอง

 

คำสำคัญ (keywords): เรียนรู้ตลอดชีวิต
· เลขที่บันทึก: 506163
· สร้าง: 19 ตุลาคม 2555 09:51 · แก้ไข: 19 ตุลาคม 2555 09:51
· ผู้อ่าน: 11 · ดอกไม้: 1 · ความเห็น: 1 · สร้าง: ประมาณ 1 ชั่วโมง ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
 

การดำเนินธุรกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนิธิฟู้ดส์

พิมพ์ PDF

การดำเนินธุรกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนิธิฟู้ดส์

 

ความพอประมาณ

  • เน้นใช้เงินทุนภายใน
  • ขยายกิจการ ตามกำลังทุน และความสามาระ
  • กระบวนการผลิต มีประสิทธิภาพ
  • พนักงานทุกแผนก สลับงานกันได้
  • ยอดการขายเพิ่มขึ้น ในอัตราที่เหมาะสม และต่อเนื่อง

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2011 เวลา 23:49 น.
 

เทคนิคการปรับพฤติกรรมลูกน้อง

พิมพ์ PDF

เทคนิคการปรับพฤติกรรมลูกน้อง

 

 

ในบางครั้งหัวหน้างานหลายต่อหลายคนอาจจะประสบปัญหา เหนื่อยใจ กับลูกน้องที่ตนต้องดูแลรับผิดชอบ เหตุเพราะหัวหน้างานจะต้องเผชิญกับลูกน้องที่แสดงออกด้วยพฤติกรรมในแบบฉบับที่แตกต่างกันไป บางคนก้าวร้าวไม่ยอมทำตาม ชอบท้าทายและพิสูจน์ กึ๊น ของหัวหน้างาน ลูกน้องบางคนเอาแต่เล่น MSN หรือ Chat ทั้งวัน ไม่ใส่ใจในงานที่รับผิดชอบ หรือบางคนชอบพูดจาซุบซิบนินทาหัวหน้างาน ชอบให้ร้ายหรือว่าร้ายหัวหน้างานกับคนอื่น

               อลิสว่าหัวหน้างานต้องเจอะเจอกับลูกน้องจำพวกนี้ไม่มากก็น้อย เพื่อนอลิสบางคนเจอลูกน้องที่ชอบลองภูมิหัวหน้างาน ดูว่าหัวหน้าจะเก่งแค่ไหน ไม่ยอมให้ข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่ถูกบ้างผิดบ้าง คุณรู้ไหมค่ะว่า เกิดอะไรขึ้นกับเพื่อนของอลิสคนนี้ ในที่สุดเขาลาออกจากงานไป เพราะทนปกครองลูกน้องจำพวกนี้ไม่ได้

               อลิสคิดว่าการลาออกไม่ใช่หนทางในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด ทางเลือกมีอยู่มากมายค่ะ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เองถือได้ว่าเป็นสิ่งเร้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดหัวหน้างานมีพฤติกรรมการตอบสนองหรือตอบรับที่แตกต่างกันออกไป การตอบสนองที่ดีมิใช่การหลีกหนี หลีกเลี่ยง กลัว ไม่กล้าที่จะเผชิญกับสิ่งเร้าที่เกิดขึ้น ความรู้สึกเหนื่อยใจจนถอนตัวออกจากองค์การนั้น ๆ ไป ถือว่าคุณกำลังจะเป็น ผู้แพ้ที่ยังไม่ลองสู้ (กันสักตั้ง) เอาแบบสุด ๆ ไปเลย เมื่อคุณเจอกับพฤติกรรมของลูกน้องที่ไม่ได้ดังใจหรือไม่เป็นไปตามที่ใจปรารถนา อลิสขอให้คุณอดทนและพยายามหาเทคนิควิธีการบริหารจัดการกับพฤติกรรมของลูกน้องที่ทำให้หัวหน้างานต้องเหนื่อยใจให้ได้ อลิสมีเทคนิคง่าย ๆ ลองไปใช้ปฏิบัติกัน ดังต่อไปนี้ค่ะ

รู้จักลูกน้องให้ดีพอ คุณต้องถามตนเองก่อนว่าได้รู้จักลูกน้องคนนั้นพอหรือไม่ เคยเข้าไปสอบถามความต้องการหรือสิ่งที่ลูกน้องคาดหวังบ้างหรือไม่ คุณรู้หรือไม่ว่าลักษณะนิสัยของลูกน้องแต่ละคนเป็นอย่างไร การที่หัวหน้างานมี ego สูงที่คิดว่าตนเองเป็นหัวหน้างานแล้ว ลูกน้องต้องเคารพและต้องเข้าหาตนเองก่อน คิดผิดถนัดค่ะ การเริ่มต้นเข้าไปพูดคุยกับพวกเขา ถามไถ่ทุกข์สุข และการพยายามศึกษานิสัยที่แท้จริงของลูกน้อง รวมถึงสาเหตุหรือที่มาของนิสัยและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นของลูกน้องแต่ละคน เป็นสิ่งที่หัวหน้างานควรกระทำเป็นอย่างยิ่งค่ะ

แสดงผลงานให้ยอมรับ จงพยายามเร่งสร้างผลงานให้ลูกน้องยอมรับในตัวคุณ เพราะผลงานที่ถูกยอมรับจะช่วยให้ลูกน้องเคารพและศรัทธาในตัวคุณได้ หากคุณไม่มีผลงานหรือแสดงพฤติกรรมตามแบบที่ลูกน้องคิดไว้ โดยไม่เคยแสดงกึ้นให้ลูกน้องรับรู้เลย แน่นอนว่าพวกเขาจะปฏิเสธและยอมรับฟังในสิ่งที่คุณต้องการให้พวกเขาไปปฏิบัติ

สร้างบารมีเพื่อผูกมิตรสัมพันธ์ หากคุณเจอกับลูกน้องที่ทำให้ต้องเหนื่อยใจมาก ๆ การสร้างบารมีเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง บารมีมิใช่กฎระเบียบ ข้อบังคับที่นำมาใช้เพื่อลงโทษเมื่อลูกน้องไม่ทำตามคำสั่งที่คุณมอบหมาย แต่บารมีนั้นเป็นการผูกจิต ผูกใจให้ลูกน้องรัก และอยากทำงานให้กับหัวหน้างาน แบบว่าถวายหัว เอาเลยก็ว่าได้ เทคนิคการสร้างบารมีนั้นง่ายมาก นั่นคือพยายามหาวิธีการตีสนิทกับลูกน้อง ไม่ว่าจะเป็นด้วยการพูดหรือการกระทำ

ให้มองทางบวก เมื่อคุณพยามปรับพฤติกรรมเท่าไหร่ ลูกน้องก็ยังซุบซิบนินทาคุณอยู่เหมือนเดิม หรือยังไม่ชอบหน้าคุณขึ้นมาเลย อลิสแนะนำว่าคุณไม่ต้องไปใส่ใจอะไรหรอกนะคะ ต้องยอมรับค่ะว่าพฤติกรรมคนยากแท้หยั่งถึง คนเรานานาจิตตัง ถ้าเราปรับเขาให้ยอมรับและปฏิบัติตามในสิ่งที่คุณเองมอบหมายให้ไม่ได้ ง่ายนิดเดียวค่ะ ก็ปรับความคิดของตนเองแล้วกัน ไม่ต้องไปโกรธ หรือถือโทษ ต่อว่าลูกน้องคนนั้น ต้องคิดเสมอว่า เจอลูกน้องแบบนี้บ้าง ท้าทายดีเหมือนกัน คุณอย่าเพิ่งถอนตัวไปซะก่อน การลาออกไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีสุด แต่การเผชิญหน้ากับสิ่งเร้าที่ท้าทายนี้ เป็นการทางออกหรือทางเลือกที่คุณควรทำ

ดังนั้น การปรับพฤติกรรมของลูกน้องจึงเป็นเรื่องที่ไม่ยากและไม่ง่ายนักสำหรับผู้บริหาร หรือผู้จัดการที่ต้องปกครองดูแลลูกน้อง หัวหน้างานที่ดีไม่ควรละเลยที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกน้องเพื่อให้ลูกน้องยอมรับ ศรัทธา และให้ใจพร้อมที่จะช่วยเหลือภาระงานต่าง ๆ ของหัวหน้างาน

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 กันยายน 2011 เวลา 22:48 น.
 


หน้า 13 จาก 559
Home

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3057
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8655412

facebook

Twitter


บทความเก่า