Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

การดำเนินธุรกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเครือซิเมนต์ไทย

พิมพ์ PDF

การดำเนินธุรกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเครือซิเมนต์ไทย


 

การดำเนินธุรกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมพร

 

 

ความพอประมาณ

  • ปรับโครงสร้างธุรกิจให้สอดคล้องกับศักยภาพที่มีอยู่จริง เหลือเพียง 5 กลุ่มธุรกิจหลักส่งผลให้ธุรกิจหลักมีลักษณะความเชื่ยวชาญเฉพาะขององค์กร

  • ลดบทบาทกิจการที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน การจัดการทรัพยากร และรักษาสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อให้สามารถเติบโตต่อไปในอนาคต

  • มุ่งรักษาระดับอัตราส่วนระหว่างหนี้สินกับทุนของผู้ถือหุ้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่กู้ยืมมากเกินไปจน  ทำให้มีภาวะหนี้สูง


 

ความมีเหตุผล

  • ลดบทบาทในธุรกิจที่ไม่ถนัดหรือขาดความเชี่ยวชาญ ส่งผลให้ทุ่มเทการใช้ทรัพยากรในธุรกิจที่ถนัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • เร่งการส่งออก เพื่อชดเชยตลาดภายในประเทศที่หดตัวและเพื่อใช้ทรัพยาในการผลิตอย่างมีประสิทธิผล

  • บริหารลูกหนี้การค้า(Accounts Receivable) และเจ้าหนี้การค้า (Accounts Payable) เพื่อให้ได้เงินสดเร็วที่สุด

  • เน้นประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเพื่อควบคุมต้นทุน

  • ประเมินผลการดำเนินงานด้วยอัตราส่วนของกำไรก่อนภาษีเงินได้ดอกเบี้ยจ่าย และค่าใช้จ่ายทางการเงิน ค่าเสื่อมราคา และรายจ่ายตัดบัญชี รวมเงินปันผลรับจากบริษัทร่วมต่อทรัพย์สินในการดำเนินงานเพื่อตรวจสอบว่าทรัพย์สินที่ใข้ในการดำเนินการนั้นได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าการลงทุน

  • ใช้นโยบายไม่ปลด (Layoff) พนักงาน แต่มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแทน

  • ติดตามและตรวจสอบสถานะทรัพย์สินของ SCG อย่างใกล้ชิดเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

การมีภูมิคุ้มกัน

  • พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งผลให้มีกระบวนการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  • เพิ่มสัดส่วนการส่งออก ทำให้มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ อันเป็นการประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศรูปแบบหนึ่ง

  • ออกหุ้นกู้ในประเทศ เพื่อทดแทนเงินกู้จากสถาบันการเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

  • กำหนดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงไว้ในแผนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ

  • มุ่งมั่นพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ เน้นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล และมีเหตุผลในการพัฒนาอย่างเหมาะสมกับงาน

 

ความรู้

  • พัฒนาระบบการบริหารองค์ความรู้ภายในองค์กร และต่อยอดสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม ส่งผลให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรม

 

คุณธรรม

  • ถ่ายทอดหลักคุณธรรมในการดำเนินชีวิต เพื่อประโชยน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้มีคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจและการดำเนินชีวิต

 

 

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2011 เวลา 23:53 น.
 

สร้างมาตรฐานโดยการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรมนุษย์ด้านอุตสาหกรรมโรงแรม

พิมพ์ PDF

สร้างมาตรฐานโดยการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรมนุษย์ด้านอุตสาหกรรมโรงแรม

 

บทนำ

 

อุตสาหกรรมโรงแรมประกอบด้วย ๔ ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้

๑)     ส่วนของการลงทุน ได้แก่การลงทุนด้านทรัพย์สิน เช่นที่ดิน ตัวอาคาร สาธารณูปโภค และ การลงทุนด้านการจัดการ เป็นต้น

๒)    ส่วนของการตลาด ได้แก่การวางขนาดและทิศทางของธุรกิจ กลุ่มเป้าหมายลูกค้า

๓)    ส่วนของการจัดการ ได้แก่การดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย

๔)    ส่วนของการบริการ หรือส่วนของการปฏิบัติ ของทรัพยากรมนุษย์

 

ส่วนมากแล้วเจ้าของธุรกิจโรงแรมคิดแต่เฉพาะการลงทุนด้านทรัพย์สินเพียงอย่างเดียว มิได้มีการกำหนดงบประมาณการลงทุนด้านการจัดการและการตลาด จึงทำให้มาตรฐานของโรงแรมไม่ตรงตามความเป็นจริง

ส่วนของการตลาดเจ้าของธุรกิจไม่ได้คำนึงถึงส่วนนี้ มักจะสร้างโรงแรมขึ้นมาเพื่อหวังผลประโยชน์ในด้านอื่น หรือทำตามความต้องการของเจ้าของเป็นหลัก

ส่วนของการจัดการเจ้าของธุรกิจไม่ได้จ้างมืออาชีพมาจัดการธุรกิจ จ้างคนมาดำรงตำแหน่งหนึ่งแต่ให้ไปทำงานอีกอย่างซึ่งไม่ตรงตามตำแหน่งที่จ้างมา เจ้าของจะลงไปจัดการเองทุกตำแหน่ง หรือถ้าตัวเจ้าของเองไม่ลงไปจัดการก็จะมอบหมายให้เครือญาติหรือคนใกล้ชิดลงไปดำเนินการในตำแหน่งนั้นๆ หรืออาจไม่มีตำแหน่งแต่ไปดำเนินการล้วงลูกในตำแหน่งที่เป็นของคนอื่น

ส่วนของการบริการ เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการหรือการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมทั้งหมด ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆดังนี้

กลุ่มของพนักงานระดับล่าง เป็นพนักงานที่ใช้แรงงานเป็นหลัก ส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่ให้บริการตรงกับลูกค้า ส่วนหนึ่งเป็นหน่วยสนับสนุน และอีกส่วนเป็นหน่วยตรวจสอบ

กลุ่มหัวหน้างาน

กลุ่มผู้บริหารระดับกลาง

กลุ่มผู้บริหารระดับสูง

 

 

ส่วนใหญ่เจ้าของธุรกิจโรงแรมเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของตัวเอง โดยใช้การลงทุนด้านทรัพย์สินเป็น ตัวชี้วัดเพียงอย่างเดียว มิได้นำเอาอีกสามส่วนมาพิจารณา

 

 

 

 

 

วัตถุประสงค์

๑)     สร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมโรงแรมไทยให้เหมาะสมกับการทำธุรกิจแบบยั่งยืน

๒)    สร้างบุคลากรด้านอุตสาหกรรมโรงแรมให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงานในตำแหน่งที่ได้รับอย่างพอเพียง

๓)    สร้างบุคลากรด้านอุตสาหกรรมโรงแรมให้มีมูลค่าเพิ่ม มีอนาคต และรายได้ที่เหมาะสมและพอเพียงต่อการดำรงชีพ

 

การดำเนินการ

๑)     ตั้งทีมทำงาน  ที่มาจากบุคลากรด้านโรงแรม นักวิชาการ เจ้าของกิจการโรงแรม และส่วนของภาครัฐ ทั้งส่วนงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงและส่วนสนับสนุน ( โดยการคัดเลือกเป็นรายบุคคลไม่ใช่โดยตำแหน่ง)

๒)    รวบรวมสมาชิกที่ทำงานในอุตสาหกรรมโรงแรม

๓)    จัดกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์

 

 

เป้าหมายกลุ่มที่ต้องได้รับการการพัฒนา

๑)     เจ้าของกิจการ  ( ผู้ลงทุน)

๒)    ผู้บริหารระดับสูง

๓)    ผู้บริหารระดับกลาง

๔)    หัวหน้างาน

๕)    พนักงานระดับล่าง

 

เครือข่ายที่ต้องดึงเข้ามาร่วมให้การสนับสนุน

๑)     กระทรวงการท่องเที่ยว ( สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว)

๒)    กระทรวงแรงงาน

๓)    กรมพัฒนาแรงงาน

๔)    กระทรวงศึกษา ทบวง กรมอาชีวะ

๕)    กระทรวงวัฒนะธรรม

๖)     กระทรวงต่างประเทศ

๗)    สำนักงานประกันสังคม

๘)    สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

๙)     กระทรวง IT

๑๐) ฯลฯ

               

 

 

ตัวอย่างอุปสรรค์และปัญหาที่บุคลากรด้านอุตสาหกรรมโรงแรมขาดแคลน

 

คนไทยเป็นคนเก่งและมีความสามารถไม่แพ้ใคร แต่ที่บุคลากรระดับล่างขาดแคลนไม่สามารถคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่มากมายให้มาทำงานในตำแหน่งที่ว่างเพราะขาดการเรียนรู้อย่างแท้จริง

๑)     อาจารย์สอนไม่รู้จริง

๒)    หลักสูตรการศึกษาไม่ได้ให้โอกาสนักศึกษาเข้าใจในตำแหน่งงานอย่างแท้จริง

๓)    หัวหน้าที่สอนงานให้ลูกน้องเข้าใหม่ ไม่มีความรู้ในการสอน

๔)    พนักงานเก่าที่สอนงานให้กับพนักงานใหม่ ยังไม่รู้งานจริง จึงสอนแบบผิดๆถูกๆ

๕)    ไม่มีเวลาเรียนรู้อย่างถูกต้อง

ทางโรงแรมเองไม่ได้เอาใจใส่ในการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ ไม่ได้คิดทุ่มเทหรือลงทุนเพื่อสร้างคนอย่างถูกต้อง เมื่อพนักงานไม่พอก็วิ่งแย่งซื้อตัวจากโรงแรมอื่น หรือรับผู้ที่ไม่เคยมีคุณสมบัติ และ ความรู้ในตำแหน่งงานนั้นๆ พนักงานใหม่เหล่านั้นไม่มีโอกาสเข้ารับการอบรม ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพนักงานเก่าหรือหัวหน้างานเป็นผู้บอกกล่าวและสอนงาน

ส่วนการสนับสนุนจากกรมแรงงาน และหน่วยงานอื่นๆทั้งของภาคเอกชนและภาครัฐ ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเพราะ

๑ ) ผู้จัดได้กำหนดเวลาในการจัดอบรมตามความสะดวกของผู้จัด มิได้จัดการอบรม ตามเวลาที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับการอบรมและความเป็นไปได้ในการส่งพนักงานไปอบรมของแต่ละโรงแรม

๒) การจัดอบรมเน้นที่บางตำแหน่ง แต่มีอีกหลายตำแหน่งที่ไม่มีการจัดอบรม

๓) การสื่อสารไม่ถึงตัวพนักงานผู้ต้องการได้รับการอบรม

๔) ทางโรงแรมเองไม่กล้าส่งพนักงานของตัวเองไปอบรมเพราะ ถ้าส่งไปแล้วไม่มีคนทำงาน หรือกลัวว่าเมื่อส่งไปแล้วจะถูกดึงตัวไปที่อื่น

๕) ผู้รับการอบรมขาดแรงจูงใจในการเข้ารับการอบรม

๖) การอบรมบางหลักสูตร ไม่สามารถนำกลับมาใช้ในโรงแรมที่ตัวเองทำงานอยู่ได้

 

การขาดแคลนบุคคลากรในระดับหัวหน้างาน และผู้บริหารระดับกลาง

                ไม่ได้ถูกอบรมมาให้เป็นผู้บริหาร ได้รับตำแหน่งเพราะมีชั่วโมงการทำงานที่มากกว่าพนักงานคนอื่นๆ หรือเป็นคนของหัวหน้างานในระดับสูงขึ้นไป หรือเป็นผู้ที่ขยัน ทำงานดี ซื่อสัตย์ จึงถูกเลื่อนให้เป็นหัวหน้างาน หรือเป็นผู้บริหารระดับกลาง หรือถูกดึงตัวไปอยู่โรงแรมที่เปิดใหม่ โดยยังไม่เคยมีความรู้หรือได้รับการเรียนรู้งานของการเป็นหัวหน้า หรืองานในการบริหาร เมื่อขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งนั้นๆก็ยังติดกับการทำงานเก่าๆของตัวเอง ไม่ได้ทำงานในหน้าที่ใหม่ จึงไม่สามารถสร้างบุคลากรในระดับรองลงไปได้

 

 

 

การพิจารณากำหนดมาตรฐานของงานในแต่ละตำแหน่ง

 

 

การตั้งมาตรฐานของงานแต่ละตำแหน่งต้องศึกษาและวิจัยให้ลึกๆ เพราะแต่ละโรงแรมมีมาตรฐานที่แตกต่างกัน การบริการขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้าเป็นสำคัญดังนั้น มาตรฐานของงานแต่ละตำแหน่งจึงขึ้นอยู่กับชนิดของกลุ่มลูกค้าของโรงแรมนั้นๆ  การกำหนดมาตรฐานของงานในแต่ละตำแหน่งจึงต้องจัดแบ่งแยกออกไปตามกลุ่มของโรงแรมนั้น

โรงแรมแต่ละระดับมีรายได้และการลงทุนที่แตกต่างกัน มาตรฐานของงานแต่ละตำแหน่งในแต่ละระดับโรงแรมก็ต้องแตกต่างกันไปด้วย

 

พนักงานที่มีความขยันอดทน ทำงานเก่ง บริการลูกค้าได้ดีเยี่ยม ส่วนมากจะเป็นพนักงานที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง เรียนจากประสบการณ์ แต่ไม่สามารถสร้างความก้าวหน้าได้ในสถานที่เดิม เพราะโรงแรมนั้นๆไม่ได้มีแผนในด้านทรัพยากรมนุษย์ ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพนักงาน พนักงานเหล่านี้จึงได้วิ่งหางานที่ใหม่ ที่ทำให้พนักงานผุ้นั้นมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

 

สำหรับโรงแรมระดับ สี่ดาว และ ห้าดาวไม่ค่อยจะมีปัญหาในการขาดแคลนบุคลากรระดับล่าง เพราะโรงแรมระดับนี้ส่วนใหญ่จะมีผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์จากโรงแรมระดับที่ต่ำกว่ามาสมัครเพื่อขอเข้าทำงานเป็นจำนวนมากจึงสามารถคัดเลือกคนได้ตามคุณสมบัติที่ตัวเองต้องการ

 

 

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๖ มกราคม ๒๕๔๘

               

 

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 กันยายน 2011 เวลา 18:04 น.
 

25 ข้อคิดในการบริหารธุรกิจ สไตล์แจ็ค หม่า

พิมพ์ PDF

25 ข้อคิดในการบริหารธุรกิจ สไตล์แจ็ค หม่า

มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของจีน เจ้าของเว็บไซต์ Alibaba

1. สัตว์ในป่ามีมากเกินไป จับกระต่ายตัวเดียวพอ

2. ระยะห่างไม่น่ากลัว ที่น่ากลัวคือการไม่รู้ระยะห่าง และความผิดพลาดก็ไม่น่ากลัว ที่น่ากลัวกว่าคือการไม่ยอมรับความผิดพลาดนั้น

3. การบริการที่ดีที่สุด คือการทำให้ลูกค้าไม่ต้องการบริการ

4. การหาพนักงานระดับบริหาร ให้เอาคนที่เหมาะสมที่สุด ไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด

5. คนที่เป็นพลทหารที่ดีไม่ได้ ก็ไม่มีวันเป็นนายพลที่ดีได้!

6. การใช้คนที่ดีที่สุด คือการให้ความไว้วางใจ

7. คู่แข่งไม่ใช่ต้นแบบที่ต้องทำตามเสมอไปและอย่าดึงคนจากคู่แข่ง

8. สุดยอดของวิธีจัดการกับคู่แข่ง คือเปลี่ยนจากคู่แข่งเป็นคู่ค้า การผูกมิตรและร่วมมือถือเป็นวิถีของผู้ชนะอย่างแท้จริง

9. รายได้กับอุดมการณ์ต้องมาควบคู่กัน! (และอย่าลืมรักษาอุดมการณ์ในวันแรก)

10. ระหว่างการวิ่ง มักมีคนตามไม่ทันเสมอ

11. สิ่งที่สำคัญกว่าการที่คุณสามารถทำอะไร คือการที่คุณควรทำอะไร

12. ผู้นำที่สุดยอดไม่ใช่การทำตัวเป็นพนักงานตัวอย่าง แต่คือการทำให้พนักงานกลายเป็นพนักงานตัวอย่าง

13. เพชรต้องผ่านการถลุง ผ่านการเจียระไนยถึงจะโดดเด่น ‪#‎คนก็เช่นกัน‬

14. วิธีคิดสำคัญกว่าวิธีการ กลยุทธ์สำคัญกว่ากระบวนท่า!!

15. ความกระตือรือร้นทำให้เราอยู่ได้ แต่ความกระตือรือร้นอย่างต่อเนื่องทำให้เราทำเงินได้!

16. เราควรจ่ายค่าตอบแทนแก่ผลลัพธ์และควรปรับมือกับขั้นตอน

17. ผลประโยชน์อาจทำให้พนักงานทำงานให้เราในเดือนนี้ แต่ไม่ใช่ตัวที่ทำให้พนักงานอยู่กับเราไปถึงสิบปีข้างหน้า! (อย่าใช้ผลประโยชน์มาดึงดูดพนักงาน)

18. ถ้ากลัวความผิดพลาด จะไม่มีทางมีวันพรุ่งนี้!!

19. การตัดสินใจอาจผิดพลาดได้ แต่หลักการต้องไม่ผิดพลาดเด็ดขาด!

20. ความเปลี่ยนแปลงคืออาวุธสำคัญในการแข่งขัน

21. สิ่งที่แข็งแรงที่สุดในวันนี้ อาจเป็นสิ่งที่อ่อนแอที่สุดในวันหน้า!

22. เวลาคนอื่นมองคุณเป็นไอดอล อย่าคิดว่าตนเองเป็นไอดอลเด็ดขาด

23. คนที่ยึดตามหนังสือมากเกินไปจะไม่สำเร็จ

24. จงฝัง DNA ของแบรนด์ ไว้ในตัวพนักงานทุกคน

25. การบริหารธุรกิจ คือการบริหารใจคน

เครดิต : สรุปเรียบเรียงเนื้อหาจากหนังสือ "บริหารสไตล์แจ๊ค หม่า"

คัดลอกจาก https://www.facebook.com/Puttichet/

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2016 เวลา 22:45 น.
 

บทความของ อาจารย์ รุจิระ บุนนาค เกี่ยวกับความเห็นของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

พิมพ์ PDF

Tuesday August 16, 2011 09:11 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ส.ค.--พีอาร์ โฟกัส เมื่อเร็วๆนี้ ผมมีโอกาสร่วมฟังการประชุมนโยบายเรื่องการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า และความเหมาะสมของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง จัดโดยสถาบัน Sasin Institute for Global Affairs (SIGA) ได้ฟังความเห็นของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท รองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งมีแง่คิดที่น่าสนใจ จึงอยากจะเล่าสู่กันฟัง

ม.ล.ชาญโชติ ให้ความเห็นเรื่องนโยบายส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าว่า พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า ที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน ล้าสมัยและไม่ตรงกับวัตถุประสงค์แรกเริ่มในการออกกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพรบ.ฉบับนี้ ต้องการปกป้องเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค แต่พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้าที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นกฎหมายที่ออกมากำกับดูแลระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ ซึ่งม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า รัฐไม่ควรเข้าไปกำกับผู้ประกอบการมากนัก ควรปล่อยให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันโดยเสรี แต่กฎหมายฉบับนี้กลับออกมากำกับไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เอาเปรียบผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งควรจะปล่อยให้แข่งขันไปตามกลไกของตลาด ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่น่าจะให้ประโยชน์กับฝ่ายใดเลย แต่กลับเป็นเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการต่างๆยื่นข้อร้องเรียน แล้วเรียกร้องให้รัฐเป็นกรรมการตัดสิน แทนที่รัฐจะทำหน้าที่ในการป้องกันเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ตามวัตถุประสงค์เริ่มแรกในการออกพรบ.ฉบับดังกล่าว
ม.ล.ชาญโชติ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความล้าหลังของกฎหมายฉบับต่างๆ ที่กว่าจะออกมาได้แต่ละฉบับ ใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี ในขณะที่พัฒนาการทางธุรกิจ ตลอดจนความต้องการของตลาดและผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้น กว่ากฎหมายแต่ละฉบับที่เกี่ยวข้องจะแล้วเสร็จ ธุรกิจนั้นๆก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เงื่อนไขและรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญไปแล้ว ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่า การออกกฎหมายของประเทศไทยส่วนใหญ่มักไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น การออกกฎหมายแต่ละฉบับควรเป็นกฎหมายที่สามารถปฏิบัติได้ด้วย


ม.ล. ชาญโชติ มีความเห็นว่า กฎหมายในบ้านเรามีมากมายหลายฉบับที่มีความซ้ำซ้อนกัน และบางฉบับยังมีข้อกำหนดที่หักล้างกันเอง แทนที่จะส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้น กลับมีผลทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
แต่กระนั้น ม.ล.ชาญโชติ ย้ำว่า ตนมิได้ไม่ต้องการให้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันทางการค้า แต่เห็นว่ากฎหมายที่ออกมาจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ตั้งแต่เริ่มแรก และที่สำคัญจะต้องสามารถนำมาปฏิบัติได้ด้วย เพราะหากกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวยังล้าหลัง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างภาคธุรกิจไทยให้มีศักยภาพที่จะแข่งขันในระดับสากลอีกด้วย
ม.ล. ชาญโชติ ยังกล่าวถึง การเข้ามาของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย โดยเห็นว่า เป็นสิ่งที่ดี แต่จำเป็น ต้องมีนโยบายในการกำกับดูแลบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจแข่งขันว่า การที่บริษัทต่างชาติต่างๆ เหล่านั้นเข้ามาใช้ทรัพยากรของประเทศ ก็ควรกำหนดเงื่อนไขค่าตอบแทนที่พึงจ่ายให้กับประเทศด้วย โดยรัฐสามารถออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขที่ไม่แตกต่างมากจนเกินไประหว่างบริษัทไทยกับบริษัทต่างชาติ ขณะเดียวกัน รัฐจะต้องมีนโยบาย ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทย รวมทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็ก ตลอดจนผู้ประกอบการที่อ่อนแอกว่า เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน


นอกจากนี้ ม.ล. ชาญโชติ ยังได้กล่าวถึงนโยบายการเปิดเสรีว่า ความจริงแล้วไม่ใช่เป็นการเปิดเสรีจริงๆ เพราะแต่ละประเทศต่างก็มีกฎหมายแตกต่างกันในการกำกับดูแลกรณีต่างๆ เช่น กรณีที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ก็มีกฎหมายที่ดินที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับการถือครองกรรมสิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ ม.ล.ชาญโชติกล่าวว่า ต้องยอมรับว่ากฎหมายยังมีความอ่อนแอมาก จึงทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในมือของต่างชาติ จึงจำเป็นที่จะต้อง พิจารณา สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และต้องวางแผน วางหลักเกณฑ์ในการออกกฎหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น กรณี BOI ที่ต้องการจูงใจให้ต่างชาติที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศ แต่กลับไม่มีการส่งเสริมสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยให้ออกไปลงทุนแข่งขันในต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งในความเป็นจริง BOI ควรมีมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลางให้สามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศ มากกว่ามาตรการ ลด แลก แจก แถม เพื่อชักจูงให้ผู้ประกอบการต่างชาติรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะกับการลงทุน มีหลายประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในไทย ยกตัวอย่าง บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยบริษัทที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อคนไทยไปปรึกษาข้อกฎหมาย ข้อมูลต่างๆที่เป็นข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลที่เป็นข้อพิพาทสำคัญๆ ก็จะกลายเป็นข้อมูลของบริษัทที่เป็นต่างประเทศดังกล่าว ดังนั้น รัฐจึงควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล เช่น การจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมาย จะต้องเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เป็นคนไทยเท่านั้น โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น ซึ่งคนไทยมีความสามารถไม่ด้อยไปกว่าชาติอื่นๆ และไม่ควรกลัวต่างชาติ อาจจะยอมเสียเปรียบต่างชาติบ้าง แต่ต้องอยู่ในขอบเขต และที่สำคัญ ม.ล. ชาญโชติ ย้ำว่า จะต้องไม่ยอมให้ต่างชาติเอาเปรียบตลอดเวลา และจะต้องกำหนดประเภทธุรกิจ และข้อจำกัดการประกอบธุรกิจไว้ให้เป็นของคนไทยอย่างชัดเจน
และในตอนท้าย ม.ล.ชาญโชติ ยังกล่าวว่า ที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องบุคลากร ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจต้องเอาคนเป็นที่ตั้ง โดยเริ่มจากประชาชนคนไทย คือการสร้างคนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญ โดยพิจารณาถึงความสามารถ ว่าคนไทยมีความสามารถในด้านใด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนไทยมีความสามารถในด้านการให้บริการ ในด้านการบริหารจัดการซึ่งจะต้องพัฒนาให้คนไทยสามารถบริหารจัดการร่วมกันอย่างเป็นทีม แต่อย่างไรก็ตาม แผนเศรษฐกิจของประเทศไทยฉบับปัจจุบัน กลับไม่กล่าวถึงเศรษฐกิจภาคบริการ ทั้งๆที่ภาคบริการมีความสำคัญ นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ90 ของประเทศเป็น SME ที่มีความสามารถทั้งสิ้น

ผมอยากจะฝากประเด็นแง่คิดของม.ล.ชาญโชติ ซึ่งเป็นรองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนพิจารณา เพราะธุรกิจปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ก็ควรที่จะหันมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกรอบของกฎหมายให้ทันสมัย รองรับความต้องการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้อย่างแท้จริง

บทความ: อาจารย์รุจิระ บุนนาค
กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค

 


 

พระธรรมเทศนาเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิมพ์ PDF

พระธรรมเทศนาเฉลิมพระเกียรติ

 

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชนิพนธ์ใน

 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(ตอนที่ ๑)


พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล โปรดให้พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพะราชทานเพลิงศพ “ หม่อมเจ้าชนม์เจริญ ชมพูนุท” ณ.เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๖

เนื่องด้วยจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานเพลิงศพ  หม่อมเจ้าชนม์เจริญ ชมพูนุท ในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ ณ.เมรุวัด มกุฎกษัตริยาราม บุตรและธิดาหม่อมเจ้าชนม์เจริญ ได้มาปรึกษาข้าพเจ้า ว่าจะจัดพิมพ์หนังสือแจกเรื่องอะไรจึงจะเหมาะสม และขอให้ข้าพเจ้ารวบรวมเขียนพระประวัติ หม่อมเจ้าชนม์เจริญ ข้าพเจ้าได้แนะให้จัดพิมพ์หนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระราชประวัติ ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สามในราชวงศ์จักรี เพราะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยังมีคนไทยน้อยคนทราบและสนใจถึงพระบรมราชปรีชาญาณ ตลอดจนพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานไว้ต่อประเทศชาติ ซึ่งทั้งในรัชสมัยของพระองค์และต่อมานั้นมีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับประเทศชาติและชาวไทย โดยเฉพาะพระราชนโยบายในการดำเนินราชกิจที่เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าแม้แต่ชาวต่างประเทศผู้ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์ซึ่งคิดที่จะเอาเปรียบประเทศไทย ก็ต่างยกย่องและเกรงขามในพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เสด็จเถลิงราชสมบัติในยามที่ประเทศไทยยังปั่นป่วน อันเป็นผลเนื่องแต่การเสียกรุงศรีอยุธยาต่อพม่า และยังเป็นขณะเวลาที่กำลังเพิ่งจะเริ่มตั้งตัวได้ โดยที่ศึกพม่าก็ยังต้องทำอยู่ และพร้อมๆกันนี้ ภัยจากนโยบายการขยายจักรวรรดิของชาวตะวันตกก็ได้ขยายตัวถึงขีดสุดและคืบหน้าเข้ามาในตะวันออกไกล กำลังจะเป็นภัยต่อชาติไทยอย่างยิ่งใหญ่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับทรงใช้ภัยทั้งสองประการนี้ให้เป็นประโยชน์เพื่อความปลอดภัยของประเทศชาติ ทรงทำให้ภัยจากการรุกรานของพม่าหมดไป ด้วยการใช้การขยายอาณานิคมของประเทศอังกฤษนั่นเองเป็นเครื่องมือ และพร้อมๆกันนี้ก็ทรงใช้พม่าเป็นเครื่องมือกีดกั้นมิให้ภัยของการขยายอาณานิคมของชาวตะวันตกมาแผ้วพาลราชอาณาจักร พระราชนโยบายต่างประเทศต่างๆของพระองค์จัดได้ว่าเป็นรากฐานของนโยบายการต่างประเทศของไทย ซึ่งสมเด็จพระอนุชาธิราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระมหากษัตริย์ในรัชสมัยต่อมาทรงดำเนินตามกันมา จนเป็นเหตุให้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในพื้นที่ถิ่นนี้ที่ดำรงอิสรภาพอยู่ได้ และเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบกระเทือนจากผลของการขยายอาณานิคม ของประเทศตะวันตกน้อยที่สุด พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระอัยยิกาของ หม่อมเจ้าชนม์เจริญ หม่อมเจ้าชนม์เจริญทรงเป็นโอรสองค์ที่ ๔ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมพูนุท กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์พระราชโอรสหม่อมเป้าเป็นหม่อมมารดา ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๔ ตามลำดับดังนี้

๑.พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวร สิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภุชชงค์)

๒.หม่อมเจ้าหญิงสงวนวงศ์วัฒนา

๓.หม่อมเจ้า โสตถิผล

๔.หม่อมเจ้า ชนม์เจริญ

ข้าพเจ้ารู้จักรักใคร่นับถือหม่อมเจ้าชนม์เจริญ ซึ่งข้าพเจ้าเรียกว่าลุงชนม์ ทั้งๆที่ท่านมีศักดิ์เป็นตามาตั้งแต่สมัยที่ข้าพเจ้ายังนุ่งกางเกงติดกัน และติดต่อสัมพันธ์กับท่านตลอดมา นับเป็นเวลาหลายสิบปี ทั้งนี้เพราะว่า

เมื่อพระชนม์ท่านได้ราว ๑ ปี พระบิดาของท่านกรมขุนเจริญผล ทรงพระประชวรหนัก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเยี่ยมพระอาการ กรมขุนเจริญผลได้กราบบังคมทูลว่า ท่านได้ทรงนิมนต์ให้พระโอรสพระองค์ใหญ่ คือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ซึ่งขณะนั้นทรงผนวชอยู่ให้ทรงลาสิกขาออกมาดูแลน้องๆ แต่พระสังฆราชเจ้าได้ทรงปฏิญาณไว้แล้วว่าจะไม่ทรงลาผนวชจนตลอดพระชนม์ชีพ  ท่านจึงขอทูลเกล้าถวายพระโอรสคือ ลุงโสต (ม.จ.โสตถิผล) กับลุงชนม์เป็นข้าใต้เบื้องพระยุคลบาท ดังนั้นเมื่อกรมชุนเจริญผลสิ้นพระชนม์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงรับลุงชนม์เข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง และเนื่องด้วยลุงชนม์เป็นเจ้านายในรัชกาลเดียว (รัชกาลที่ ๓) กับพระวิมาดาเธอ กรมพระสุธาสินีนาถ (พระอรรคชายาในขณะนั้น) จึงได้พระราชทานให้พระวิมาดาผู้ทรงเป็นย่าของข้าพเจ้า เป็นผู้ปกครองดูแลลุงโสต ลงุชนม์ และพระวิมาดาก็ได้สนองพระมหากรุณาธิคุณตามพระราชกระแสรับสั่งมาจนตลอดพระชนม์ชีพ

ลุงชนม์ประทับอยู่กับพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนารถ ในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งทรงโสกัณฑ์ พระวิมาดาจึงได้โปรดให้เสด็จออกมาประทับอยู่นอกพระบรมมหาราชวัง และทรงศีกษาในโรงเรียนมกุฎราชกุมารจนทรงจบหลักสูตร ต่อมาได้ทรงผนวชเป็นสามเณร จนกระทั่งมีพระชนม์ครบจึงทรงผนวช สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ และทรงจำพรรษาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร

ภายหลังที่ทรงลาสิกขาบทแล้ว พระวิมาดาโปรดให้ไปประทับอยู่ที่วังลดาวัลย์ โดยประทานให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร พระโอรสเป็นผู้ทรงอุปการะ และโปรดให้รับราชการในกระทรวงมหาดไทย

ในปี  พ.ศ.๒๔๕๕ ได้ทรงสมรสกับคุณเขียน บุณยมานพ ธิดา คนโตของพระยาสัตยพรตสุนันนท์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ มีโอรส ธิดา ๑๒ คน กับหม่อมเขียน ๑๐ คน และหม่อมเรียมอีก ๒ คน

๑.ม.ร.ว.หญิง ชมพู

๒.ม.ร.ว.หญิง ฟูผล

๓.ม.ร.ว.ชนม์สวัสดิ์

๔.ม.ร.ว.มนัศปรีดี

๕.ม.ร.ว.หญิง ฉวีเฉลิม

๖.ม.ร.ว.เสริมจิต

๗.ม.ร.ว.ชิดฉันท์ (ถึงแก่กรรม)

๘.ม.ร.ว.จันทร์ศรี (ชัยวัฒน์) (ในหม่อมเรียม ชมพูนุท)

๙.ม.ร.ว.หญิง ฤดีมน

๑๐.นาวาอากาศตรี ม.ร.ว.อนุผลพัฒน์ (ในหม่อมเรียม ชมพูนุท)

๑๑.ม.ร.ว.วัฒนากร

๑๒.ม.ร.ว.อนุจรจรัส

เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ ลุงชนม์ ทรงลาออกจากราชการมาประกอบธุรกิจส่วนพระองค์ ต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๐ เริ่มประชวรด้วยโรคพระหทัย และประชวรกระเสาะกระแสะเรื่อยมา โดยพระอาการดีบ้างทรุดบ้างตลอดมา จนกระทั่งวันศุกร์ที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๐๖ ได้สิ้นพระชนม์ชีพที่บ้าน เลขที่ ๕๐๗/๓ ถนนศรีอยุธยา พญาไท

ยศที่ได้ทรงรับ

พ.ศ.๒๔๖๐                 มหาดเล็กสำรอง

พ.ศ.๒๔๖๑                 มหาดเล็กพิเศษ

พ.ศ.๒๔๖๓                 รองหุ้มแพร

พ.ศ.๒๔๖๖                 หุ้มแพร

พ.ศ.๒๔๖๙                 สำรองอำมาตย์เอก

ตำแหน่ง

พ.ศ.๒๔๕๔                 เสมียนมหาดไทยมณฑลปราจีน

พ.ศ.๒๔๕๕                 รองปลัด ฉะเชิงเทรา

พ.ศ.๒๔๕๗                 นักเรียนปกครอง

พ.ศ.๒๔๕๗                 รองปลัด ระยอง

พ.ศ.๒๔๕๘                 รองเวรกระทรวงมหาดไทย

พ.ศ.๒๔๖๙ – ๒๔๗๔ ปลัดกรม กระทรวงมหาดไทย

พ.ศ.๒๔๗๖                 เสมียนตรามณฑลอุดรธานี

พ.ศ.๒๔๗๗                 นายอำเภอบ้านผือ อุดรธานี

พ.ศ.๒๔๗๘                 นายอำเภอหมากแข็ง อุดรธานี

พ.ศ.๒๔๘๐                 ปลัดจังหวัดพิจิตร

พ.ศ.๒๔๘๑                 นายอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

พ.ศ.๒๔๘๒                 ปลัดกรม กรมมหาดไทย

เครื่องราชอิสสริยภรณ์

พ.ศ.๒๔๖๒                 เหรียญรัตนาภรณ์ชั้น ๕

พ.ศ.๒๔๖๔                 ตรามงกุฎสยามชั้น ๕

พ.ศ.๒๔๖๗                 ตราช้างเผือกชั้น ๕

พ.ศ.๒๔๗๓                 ตรามงกุฎสยามชั้น ๔

พ.ศ.๒๔๘๐                 (จ.ป.๔) ตราช้างเผือกชั้น ๔

ดังได้กล่าวแล้วว่า ข้าพเจ้าสนิทสนมกับท่านมานาน ตลอดจนท่านได้เคยเสด็จมาช่วยเหลือทำงานให้ข้าพเจ้า จึงพอจะกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้ารู้จักท่านดี ลุงชนม์มีพระนิสัยเงียบสุขุมและอ่อนโยน ไม่ค่อยชอบยุ่งกับคนอื่น แต่พร้อมๆกันนี้ มิใช่ว่าท่านจะเป็นคนที่อ่อน ตรงกันข้าม ท่านเป็นผู้ที่รักษาเกียรติตนอย่างยิ่ง เพราะว่าเมื่อท่านมีความคิดเห็นของตนอย่างไร ในเมื่อท่านเห็นว่าท่านถูก ท่านก็มักจะรักษาไว้ไม่ค่อยจะโอนอ่อนผ่อนให้ใครง่ายๆ ชีวิตของท่านก็คล้ายๆกับพระนิสัย คือท่านไม่เคยรุ่งโรจน์เฟื่องฟูจนเหลือเฟือ แต่ท่านก็ไม่ทำความเสียหาย ไม่ทำให้ใครต้องเดือดร้อน ท่านเป็นคนที่ต้องต่อสู้กับภาวะของชีวิตมาตลอดพระชนม์ชองท่าน ดังเช่นที่บิดาผู้มีบุตรมากส่วนใหญ่ที่ต้องเผชิญ ในเมื่อท่านมาสิ้นพระชนม์ลง จึงเป็นที่เศร้าโศกของญาติมิตรที่คุ้นเคยรักใคร่ท่านเป็นอย่างยิ่ง

ภาณุพันธุ์

คัดลอกโดย ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2016 เวลา 16:08 น.
 


หน้า 18 จาก 559
Home

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3057
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8655403

facebook

Twitter


บทความเก่า