Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

รายการ เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน วันที่ 10 เมษายน 2567

พิมพ์ PDF

 

บทความของ ผศ ทิพยวรรณ นิลทยา

พิมพ์ PDF

 

การเรียนจากประสบการณ์ ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์

(ขอนำบทความของ ผศ.ทิพยวรรณ นิลทยา ใน www.gotoknow มาเผยแพร่ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องต่อเนื่องของผู้นำ ที่ผมนำบทความของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มาเผยแพร่ก่อนหน้านี้)

 

ได้รับฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง ภาวะผู้นำกับการพยาบาล

โดย ศาสตราจารย์ ดร นพ กระแส ชนะวงศ์ นายกสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2555 (บทความของ ผศ.ทิพยวรรณ นิลทยา)

 

บรรยายให้กับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ได้ฝึกให้นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 เป็นพิธีกรแนะนำวิทยากร

นักศึกษาสามารถดำเนินการได้ดีจนเป็นที่ประทับใจวิทยากร

 

อาจารย์เล่าให้นักศึกษาฟังว่า สมัยเด็กอาจารย์ถูกครูลงโทษ ทำให้ไม่ไปโรงเรียน ต่อมาช่วยงานที่บ้าน เลี้ยงเป็ด

เมื่ออายุ9 ปีไป ทำงานขายของที่ร้านคนจีนทั้งปี 40 บาท

ปีที่ 2 ทำงานทั้งปี มีรายได้ 60 บาท

สรุแล้ว สองปีที่ทำงานมีรายได้ 100 บาท

ในระหว่างที่ฝึกงานเถ้าแก่มีถังน้ำ อาจารย์ต้องหิ้วน้ำไปขายบริเวณสถานีรถไฟ ขายขันละ 5 สตางค์  บางครั้งรถวิ่งออกไปแล้ว อาจารย์จะาจารย์ต้องมีการสิ่งตามรถเพื่อขอขันคืน อาจารย์จึงเล่าว่าอเก่งเรื่องวิ่งขึ้นลงรถไฟ

ต่อมาอาจารย์ย้ายไปอุดร ธานีขายกะปิ น้ำปลา

อาจารย์ว่าประสบการณ์ดังกล่าวอาจารย์โชคดี

เพราะการทำงานคือ การเรียนหนังสือ

 

ที่สำคัญ อาจารย์ส่งหนังสือพิมพ์ที่อินทรอำรุง ครูเจริญ ปราบณศักดิ์ ใช้อาจารย์ไปซื้อบุหรี่ อาจารย์ชอบรับใช้ อยู่มาวันหนึ่ง คุณครูถามอาจารย์เรื่องการเรียน เสนอให้อาจารย์เรียน เข้าเรียน ม 1 ครูใหญ่ช่วยให้ครูสอนกวดวิชาให้ คนรูที่สอนบอกครูใหญ่ว่า อาจารย์เรียนไม่ได้ อาจารย์กล่าวว่าครูเจริญเป็นครูที่มีความเมตตา อาจารย์ใหญ่เจริญจึงสอนให้เอง ทำให้อาจารย์ผ่าน ม 1 ได้

อาจารย์ได้ให้นักศึกษารำลึกถึงภาวะผู้นำของครูเจริญด้วยการปรบมือให้

การทำงานคือการศึกษา

 

เมื่ออยู่ ม 4 อาจารย์พบผู้แทนราษฎรมาหาเสียง ผู้แทนฯเลยชวนอาจารย์ไปอยู่กรุงเทพ ขึ้นรถไฟไปกรุงเทพด้วยกางเกงขาสั้น ไม่สวมรองเท้า อยู่กับ สส ท่านทำงานทุกอย่างในบ้าน สส ได้ฝากให้ท่านเรียนโรงเรียนอำนวยศิลป์ ชั้น ม 5 ครูกวี พันธ์ปรีชา

สอบ ม 6 เข้าโรงเรียนเตรียมได้เลือกให้เป็นประธานนักศึกษาจบได้โล่พระเกี้ยวทองคำ จากนั้นเข้าเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาสอบข้ามฟากเรียนที่ศิริราช ตอนกลางคืนสอนติวที่สี่พระยาจนจบแพทย์ศิริราช

อาจารย์เล่าว่าเมื่อจบแล้วกลับไป เริ่มต้นชีวิตทำงานที่เมืองพลบ้านเกิด ทำงานที่สุขศาลา บ้านไม้มีเจ้าหน้าที่เรียกว่าสารวัตรสุขาภิบาลฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

อาจารย์จึงได้รับรางวัลแมกไซไซ โนเบลของเอเชีย ได้รับเครื่องราชย์จากจักรพรรรดิญี่ปุ่น

 

อาจารย์เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย 3 แห่งดังนี้

1.มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

2.มหาวิทยาลัยนเรศวร

3.สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

 

ประสบการณ์สอนให้เกิดการเรียนและสร้างภาวะผู้นำของอาจารย์ ดังนี้

  1. เรื่องการทำงานให้ทุ่มเทกับการทำงาน การรู้เรื่องงานเป็นการเรียนที่ไม่เป็นทางการ
  2. ภาวะผู้นำไม่เกี่ยวกับขาว ดำ อายุมาก น้อย แต่เกี่ยวกับประสบการณ์

บันได 3 ขั้น ของภาวะผู้นำประกอบด้วย

1.  ภาวะผู้นำรุ้จักเพิ่มค่าความหมายให้คนอื่น ยกย่องให้เกียรติ เช่น การดูแลผู้ป่วยที่อายุมาก ด้วยการสวัสดี ขอโทษ เป็นสิ่งที่ต้องสะสมไว้

จากการเยี่ยมโรงพยาบาลของญี่ปุ่น มีการสร้างคุณค่าหลังจากการออกกำลงกาย สวัสดีค่ะ ขอบคุณค่ะ ขอโทษค่ะ ขอให้โชคดีค่ะ แล้วพบกันใหม่นะคะ

2.  เพิ่มค่าและความหมายให้กับงานที่เราทำ จากการทำหน้าที่ให้ดีที่สุด

3.  เพิ่มค่าและความหมายให้กับตนเองเสมอๆช่วยเหลือผู้อื่นสังคม ด้วยการศึกษาหาความรู้ให้กับตนเองตลอดเวลา

 

อาจารย์มีแนวทางพัฒนานักศึกษาให้เกิดภาวะผู้นำโดย F4

FOCUS FLEXIBLE FAIR FUN

ท้ายที่สุด อาจารย์ให้โอกาสนักศึกษามาเล่าเรื่องสรุปที่อาจารย์บรรยาย และแสดงความคิดเห็นพร้อมมอบรางวัลเป็นหนังสือ

นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นสรุปบทเรียนและแสดงความคิดเห็น

สรุปว่า ตัวแทนนักศึกษาดังกล่าวสามารถแสดงบทบาทภาวะผู้นำทางการพยาบาลจากการรับฟังแนวคิดของอาจารย์ในวันนี้ ที่สำคัญคือ เห็นแรงจูงใจของนักศึกษาในการทำความดีเพื่อเป็นคนดีเหมือนวิทยากร

เช่่นนี้ ย่อมบรรลุวัตถุประสงค์ของการบรรยายพิเศษวันนี้อย่างเป็นธรรมชาติดีแท้

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2016 เวลา 16:05 น.
 

แผนปฎิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

พิมพ์ PDF

แผนปฏิบัติการณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

 

ต้องดำเนินการควบคู่กันไปทั้ง ๓ กลุ่ม

 

      ผู้ประกอบการต้องได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องการตลาดอย่างแท้จริง เพื่อเปลี่ยนแนวทางค้าขายให้มาเน้นถึงการค้าแบบยั่งยืน มีกำไรในทางตรง มีการบริหารและการจัดการแบบมืออาชีพ สร้างเครือข่ายและมีการร่วมทุน ได้รับการสนับสนุนในสิ่งที่ต้องการจากภาครัฐ

      ภาครัฐต้องเข้าใจธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างแท้จริงและหันมาให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการให้บริการท่องเที่ยว ช่วยให้การสนับสนุนผู้ประกอบการที่ดีและผลักดันผู้ประกอบการที่ไม่ดีออกไปจากวงการ

      สถานศึกษาและกรมพัฒนาฝีมือแรงงานสร้างคนมารองรับทั้งแรกเข้าทำงานและผู้ที่ทำงานอยู่แล้วเพื่อขยับฐานะให้สูงขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย

      ผู้ให้บริการท่องเที่ยว ได้แก่ Inbound Tour Operator และ Local Tour Operator

      โรงแรม ได้แก่โรงแรมระดับ ๓ ดาวลงมา

      สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว

      การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

      กรมพัฒนาแรงงาน

      สถานศึกษาระดับอาชีวะ และระดับมหาวิทยาลัย

      สมาคมการท่องเที่ยวและสมาคมโรงแรม

ผู้ให้บริการท่องเที่ยว

      จัดสัมมนาเพื่อให้ความรู้เรื่องการตลาด การบริหารและการจัดการ โดยมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ร่วมกับ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว และกรมพัฒนาแรงงาน เพื่อให้ผู้ประกอบการ

      ปรับแนวการค้าขาย จากเน้นการได้มาของจำนวนนักท่องเที่ยว เป็นเน้นการค้าขายที่มีกำไรโดยทางตรง

      เปลี่ยนแนวความคิดจากการคัดลอกโปรแกรมท่องเที่ยว มาเป็นการสร้างโปรแกรมท่องเที่ยวเฉพาะของแต่ละผู้ให้บริการ เพื่อสร้างความแตกต่าง

โรงแรมระดับ ๓ ดาวลงมา

      จัดสัมมนาเรื่องการตลาด การบริหาร การจัดการ เพื่อให้ผู้ประกอบการ

      มีความเข้าใจเรื่องการตลาดอย่างแท้จริง 

      ปรับเปลี่ยนการบริหารและการจัดการให้เป็นมืออาชีพ มีความรับผิดชอบ ต่อสังคม ลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์

      ผู้รับผิดชอบ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สมาคมโรงแรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

 

 

 

 

 

 

 

สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว

      หันมาทำความเข้าใจผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ( Tour Operator ) วางแผนและนโยบายเพื่อสร้างกลยุทธ์ให้ผู้ประกอบการมีแรงจูงใจที่จะดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน

      ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน และขับไล่ผู้ประกอบการที่ไม่ดีให้ออกไปจากในวงการ

      การวางแผนและกำหนดนโยบายสำคัญควรให้ภาคเอกชนโดยรวมมีส่วนร่วมไม่ใช่ทำเสร็จแล้วจึงแจ้งเอกชนให้รับทราบ หรือเรียกประชุมโดยด่วนไม่ให้เวลาภาคเอกชนได้คิด

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

      เปลี่ยนแนวคิดจากระบบศักดินา มาเป็นการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการท่องเที่ยว

      ให้การสนับสนุนด้านการตลาดแก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวอย่างทั่วถึง มิใช่เจาะจงเฉพาะผู้ที่คุ้นเคยและคนใกล้ชิด

      วางแผนการตลาดอย่างรอบครอบเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศมิใช่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

กรมพัฒนาแรงงาน

      ปรับเปลี่ยนการทำงานจากการตั้งรับเป็นฝ่ายรุก โดยการสร้างเครือข่ายร่วมกับผู้ประกอบการ

      ศึกษาทำวิจัยเรื่องแรงงานด้านอุตสาหกรรมการให้บริการด้านการท่องเที่ยว และวางแผนเพื่อให้การสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีแรงงานที่มีคุณภาพทั้งแรกเข้า และพนักงานเก่าเพื่อการเลื่อนฐานะที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

      สร้างมาตรฐานแรงงาน และอัตราแรงงานที่เหมาะสมทุกระดับขั้น

      เป็นตัวกลางสร้างความยุติธรรมให้กับผู้ประกอบการและพนักงาน

สถานศึกษา

      วางหลักสูตรร่วมกับผู้ประกอบการ

      ผลิตนักศึกษาให้ได้คุณสมบัติตามที่สถานประกอบการต้องการ

      สร้างหลักสูตรสำหรับพนักงานที่มีความชำนาญและความรู้ในแต่ละงานเพื่อมีความรู้ในการสอน เพื่อจะได้มาเป็นครูสอนนักศึกษาใหม่

      มีการสอบเทียบเพื่อรับปริญญาสำหรับผู้ที่มีความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ในการทำงานแต่ขาดปริญญา

      สร้างมนุษย์ให้มีคุณค่าและทำประโยชน์ให้แก่สังคม

 

 

 

 

 

 

 

สมาคม

      กรรมการสมาคมต้องบริหารงานสมาคมให้เป็นที่ไว้ใจของสมาชิก

      สร้างความเข้มแข็งและสนับสนุนให้สมาชิกได้รับผลประโยชน์จากภาครัฐอย่างทั่วถึงและยุติธรรม

      เห็นความสำคัญในการทำงานร่วมกับภาครัฐ เพื่อทำให้ภาครัฐเข้าใจในธุรกิจของสมาชิก ทำให้สมาชิกโดยรวมได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ

      ให้ความสำคัญกับสมาชิก ควรจะมีการประชุมร่วมกับสมาชิกและได้รับความคิดเห็นจากสมาชิกก่อนที่จะส่งผู้แทนไปเข้าร่วมประชุมกับภาครัฐ

 

สรุปแผนการปฏิบัติเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

      ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ เป็นตัวกลางในการปฏิบัติการเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดหันมาศึกษาซึ่งกันและกัน ทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวไทย

      เป็นผู้ทำ Master Plan เพื่อนำเสนอภาครัฐ และกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด

      เป็นผู้ดำเนินการจัดสัมมนา โดยมีเจ้าภาพร่วมในแต่ละกลุ่มวัตถุประสงค์

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 กันยายน 2011 เวลา 22:50 น.
 

ระบบทุนนิยมโลกในทัศนะ จอร์ซ โซรอส พ่อมดการเงินของโลก

พิมพ์ PDF

ระบบทุนนิยมโลกในทัศนะ จอร์ซ โซรอส พ่อมดการเงินของโลก

หนังสือวิกฤติระบบทุนนิยมโลก หนังสือเล่มล่าสุดของจอร์ซ โซรอส พ่อมดทางการเงินที่โด่งดังที่สุดได้วิจารณ์ระบบทุนนิยมโลกใน 2 ประเด็นใหญ่ คือ

1. ข้อบกพร่องของกลไกตลาด ซึ่งเห็นได้ชัดที่สุดในความไร้เสถียรภาพของตลาดการเงินระหว่างประเทศ

จุดอ่อนของภาคสังคมที่ไม่เกี่ยวกับการตลาด ซึ่งเห็นได้ชัดที่สุดคือความล้มเหลวของ
การเมืองทั้งในระดับประเทศและระดับระหว่างประเทศ

ทุนนิยมการค้าของโลกเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่เศรษฐกิจของประเทศทั่วโลกได้เข้ามาเชื่อมโยงกันเป็นระบบเศรษฐกิจโลกจริงๆ ก็หลังจากที่ทุน ข้อมูลข่าวสาร และการประกอบการสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี เหมือนไม่มีพรมแดน เมื่อสักราว 20 ปีที่แล้วนี้เอง

การขยายตัวของระบบทุนนิยมโลก เป็นประโยชน์กับบริษัทข้ามชาติและตลาดการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งมีอำนาจมากขึ้น แม้ว่ารัฐบาลของแต่ละประเทศจะยังคงมีอำนาจอธิปไตยในการเข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจในประเทศของตน แต่รัฐบาลก็ต้องขึ้นอยู่กับพลังของการแข่งขันในระบบทุนนิยมโลก ทั้งในเรื่องการค้าและการลงทุน ถ้ารัฐบาลไหนกำหนดเงื่อนไขที่ไม่เอื้อต่อเงินทุน เงินทุนก็จะหนีไปประเทศอื่น ถ้ารัฐบาลไหนให้แรงจูงใจแก่การลงทุน หรือรักษาค่าจ้างแรงงานให้ต่ำ เงินทุนก็จะไหลเข้าประเทศ

ระบบทุนนิยมโลก เป็นระบบจักรวรรดิที่เป็นนามธรรม มากกว่าจักรวรรดิที่เห็นได้ชัดแบบในอดีต มันอิทธิพลต่อชีวิตของคนทั่วทั้งโลกมากกว่ายุคใดในประวัติศาสตร์ และที่สำคัญที่สุดคือ ระบบทุนนิยมโลกมุ่งขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ต่างไปจากจักรพรรดิ เช่น พระเจ้าอเลกซานเดอร์มหาราชหรืออัตติลา ชาวฮั่น การขยายตัวของมันมุ่งไปในทางการมีอิทธิพลครอบงำชีวิตประชาชนมากกว่าการขยายดินแดนทางภูมิศาสตร์

ทุนนิยมกับประชาธิปไตย

ความเชื่อที่ว่าระบบทุนนิยมจะทำให้เกิดประชาธิปไตยทางการเมืองไปด้วยนั้น เป็นความจริงเฉพาะในประเทศทุนนิยมศูนย์กลาง แต่ไม่เป็นจริงสำหรับประเทศพัฒนาทุนนิยมขอบนอกที่พัฒนาทุนนิยมขึ้นทีหลัง การพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมต้องการการสะสมทุน ดังนั้นจึงต้องการค่าจ้างต่ำ และอัตราการออมสูง ซึ่งรัฐบาลเผด็จการอาจจะทำได้ดีกว่าด้วยซ้ำ อย่างในเอเชีย รัฐบาลส่วนใหญ่ก็เข้าข้างนักธุรกิจและช่วยพวกเขาสะสมทุน

แม้ในประเทศทุนนิยมศูนย์กลางเอง ทุนนิยมและประชาธิปไตยก็มีหลักการที่แตกต่างกัน ทุนนิยมเน้นความมั่งคั่ง ขณะที่ประชาธิปไตยเน้นอำนาจทางการเมือง หน่วยวัดในระบบทุนนิยมคือเงิน หน่วยวัดในประชาธิปไตยคือสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง ทุนนิยมรับใช้ประโยชน์ส่วนตัว ประชาธิปไตยรับใช้ประโยชน์ส่วนรวม ในประเทศทุนนิยมศูนย์กลางมีความแตกต่างขัดแย้งสูง และระบบรัฐสวัสดิการ (ซึ่งทำให้ทุนนิยมมีอายุยืนยาวกว่าที่คาร์ลมาร์กซ์ทำนายไว้) ในปัจจุบันก็เริ่มลดลง เพราะเงินทุนสามารถโยกย้ายหนีภาษีและการจ้างงานที่มีเงื่อนไขมากไปสู่ประเทศอื่นได้ง่ายขึ้น

ระบบรัฐสวัสดิการที่ลดลงในประเทศทุนนิยมศูนย์กลาง เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้ และผลกระทบทั้งหมดของมันยังไม่ปรากฎให้รู้สึกได้ทั้งหมด ที่น่าสังเกตคือ สัดส่วนของเศรษฐกิจภาครัฐบาล ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติในประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีอัตราเพิ่มขึ้นสูง นับจากหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา เริ่มมีอัตราลดลงนับจากปี 2523 แม้จะลดลงไม่มากนัก แต่ภาษีที่เก็บจากทุนและการจ้างงานมีสัดส่วนลดลง ขณะที่ภาษีจากการบริโภคมีสัดส่วนสูงขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ภาระของภาษีย้ายจากเจ้าของเงินทุนไปสู่ประชาชนมากขึ้น

บทบาทของเงิน

เงินมีบทบาท 3 อย่างคือ เป็นหน่วยวัดทางบัญชี, เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และเป็นที่สะสมมูลค่า นักเศรษฐศาสตร์คลาสสิกตีความว่า เงินเป็นเครื่องมือเพื่อจุดมุ่งหมาย(Means to an End) เงินไม่ใช่จุดมุ่งหมายในตัวเอง เงินสะท้อนมูลค่าในการแลกเปลี่ยน(Exchange Value) ไม่ใช่มูลค่าแท้จริงที่อยู่ภายในตัวมัน(Intrinsic Value) นั่นก็คือมูลค่าของเงินขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้าและบริการที่เงินสามารถแลกเปลี่ยนได้ (เงินไม่ได้มีค่าในตัวมันเอง แต่เพราะคนยอมรับให้มันเป็นเงิน)

ในสังคมทุนนิยม ซึ่งเน้นการแข่งขัน และการวัดความสำเร็จด้วยความมั่งคั่งคิดเป็นตัวเงินมูลค่าในการแลกเปลี่ยนของเงินได้เข้ามาแทนที่มูลค่าภายในของตัวเงิน เมื่อเงินสามารถซื้อเกือบทุกสิ่งได้ ทุกคนก็ต้องการเงิน เงินกลายเป็นอำนาจ และอำนาจก็คือจุดมุ่งหมายในตัวของมันเอง คนยิ่งมีเงินมาก ก็ยิ่งมีอำนาจมาก

การที่ระบบทุนนิยมโลกเน้นการแสวงหากำไรสูงสุด ทำให้ละเลยจุดมุ่งหมายด้านอื่นของสังคมเช่น การเพิ่มการจ้างงาน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสังคมส่วนรวมมากกว่ากรณีบริษัทได้กำไรสูงสุด การแข่งขันกันหากำไร ทำให้เกิดการรวมบริษัท, การลดขนาด และการย้ายโรงงานไปต่างประเทศ ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานที่เรื้อรังในยุโรป

ระบบทุนนิยมโลกยังประสบความสำเร็จอย่างวิปริตในการแผ่อิทธิพลทางอุดมการณ์เข้าไปในอาณาบริเวณที่คุณค่าอย่างอื่นนอกจากคุณค่าที่คิดเป็นตัวเงิน เคยครอบครองอยู่ คือ ในวัฒนธรรมและในอาชีพบางอาชีพ ซึ่งคนเคยยึดคุณค่าของวิชาชีพ(เช่น แพทย์ ครู) มากกว่าคุณค่าที่คิดเป็นตัวเงิน ระบบทุนนิยมโลกในปัจจุบันแตกต่างจากทุนนิยมสมัยก่อนตรงที่เงินมีบทบาทเป็นมูลค่าภายในตัวของมันเอง(Intrinsic Value) เพิ่มขึ้นอย่างมาก เมื่อเทียบกับว่าก่อนนี้เงินเคยมีบทบาทแค่เป็นมูลค่าในการแลกเปลี่ยนเท่านั้น ปัจจุบันเงินได้กลายเป็นผู้ปกครองชีวิตของคน ที่ยิ่งใหญ่ยิ่งกว่าครั้งใดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

เครดิตในฐานะของที่มาแห่งความไม่มั่นคง

เงินเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับเรื่องเครดิต(สินเชื่อ) อย่างใกล้ชิด แต่คนเรายังเข้าใจบทบาทของเครดิตน้อยกว่าบทบาทของเงิน เครดิตมักจะขึ้นอยู่กับหลักทรัพย์ที่ผู้ขอกู้นำมาจำนองหรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ขอกู้มีเครดิต มูลค่าของหลักทรัพย์ที่จำนองหรือเครดิตของผู้กู้เป็นปฏิสัมพันธ์แบบส่งผลสะท้อนกลับ เพราะการมีเครดิตมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการประเมินของผู้ให้กู้ และมูลค่าของหลักทรัพย์จำนอง(ที่นิยมมากที่สุดคืออสังหาริมทรัพย์) ก็ได้รับอิทธิพลจากความจริงที่ว่าในระบบเศรษฐกิจขณะนั้นมีเครดิตหรือสินเชื่อที่จะปล่อยให้กู้ได้มากแค่ไหนด้วย

เครดิตของประเทศผู้ขอกู้ มักจะถูกวัดโดยสถิติบางตัว เช่น อัตราส่วนหนี้ต่อผลิตภัณฑ์สุทธิประชาชาติ, อัตราส่วนการชำระหนี้ต่อการส่งออก ฯลฯ มาตรวัดเหล่านี้เป็นปฏิสัมพันธ์แบบส่งผลสะท้อนกลับ เพราะความมั่งคั่งของประเทศผู้ขอกู้มักจะขึ้นต่อความสามารถในการกู้จากต่างประเทศได้มาก ปฏิสัมพันธ์แบบส่งผลสะท้อนกลับ 2 ทางนี้มักถูกมองข้าม ดังนั้นจึงเกิดการปล่อยกู้ระหว่างประเทศกันอย่างขนานใหญ่ชนิดเกินความพอดีในทศวรรษ 2510 หลังจากเกิดวิกฤติหนี้สินในปี 2525 ก็เชื่อกันว่าผู้ให้กู้คงระมัดระวังมากขึ้น คงไม่มีการปล่อยเงินกู้กันมากเกินไปจนทำให้เกิดวิกฤติเหมือนอย่างที่เคยเกิดมาแล้วอีก แต่สิ่งนี้ก็เกิดขึ้นอีกครั้งที่เม็กซิโกในปี 2537 และอีกครั้งที่ไทยและประเทศเอเชียอีกหลายประเทศในปี 2540

เครดิตระหว่างประเทศมีลักษณะที่ไม่มั่นคงมากกว่าเครดิตภายในประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งมีระบบควบคุมจากธนาคารกลางที่ดีกว่า ดังเราจะเห็นได้ว่ามีปัญหาวิกฤติหนี้สินระหว่างประเทศเกิดขึ้นอยู่เป็นระยะ ๆ และองค์กรระหว่างประเทศที่มีอยู่ ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ที่จะควบคุมดูแลได้อย่างสม่ำเสมอ เหมือนกับธนาคารกลางในแต่ละประเทศที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องการกู้ยืมในประเทศของตน องค์กรระหว่างประเทศและธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ อาจจะร่วมมือกันบ้างเวลาเกิดวิกฤติหนี้สินระหว่างประเทศ แต่เป็นการตามแก้ปัญหาภายหลังจากเกิดวิกฤติแล้ว มากกว่าที่จะป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติครั้งต่อไป

ความไม่สมมาตร และความไม่มั่นคงของระบบทุนนิยมโลกในทัศนะจอร์ซ โซรอส

เวลาเกิดวิกฤติหนี้สินระหว่างประเทศ เจ้าหนี้จากประเทศทุนนิยมศูนย์กลาง(ด้วยความช่วยเหลือของ IMF ธนาคารโลกและองค์กรอื่นๆ ที่มีอยู่) มักเป็นฝ่ายได้เปรียบลูกหนี้จากประเทศทุนนิยมขอบนอกค่อนข้างมาก เจ้าหนี้อาจจะให้กู้ต่อ, ยืดอายุหนี้หรือแม้แต่ลดหนี้ แต่พวกเขาไม่เคยตัดหนี้สูญให้ลูกหนี้ บ่อยครั้งที่พวกเขาสามารถชักจูงรัฐบาลประเทศลูกหนี้ให้เป็นฝ่ายรับผิดชอบต่อหนี้สินของธนาคารพาณิชย์(เช่น ที่ชิลีในปี 2525 เม็กซิโก ปี 2537 เกาหลีใต้ อินโดนิเซีย และไทยในปี 2540) แม้ว่าพวกเจ้าหนี้อาจจะต้องตั้งสำรองหนี้เพิ่มขึ้น แต่ในที่สุดแล้วพวกเขามักจะได้การชำระคืนจากหนี้เลวเป็นสัดส่วนสูงพอสมควร ถึงกรณีที่ประเทศลูกหนี้อาจจะไม่สามารถชำระหนี้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่พวกเขาก็จะถูกบีบให้ต้องชำระหนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ภาระการถูกบีบบังคับให้ต้องชำระหนี้เช่นนี้มักทำให้ประเทศลูกหนี้ต้องเศรษฐกิจตกต่ำไปหลายปี

การที่เจ้าหนี้เงินกู้ระหว่างประเทศได้รับประกันความเสียหายจากระบบทุนนิยมโลกค่อนข้างมาก เป็นตัวการสร้างการเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่ออย่างไม่ต้องรับผิดชอบ(MORAL HAZARD) เนื่องจากความเสี่ยงจากการปล่อยกู้ระหว่างประเทศมีไม่มากพอที่จะยับยั้งให้เจ้าหนี้ต้องระมัดระวังในการปล่อยเงินกู้ ความไม่สมมาตรในลักษณะนี้เป็นสาเหตุสำคัญของความไม่มั่นคงของการกู้ยืมระหว่างประเทศ

วิกฤติทางการเงินทุกครั้งมักจะเริ่มต้นด้วยการขยายตัวของการปล่อยสินเชื่ออย่างไม่จีรังยั่งยืน ถ้าหากมีเงินสำหรับให้กู้อยู่มากมาย ย่อมเป็นการยากที่จะคาดหมายให้ผู้ขอกู้ต้องยับยั้งชั่งใจตนเอง ถ้าหากภาครัฐบาลเป็นผู้กู้ คนที่จะใช้หนี้คือรัฐบาลชุดต่อไป รัฐบาลจึงนิยมกู้เงินเพื่อมาทดแทนการบริหารที่ไม่ได้เรื่องของตน แต่ไม่ใช่ภาครัฐบาลเท่านั้นที่ไม่สนใจจะควบคุมตนเองไม่ให้กู้มากเกินไป ภาคเอกชนก็มักไม่สนใจควบคุมตนเองเช่นกัน โดยที่หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลทางการเงินของรัฐบาลเช่น ธนาคารกลางมักไม่ตระหนักว่าประเทศของตนมีการกู้หนี้ระหว่างประเทศมากเกินไป จนกว่ามันจะสายไปเสียแล้ว นี่คือกรณีที่เกิดขึ้นกับหลายประเทศในเอเชียในวิกฤติปี2540

ความไม่สมมาตรอีกประการหนึ่งก็คือ การที่เงินตราสกุลที่เป็นที่ยอมรับในการซื้อขายระหว่างประเทศเป็นของประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมเพียงไม่กี่ประเทศ และการเงินของประเทศเหล่านี้ถูกกำหนดโดยนโยบายของรัฐบาลภายในประเทศนั้น มากกว่าเพื่อประโยชน์ของการเงินระหว่างประเทศ ประเทศทุนนิยมขอบนอกจึงควบคุมชตากรรมของตนได้น้อยมาก วิกฤติหนี้ระหว่างประเทศในปี 2525 เกิดขึ้น เพราะสหรัฐเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงมาก ขณะที่วิกฤติของเอเชียในปี 2540 ก็เริ่มมาจากการที่ค่าเงินดอลลาร์สูงขึ้น

ความไม่สมมาตร 2 ประการที่กล่าวมา เป็นสาเหตุใหญ่ แม้จะไม่ใช่สาเหตุทั้งหมดของความไม่มั่นคงของระบบการเงินของโลก

ลัทธิบูชาการตลาดอย่างหลงใหล
(MARKETFUNDAMENTALISM)

ระบบทุนนิยมโลกได้รับการสนับสนุนจากอุดมการณ์ที่มีรากมาจากทฤษฎีการแข่งขันสมบูรณ์ ทฤษฎีนี้อ้างว่าตลาดมีแนวโน้มจะเคลื่อนย้ายไปสู่จุดดุลยภาพเสมอ และจุดดุลยภาพสะท้อนถึงการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทฤษฎีนี้เชื่อว่าไม่ควรมีการแทรกแซงใด ๆ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของกลไกตลาดเสียไป อุดมการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า LAISSES FAIRE — “เปิดเสรีให้ทำอะไรได้ตามใจชอบ” แต่โซรอสคิดว่าน่าจะเรียกว่า MARKET FUNDAMENTALISM – ลัทธิบูชาการตลาดอย่างหลงใหลมากกว่า

คำว่า FUNDAMENTALISM หมายถึง ความเชื่อที่อาจจะนำไปสู่ความสุดขั้วได้ง่าย มันคือความเชื่อในเรื่องความสมบูรณ์ ความเชื่อในเรื่องความจริงแท้ ความเชื่อว่าปัญหาทุกปัญหาต้องมีทางแก้ไข มันสะท้อนถึงสิทธิอำนาจ(AUTHORITY) ที่อ้างถึงความรู้ที่สมบูรณ์ แม้ว่าความรู้นั้นมนุษย์ธรรมดาไม่สามารถเข้าถึงได้

พระเจ้าคือ สิทธิอำนาจเช่นนั้น และในโลกยุคใหม่ วิทยาศาสตร์ก็คือสิ่งทดแทนที่เป็นที่ยอมรับกัน ทั้งลัทธิการบูชาตลาดและมาร์กซิสม์ต่างอ้างว่าทฤษฏีของตนมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ เพราะอุดมการณ์ทั้งสองนี้พัฒนาขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่19 ในยุคที่การตื่นตัวในความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ยังทำให้คนเชื่อว่า เราสามารถจะค้นหาสัจธรรมที่สมบูรณ์ได้

ปัจจุบันเราได้เรียนรู้อย่างมากถึงข้อจำกัดของวิธีการแบบวิทยาศาสตร์ และความไม่สมบูรณ์ของกลไกตลาด ทั้งอุดมการณ์บูชาการตลาดอย่างหลงไหลและมาร์กซิสม์ ต่างถูกลดความเชื่อถือด้วยกันทั้งคู่ อย่างแรก หลังจากการเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในทศวรรษ 2470 และการแทนที่โดยเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์(ที่เน้นการแทรกแซงของรัฐมากกว่าปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด) อย่างหลังโดยการล่มสลายของสหภาพโซเวียต แต่ลัทธิบูชาการตลาดอย่างหลงใหลก็กลับฟื้นคืนชีพได้ในภายหลัง ด้วยความเชื่อของคนมากกว่าพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

อนาคตของทุนนิยมโลกในทัศนะจอร์จ โซรอส

ตลาดการเงินของโลกขยายตัวใหญ่กว่าตลาดการค้าหลายร้อยเท่า ผู้จัดการมุ่งแสวงหากำไรสูงสุดจากราคาหุ้นมากกว่ามุ่งขยายส่วนแบ่งในตลาด การควบและเข้าซื้อกิจการขยายตัวในอัตราสูงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การผูกขาดและกึ่งผูกขาดระดับโลกกำลังปรากฎตัวขึ้น ขณะนี้มีบริษัทตรวจสอบบัญชี (AUDITING FIRMS) ระดับโลกเหลือเพียง 4 บริษัท วงการธนาคารและธุรกิจการเงินก็มีแนวโน้มจะควบกิจการกันมากขึ้น ไมโครซอฟท์และอินเทลเกือบจะกลายเป็นผู้ผูกขาดธุรกิจคอมพิวเตอร์ของโลกอยู่แล้ว

ขณะเดียวกัน จำนวนผู้ถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้น และสัดส่วนของการมีหุ้นเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินในครัวเรือนก็มีมากขึ้น การขยายตัวของการเป็นเจ้าของหุ้นในกองทุนรวมต่าง ๆ ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงทางการเงิน โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา 2 ประเด็น คือ

ผลจากความร่ำรวยของกำไรจากการถือหุ้น ทำให้มีการบริโภคมากขึ้น และการออมของประชาชนอเมริกันลดลง ดังนั้นถ้าราคาหุ้นเกิดตกต่ำ ความรู้สึกจะเปลี่ยนเป็นตรงกันข้าม นำไปสู่เศรษฐกิจชลอตัว และซ้ำเติมให้ตลาดหุ้นยิ่งตกมากยิ่งขึ้น

2) ความไม่มั่นคงที่เกิดจากการที่ผู้จัดการกองทุนรวมถูกประเมินผลจากความสามารถในการทำกำไรในเชิงเปรียบเทียบระยะสั้น มากกว่าจากการทำกำไรสุทธิในระยะยาว ดังนั้นพวกเขา

จึงมีแนวโน้มที่จะลงทุนแบบตามกระแสการเก็งกำไร มากกว่าที่จะลงทุนโดยพิจารณาปัจจัยพื้นฐานของบริษัท และมักจะทุ่มลงตัวแบบสุด ๆ เพื่อมุ่งหวังทำกำไรสูงสุด โดยเก็บเงินสดสำรองไว้น้อยมาก ถ้าหากกระแสราคาหุ้นเปลี่ยนกลับเป็นขาลง พวกเขาจะต้องถูกสถานการณ์บังคับให้ขายหุ้นเพื่อมีเงินสดสำรอง ซึ่งยิ่งเป็นการกดดันให้หุ้นราคาดิ่งลงไปอีก

ทุนนิยมโลกรูปแบบใหม่ที่รุนแรงกว่าเก่า กำลังมุ่งทำลายโมเดลการบริหารแบบเอเชีย หรือแบบขงจื้อที่ให้คุณค่าในเรื่องครอบครัว(รวมทั้งการดูแลพนักงานเหมือนสมาชิกในครอบครัว) วิกฤติปัจจุบันบีบบังคับให้ธุรกิจแบบครอบครัวของเอเชีย ต้องเปิดทางให้ต่างชาติเข้ามาซื้อกิจการและทำให้ธุรกิจของประเทศในเอเชียเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยมโลกอย่างแนบแน่นมากขึ้น ธนาคารระหว่างประเทศและบริษัทข้ามชาติจะเข้าไปมีฐานที่มั่นในเอเชียมากขึ้น ผู้บริหารรุ่นใหม่จะเป็นคนที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกที่จะมีแรงจูงใจมุ่งทำกำไรสูงสุดให้บริษัทมากกว่าจริบ

ธรรมแบบขงจื้อ และความภาคภูมิใจในชาติของตน

ดังนั้นถ้าระบบทุนนิยมโลกสามารถก้าวผ่านวิกฤติระลอกนี้ได้ เศรษฐกิจโลกจะถูกครอบงำโดยบริษัทข้ามชาติมากยิ่งขึ้น การแข่งขันอย่างรุนแรงจะยิ่งทำให้พวกเขามุ่งแสวงหากำไรเอกชน โดยไม่สนใจต่อผลกระทบทางสังคม บางบริษัทอาจจะต้องสร้างภาพพจน์ในเรื่องที่ประชาชนสนใจ เช่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้าง แต่พวกเขาจะไม่ยอมลดกำไรลงมาเพียงเพื่อจะช่วยให้ประชาชนในเอเชียมีงานทำเพิ่มขึ้น

ในอีกด้านหนึ่งก็มีความเป็นไปได้ว่า ระบบทุนนิยมโลกจะไม่สามารถผ่านการทดสอบวิกฤติระลอกนี้ได้ การตกต่ำทางเศรษฐกิจยังไม่ถึงจุดต่ำสุดในประเทศทุนนิยมขอบนอก และมันไม่สามารถจะฟื้นตัวได้ โดยไม่ผ่านความเจ็บปวดอย่างมากมาย จะต้องมีการปฏิรูปการจัดองค์กร ธนาคาร และบริษัทต่าง ๆ เสียใหม่ จะต้องมีการลดการจ้างคนลงอีกมาก การเมืองก็จะต้องมีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสรีประชาธิปไตยขึ้น แต่ปัญหาวิกฤติขนาดหนัก อาจจะยิ่งทำให้การเมืองพลิกกลับไปในขั้วตรงข้าม คือขั้วของเผด็จการอำนาจนิยมก็ได้

สิ่งที่เป็นตัวตัดสินคือ จะเกิดอะไรขึ้นที่ประเทศทุนนิยมศูนย์กลาง ที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้เท่านั้น ปัญหาวิกฤติในประเทศทุนนิยมขอบนอกกลับเป็นประโยชน์ต่อประเทศทุนนิยมศูนย์กลาง วิกฤติในเอเชียทำให้ประเทศทุนนิยมศูนย์กลางลดความกดดันเรื่องภาวะเงินเฟ้อ, ทำให้ทางการไม่ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยและทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นจุดสูงจุดใหม่

แต่ผลในทางบวกของวิกฤติเอเชียต่อประเทศทุนนิยมศูนย์กลางกำลังหมดไป และผลทางลบเริ่มจะปรากฎให้เห็น กำไรของบริษัทในประเทศทุนนิยมศูนย์กลางเริ่มลดลง เนื่องจากมีดีมานด์ซื้อสินค้าลดลง และมีการแข่งขันจากสินค้าต่างประเทศมากขึ้น ธุรกิจภาคบริการ ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแข่งขันระหว่างประเทศก็เจอปัญหาต้นทุนค่าจ้างสูงขึ้น

ตลาดหุ้นในประเทศทุนนิยมศูนย์กลางขึ้นได้ขึ้นถึงจุดสูงสุดแล้ว ถ้าตลาดเริ่มเป็นขาลงเมื่อไหร่, ผลจากความมั่งคั่งที่ผู้ถือหุ้นเคยชินก็จะแปรให้การตกต่ำของตลาดหุ้นกลายเป็นการตกต่ำของระบบเศรษฐกิจของประเทศ สิ่งนี้จะก่อให้เกิดการต่อต้านการสั่งสินค้าเข้า ซึ่งจะเป็นการสาดน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าใส่ประเทศทุนนิยมขอบนอกผู้ส่งออกสินค้าไปประเทศทุนนิยมศูนย์กลาง

แล้วระบบทุนนิยมโลกจะไปทางไหนใน 2 ฉากข้างต้น จอร์ซ โซรอสเชื่อว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างหลัง คือ เกิดวิกฤติเพิ่มขึ้น มากกว่าอย่างแรก ถึงอย่างไรระบบทุนนิยมโลกก็จะต้องถึงวาระล่มสลายเพราะข้อบกพร่องในตัวของมันเอง ถ้าไม่ใช่ในวิกฤติระลอกนี้ ก็คงในวิกฤติระลอกต่อไป นอกเสียจากว่า เราจะตระหนักถึงข้อบกพร่องของมัน และลงมือแก้ไขได้ทันกับสถานการณ์

การที่โซรอสมองวิกฤติของโลกจากจุดยืนของชนชั้นนำของประเทศทุนนิยมที่มั่งคั่ง ทำให้มีข้อจำกัดว่าเป็นการมองแบบจากข้างบนลงล่างมากเกินไป เขาจึงมองได้แค่เรื่องตลาดโลกและปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไม่ได้มองเห็นว่าภายในของแต่ละประเทศไม่ว่าจะประเทศร่ำรวยหรือยากจนก็มีปัญหาความขัดแย้งและการเอารัดเอาเปรียบระหว่างคนรวยกับคนจนอยู่มาก

จริง ๆ แล้วปัญหาของระบบทุนนิยมโลกเวลานี้คือ การกดขี่ของคนรวยที่สุด 20% แรกของโลกที่มีอำนาจทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรมและการสื่อสารมากกว่าคนที่จนกว่า 80% หลังอย่างเทียบกันไม่ได้ คนรวยที่สุด 20% ของโลก ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีคลังของประเทศกำลังพัฒนา หรือนายธนาคาร, ผู้บริหาร IMF ผู้บริหารบริษัทที่ปรึกษาการลงจากประเทศร่ำรวย เป็นคนที่มีภูมิหลังทางชนชั้นและการศึกษาแบบเดียวกัน คิดเหมือน ๆ กัน ทำงานเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน แม้ว่าพวกเขาจะถือพาสปอร์ตต่างเชื้อชาติกัน

คนรวย 20% แรกของโลกแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวโดยอ้างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบบูชาระบบตลาด ทำให้พวกเขายิ่งรวยและยิ่งมีอำนาจมากขึ้น ขณะที่คนอีก 80% ของทั้งโลกตกงานมากขึ้น และรายได้ที่แท้จริงลดลง นายธนาคารและนักลงทุนทางการเงินที่ร่ำรวยขึ้น สะสมเงินทุนที่อยากปล่อยให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมกู้ยืมเพื่อจะหากำไรจากดอกเบี้ยมากขึ้น ทำให้เกิดการผลิตที่ล้นเกิน ขณะที่คนส่วนใหญ่ขาดรายได้ ขาดอำนาจซื้อ เศรษฐกิจโลกจึงตกต่ำ เกิดปัญหาหนี้สินที่ค้างชำระ ธุรกิจซบเซาคนตกงานมากขึ้น รายได้ลดลง เป็นการซ้ำเติมให้เศรษฐกิจยิ่งตกต่ำแบบเป็นวงจรที่ชั่วร้ายที่ไม่มีทางออก เพราะคนรวย 20% แรกไม่ยอมรับว่าแนวคิดและพฤติกรรมของพวกเขาคือตัวสร้างปัญหา ไม่ยอมรับว่าวิกฤติขณะนี้คือปัญหาทางโครงสร้างของระบบทุนนิยม แต่พวกเขากลับอธิบายว่าวิกฤติเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นชั่วคราวแบบฤดูกาลหรือเป็นวัฏจักรขาลง ที่เมื่อลงถึงจุดต่ำสุดแล้ว ต่อไปก็จะต้องฟื้นขึ้นเอง

นอกจากนี้แล้วการพัฒนาของระบบทุนนิยมที่มีลักษณะผูกขาดและกึ่งผูกขาดหรือระบบมือใครยาว ยังได้แต่มุ่งแสวงหากำไรเอกชน โดยไม่คำนึงถึงต้นทุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ สิ่งที่พวกคนรวย 20% แรกสร้าง และเรียกว่า “ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ” ได้ทำลายสภาพแวดล้อม ทำลายสมดุลของทั้งธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรม ทำให้โลกกำลังเกิดวิกฤติในทุก ๆ ด้าน ไม่ใช่เฉพาะวิกฤติด้านการเงินการคลังเท่านั้น

ดังนั้น การจะแก้ไขปัญหาวิกฤติระบบทุนนิยมโลกได้ จึงต้องการการปฏิวัติโครงสร้างการจัดองค์กรของมนุษย์ตั้งแต่ระดับรากหญ้าขึ้นมาถึงองค์กรระดับโลกที่ดูแลเรื่องระหว่างประเทศ การที่จอร์ช โซรอส เสนอแต่การปรับปรุงองค์กรระดับโลกเป็นด้านหลัก โดยคิดว่าถ้ามีการควบคุมดูแลตลาดการเงินให้ดีและประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม ให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาให้มากกว่านี้ จะพิทักษ์ระบบทุนนิยมโลกไว้ให้อยู่อย่างยั่งยืนได้นั้น อย่างเก่งก็คงจะช่วยต่ออายุระบบทุนนิยมโลกให้ยืนยาวต่อไปได้อีกสักระยะหนึ่งเท่านั้น แต่วิกฤติก็จะต้องประทุขึ้นอีก เพราะไม่ได้แก้ปัญหาด้านโครงสร้างอย่างถึงรากหญ้า

ระบบเศรษฐกิจโลกที่จะยั่งยืนได้จริง ๆ คงไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่ยังคงอิงระบบตลาดเป็นหลัก แม้จะมีการดูแลจากองค์กรโลกก็ตาม แต่จะต้องเป็นระบบที่ผสมผสานขึ้นมาใหม่โดยการนำส่วนที่ดีของระบบตลาดเสรีจริง ๆ (ไม่ใช่ผูกขาดหรือมือใครยาวสาวได้สาวเอา) ระบบสหกรณ์ และการพึ่งตนเอง


คัดลอกจาก https://www.facebook.com/Puttichet/posts/583214845185909:0



แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2016 เวลา 22:42 น.
 


หน้า 20 จาก 559
Home

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3057
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8655210

facebook

Twitter


บทความเก่า