Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

สอนเด็กให้เป็นคนดี : ๑๔. การยอมรับ (๑) จากตัวกูของกู สู่โลกกว้าง

พิมพ์ PDF

บันทึก ๑๙ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ Teaching Kids to Be Good People : Progressive Parenting for the 21stCentury เขียนโดย Annie Fox, M.Ed. 

ตอนที่ ๑๔นี้ ตีความจากบทที่ ๗How About Me?! Seeing Beyond Likes and Dislikes to the Bigger Picture    โดยที่ในบทที่ ๗มี ๔ ตอน   ในบันทึกที่ ๑๔จะตีความตอนที่ ๑ และ ๒     และในบันทึกที่ ๑๕จะเป็นการตีความตอนที่ ๓ และ ๔

บทที่ ๗ ทั้งบท ของหนังสือ เป็นเรื่อง การสอนเด็กให้เป็นคนดีโดยขยายความสนใจจากตัวเอง และเรื่องใกล้ตัว ไปสู่โลกกว้าง    ให้เข้าใจว่าในโลกนี้ยังมีคนอื่น สิ่งอื่นอีกมากมาย   ที่เด็กจะต้องทำความรู้จักและมีความสัมพันธ์ที่ดี   คนอื่นเหล่านี้ต่างก็มีชีวิตเลือดเนื้อและความต้องการของเขา    การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน    เป็นการปูพื้นฐานไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีชีวิตที่ดี  หรือเป็นคนดี

ตอนแรก อย่าบ่น จงทำให้ดีขึ้น เป็นการฝึกเด็กให้เป็นคนมองโลกแง่บวกนั่นเอง    การบ่น เป็นการอยู่กับท่าทีเชิงลบ    แต่เมื่อเราพบสิ่งที่ยังไม่พอใจ เราเข้าไปลงมือทำให้ดีขึ้น เท่ากับเป็นการใช้ท่าทีเชิงบวก   หากพ่อแม่/ครู ปฏิบัติเป็นตัวอย่าง   เด็กก็จะได้เรียนรู้ และได้นิสัยดีติดตัวไป    การมีนิสัยลงมือทำโดยไม่บ่น ทำให้สิ่งต่างๆ รอบตัวดีขึ้น   เป็นคุณสมบัติสำคัญของการเป็นคนดี คนมีประโยชน์ต่อสังคม

นั่นคือ เมื่อไม่พอใจพฤติกรรมใดๆ ของเด็ก   จงอย่าบ่นว่า แต่ให้ชวนทำสิ่งที่จะแก้ไขพฤติกรรมไม่ดีนั้น   และเมื่อการลงมือทำนั้นก่อผลดี จงชม ชมโดยอธิบายว่าสิ่งนั้นดีอย่างไร    จะเป็นคุณต่อชีวิตในอนาคตของเด็กอย่างไร   หากรู้เป้าหมายในชีวิตหรือความใฝ่ฝันของเด็ก จงเชื่อมโยงว่าการทำสิ่งดีนั้นจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่เด็กใฝ่ฝันอย่างไร

ผมมองว่า การดุด่าว่ากล่าวเด็ก เป็นการส่งสัญญาณความเห็นแก่ตัวของผู้ใหญ่    แต่แทนที่จะดุด่าว่ากล่าว เราใช้วิธีชวนเด็กลงมือทำ (เด็กชอบทำอยู่แล้วโดยธรรมชาติ) และบรรลุความสำเร็จที่เด็กภูมิใจ   แล้วผู้ใหญ่ชวนเด็กไตร่ตรองทบทวนว่าการฝึกทำสิ่งนั้นมีคุณค่าต่อเด็กในปัจจุบัน และในอนาคต อย่างไร   กิจกรรมทั้งหมดนั้นเป็นการส่งสัญญาณว่าผู้ใหญ่มีความรักและให้ความสำคัญต่อตัวเด็ก   ในกระบวนการนี้ ผู้ใหญ่สามารถชี้ชวนให้เด็กลองเปรียบเทียบระหว่างพฤติกรรมเดิม (ที่ไม่ดี แต่ผู้ใหญ่ไม่บ่นว่า หรือดุด่าว่ากล่าว) กับกิจกรรมใหม่ ว่าแตกต่างกันอย่างไร   อันไหนมีคุณต่อตัวเด็กมากกว่า

ผู้ใหญ่ยกตัวอย่างวิธีฝึกเด็กด้วยการลงมือทำ ไม่บ่นว่า    ว่าเมื่อลูกวัยรุ่นมาขอเบิกเงินค่าโทรศัพท์มือถือราคา ๑,๐๐๐ เหรียญ (ซึ่งเป็นของแพงที่เด็กที่ยังไม่มีรายได้เป็นของตนเองไม่ควรซื้อใช้)   พ่อแม่บอกว่าการซื้อของราคาแพงเช่นนี้พ่อแม่รับไม่ได้ ลูกต้องจ่ายเอง  จบ   ไม่มีการดุด่าว่ากล่าว มีแต่การกระทำ คือไม่จ่าย เด็กต้องจ่ายเอง

ข้อความในบทนี้ทำให้ผมนึกถึง Transformative Learning   ซึ่งหมายถึง (๑) การเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายในตน  (๒) การเรียนรู้ฝึกฝนเป็นคนที่มีภาวะผู้นำ  คือเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change agent)   ซึ่งก็คือผู้ลงมือทำเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง    ไม่ใช่ผู้เฝ้าแต่พร่ำบ่น    ในคติยิว เขาสอนว่า คนทุกคนต้องออกไปทำสิ่งที่ไม่ใช่งานประจำ  “เพื่อซ่อมแซมโลกให้ดีขึ้น”

คนดีคือคนที่ลงมือทำ เพื่อช่วยให้โลกดีขึ้น

ผู้เขียนแนะนำให้พ่อแม่คุยกับลูก และร่วมกันประเมินบรรยากาศภายในบ้าน (อย่าระบุว่าใครทำ) มีการบ่นว่า กับการลงมือทำให้ดีขึ้น มากน้อยแค่ไหน   สถานการณ์ดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไร   บอกลูกให้ “เปิดเทป” เสียงบ่นของพ่อแม่    และช่วยกันหาวิธีทำให้เสียงบ่นลดลง    และติดตามผลเป็นรายสัปดาห์    แทนที่ด้วยการช่วยกันลงมือทำเพื้อแก้ไขสิ่งที่ไม่พึงประสงค์    ซึ่งผมคิดว่าวิธีนี้น่าจะใช้ในโรงเรียนได้ด้วย

คำถามจากครูของลูกผู้เขียน “ลูกชายอายุ ๑๒ ไปอยู่กับยายและตาสองสามวันพร้อมกับลูกพี่ลูกน้องหลายคน   ลูกชายคร่ำครวญว่ายายรักหลานคนอื่นมากกว่า    ยายบอกว่าลูกพี่ลูกน้องขออ่านหนังสือของลูกชาย   และยายบอกให้ลูกชายให้พี่ๆ น้องๆ อ่าน   ว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร   ลูกชายขอให้ไปรับกลับก่อนกำหนด   แต่ตนคิดว่าควรให้โอกาสลูกได้แก้ปัญหา และเป็นโอกาสของการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาความเป็นผู้ใหญ่   ตนเป็นห่วงว่า ลูกชายมักคิดว่าตัวเองตกเป็นเหยื่อ”

คำตอบของผู้เขียน “ที่จริงเรื่องแบบนี้เป็นของธรรมดาสำหรับเด็ก   แต่ที่สะกิดใจคือ คุณบอกว่า ลูกชายชอบคิดว่าตนตกเป็นเหยื่อ   คำถามคือ ที่บ้านและที่โรงเรียน ลูกชายทำตัวเป็นเหยื่อหรือเปล่า”

คำถามรอบสองจากแม่ “เห็นพฤติกรรมเป็นเหยื่อทั้งที่บ้าน และที่โรงเรียน   ที่บ้านเขาโทษแม่ ว่าทำให้ตนไม่มีกางเกงขาสั้นที่ซักแล้วใช้   ทั้งๆ ที่เขารับผิดชอบการซักผ้าของตนเองทั้งหมด   ที่โรงเรียนเขาโทษครู ว่าทำให้การบ้านของเขาหาย   ฉันได้พยายามอธิบายให้เขารับผิดชอบกิจกรรม/พฤติกรรมของตัวเอง”

คำตอบของผู้เขียน “เด็กมักเลียนแบบผู้ใหญ่ที่มีอิทธิพลที่บ้าน    หากเห็นว่าพฤติกรรมของผู้ใหญ่ช่วยขจัดอุปสรรคในชีวิตไปได้    ถ้าพ่อแม่โทษกันไปโทษกันมา    นั่นคือที่มาของพฤติกรรมของลูก”

รอบสามจากแม่ “สามีที่หย่ากันไปแล้วชอบโทษความท้าทายในชีวิต ว่าเกิดจากปัจจัยภายนอก แทนที่จะสำรวจและปรับปรุงตนเอง    ตอนลูกชายยังเล็ก ครั้งหนึ่งลูกหัวไปโขกประตู   พ่อของเขาปลอบลูก และกล่าวว่า ประตูเลวมาก    เร็วๆ นี้ลูกทะเลาะกับเพื่อนผู้หญิง และพ่อของเขาเข้าไปว่าเด็กผู้หญิงว่าพ่อแม่ไม่สั่งสอน   แต่เมื่อตนเองคุยกับลูกชาย เขาก็ยอมรับว่าเขามีส่วนผิดในการวิวาทนั้น   ไม่ทราบว่าลูกยังเชื่อพ่อแค่ไหน   ลูกเขาเทิดทูนพ่อมาก”

คำตอบของผู้เขียน “ส่วนหนึ่งของการบรรลุวุฒิภาวะ คือการรู้จักรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง    และรับผิดชอบต่อผลของการกระทำนั้น   ลูกชายยังอายุเพียง ๑๒   ยังต้องเรียนรู้อีกมาก   และเขาโชคดีที่ได้คำแนะนำป้อนกลับด้วยความรักความเอาใจใส่จากแม่และจากคนอื่นที่รักและห่วงใยเขา   การที่คนที่มีความสำคัญที่สุดต่อเขาสองคนเห็นไม่ตรงกันในเรื่องนี้ ย่อมเป็นความท้าทาย   แต่เมื่อลูกชายเติบโตขึ้นไปเรียนชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลาย เขาก็จะมีผู้ให้คำแนะนำเพิ่มขึ้น   และนิสัยโทษผู้อื่นก็จะได้รับคำแนะนำป้อนกลับ   หวังว่าเขาจะได้เรียนรู้และปรับตัว จนสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นได้”

ตอนที่ ๒  การให้ เป็นเรื่องพัฒนาการของชีวิตคนเราทุกคน   ที่ต้องเปลี่ยนจาก “ชีวิตผู้รับ” ในตอนเป็นทารกและเด็กเล็ก   แล้วค่อยๆ เปลี่ยนโลกทัศน์และทักษะ สู่การเป็น “ผู้ให้” มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโตขึ้น    พ่อแม่/ครู ต้องช่วยเหลือหรือฝึกเด็กให้มีพัฒนาการนี้อย่างเหมาะสม    เด็กที่ยังยึดติดใน “ชีวิตผู้รับ” อย่างเหนียวแน่น แม้อายุเข้า ๕ ขวบแล้ว    เป็นเด็กโชคร้าย ที่พ่อแม่/ครู เลี้ยงผิด    กลายเป็นเด็กที่มีพัฒนาการบกพร่องทางจิตใจ    ทั้งหมดในย่อหน้านี้ผมตีความและต่อเติมเอง    ไม่ได้เขียนจากสาระในหนังสือตรงตามตัวอักษร

ความอยู่รอดในชีวิตของทารกและเด็กเล็กอยู่ที่การเรียกร้องเอาจากพ่อแม่/คนเลี้ยง    แต่สภาพนี้จะค่อยๆ เปลี่ยน จนกลับตรงกันข้ามเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่    คือความอยู่รอด/อยู่ดี อยู่ที่การเอื้อเฟื้อหรือการให้   ที่จะนำไปสู่การเป็นที่ยอมรับนับถือในสังคม ทำงานใหญ่ได้

พัฒนาการในชีวิตคนเรา เริ่มจากเห็นแก่ตัว    ไปสู่เห็นแก่ผู้อื่น เห็นแก่ส่วนรวม    ใครที่กระบวนการพัฒนาการนี้บกพร่อง ชีวิตก็บกพร่อง

ชีวิตคือการเดินทาง จากโลกแคบ (ตัวตนคนเดียว)  สู่โลกกว้างและสังคม   คนเราต้องเรียนรู้เพื่อการเดินทางนี้

คำถามของสาว ๑๓ “แม่ชอบดุหนู   และเอาใจแต่น้องสาว    หนูพยายามจะไม่โวยวายแต่แม่ก็ทำให้หนูพลุ่งขึ้นมาทุกที   หนูหนีเข้าไปร้องไห้ในห้อง แม่ก็ว่าหนูแกล้งทำ    หนูรู้ว่าแม่รักหนู   แต่แม่รักน้องมากกว่า    และแม่มีวิธีแสดงความรักหนูแบบแปลกๆ   หนูรู้สึกดีกับพ่อ เพราะพ่อรักลูกเท่ากัน    แต่กับแม่หนูรู้สึกคล้ายเป็นการแย่งความรักจากแม่ และน้องชนะทุกที    แม้หนูจะเข้าวัยทีนแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าหนูไม่ต้องการให้แม่กอดยามรู้สึกไม่ดี   ไม่ใช่แค่บอกว่าดีแล้ว”

คำตอบของผู้เขียน (Annie Fox) “ฉันเข้าใจว่า เธอต้องการให้แม่เข้าใจเธอ   สนใจเอาใจใส่เธอในฐานะคนพิเศษ   เธอรู้สึกว่าน้องสาวได้รับความเอาใจใส่แบบนั้น   แต่เธอไม่ได้รับจากแม่   ไม่ว่าจะทำดีอย่างไรก็ไม่ได้รับคำชมจากแม่    กรณีนี้เป็นสถานการณ์ที่ยาก    ไม่ทราบว่าแม่ของเธอตระหนักในความรู้สึกนี้ของเธอหรือไม่    หากหาทางให้แม่ตระหนักได้ก็จะเป็นการดี

น่าดีใจที่เธอเข้ากับพ่อได้ดี   เป็นไปได้ไหมที่จะอาศัยพ่อช่วยพูดกับแม่   ให้แม่ได้รับรู้ความรู้สึกของเธอ    ซึ่งจะช่วยให้แม่ได้ปรับตัว ในการแสดงออกกับเธอ”

สาว ๑๓ รอบสอง “ขอบคุณมาก    คำแนะนำช่วยได้มาก   แต่ไม่สะดวกใจที่จะพูดเรื่องนี้กับพ่อ    จะพยายามด้วยตัวเอง”

คำตอบของผู้เขียนรอบสอง  “วิธีไหนก็ได้   ฉันเดาว่าแม่ไม่รู้ว่าเธอรู้สึกอย่างไร    ฉันสังเกตว่าเธอเขียนหนังสือเก่ง    ทำไมไม่ลองเขียนจดหมายถึงแม่และนำไปยื่นให้ด้วยตนเอง    เขียนแบบเดียวกับที่เขียนถึงฉันนี่แหละ”

 

วิจารณ์ พานิช

๙ เม.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 06 ธันวาคม 2013 เวลา 14:47 น.
 

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

พิมพ์ PDF

ชื่อของเวทีนี้อย่างเป็นทางการคือ การประชุมคณะกรรมการพัฒนาและประกันคุณภาพงานของภาควิชา ครั้งที่ ๘๖ (๔/๒๕๕๖) เรื่อง Competency based learning สำหรับการผลิตแพทย์ในศตวรรษที่ ๒๑ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   จัดประชุมเมื่อวันที่ ๒๙ พ.ย. ๕๖     เป็นตัวอย่างของการที่คณะแพทยศาสตร์ดำเนินการ HPER (Health Professional Education Reform) อย่างเป็นระบบ

ท่านที่สนใจจริงจัง ควรอ่านบันทึกนี้ร่วมกับบันทึกที่ลงเผยแพร่ในวันเดียวกันนี้ ใน บล็อก www.gotoknow.org/blog/thaikm

การประชุมวันนี้ กำหนดให้แต่ละภาควิชามานำเสนอการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

ผมห่างเหินกับการดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต ของโรงเรียนแพทย์ที่ผมเคยทำหน้าที่ คณบดีแห่งนี้มากว่า ๒๐ ปี   เมื่อมาได้ฟังการนำเสนอและการซักถามหรืออภิปราย   ก็ตระหนักว่า การปฏิรูปการเรียนการสอนของคณะฯ พัฒนาไปไกลกว่าที่ผมคิดมากทีเดียว    คือเป็น Integrated Curriculum, Block System เต็มรูป   โปรดดูรูปประกอบ

ผมรู้สึกพิศวง ว่าคณะฯ สามารถเอาชนะความยากลำบากทั้งปวง จัดและดำรงหลักสูตรเช่นนี้ไว้ได้

แต่เมื่อฟังโดยตลอดแล้ว ก็ยังรู้สึกว่า    การจัดระบบองค์กร (organization) ของคณะ ที่แบ่งออกเป็นภาควิชา ตามวิชา มันฝังรากลึกลงไปในกระบวนทัศน์ของคนอย่างแรง    ทำให้กรอบความคิด และพฤติกรรมเป็นไปตามสาขาวิชา    แทนที่จะเป็นไปตาม Competency อย่างที่ระบุไว้ในชื่อการประชุม

ทำให้ผมสรุปว่า ที่ผมได้ฟังตลอดวันนั้น เป็นส่วนผสมระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ Competency-Based กับแบบ Discipline-Based ครึ่งต่อครึ่ง    ซึ่งก็นับว่าดีมากแล้ว

แต่ผมคิดว่า คณะแพทยศาสตร์แห่งนี้สามารถทำได้ดียิ่งขึ้น    มีความเป็น Competency-Based ได้มากยิ่งขึ้น   หากมีการสื่อสารให้นักศึกษาแพทย์ได้เข้าใจ สมรรถนะ (competency) ที่ต้องการให้ นศพ. ได้เรียนรู้ฝึกฝน ในแต่ละช่วงเวลา หรือแต่ละขั้นตอน    เพื่อให้การประเมินการเรียนรู้จากมุมของ นศพ. เป็นการประเมินการเรียนเพื่อฝึกฝนสมรรถนะ ไม่ใช่ประเมินการเรียนวิชา

ผมมาสะกิดใจ ตอนไปกินอาหารเย็น ผศ. พญ. มยุรี วศินานุกร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มวล.   ซึ่งในอดีตทำหน้าที่รองคณบดีฝ่ายวิชาการของคณะแพทยศาสตร์ มอ. เป็นเวลานานมาก    และเข้าใจลึกซึ้งในเจตนารมณ์ของการจัดการเรียนการสอนแต่ละ block   ชี้ให้เห็นมุมมองของการเรียนแต่ละ block ในมุมของนักศึกษา    ซึ่งมีส่วนแตกต่างจากมุมมองของอาจารย์

ทำให้ผมคิดว่า ฝ่ายอาจารย์น่าจะจัดประชุมทำความเข้าใจเป้าหมายหลักของแต่ละ block ในมุมของการสร้าง competency ให้แก่ นศพ.   โดยเชิญ อ. หมอมยุรี มาร่งมทำความเข้าใจด้วย    เพื่อให้ key person ของแต่ละภาควิชาเข้าใจเป้าหมายและหลักการของ Integrated Curriculum, Block System ให้ทะลุปรุโปร่ง    ก้าวข้าม Discipline-Based Curriculum, Departmental System ให้ได้

ในตอนท้ายของการประชุม   ท่านคณบดี รศ. นพ. สุธรรม ปิ่นเจริญ เชิญให้ผมให้ข้อสังเกต    ผมแสดงความชื่นชมในความเอาใจใส่ศิษย์ของคณะ และของคณาจารย์ทั้งหลาย    ที่หาวิธีให้ศิษย์ได้เรียนรู้พัฒนาตนเอง    เพื่อมีสมรรถนะที่เหมาะสม ต่อการจบออกไปทำงานในระบบสุขภาพไทย

ผมได้เสนอว่า ตัวความรู้ที่เรียนในหลักสูตร มีความสำคัญน้อยกว่าทักษะด้านการเรียนรู้ (Learning Skills)    เพราะความรู้ที่เรียนในวันนี้ ต่อไปอีก ๔ - ๕ ปี ความรู้จำนวนหนึ่งจะเก่าและผิด ใช้ไม่ได้อีกต่อไป   บัณฑิตต้องมี Learning Skills ที่จะ Delearn (เลิกเชื่อ) ความรู้ส่วนที่เก่าและผิด    และเรียนรู้ความรู้ใหม่ (Relearn)

ผมได้เสนอวิธีการแบบหลุดโลกว่า ควรพิจารณาจัดการประชุมแบบเดียวกันนี้   แต่แทนที่จะให้อาจารย์มานำเสนอ   เปลี่ยนเป็นให้ นศพ. จัดทีมกันมานำเสนอ จากมุมของการเรียนรู้และเตรียมตัวออกไปเป็นแพทย์ที่ดีในศตวรรษที่ ๒๑   และทำงานในระบบสุขภาพไทยได้อย่างมีความสุข    โดยต้องมีการเตรียมนักศึกษาโดยทีมของท่านรองคณบดีฝ่ายการศึกษา    อาจารย์ซึ่งเป็นผู้ฟัง จะได้มองเห็นความจริงว่าด้วยการเรียนการสอน จากมุมมองของนักศึกษา    ซึ่งจะช่วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

อีกคำแนะนำหนึ่ง ที่ผมเสนอไว้ให้คณาจารย์และผู้บริหารพิจารณา     คือการประชุมเป็นรายคุณสมบัติที่พึงประสงค์ ซี่งมีทั้งหมด ๙ ข้อ    เชิญแกนนำของแต่ละภาควิชามาประชุมหารือกันทีละข้อ    โดยมีตัวแทนของ นศพ. ร่วมให้ความเห็นด้วย    ปรึกษากันว่า จะมีทางปรับปรุงวิธีการเรียน ให้ได้ผลยิ่งขึ้นในเกณฑ์คุณสมบัติข้อนั้น   โดยลดภาระการสอนของแต่ละภาควิชาลง    ให้เกิดสภาพ Teach Less, Learn More ได้อย่างไร    เป้าหมายคือลดความยุ่งยากของอาจารย์ลง โดยได้ผลที่การเรียนรู้ของ นศ. มากขึ้น   โดยที่มีวิธีประเมิน ให้ความมั่นใจแก่อาจารย์

สภาพของการเรียนแบบ Integrated แสดงออกมาชัดเจน ตอนที่ภาควิชาทางคลินิกมาเสนอ   โดยมีการกล่าวถึงการเรียนรู้ด้าน soft skills ด้วย   เช่นด้านคุณธรรมจริยธรรม  ด้านการสื่อสาร   ผมชื่นชมแนวทางนี้มาก   แต่ก็คิดว่า ยังมีลู่ทางที่จะนัดแนะกันในระหว่างภาควิชา    ว่า competency ใดที่จะต้องมีการเน้น ให้ นศพ. ได้เรียนและฝึกฝนแบบ implicit อยู่ในการฝึกปฏิบัติทางคลินิกนั้นเอง    ไม่ต้องมีชั่วโมงหรือรายวิชาแยกออกมาโดยเฉพาะ

ที่จริงผมให้ความเห็นอีกหลายเรื่อง ในระหว่างนั่งฟัง    โดยผมบอกที่ประชุมว่า ในเรื่องการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนนั้น ผมเรื้อเสียยิ่งกว่าเรื้อ   ไม่ได้สัมผัสมากว่า ๒๐ ปี    ข้อคิดเห็นของผมจึงอาจจะล้าสมัย

ผมได้เสนอให้คณะเอาใจใส่เรื่อง Inter-professional Learning   โดยเสนอให้ศึกษาตัวอย่างการฝึกภาคสนามเวชศาสตร์ชุมชน ของ มข.   ที่จัดให้แก่ นศ. ในคณะวิชาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกสาขา    ดำเนินการต่อเนื่องมากว่า ๓๐ ปี    เป็นรูปแบบที่น่าชื่นชมมาก    โดยผู้อำนวยการโครงการคือ รศ. นพ. สมเดช พินิจสุนทร

นอกจากนั้น ผมยังเสนอเรื่อง Flipped Classroom และเรื่องการฝึก Intra-personal skills โดย จิตตปัญญาศึกษา

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑ ธ.ค. ๕๖

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม 2014 เวลา 21:50 น.
 

ฺB-CM Model

พิมพ์ PDF

โครงการอบรมให้ความรู้แนวทางการขับเคลื่อน การพัฒนา จังหวัดด้วยแบบระบบการบริหารจัดการรายกรณี

B-CM Model : Buriram Case Management Model

วันที่ 20-21 มิถุนายน 2557

ณ ห้องประชุมโกวิทเชื่อมกลาง อาคารนวัตปัญญา มหาวิทยาลัยราชภฏบุรีรัมย์

 

เอกสารประกอบการอบรม

bcm-model

ธรรมนูญหมู่บ้าน จ.บุรีรัมย์

 

คาถาชีวิต ตอน "ดอกไม้และก้อนอิฐ"

พิมพ์ PDF

บุคคลสาธารณะ หมายถึง บุคลที่อาสารับใช้สาธารณะ เช่นบุคคลที่อาสามาเป็นผู้นำประเทศ ผู้นำชุมชน ผู้นำองค์กร หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงสังคม

บุคคลเหล่านี้จะได้รับทั้งดอกไม้และก้อนอิฐ (คำชมและคำด่า) ดังนั้นให้คิดเสียว่า "คำชมเหมือนสายลมเย็น คำด่าเหมือนฟ้าร้องคำราม" ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ คำชมคำด่าล้วนมีค่าเท่ากัน ไม่มีสิ่งใดจีรังยั่งยืนหรือมีค่าพอที่จะยึดเอาเป็นแก่นสารสำหรับการดำเนินชีวิต

คัดลอดบางส่วนมาจากหนังสือ"คาถาชีวิต 2" ของท่าน ว.วชิรเมธี

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุม

27 กุมภาพันธ์ 2558

 

การเมืองที่ปราศจากธรรมะก็คือ หายนะมวลรวมประชาชาติ

พิมพ์ PDF

การเมืองเป็นเรื่องของการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ ในเมื่องานการเมืองเป็นงานสืบเนื่องกับประโยชน์สุขของมหาชน นักการเมืองจึงจำเป็นต้องมีคุณธรรมประจำใจมากกว่าคนอื่น เพราะหากปราศจากซึ่งคุณธรรมประจำใจเสียแล้ว นักการเมืองก็จะฉวยโอกาสทำเพื่อประโยชน์ของตัวเองและพวกพร้อง มองไม่เห็นหัวของประชาชน จากประวัติศาสตร์อันยาวนานบนเวทีโลก ทำให้เราได้เรียนรู้ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งว่า ความหายนะทางการเมืองของทุกประเทศล้วนมีสาเหตุมาจากความเห็นแก่ตัวของนักการเมืองเป็นปฐม และในทางกลับกัน ความรุ่งเรืองทางการเมืองของประเทศใดก็ตาม ก็ล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากความไม่เห็นแก่ตัวของนักการเมืองด้วยเช่นกัน

คัดลอกจาก หนังสือ คาถาชีวิต  2 ของท่าน ว.วชิรเมธี

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2015 เวลา 22:13 น.
 


หน้า 551 จาก 559
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3057
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8654068

facebook

Twitter


บทความเก่า