Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง ๒๓๘๕. แก่แบบหด กับแก่แบบยืด

พิมพ์ PDF

ใน พ.ศ. ๒๕๒๒ศ. นพ. อวย เกตุสิงห์ บรรยายเรื่อง แก่อย่างสง่า ที่ศิริราช เป็นที่ฮือฮากันมาก แม้ในหมู่พวกผมที่ยังเป็นอาจารย์วัยเอ๊าะๆ ยังไม่เคยคิดว่าสักวันตัวเองก็จะเป็นคนแก่เหมือนกัน

บทความนี้อยู่ในเว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสถาน ที่นี่

ตอนนี้ผมอยู่ในวัยพอๆ กับอาจารย์หมออวยในตอนนั้น จึงขอตั้งข้อสังเกตเรื่อง "แก่สองแบบ" คือ "แบบหด" กับ 'แบบยืด" สิ่งที่หดหรือยืดคือเรื่องที่สนใจ หรือเรื่องที่ยึดถือเป็นสาระในชีวิต ไม่เกี่ยวกับอวัยวะใดๆ ของร่างกาย ที่ไม่ใช่แค่หด แต่ถึงกับ "เหี่ยว" เอาทีเดียว

นอกจากไม่เหี่ยวแล้ว จิตใจของคนแก่ยังสามารถสดใสลุกโพลงอยู่ด้วยความหวัง หากเอาจิตใจพุ่งไปที่เรื่องราวสำคัญๆ ของชุมชน/สังคม/บ้านเมือง

นี้คือเคล็ดลับ "แก่แบบยืด" คือยืดความสนใจ ความเอาใจใส่มุ่งมั่น ให้ขยายออกจากตนเอง หรือรอบๆ ตัว ให้ออกไปสู่ผลประโยชน์ของบ้านเมือง

ในกรณีของผม ผมก็เอาใจใส่ศึกษาเพื่อการนี้ เกิดความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นมากมาย รวมทั้งช่วยให้ตนเองทันสมัย ในเรื่องนั้นๆ ด้วย ยิ่งเอาประสบการณ์อันยาวนานของคนแก่ใส่เข้าไปเพื่อตีความในความหมายใหม่ๆ ยิ่ง "สนุกเป็นบ้า"

เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการ "แก่อย่างสนุก" เสริม "แก่อย่างสง่า" ของท่านอาจารย์หมออวย

เสริมเกร็ดการอบรมน้องใหม่ของศิริราช ในปี ๒๕๐๕ ตอนผมโดนอบรมน้องใหม่ ๗ ชั่วโมง non-stop พี่ปี ๔ คนหนึ่งสั่งสอนว่า ต้องเคารพอาจารย์ ห้ามเอาชื่อหรืออะไรๆ ของอาจารย์มาล้อเล่น และห้ามเรียกอาจารย์หมออวยว่า "ครูอวย" เด็ดขาด เรียกชื่ออาจารย์คนอื่นด้วยคำนำหน้านามว่าครูได้ แต่ห้ามใช้กับชื่ออาจารย์หมออวย

เสริมอีกเกร็ดครับ เป็นประเพณีที่ยึดถือกันมาว่าแพทย์จะถือรุ่นพี่เป็น "อาจารย์" เราจะไม่เรียกแพทย์ที่อาวุโสกว่าว่า "หมออวย" "หมอสุด" เพราะนั่นเป็นการเรียกแพทย์ที่อาวุโสเท่ากันหรือต่ำกว่า กับแพทย์ที่อาวุโสกว่า เราเรียกด้วยคำนำหน้านาม ว่า อาจารย์ทุกคน เช่นอาจารย์หมอสงคราม ไม่เคยสอนผมเลย แต่ผมและหมอรุ่นน้องของท่านเรียกอาจารย์ทุกคน

คำว่า "คุณหมอ" เป็นคำที่หมอจะไม่ใช้เรียกหมอที่อาวุโสกว่า ตรงกันข้าม เป็นคำที่หมออาวุโสใช้เรียกหมอที่เด็กกว่า และอาจารย์และรุ่นพี่ จะเรียกพวกเราตั้งแต่เข้าเรียนแพทย์ปี ๑ ว่า "คุณหมอ" โก้เป็นบ้า



วิจารณ์ พานิช

๒๘ ก.พ. ๕๘


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2015 เวลา 23:14 น.
 

Prof. Vicharn Panich ผู้ติดตาม 724 ติดตาม 0 ติดต่อ เขียน สมุด บันทึก อนุทิน แลกเปลี่ยน ความเห็น ดอกไม้ วิธีพัฒนาความริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อความสำเร็จในชีวิต

พิมพ์ PDF

บทความในนิตยสาร Scientific American Mind ฉบับเดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เรื่อง How to Cultivate Creativity. Research shows that being open to new experiences spurs innovation in the arts, sciences and life. เขียนโดย Scott Barry Kaufman (Scientific Director, Imagination Institute, Positive Psychology Center, University of Pennsylvania) และ Carolyn Gregoire น่าอ่านมาก อ่านได้ ที่นี่


นี่คือวิธีการสร้างคุณภาพของพลเมือง ... ฝึกให้มีท่าทีเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ ... ทำตัวเป็นแก้วที่พร่องน้ำอยู่เสมอ และฝึกวิธีคิดใหม่ๆ อยู่เสมอ ฝึกโดยประสบการณ์ เรียนรู้จากประสบการณ์


ครูที่ดีที่สุดคือประสบการณ์


ใน ๕ บุคลิกใหญ่ (big five personality traits) ซึ่งได้แก่ (๑) เปิดรับประสบการณ์ (opennesss to experience) (๒) มีคุณธรรม (conscientious) (๓) เข้าคนง่าย (extraversion) (๔) ไม่ขัดใจคน (agreeableness) และ (๕) อารมณ์แปรปรวน (neuroticism) บุคลิกเปิดรับประสบการณ์คือพื้นฐานสำคัญที่สุดต่อความสร้างสรรค์ และผมเติมว่า สำคัญที่สุดต่อการเรียนรู้


ผลงานวิจัยเพื่อปริญญาเอกของ Kaufman บอกว่า บุคลิกเปิดรับประสบการณ์มี พื้นฐานสำคัญอย่างน้อย ๓ ประการในด้านพันธะ (engagement) คือ (๑) พันธะเชิงปัญญา (intellectual engagement) (๒) พันธะทางจิตใจ (affective engagement) และ (๓) พันธะด้านสุนทรียะ (aesthetic engagement) และทางอารมณ์ ข้อค้นพบสำคัญของงานวิจัยคือ บุคลิกแบบนี้มีผลต่อความสำเร็จในชีวิตมากกว่าความฉลาดหรือไอคิว


ผู้เขียนสรุปประเด็นสำคัญ ๓ อย่างคือ (๑) บุคลิกเปิดรับประสบการณ์เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อ ความสร้างสรรค์ทางศิลปะและวิทยาศาสตร์ (๒) คนที่มีระดับ โดปามีนสูง มีแรงขับดันสูงต่อการค้นคว้า หาความรู้ และมีความเสี่ยงสูงต่อโรคจิต (๓) ประสบการณ์ใหม่ๆ อาจเปลี่ยนมุมมอง และเกิดการก้าวกระโดด ด้านการสร้างสรรค์


ผมสรุปต่อว่า บุคลิกนี้มีผลต่อการเกิด การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ได้ง่าย


เมื่อ ๓๘ ปีมาแล้ว ผมอ่านหนังสือ Creative Malady ชี้ให้เห็นว่าผู้ยิ่งใหญ่ของโลกจำนวนมากในด้าน ความริเริ่มสร้างสรรค์ ตั้งแต่ Charles Darwin, Sigmund Freud, Florence Nightingale เป็นต้น เป็นคนที่มีบุคลิก ของคนเป็นโรคจิตอยู่ด้วย หนังสือ How to Cultivate Creativity นี้รวบรวมหลักฐานจากงานวิจัย ชี้ว่าตัวการ ของความสร้างสรรค์ และโรคจิตมาจาก ฮอร์โมน โดปามีน


มีผลงานวิจัย บอกว่าในสมองส่วน thalamus ของคนที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์สูง และของคนเป็นโรค จิตเภทมีจำนวน receptor ต่อโดปามีน ชนิด D2 น้อยกว่าคนปกติ เขาอธิบายว่าเมื่อโดปามีนถูกจับไปน้อย จึงเหลืออยู่มากและออกฤทธิ์กระตุ้นให้มีจินตนาการ มีอารมณ์ และมีความเพ้อฝันสูง และอธิบายว่าการมี D2 receptor น้อยอาจทำให้มีการกรองผัสสะจากภายนอกออกไปน้อย ทำให้สมองมีการประมวลข้อมูลปริมาณมาก


เขาสรุปว่า ความริเริ่มสร้างสรรค์อาจเกี่ยวข้องกับการสร้างความเชื่อมโยง (connection) ใหม่ๆ


บทความนี้เป็นเรื่องย่อจากหนังสือ Wired to Create: Unraveling the Mysteries of the Creative Mind เขียนโดยผู้เขียนบทความทั้งสอง


ขอขอบคุณ รศ. ดร. สมโภชน์ ศรีโกสามาตร ที่กรุณาแนะนำบทความนี้


วิจารณ์ พานิช

๒๐ ต.ค. ๕๙


 คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/618571

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2016 เวลา 16:52 น.
 

สมเด๋็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ พระราชทานราชสังคหวัตถุ

พิมพ์ PDF

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐
อนุสรณ์คำนึงถึง พระราชบิดา
จึ่งพระราชทานราชสังคหวัตถุ 
แก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้สูงอายุ ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน
เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวา

เลขาธิการพระราชวัง รับพระราชโองการเหนือเกล้าฯ 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 
ทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระบรมราชชนก ซึ่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 13 ต.ค. 2559 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน เนื่องในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระบรมราชชนก โดยในวันที่ 5 ธ.ค.2559 เวลา 17.00น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จะเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร กับพระพุทธรูปสำคัญ พร้อมทั้งพระราชทานราชสังคหวัตถุแก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้สูงอายุ ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และพระราชทานสถาปนาเลื่อนและแต่งตั้งสมณศักดิ์พระเถรานุเถระ 159 รูป ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ผู้เข้ารวมพระราชพิธีแต่งกายเต็มยศ ไว้ทุกข์ สายสะพายจุลจอมเกล้า หรือสายสะพายสูงสุด และในวันที่ 6 ธ.ค.2559 เวลา 10.30 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จะเสด็จพระราชดำเนินมาบูชาพระสยามเทวาธิราช ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ และถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย

สำหรับการพระราชทานราชสังคหวัตถุ เป็นราชประเพณีที่มีแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา เมื่อ พ.ศ.2407 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คนชราพิการคนสูงอายุทั้งชายและหญิง เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานราชสังคหวัตถุ อันประกอบด้วยเงิน 1 ตำลึง และผ้า 1 สำรับ เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อๆ มาจึงได้ทรงถือเป็นธรรมเนียมสืบมา โดยในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานราชสังคหวัตถุเป็นเงิน 10 ตำลึง และผ้า 1 สำรับ แก่ข้าราชการฝ่ายหน้าฝ่ายในเป็นประจำทุกปี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงธรรมเนียมการพระราชทานราชสังคหวัตถุ กล่าวคือ โปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นเงินเพียงอย่างเดียว ส่วนผ้า 1 สำรับที่เคยพระราชทานคู่กันมาแต่เดิมโปรดให้งด 
ครั้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานราชสังคหวัตถุข้าราชบริพารฝ่ายหน้าและฝ่ายในที่อายุมากกว่า เนื่องในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นประจำทุกปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระชนพรรษาสูงขึ้น จึงมีการกำหนดอายุข้าราชบริพารฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ผู้มีสิทธิเข้ารับพระราชทานราชสังคหวัตถุ เป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

คัดลอกจากเฟสบุ๊ค คุณพิชาญ พงษ์พิทักษ์

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 04 ธันวาคม 2016 เวลา 13:49 น.
 

โครงการพัฒนาผู้บริหาร ระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า รุ่นที่ 11 (ช่วงที่ 4: ระหว่างวันที่ 29–30 เมษายน 2558 )

พิมพ์ PDF

สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ EADP รุ่น 11 ทุกท่าน 

ขอต้อนรับเข้าสู่ช่วงที่ 4 ของหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 11 (ปี 2558) หรือ EGAT ASSISTANT DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM: EADP 2015 ระหว่างวันที่ 29–30 เมษายน 2558

แม้ว่าจะเป็นการทำงานต่อเนื่องเรื่องคนให้กับ กฟผ. มาปีนี้เป็นปีที่ 11 แต่ผมก็ยังรู้สึกตื่นเต้น และพยายามจะแสวงหาความรู้ที่สด และทันสมัยมาแบ่งปันกับลูกศิษย์ของผมเสมอ

จากการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของ กฟผ. ในระดับผู้อำนวยการ 3 รุ่น และในระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอีก 7 รุ่นที่ผ่านมา ผมมีความภาคภูมิใจในลูกศิษย์ของผมที่วันนี้หลายคนเติบโต และเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคม

"ทุนมนุษย์" ใน กฟผ. นั้นเข้มแข็งและมีศักยภาพอยู่แล้ว ผมเป็นเพียงผู้ที่จะช่วยทำหน้าที่จุดประกาย สร้าง Inspiration ให้พวกเขามีพลัง มี Ideas ใหม่ ๆ มีความเข้าใจสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกและพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งการทิ้งผลงานหรือสิ่งที่มีคุณค่าไว้สำหรับสังคมไทยของเรา

สิ่งที่ผมและคน "กฟผ." ต้องระลึกถึงเสมอ คือ ผู้นำของเรา ต้องขอขอบคุณ ท่านผู้ว่าการ กฟผ. และอดีตผู้ว่าการฯ ทุกท่าน น่าชื่นชมที่มีปรัชญาและความเชื่อว่า "คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร" สูตรสำเร็จของการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรในยุคนี้ คือ ผู้นำหรือ CEO+SMART HR+ Non-HR และผมเชื่อว่าการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ใน กฟผ. อย่างต่อเนื่องจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้ กฟผ. เติบโตอย่างยั่งยืนได้แน่นอน

สำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 11 ในปีนี้ ผมก็หวังว่าจะมีสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการทำงานของ กฟผ. และเป็นการสร้างที่สร้างความสุขให้แก่คนไทยต่อไป และผมขอให้ทุกท่านใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของพวกเรา และแบ่งปันความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมของเราครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 29 เมษายน 2015 เวลา 19:19 น.
 

ข้อมูลโปรไฟล์สำคัญ 4 ประการของชาว GotoKnow.org

พิมพ์ PDF

ข้อมูลโปรไฟล์สำคัญ 4 ประการของชาว GotoKnow.org

เพียงแค่หนึ่งสัปดาห์เท่านั้นค่ะ ผู้เขียนและผู้อ่าน GotoKnow.org จำนวน 1,600 คนได้ร่วมกันระดมสมองทางออนไลน์ (Crowdsourcing) เสนอความเห็นต่อการดำเนินการด้านการจัดการความรู้ในองค์กรที่ตนปฏิบัติงานอยู่

ต้องขอขอบคุณสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านเป็นอย่างยิ่งสำหรับความร่วมมือในการระดมสมองด้านการจัดการความรู้ครั้งสำคัญของประเทศครั้งนี้นะคะ

ทีมงานได้เร่งการวิเคราะห์ผลการสำรวจออกมาอย่างรวดเร็วเพื่อเป็นข้อมูลประกอบในที่ประชุมการจัดการความรู้ซึ่งทาง สคส. และ สสส. กำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 11-12 กย. นี้ค่ะ

จากการวิเคราะห์เราพบข้อมูลที่สำคัญด้านลักษณะทางประชากรศาสตร์หรือโปรไฟล์ 4 ประการของสมาชิก GotoKnow.org ดังนี้ค่ะ

76% เป็นคนทำงานภาครัฐ
52% มาจากองค์กรด้านการศึกษา
79% อยู่ในระดับผู้ปฏิบัติการ
27% ทำงานในองค์กรปัจจุบัน 20-40 ปี 
23% ทำงานในองค์กรปัจจุบัน 5-10 ปี

ดิฉันขอสรุปออกมาคร่าวๆ นะคะ

  1. คน GotoKnow เป็นคนทำงานของรัฐค่ะ
  2. มากกว่าครึ่งอยู่ในองค์กรด้านการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียน
  3. เกือบ 80% เป็น knowledge workers ของแท้หรือ "คุณกิจ" หรือคนทำงานที่สร้างทรัพย์สินที่แตะต้องไม่ได้ให้แก่องค์กรค่ะ
  4. OMG! ข้อนี้สำคัญทีเดียวค่ะ อายุการทำงานมากๆ กันทั้งนั้นนะคะ (เฉพาะผู้เขียนเองก็ทำงานให้ มอ. มาร่วม 20 ปีแล้วนะคะ) ถ้าบุคคลเหล่านี้ได้ถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานและการใช้ชีวิตลงใน GotoKnow อย่างต่อเนื่อง ประเทศชาติเราจะมีคลังความรู้แห่งประสบการณ์ (Knowledge asset) ที่ระบุตัวตนของเจ้าของความรู้ (Expert mapping) ขนาดใหญ่ที่สุดเชียวนะคะ

ลองดูข้อมูลแล้วคิดเห็นอย่างไรบ้างค่ะ

รอ ลปรร. แลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่นะคะ

ขอบคุณค่ะ

ดร.จันทรวรรณ ปิยะวัฒน์

 

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/594269

 


หน้า 554 จาก 559
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3057
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8653871

facebook

Twitter


บทความเก่า