Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

What is NLP

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 19 เมษายน 2017 เวลา 20:06 น.
 

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ "พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการในพระองค์"

พิมพ์ PDF

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ "พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการในพระองค์"


          ๑ พ.ค.๖๐ - ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเวบไซต์ราชกิจจานุเษกษา ได้เผยแพร่ประกาศ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

          โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการในพระองค์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ 

          “พระราชกฤษฎีกา” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกาที่ตราขึ้นตามมาตรา ๑๕ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

          มาตรา ๔ การจัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ตามพระราชบัญญัตินี้ การจัดระเบียบราชการในพระองค์และการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ และสถานภาพของข้าราชการในพระองค์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกา
          ส่วนราชการในพระองค์ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และไม่เป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายอื่นใด ทั้งนี้ เว้นแต่ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัตินี้หรือในพระราชกฤษฎีกา
ส่วนราชการในพระองค์ส่วนราชการใดจะมีฐานะเป็นนิติบุคคลให้ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย บรรดาบทกฎหมายใดที่บัญญัติถึงคำว่าข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มิให้หมายความรวมถึงข้าราชการในพระองค์ ทั้งนี้ เว้นแต่ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัตินี้หรือในพระราชกฤษฎีกา

          มาตรา ๕ ให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการจัดสรรงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนให้แก่ส่วนราชการในพระองค์เพื่อปฏิบัติภารกิจด้านต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา  ให้ส่วนราชการในพระองค์มีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ประโยชน์ หรือดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับทรัพย์สินของส่วนราชการในพระองค์เพื่อให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย รายได้ของส่วนราชการในพระองค์ไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ทรัพย์สินของส่วนราชการในพระองค์ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และผู้ใดจะยกอายุความขึ้นอ้างกับทรัพย์สินของส่วนราชการในพระองค์มิได้ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่สนับสนุนภารกิจของส่วนราชการในพระองค์ตามที่ได้รับแจ้งจากส่วนราชการในพระองค์
           มาตรา ๖ เมื่อพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว ให้ยกเลิก

(๑) มาตรา ๔๖ (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
(๒) ลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และมาตรา ๑๒๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓) มาตรา ๑๐ (๓) และ (๔) มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๔/๑ และมาตรา ๔๒ (๖) (๗) และ (๘) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
           มาตรา ๗ เมื่อพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว
          (๑) ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน และเงินงบประมาณ ของสำนักราชเลขาธิการและสำนักพระราชวังตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสำนักราชเลขาธิการและสำนักพระราชวัง ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นข้าราชการในพระองค์ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

          (๒) ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ และทรัพย์สิน ของกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนอัตรากำลังพล และข้าราชการและผู้ปฏิบัติงานอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นอัตรากำลังพล และข้าราชการในพระองค์หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในส่วนราชการในพระองค์ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ส่วนเงินงบประมาณ สิทธิ และหนี้สินของกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ให้โอนไปเป็นของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงกลาโหม เพื่อประโยชน์ของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เว้นแต่จะมีพระราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น
          (๓) ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ และหนี้สิน ของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนอัตรากำลังพล และข้าราชการและผู้ปฏิบัติงานอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นอัตรากำลังพล และข้าราชการในพระองค์หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
          (๔) ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ และหนี้สิน ของสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการตำรวจในสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในพระองค์ในส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
          มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์ในการได้รับบำเหน็จบำนาญ ให้ถือว่าข้าราชการในพระองค์เป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี แต่การพ้นจากราชการให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ทั้งนี้ เว้นแต่พระราชกฤษฎีกาจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
          การรับบำเหน็จบำนาญ การรับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ของข้าราชการในพระองค์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
          มาตรา ๙ ในวาระเริ่มแรก การใดที่สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง และ กรมราชองครักษ์ หรือหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม และสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ในระหว่างการดำเนินการหรือ เคยดำเนินการได้ตามกฎหมาย เมื่อได้โอนมาเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยังคงดำเนินการต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เว้นแต่จะมีพระราชวินิจฉัยหรือมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ดำเนินการเป็นอย่างอื่น
          มาตรา ๑๐ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

                หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สํานักราชเลขาธิการ สํานักพระราชวังและกรมราชองครักษ์และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์กระทรวงกลาโหม

เป็นส่วนราชการที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับราชการในพระองค์และพระราชกรณียกิจขององค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งต้องถวายงานตามโบราณราชประเพณีและพระราชอัธยาศัย การปฏิบัติราชการจึงแตกต่างจากส่วนราชการของฝ่ายบริหารทั่วไป กรณีจึงสมควรกําหนดฐานะของส่วนราชการดังกล่าวขึ้นใหม่ ให้เป็นส่วนราชการในพระองค์โดยปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีการจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลเป็นการเฉพาะให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อให้การบริหารราชการในพระองค์เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของราชการในพระองค์ และสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

คัดลอกจาก คมชัดลึก

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 02 พฤษภาคม 2017 เวลา 20:27 น.
 

การเรียนรู้กลับทางในสังคมดิจิตัล

พิมพ์ PDF

                  https://www.slideshare.net/PattyMim/ss-76097033

โปรดชมการนำเสนอที่ link ด้านบน


การเรียนรู้กลับทางในสังคมดิจิตัล

  1. 1. วิจารณ์ พานิช เสนอในเวทีวิชาการ“วัฒนธรรมการใช้ข้อมูล : เจาะข้อมูล จูนความคิด แจ้งวิกฤต จุดติดทุกโอกาส” ๒๕ เมษายน ๒๕๖๐ การเรียนรู้กลับทางงสทบลักรู้นยรีเราก
  2. 2. ความเข้าใจใหม่่ว่าด้วยการเรียนรู้ การเรียนรู้ที่แท้จริง ไม่ได้เกิดจากการรับถ่ายทอดความรู้ สาเร็จรูป ความรู้ของคนอื่น แต่เกิดจาก “การปฏิบัติ” (Action) -> สังเกตและเก็บข้อมูล -> ไตร่ตรองสะท้อน คิด (Reflection) -> สร้างความรู้ขึ้น ในตน ความรู้ของตนเอง
  3. 3. การเรียนรู้ (Transformative Learning) • เป็นการเชื่อมโยง บูรณาการ ความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิม • ขยายความรู้เดิม หรือ • เปลี่ยนไปเป็นความรู้ใหม่โดย สิ้นเชิง
  4. 4. สังคมดิจิทัล • ความรู้หาง่าย • แต่ไม่แน่ว่าจะถูกต้อง • ต้องรู้จักเลือก - information literacy / critical thinking (วิจารณญาณ / กาลามสูตร) • ต้องรู้จักตรวจสอบ...ด้วยข้อมูลจากการปฏิบัติของตนเอง
  5. 5. การเรียนรู้กลับทางของ นร./นศ กลับทาง เรียนทฤษฎีที่บ้าน จากแหล่งข้อมูดิจิตัล ทาแบบฝึกหัดที่ โรงเรียน การเรียนรู้ เป็น กระบวนการ ทางสังคม เดิม เรียนทฤษฎี ที่โรงเรียน ทาการบ้านที่บ้าน
  6. 6. การเรียนรู้ของคนทางาน • เรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ • โดยมีเปาหมายอันทรงคุณค่าร่วมกัน (common purpose) • ใช้ความรู้ที่ค้นได้ ปฏิบัติร่วมกันเป็นทีม หลายทีม (action) สังเกตผล เก็บข้อมูล • Group Reflection โดยมีโค้ชช่วยตั้งคาถาม
  7. 7. Adult Learning Observation & Reflection Forming Abstract Concepts Testing in New Situations Concrete Experience 1 2 3 4
  8. 8. เรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ • ตั้งเปา หาความรู้/สารสนเทศ/ข้อมูล นามาใช้ประกอบการ ทดลองปฏิบัติ เก็บข้อมูล • ร่วมกันไตร่ตรองสะท้อนคิดตอบคาถาม “ทาไม” ผลที่ได้ อธิบายได้อย่างไร เข้ากับทฤษฎี ก, ข, ค หรือไม่ อย่างไร • เรียนรู้ทฤษฎีอย่างลึกผ่านการปฏิบัติ
  9. 9. สรุป ยุคศตวรรษที่ ๒๑ ต้อง กลับทาง จาก เรียนทฤษฎีร่วมกัน แล้วปฏิบัติคนเดียว สู่ เรียนทฤษฎีคนเดียว แล้วปฏิบัติ (และสะท้อนคิด) ร่วมกัน เรียนเองจากแหล่งดิจิตัล จาก ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ สู่ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติ (ทฤษฎี) 
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2017 เวลา 19:18 น.
 

รัชกาลที่ ๑ ตอน๑๓

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2016 เวลา 23:36 น.
 

ปฏิรูปการเมืองเพื่อเป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติ.

พิมพ์ PDF

"การเปิดพื้นที่สาธารณะให้ผู้คนได้รวมตัวกันในการพัฒนาท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ คือการส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมประชาธิปไตย อีกทั้งมีข่าวดีว่า รัฐบาลเร่งผลักดันให้ทุกหมู่บ้านมี WIFI ภายใน 2-3 ปีนี้ เป็นการเปิดพื้นที่ให้มีการติดต่อสื่อสารกัน จะเป็นเครื่องมือเร่งสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย โดยเร็ว เกิดประชาธิปไตยการมีส่วนร่วม ประชาธิปไตยจากฐานล่าง ประชาธิปไตยท้องถิ่น"

   

อภิปรายต่อที่ประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 

เมื่อวันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2560

ประเด็น ข้อเสนอการปฏิรูปการเมืองเพื่อเป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติ

โดย นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ สมาชิกหมายเลข 40

 

“..หลายท่านในสภาแห่งนี้ ผ่านเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 คงมีส่วนร่วมในการเปิดพื้นที่ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของประเทศนี้ หากมองจากวันนั้นหวังเห็นอนาคตมากมาย เราคงคาดไม่ถึงว่า 44 ปีที่ผ่านมา เรายังไปไม่ถึงไหนอย่างที่หวัง ดังนั้นนับจากนี้ไป 20 ปีข้างหน้าจึงต้องเร่งการปฏิรูปประเทศ ให้เกิดประชาธิปไตยอย่างที่เราคาดหวัง..”

 

“..มีการเริ่มปฏิรูปการเมือง ปีพศ.2537 เมื่อครั้งที่ท่านฉลาด วรฉัตร อดข้าวประท้วง ประธานสภาผู้แทนราษฏร ท่านอาจารย์มารุต บุนนาค ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย  มีท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี เป็นประธาน อาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโน เป็นเลขานุการ คณะกรรมการชุดนี้ทำงานศึกษาวิจัยอยู่ประมาณหนึ่งปี ได้องค์ความรู้ในการปฏิรูปการเมือง ซึ่งต่อมานำไปใช้ในการร่างรัฐธรรมนูญ 40 เวลาล่วงมา 20 ปี พอจะสรุปได้ว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก..”

 

“..มีข้อสังเกตว่า เครื่องมือที่คัดกรองผู้สมัครรับเลือกตั้ง ไม่เกิดขึ้นจริง เคยเสนอให้บัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ชุดท่านอาจารย์บวรศักดิ์เป็นประธานฯ แต่ร่างฉบับนั้นไม่ผ่านสปช. คือบัญญัติให้ผู้สมัครฯทั้งระดับชาติและท้องถิ่นนับแสนราย ยื่นเอกสารแสดงภาษีเงินได้ย้อนหลังสามปี พร้อมกับบัญชีทรัพย์สินฯ เพราะเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินอย่างเดียวไม่พอ เชื่อว่า ผู้สมัครฯจำนวนมาก คัดกรองตนเองไม่สมัคร เพราะหากได้รับเลือกตั้ง แล้วมาตรวจสอบพบทีหลังและไม่สามารถอธิบายได้ จะหมดอนาคตทางการเมืองทันที จนบัดนี้ เครื่องมือนี้ยังไม่เกิด จะถูกบัญญัติไว้ในกฎหมายลูกหรือไม่ต้องติดตามต่อไป..”

“.. ข้อเสนอเพื่อปฏิรูปการเมืองในครั้งนี้ ขอเสนอเพียงประเด็นเดียว เป็นประเด็นที่สอดคล้องกับที่ท่านสปท.กษิต ภิรมย์ เสนอ คือการสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย เพราะที่ผ่านมา เราให้ความสนใจน้อย วัฒนธรรมในที่นี้ คือ วิถีชีวิตของคนกลุ่มหนึ่ง ในสิ่งแวดล้อมหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง รัฐจึงต้องส่งเสริมวัฒนธรรมประชาธิปไตย ดังที่ได้มีงานวิจัยของศาสตราจารย์พุตนัม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ใช้เวลาศึกษา 20 ปี  พบว่า หลังอิตาลีกระจายอำนาจไปสู่รัฐบาลท้องถิ่น ปรากฏว่าว่าอิตาลีตอนเหนือ เศรษฐกิจดี สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี อาชญากรรมน้อย ต่างกับอิตาลีตอนล่างเป็นทางตรงข้าม พุตนัมได้ข้อสรุปว่า เพราะทุนทางสังคมหรือ social capital ทางตอนเหนือ มีการรวมตัวของผู้คนอย่างเข้มแข็ง เป็นกลุ่ม ชมรม สโมสร มูลนิธิฯต่างๆมากมาย ทำงานร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่น อย่างมีความสัมพันธ์เชิงแนวราบ ต่างจากทางตอนใต้ที่มีความสัมพันธ์เชิงแนวดิ่ง สังคมไม่เข้มแข็ง 

ดังนั้น การเปิดพื้นที่สาธารณะให้ผู้คนได้รวมตัวกันในการพัฒนาท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ คือการส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมประชาธิปไตย อีกทั้งมีข่าวดีว่า รัฐบาลเร่งผลักดันให้ทุกหมู่บ้านมี WIFI ภายใน 2-3 ปีนี้ เป็นการเปิดพื้นที่ให้มีการติดต่อสื่อสารกัน จะเป็นเครื่องมือเร่งสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย โดยเร็ว เกิดประชาธิปไตยการมีส่วนร่วม ประชาธิปไตยจากฐานล่าง ประชาธิปไตยท้องถิ่น..”

 

“..ตราบใดที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนรวมกลุ่มกันและสื่อสารถึงกันได้ ช่วยเหลือตนเอง ช่วยเหลือกันเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ ประชาธิปไตยฐานล่างจะมั่นคง เข้มแข็ง หาใช่ประชาธิปไตยโครงสร้างบนที่ได้พยายามทำมาตลอด เพราะไปมุ่งเน้นพรรคการเมือง สาขาพรรคการเมือง ที่ผ่านมาเกิดสาขาพรรคการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยจริงหรือไม่ หรือเป็นสาขาเฉพาะกิจในยามเลือกตั้ง..”

 

https://youtu.be/g3-bxw1r6Tw

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=770561039789941&id=344628519049864

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย  ใน บันทึกการเมืองไทย

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/631098

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฏาคม 2017 เวลา 14:07 น.
 


หน้า 556 จาก 559
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3057
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8653942

facebook

Twitter


บทความเก่า