Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

เรียนโดยการตีกลอง

พิมพ์ PDF

ผู้แนะนำเรื่องนี้คือ นพ. อุดม เพชรสังหาร ผมได้ฟังเมื่อวันที่ ๖ ก.ย. ๕๖ ในการประชุม โครงการพัฒนาเยาวชนท้องถิ่น ๔ ภาค ระยะที่ ๒   ที่มาเสนอเรื่อง หลักสูตรนักถักทอชุมชน จัดโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล และ สรส. นพ. อุดม แนะให้ใช้วงตีกลอง ฝึกการทำงานเป็นทีม   เป็นการเรียนทักษะการทำงานเป็นทีมแบบไม่รู้ตัว

 

ท่านเอาเอกสารวิชาการเรื่องนี้มาให้ผม ๖ ชุด ได้แก่

  1. Synchronized Drumming Enhances Activity in the Caudate and Facilitates Prosocial Commitment – if the Rhythm Comes Easily
  2. “To the beat of a different drum” : improving the social and mental wellbeing of at-risk young people through drumming
  3. Empathy in Musical Interaction
  4. Drumming Up Courage
  5. Recreational music-making alters gene expression pathways in patients with coronary heart disease
  6. Why would musical training benefit the neural encoding of speech? The OPERA hypothesis

 

นี่คือรูปแบบหนึ่งของ ดนตรีบำบัด บำบัดความเกเรหรือพัฒนาเยาวชน   ซึ่งผมคิดว่าเหมาะมากสำหรับเด็กและวัยรุ่นที่มีกำลังเหลือมากมาย    วงตีกลองนี้จะมีผลป้อนไปยังสมอง   ทำให้การเรียนภาษาดีขึ้น   ช่วยสร้างการเรียน/ฝึกทักษะเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (empathy)    หรือน่าจะจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของ จิตตปัญญาศึกษา ได้

 

ผมได้ทราบเรื่องของคุณ คธา เพิ่มทรัพย์ นักตีกลองทับบล้า (กลองแขก) ซึ่งผมเดาว่า เป็นตระกูลเดียวกับกลองทับของไทยเรานั่นเอง    ทำให้ทราบว่า การตีกลองเป็นการฝึกทางจิตวิญญาณอย่างหนึ่ง

 

ที่จริงดนตรี ก็คือเครื่องมือบรรลุการเรียนรู้ทางจิตวิญญาณ    การฟังดนตรีให้ประโยชน์ในทางเพลิดเพลินและฝึกสมอง    แต่เป็นpassive learning การเล่นดนตรีเป็น active learning โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เล่นเป็นวง น่าจะช่วยฝึกสมองหลายด้านทีเดียว    น่าจะเป็นโจทย์วิจัยด้านการเรียนรู้   ได้มากมายหลายคำถามวิจัย    ดังแสดงในเอกสารบางฉบับที่คุณหมออุดมกรุณานำมามอบให้ผม

 

ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ครับ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๗ ก.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2013 เวลา 10:57 น.
 

เที่ยวเกาหลีในสี่วัน

พิมพ์ PDF

เที่ยวเกาหลีในสี่วัน

ถึงคราวเยือนเกาหลี

ท่องถิ่นที่มีความฝัน

แดนหนาวในคราวนั้น

คิดถึงวันประทับใจ

ลัดเลาะเกาะนามิ

กิน “กิมจิ” เขามีให้

“อูด้ง” เส้นโยงใย

ซดน้ำได้อร่อยดี

“คู่รัก” ปักใจมั่น

คือรูปปั้นอยู่ที่นี่

“สนใหญ่” สองร้อยปี

มองมากมีที่เรียงราย

รู้จัก “โซรัคซาน”

คือวันวารมุ่งมั่นหมาย

หนาวเหน็บจนเจ็บกาย

ยังมิวายจะเดินมอง

“วัดทงอิลแทบุล”

เราเดินวุ่นเที่ยวสอดส่อง

เคเบิ้ลเพลินทดลอง

ขึ้นแล้วมองยามค่ำคืน

ล่องใต้ไปถึงแดน

“เอฟเวอร์แลนด์”คนดาษดื่น

คนใหญ่ไร้ที่ยืน

เด็กหลายหมื่นยืนแถวยาว

แวะหาชิมสาหร่าย

ก่อนเตรียมถ่ายชุดต่างด้าว

“ฮันบก” ยกเรื่องราว

ชุดเมืองหนาวยาวสวยงาม

“เคียงบ๊อก”พระราชวัง

อันโด่งดังหวังไถ่ถาม

“จังกึม” ผู้ลือนาม

เคยติดตามจากละคร

“ทริคอาย” พิพิธภัณฑ์

งานสร้างสรรค์ศิลป์สืบสอน

ภาพวาดอาจยอกย้อน

ทุกภาพซ่อนความคิดคม

“นัมซาน” นั้นป้อมเก่า

อยู่บนเขามานานนม

ปรับปรุงแล้วเปลี่ยนปม

มาชื่นชมทุกหมู่ชน

อาหารนั้นหลายอย่าง

แวะระหว่างทางทุกหน

“ชาบู”ดูน่ายล                      (ซุปเห็ด)

รสชอบกล “ซัมเกทัง”              (ไก่ตุ๋น)

“คาลบิ” “พุลโกกิ”                 (หมู่ย่าง-บาบีคิ้ว)

แถม “กิมจิ” “แฮมุลทัง”           (ผักดอง-ซุปทะเล)

“จิมทัก”น่ารักจัง

รสเหมือนดังพะโล้ไทย

เที่ยวท่องมองทุกสิ่ง

แวะช็อปปิ้งของฝากได้

โสม, ยารักษาไต

สกัดได้ดอกสนแดง

สาหร่ายแพงไปนิด

“อะเมธิส”ม่วงใสแสง

ยศศักดิ์จักเริงแรง

อำนาจแห่งหินลาวา

ช้อนอยู่คู่ตะเกียบ

เงินทองเทียบของมีค่า

ของแพงแต่งหน้าตา

และของทาทั้งเนื้อตัว

ภาพถ่ายใบห้าพัน

รวมหมดนั้นฉันเวียนหัว

แสนกว่าตามืดมัว

แสนน่ากลัวไม่มีกิน

ตัวเบากระเป๋าแห้ง

ไร้เรี่ยวแรงระโรยริน

เมามึนขึ้นเครื่องบิน

กลับถึงถิ่นแผ่นดินเรา

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย โสภณ เปียสนิท

 

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๒๐. เส้นทางประเทศไทย...สู่อาเซียน : การสร้างความรู้และพัฒนาคน

พิมพ์ PDF

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ    จัดการประชุมประจำปี ๒๕๕๖ เรื่อง “เส้นทางประเทศไทย…สู่ประชาคมอาเซียน”    ผมได้รับเชิญไปร่วมอภิปราย ตามหัวข้อของการประชุม   โดยได้รับมอบหมายให้พูดเรื่อง การสร้างความรู้ และการพัฒนาคน

 

จึงนำ narrated ppt มา ลปรร. ที่นี่

 

ผู้ร่วมอภิปรายอีก ๒ ท่านคือ คุณกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซีเมนต์ไทยฯ    และ ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซีฯ    โดยมีนายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ประธานกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย   และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้นำเสนอ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๖ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/551542

 

เรียนรู้วิธีลดคอรัปชั่นจากฮ่องกง : 2. บทบาทด้านการศึกษา

พิมพ์ PDF
ภาวะผู้นำที่สำคัญยิ่งต่อความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนของประเทศ คือภาวะผู้นำในการต่อต้านและป้องกันคอรัปชั่น หรือผู้นำด้านคุณธรรมจริยธรรมนั่นเอง ทักษะด้านคุณธรรมจริยธรรม เป็นทักษะเพื่อภาวะผู้นำในศตวรรษที่ ๒๑ จะเป็นอาวุธต่อสู้ป้องกันความชั่วร้ายทำลายชาติ โดยคอรัปชั่น

เรียนรู้วิธีลดคอรัปชั่นจากฮ่องกง : 2. บทบาทด้านการศึกษา

ตอนที่ ๑

ICAC ระบุไว้ใน เว็บไซต์ ว่าตนมีบทบาทด้านการศึกษาเพื่อต่อต้านคอรัปชั่น ดังต่อไปนี้ จะเห็นว่า หน่วย CRD (Community Relations Department) ทำหน้าที่นี้   และทำหน้าที่ในแนว customer-based

ผมอยากจะรู้ว่า แล้วสถาบันการศึกษา   และกระทรวงศึกษาธิการทำอะไรบ้าง    จึงกูเกิ้ลด้วยคำว่า “anti corruption activities ofeducational institutions in Hong Kong”   พบเอกสารของ UNDP ชื่อ Institutional Arrangement to Combat Corruption. A Comparative Study ตีพิมพ์ในปี 2005   ศึกษาเปรียบเทียบใน ๑๔ ประเทศ รวมทั้งฮ่องกงและไทยด้วย  เอกสารชิ้นนี้ จัดทำโดย UNDP Regional Center ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพนี่เอง

ในเอกสารนี้หน้า ๒๑ บอกว่า ICAC ของฮ่องกงมีเจ้าหน้าที่ ๑,๓๐๐ คน เทียบจำนวนพลเมือง ๖.๘ ล้านคน   ส่วน ปปช. ของไทยมีเจ้าหน้าที่ ๕๐๐ คน พลเมือง ๖๕ ล้านคน

เอกสารในส่วนฮ่องกง ระบุหน่วยงาน HKEDC (Hong Kong Ethics Develipment Centre) ซึ่งก็อยู่ใต้ ICAC นั่นเอง

ในเอกสารส่วนฮ่องกง ระบุว่าในปี 2005 ฮ่องกงมีอันดับใน Corruption Perception Index ลำดับที่ ๑๕ ใน ๑๕๙ ประเทศ    โดยระบุว่า เริ่มมี ICAC ปี 1974 พอถึงปี 1977 ก็พบว่าคอรัปชั่นแบบมีการจัดตั้งอย่างเป็นระบบได้ถูกกวาดล้างไปหมดสิ้น   และข้อมูลคอรัปชั่นในปี 2003 บอกว่า แหล่งใหญ่ที่สุดอยู่ในภาคเอกชน คือร้อยละ ๕๗.๔  อยู่ในหน่วยงานภาครัฐร้อยละ ๒๓.๔   ในวงการตำรวจร้อยละ ๑๒.๓ และหน่วยงานสาธารณะอื่นๆ ร้อยละ ๖.๙

ปัจจัยความสำเร็จของฮ่องกงมี ๙ ประการ ในหน้า ๔๗ ของเอกสาร   อันดับแรกคือ political will    ทำให้เราเห็นว่าการปราบปรามและป้องกันคอรัปชั่นในประเทศไทยเลียนแบบสิงคโปร์ไม่ได้ เพราะของเราการเมืองเป็นสาเหตุสำคัญที่สุด   ตามที่มีผู้ให้ความเห็นในบันทึกเรื่องนี้ตอนแรกที่นี่ แต่เราก็ได้ข้อสรุปจากกรณีฮ่องกงว่า การป้องกันสำคัญที่สุด   ของไทยเราต้องหาวิธีป้องกันแบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศเรา

อินโดนีเซียเป็นตัวอย่างของประเทศที่ถูกกัดกร่อนด้วยคอรัปชั่นในสมัย ปธน. ซูฮาร์โต   แม้เวลาจะผ่านไป ๑๖ ปี สถานการร์ด้านคอรัปชั่นก็ยังไม่ดีขึ้นมากนัก   ชี้ให้เห็นว่า เมื่อคอรัปชั่นหยั่งรากลึก   การเยียวยาแก้ไขยากมาก

ประเทศที่ระบุใช้การศึกษาเป็นกลไกป้องกันคอรัปชั่นอย่างชัดเจนคือ ลิธัวเนีย หน้า ๕๘  โดยระบุสั้นๆ ว่าการศึกษาเป็นกลไกหลัก ๑ ใน ๓ ของกลไกป้องกันคอรัปชั่น   โดยจัดให้มีการเรียนการสอนต่อต้านคอรัปชั่นในหลักสูตรชั้นมัธยม และอุดมศึกษา

ประเทศที่แย่ที่สุดในรายงานนี้คือ ไนจีเรีย อันดับที่ ๑๕๒ ใน ๑๕๙ ประเทศ ของ Corruption Perception Index 2005  เป็นประเทศที่มีคอรัปชั่นอยู่ในระบบ และทำกันอย่างมีสถาบันดำเนินการ   และผมเดาว่าอยู่ในสันดานคนด้วย   แม้จะมีคนไนจีเรียที่ผมรู้จักหลายคนเป็นคนในระดับ “ประเสริฐ”    ผมกล่าวว่า อยู่ในสันดานคน เพื่อจะบอกว่า การศึกษามีความสำคัญยิ่งต่อการต่อต้านป้องกันคอรัปชั่น

ในหน้า ๖๙ ระบุว่า ไนจีเรียต่อต้านคอรัปชั่นด้วย ๓ กลไกหลัก คือ สอบสวน ป้องกัน และให้การศึกษาต่อสาธารณะชน  แต่จะเห็นว่า เอกสารไร้ความหมายหากไม่ทำจริง    ไนจีเรียเป็นตัวอย่างประเทศที่ล้มเหลวในการขจัดคอรัปชั่น   เขาบอกว่าส่วนสำคัญเป็นเพราะประชาชนไม่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้   ประเทศนี้ล้มเหลวเพราะคอรัปชั่นมาก   และที่ขจัดคอรัปชั่นไม่ได้ เพราะประชาชนไม่สนใจ    น่าจะเป็นบทเรียนสำหรับคนไทย

เกาหลีใต้ Corruption Perception Index 2005 อันดับที่ ๔๐ จาก ๑๕๙ ประเทศ   เป็นประเทศที่ภาคประชาสังคมมีบทบาทสูงมากในการต่อต้านคอรัปชั่น (หน้า ๗๗)

ประเทศไทย (หน้า ๘๗) ดูจะมีหน่วยงาน และกฎหมายต่อต้านป้องกันคอรัปชั่นมากที่สุด   เราอยู่อันดับที่ ๕๙ ใน ๑๕๙ ประเทศ ใน Corruption Perception Index 2005  และอันดับที่ ๘๘ ใน ๑๗๔ ประเทศ ใน Corruption Perception Index 2012)  แค่นี้ก็บอกแล้วว่าการมีหน่วยงานมาก กฎหมายมาก   ไม่นำไปสู่ผลงานที่ดีเสมอไป

เอกสารระบุผู้ตรวจการแผ่นดิน สตง. ฯลฯ เป็นกลไกของการต่อต้านคอรัปชั่น    จะเห็นว่าประเทศไทยมีกลไกเหล่านี้มาเป็นเวลานาน   แต่ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา คอรัปชั่นในประเทศไทยกลับรุนแรงยิ่งขึ้น   ผมตีความเองว่าเพราะพรรคการเมือง และนักการเมือง ที่มีอำนาจ จงใจทำลายกลไกเหล่านี้เพื่ออำนาจของตนเอง    และเวลานี้ คอรัปชั่นในประเทศไทยเป็นทั้งคอรัปชั่นทางนโยบาย   และคอรัปชั่นแบบโจ่งแจ้งโดยนักการเมืองและพวก    อ่านเรื่องราวได้ที่นี่

ข้อมูลประเทศไทยในเอกสารนี้เก่ากว่า ๑๐ ปี   จึงไม่สะท้อนภาพใน ๑๐ ปีหลัง   แต่ก็บอกเราว่า ประเทศไทย ไม่มีแนวความคิดให้กระบวนการศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการต่อต้านคอรัปชั่น

แทนซาเนีย เคยมีชื่อเสียง ในสมัยปกครองในระบอบโซเชียลลิสม์ ว่าเป็นประเทศยากจน ที่ปลอดคอรัปชั่น  แต่เวลานี้อยู่ที่อันดับ ๘๘ ใน ๑๕๙ ประเทศ ใน Corruption Perception Index 2005  เป็นกรณีศึกษาที่สรุปว่า ผู้นำประเทศมีความสำคัญยิ่งในการต่อต้านป้องกันคอรัปชั่น

ค้นคว้าศึกษามาถึงตอนนี้   ผมยังไม่พบว่ามีระบบการศึกษาของประเทศใด ที่ทำตัวเป็นผู้นำในการต่อต้านและป้องกันคอรัปชั่น   ทั้งๆ ที่หลักการสำคัญของ 21st Century Education คือการสร้างผู้นำ หรือสร้างภาวะผู้นำขึ้นภายในตัวคนทุกคน   และผมขอเสนอว่า ภาวะผู้นำที่สำคัญยิ่งต่อความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนของประเทศ คือภาวะผู้นำในการต่อต้านและป้องกันคอรัปชั่น   หรือผู้นำด้านคุณธรรมจริยธรรมนั่นเอง

ทักษะด้านคุณธรรมจริยธรรม เป็นทักษะเพื่อภาวะผู้นำในศตวรรษที่ ๒๑   จะเป็นอาวุธต่อสู้ป้องกันความชั่วร้ายทำลายชาติ โดยคอรัปชั่น

วิจารณ์ พานิช

๒๐ ต.ค. ๕๖

โรงแรมนานาบุรี จังหวัดชุมพร

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2013 เวลา 10:13 น.
 

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๗. ความสำเร็จของนักศึกษา

พิมพ์ PDF

ความสำเร็จของนักศึกษา

ผมตั้งข้อสังเกตว่า   เอกสารที่เราได้รับมีสาระระหว่างบรรทัด   บอกว่ามหาวิทยาลัยในอังกฤษ (อย่างน้อยก็ที่เราไปเยี่ยมชม) มองความสำเร็จของนักศึกษา ซับซ้อนกว่าในบ้านเรา ดังตัวอย่างมหาวิทยาลัยแอสตันระบุในเอกสาร Aston University 2020 forward   เกี่ยวกับบัณฑิตของตน  ในส่วนที่ผมตีความว่าสะท้อนภาพความสำเร็จของนักศึกษา ที่เขามุ่งหวัง คือ ใน พรบ. จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยในปี ค.ศ. 1966 ระบุวัตถุประสงค์ว่า ‘to advance and apply learning for the benefit of industry and commerceสะท้อนว่านักศึกษาที่เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยนี้ต้องการจบออกไปทำงานในระบบธุรกิจและอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยนอร์ธแทมตัน แจกเอกสารเล่มหนา Undergraduate Prospectus 2014 อ่านระหว่างบรรทัดได้ว่า มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ช่วยให้ความฝันในชีวิตของนักศึกษา เป็นจริง ดังที่ปกหน้าด้านในเขาลงรูป Jo Burns, BA (Hons) Media and Popular Culture   ซึ่งเวลานี้เป็นเจ้าของบริษัทชื่อ Amplitude Media ซึ่งเป็น boutique communications agency & creative studio   เขาลงคำพูดของ Ms. Jo Burns ว่า “I knew I wanted to work in media, and my degree enabled that to happen. The University of Northampton helped me to focus my career path into exactly what I wanted to be.”   พูดง่ายๆ ว่า มหาวิทยาลัยเพื่อให้ นศ. ได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานอย่างสมหวัง

ผมเข้าใจว่า มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ของอังกฤษ ที่เป็นกลุ่มที่ไม่ใช่ elite universities อย่าง อ็อกซฟอร์ด เคมบริดจ์ ลอนดอน ฯลฯ    เขาจะเน้นชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยที่ความสำเร็จของนักศึกษา    ลมหายใจเข้าออก ของกิจการต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ทำเพื่อการเรียนรู้ฝึกฝนของนักศึกษา    เพื่อความสำเร็จของนักศึกษา ในชีวิตภายหน้า

ความสำเร็จในชีวิตช่วงสั้นๆ หลังสำเร็จการศึกษา คือ การมีงานทำตามที่ตนต้องการ (employability & entrepreneurship)

กล่าวอย่างนี้อาจจะผิด   เพราะแม้แต่ elite universities ก็ต้องดำรงอยู่ในระยะยาวด้วยความสำเร็จ ของนักศึกษานั่นเอง    แต่เขาเชื่อคนละแนว คือเขาเชื่อว่า บัณฑิตที่เรียนตามแบบของเขา    จะมีวิชาแน่นที่พื้นฐาน ออกไปทำอะไรก็ได้ ที่จะสามารถปรับตัวเรียนรู้เพิ่มเติมและประสบความสำเร็จในชีวิตภายหน้า

ในขณะที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ เน้นสร้างคุณค่า/มูลค่า แก่ความสำเร็จในชีวิต ด้วยการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงสอดคล้องกับชีวิตจริงในอนาคตอันใกล้ของเขา    ทำให้ นศ. เห็นคุณค่าของการเรียน   ตั้งใจเรียน  และเรียนสนุก

บันทึกนี้จึงก้าวสู่อุดมศึกษา แบบมีสถาบันอุดมศึกษา ๒ กลุ่ม ตามแบบอเมริกา    คือกลุ่ม Liberal Arts College (วิทยาลัยศิลปวิทยาศาสตร์)    กับกลุ่มมหาวิทยาลัยทั่วไป ที่เน้นเรียนแยกเป็นรายวิชาชีพ    แบบไหนดีกว่า ไม่มีคำตัดสิน    เพราะโลกและสังคมซับซ้อนมาก   ไม่ว่าเรียนแบบไหน ตอนไปทำงานประกอบอาชีพ แต่ละคนจะ เรียนรู้ปรับตัวได้อีกมากมาย   ซึ่งเป็นคุณสมบัติของความเป็นมนุษย์

แต่ก็เถียงต่อได้อีก   ว่าการศึกษาระดับอุดมศึกษาแนวศิลปวิทยาศาสตร์    เน้นการฝึกฝนปฏิบัติ ด้านการสร้างสรรค์ศิลปะ เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในตนด้วย    ไม่ใช่ใช้แค่เพียงการเรียนรู้เชิงเทคนิควิทยาศาสตร์ และเชิงสังคมศาสตร์ เพื่อฝึกฝนเปลี่ยนแปลงตนเอง    ซึ่งคำโต้แย้งแบบนี้ ผมออกจะเชื่อ    โดยดูที่ชีวิตของตนเอง    ซึ่งขาดการเรียนรู้ด้านศิลปะ    ทำให้รู้สึกว่าชีวิตขาดอะไรไปบางอย่าง    แก้ไขชดเชยในภายหลังได้ยากมาก

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2013 เวลา 10:36 น.
 


หน้า 431 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8612367

facebook

Twitter


บทความเก่า