Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

UKnow ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านวิศวกรรมความรู้และวิศวกรรมภาษา

พิมพ์ PDF

เรียนท่านสมาชิก เวปไซด์ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (www.thaiihdc.org)  และ มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ทุกท่าน

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ได้รับความอนุเคราะห์จาก รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เฉพาะด้านวิศวกรรมความรู้และวิศวกรรมภาษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งปัญญา ให้เกียรติมูลนิธิเข้าร่วมเป็นเครือข่ายและใช้โจทย์ของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ในการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์เครื่องมือ โดยการบูรณาการวิศวกรรมความรู้และวิศวกรรมภาษานับตั้งแต่ การสกัดความรู้  การแทนความรู้เพื่อนำไปสู่การประมวลผลความรู้ใหม่ รวมทั้งการหาเหตุผล การค้นหาและติดตามความรู้ การเชื่อมโยงความรู้ การแสดงผลความรู้แบบเชื่อมโยง ระบบผู้เชี่ยวชาญและระบบถามตอบอัตโนมัต

การเข้าร่วมเป็นเครื่องข่ายครั้งนี้จะทำให้ มูลนิธิศูนย์บูรราการพัฒนามนุษย์ โดยมีเวปไซด์ www.thaiihdc.org เป็นเครื่องมือให้สมาชิกของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ และผู้เข้ามาเยี่ยมเยียนเวปไซด์ได้ประโยชน์ในการค้นหาความรู้ได้มากขึ้น เป็น One Stop Services

โปรดศึกษารายละเอียดได้จากข้อมูลเบื้องล่าง

 

ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านวิศวกรรมความรู้และวิศวกรรมภาษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งปัญญา U-Know Center : The Advanced Research Center of Unified Knowledge and Language Engineering for Social Intelligence Building จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2552

วิสัยทัศน์

เป็นศูนย์ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เพื่อเป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคนิคที่เกิดจากการบูรณาการวิศวกรรมความรู้ร่วมกับวิศวกรรมภาษา เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสะสมและอนุรักษ์ความรู้สำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งพัฒนาซอฟต์แวร์เครื่องมือในการให้บริการความรู้เพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมแห่งความรู้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ

1.วิจัยและพัฒนา เทคนิควิศวกรรมความรู้และวิศวกรรมภาษาเชิงบูรณาการ (The Unified Knowledge Engineering and Language Engineering) ร่วมกับเนคเทค และเครือข่ายสถาบันวิจัยพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสะสมและอนุรักษ์ความรู้ รวมทั้งการให้บริการความรู้

2.ถ่ายทอดความรู้ เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ความรู้ (Knowledge Ecosystem) ร่วมกับเจ้าของความรู้และผู้มีส่วนได้เสีย (Stake Holders) นับตั้งแต่ผู้ใช้ความรู้ ผู้ผ่องถ่ายความรู้ และผู้ให้บริการความรู้ เพื่อสร้างสังคมแห่งปัญญา ( Intelligent Society)

3.ร่วมพัฒนาและสร้างบุคลากรวิจัยด้านวิศวกรรมความรู้ บริการ และจัดการความรู้ (Knowledge Engineering,Services and Management) โดยใช้โจทย์จริงจากผู้ต้องการใช้งาน

4.ให้บริการและเป็นที่ปรึกษา ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้ด้านวิศวกรรมความรู้

วัตถุประสงค์

1.ด้านเทคโนโลยีและการสร้างองค์ความรู้ใหม่

เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและซิฟต์แวร์เครื่องมือ โดยบูรณาการวิศวกรรมความรู้และวิศวกรรมภาษานับตั้งแต่ การสกัดความรู้ การแทนความรู้เพื่อนำไปสู่การประมวลผลความรู้ใหม่ รวมทั้งการหาเหตุและผล การค้นหา  และติดตามความรู้  การเชื่อมโยงความรู้ การแสดงผลความรู้แบบเชื่อมโยง ระบบผู้เชี่ยวชาญ และระบบถามตอบอัตโนมัติ

 

2.ด้านการนำเทคโนโลยีสู่การใช้งานจริงด้วยกระบวนการสร้างสาระความรู้และให้บริการ

เพื่อพัฒนาระบบนิเวศน์ความรู้แบบมีส่วนร่วม โดยใช้เครือข่ายสารสนเทศและเทคโนโลยีโมบาย เพื่อให้เจ้าของความรู้ ประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย  จากมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยต่างๆ ของกระทรวงต่างๆนำเข้าความรู้ กำกับความรู้ และบำรุงรักษาความรู้

เพื่อพัฒนาเครือข่ายความรู้ Cyberbrain ด้วยการเชื่อมโยงแบบกริด (Knowledge grid) โดยใช้ Meta data ที่เหมาะสมกับสื่อและชนิดความรู้

เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการถ่ายทอดความรู้และการให้บริการความรู้แบบ ณ. จุดเดียว (One Stop Service) และแบบเฉพาะตัว (Personalized Service)

เพื่อนำผลการวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมและพาณิชย์

3.ด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและเครือข่ายวิจัย

เพื่อพัฒนาวิศวกรความรู้ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก  โดยใช้โจทย์วิจัยจากผู้ใช้และประเมินผลโดยผู้ใช้

เพื่อถ่ายทอดความรู้แบบ Training for the Trainer โดยใช้โครงสร้างและเครือข่ายที่ปฎิบัติงานอยู่ของกระทรวง/กรมที่มีอยู่เช่น ศูนย์เรียนรู้ องค์การบริหารส่วนตำบล และวิทยาลัยเกษตรกรรม

เพื่อสร้างความร่วมมือในการทำวิจัยร่วมระหว่างหน่วยงานหรือสถาบัน รวมทั้งแรกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน

เพื่อคิดค้นและเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆจากผลการวิจัยและพัฒนาและนำไปถ่ายทอดความรู้สู่สังคม

สถานที่ทำงาน

อาคาร 15 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร 02-9428555 ต่อ 1408,1438 โทรสาร 02-5790358

ผู้อำนวยการศูนย์

รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล

 

 

 

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

พิมพ์ PDF

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ โดยการรวมตัวของคนไทยจำนวน 23 ท่าน โดยมีวัตถุประสงค์ให้มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ เป็นมูลนิธิของคนไทย เพื่อคนไทย คนไทยทุกคนสามารถเป็นเจ้าของมูลนิธิและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ให้มีคุณภาพ สร้างมูลค่าให้กับตัวเอง ครอบครับ สังคม และประเทศชาติ ไม่เป็นภาระให้ใคร

มูลนิธิศูนย์บรูณาการพัฒนามนุษย์ เป็นองค์กรที่บูรณาการสิ่งต่างๆเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ภายในประเทศให้มีประสิทธิภาพเสริมสร้างศักยภาพของประเทศไทย

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ทำงานร่วมกับ

๑.คนที่ต้องการพัฒนาตนเอง ต้องการเจริญเติบโตในหน้าที่การงาน ต้องการหางานที่เหมาะสมกับความสามารถและทำงานอย่างมีความสุข มีตำแหน่งหน้าที่การงานที่มั่นคงและยั่งยืน

๒.องค์กรที่ต้องการอยู่รอดมีความมั่นคง  ต้องการเจริญเติบโต มีความสามารถในการแข่งขัน ต้องการที่ปรึกษา ต้องการบุคลากรที่มีความสามารถ มีปัญหาต้องการความช่วยเหลือ

๓.คนที่มีความพร้อมและมีความสามารถ มั่นคง ต้องการช่วยเหลือสังคม

๔.องค์กรที่มีความพร้อม มั่นคง ต้องการช่วยเหลือสังคม

หน้าที่ของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

๑.ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดัน ให้มีการสร้างความเป็นเลิศโดยการพัฒนามนุษย์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน

๒.เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ และการสร้างความร่วมมือ เพื่อการพัฒนามนุษย์ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ

๓.ส่งเสริมการพัฒนาองค์กรในสาขาวิชาชีพต่างๆ

๔.จัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรทั่วไป

๕.ให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์แก่องค์กรต่างๆ และบุคคลทั่วไป

๖.ศึกษา วิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้สำหรับการพัฒนามนุษย์

๗.ดำเนินการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนศาสนา

๘.ดำเนินการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านสังคมสงเคราะห์

๙.ดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลเพื่อการกุศลและองค์กรสาธารณะประโยชน์เพื่อสาธารณประโยชน์

๑๐.ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

 

 

รายชื่อและตำแหน่งกรรมการก่อตั้งมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

1.  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์    ประธานกรรมการมูลนิธิ

2.  ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก  รองประธานกรรมการมูลนิธิ

3.  นายกิตติ คัมภีระ    รองประธานกรรมการมูลนิธิ

4.  น.สพ.สมชัย วิเศษมงคลชัย  รองประธานกรรมการมูลนิธิ

5.  นายธวัชชัย แสงห้าว  รองประธานกรรมการมูลนิธิ

6.  ดร.ธรรมชัย เชาว์ปรีชา  รองประธานกรรมการมูลนิธิ

7.  ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท  กรรมการและเลขาธิการ

8.  ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี    กรรมการและเหรัญญิก

9.  นายฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล  กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา

10.  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล  กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา

11.  ดร.วีรชัย วงศ์บุญสิน  กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา

12.  รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล  กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา

13.  นางโสทรินทร์ โชคคติวัฒน์  กรรมการ

14.  นายสยาม เศรษฐบุตร  กรรมการ

15.  นายสามารถ ดวงวิจิตรกุล    กรรมการ

16.  นายพัฒนศักย์ ฮุ่นตระกูล  กรรมการ

17.  นายวิสูตร เทศสมบูรณ์  กรรมการ

18.  นายกรพชร สุขเสริม  กรรมการ

19.  นายทำนอง ดาศรี    กรรมการ

20.  นายชนินท์ ธำรงวิทวัสพงค์  กรรมการ

21.  ผศ.ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ    กรรมการ

22.  นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์    กรรมการ

Attachments:
FileคำอธิบายFile size
Download this file (Presentation iHDC 11 Thai 060865.pdf)Presentation iHDC 11 Thai 060865.pdf 2131 Kb
 

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

พิมพ์ PDF

ขอแนะนำภาระกิจของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิก ติดต่อได้ที่ e-mail address: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

การเปลี่ยนแปลงของโลกและการปรับตัวของสังคม คัดลอกจากหนังสือ การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง

พิมพ์ PDF

ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่าสังคมโลกและสังคมไทยได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวางหลายด้านทั้งเศรษฐกิจสังคม และการเมือง  โดยแต่ละด้านได้ส่งผลกระทบถึงกันและเชื่อมโยงกันตลอดเวลา โดยเฉพาะกระแสโลก หรือที่เรียกว่ากระแสโลกาภิวัตน์ที่กระตุ้นให้สมาชิกสังคมประเทศต่างๆ ได้เปิดตัวเองและตื่นตัวต่อการรับรู้กับสังคมภายนอกอันเป็นสังคมโลกมากขึ้น การเปิดดังกล่าวได้นำสู่การปรับตัว การยกระดับการเรียนรู้ และการพัฒนาของสมาชิกแต่ละสังคมเพื่อการรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงให้สามารถอยู่รอดปลอดภัย ไม่ให้ถูกพัดพาไปตามกระแสโลกภายนอกโดยไม่อาจปกป้องและสร้างภูมิคุ้มกันในบริบทของตนเองเพื่อการดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและสันติสุขอันเป็นเป้าหมายสุดท้ายของสังคมมนุษย์

การที่เป็นแต่เพียงคนที่อ่านออก เขียนได้ หรือรู้วิธีการคำนวณและเข้าใจวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ย่อมไม่เป็นการเพียงพอเสียแล้วที่จะเป็นคนในสังคมระบอบประชาธิปไตย เพราะระบอบดังกล่าวต้องการพลเมืองที่เข้าใจและรู้จักความเป็นจริงของสังคม ของโลก และมีทัศนคติต่อคนอื่น ต่อสังคม และต่อสถาบันทางสังคม ซึ่งพลเมืองจะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมให้ทำงานไปด้วยกัน พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ พลเมืองควรสามารถที่จะใช้เสรีภาพขั้นพื้นฐานที่สังคมให้การรับรองไว้ แล้วเต็มใจที่จะให้สิทธินี้แก่ผู้อื่นด้วย และพร้อมเผชิญกับเหตุการณ์ทางสังคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งไม่อาจคาดเดาได้ "ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย จึงหมายถึงการเป็นสมาชิกในสังคมที่มีอิสรภาพ ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบ และมีเสรีภาพควบคู่กับหน้าที่ โดยมีความสามารถในการยอมรับความแตกต่าง เคารพกฎกติกาการอยู่ร่วมกัน พร้อมทั้งมีส่วนร่วมต่อความเป็นไปทางสังคมและร่วมแก้ปัญหาของสังคมด้วยสันติวิธี"

 

อธิบายการเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายใน โดยอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

ผมลงมติกับตัวเองว่า ที่เรียกว่า trans formative learning คือการเรียนรู้แบบลงมือทำ (learning by doing) หรือ action learning นั่นเอง

 

อธิบายการเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายใน

ที่จริงวงการศึกษารู้จักการเรียนรู้โดยการเปลี่ยนแปลงจากภายใน (trans formative learning) มานานแล้ว  ดังกรณี ปิระมิดแห่งการเรียนรู้ข้างล่าง

 

จะเห็นว่า ระบบการศึกษาที่ยึดถือการเรียนรู้แบบถ่ายทอดความรู้ (informative learning) จะจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการส่วนยอดของปิระมิด หรือส่วนสีชมพู

ส่วนระบบการศึกษาที่เชื่อในการเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายใน  จะจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่ฐานปิระมิด หรือส่วนสีเหลือง

ผลการวิจัยเมื่อ 40-50 ปีมาแล้วบอกชัดเจน ว่าการเรียนรู้ด้วยวิธีการส่วนฐานของปิระมิด ให้ผลการเรียนรู้ดีกว่ามาก  แต่ก็แปลก ที่วงการศึกษาไทยไม่ตระหนัก  และไม่รู้จัก trans formative education/learning

ผมเคยเข้าใจผิด ว่า trans formative learning เป็นเรื่องของการภาวนา เพื่อขัดเกลาจิตใจ แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านในแบบถอนรากถอนโคน  บัดนี้ หลังจากอ่านหนังสือ The Heart of Higher Education : A Call to Renewal อย่างไตร่ตรองใคร่ครวญ ผมลงมติกับตัวเองว่า  ที่เรียกว่า trans formative learning คือการเรียนรู้แบบลงมือทำ (learning by doing) หรือ action learning นั่นเอง

ผมตีความว่า trans formative learning เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นช้าๆ ทีละเล็กละน้อย ภายในตน ของผู้เรียน  ผ่านการปฏิบัติ (ทำ และ คิด)  จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงปัญญา (intellectual), อารมณ์ (emotion), สังคม (social), และจิตวิญญาณ (spiritual)

ครูที่ทำหน้าที่ "ครูฝึก" เก่ง จะช่วยชี้ ชวน ช่วย เชียร์ ชม ให้การเรียนรู้มีชีวิตชีวา มีพลัง และตรงทาง  คือไปในทางสัมมาทิฐิ ไม่หลงไปทางมิจฉาทิฐิ  ครูจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง  แต่ไม่ใช่ทำหน้าที่ ครูสอน ที่เน้นถ่ายทอดวิชา  แต่ทำหน้าที่ ครูฝึก ที่เน้นหน้าที่ ๕ช  ซึ่งตีความได้ว่า ทำหน้าที่ “คุณอำนวย” (facilitator) ต่อการเรียนรู้ ของศิษย์

กล่าวให้เข้าใจง่าย ทำงาย การเรียนที่เน้น PBL ตามด้วย AAR/Reflection คือการเรียนรู้แบบ เน้นการเปลี่ยนแปลง งอกงาม จากภายใน (trans formative learning)

การเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายในต้องมีส่วน เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ (contemplative learning) อยู่ด้วย  ส่วนนี้คือ AAR หรือ reflection นั่นเอง  ครูฝึก trans formative learning จึงต้องมีทักษะการเป็น คุณอำนวย ของกระบวนการ AAR

ผมตีความว่า ครูก็ต้องเรียนรู้ฝึกฝนตนเอง เพื่อให้เกิด trans formative learning ภายในตนเช่นกัน  และทำได้ไม่ยากโดย PLC (Professional Learning Community)  คือเรียนรู้จากการปฏิบัติหน้าที่ครู  และผลัดกันทำหน้าที่ “คุณอำนวย”  ต่อการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเพื่อนครูด้วยกันเอง

ครูที่มีความสามารถ จะช่วยทำให้ การเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายใน ขับเคลื่อนจากความหมายทั่วๆ ไป  ไปสู่ความหมายพิเศษ  คือเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านใน ที่เกิดการละลดตัวตน ความเห็นแก่ตัว ไปสู่โพธิสัตว์ในความหมายทางพุทธ

ยิ่งฝึกปฏิบัติจิตตภาวนา สู่จิตตปัญญา ร่วมไปด้วย การเปลี่ยนแปลงสู่โพธิก็จะยิ่งสะดวกเด่นชัดขึ้น

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ม.ค. ๕๖

 

 


หน้า 514 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5608
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8621260

facebook

Twitter


บทความเก่า